คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ยงยุทธ ธารีสาร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 933 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10135/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้จากดอกเบี้ยตั๋วเงินและเช็คของขวัญ ความชอบธรรมในการประเมินเมื่อพยานหลักฐานพิรุธ
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า การประเมินภาษีอากรไม่ชอบด้วยมาตรา ๔๙แห่ง ป.รัษฎากร เพราะมิได้รับอนุมัติจากอธิบดีนั้น แม้จะมิใช่ปัญหาที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลาง แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้
คดีนี้เจ้าพนักงานประเมินมิได้ใช้วิธีพิเศษกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิขึ้นเองโดยถือเงินหรือทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์หรือเข้ามาอยู่ในครอบครองของผู้มีเงินได้เป็นหลักในการพิจารณาซึ่งจะต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรตาม ป.รัษฎากร มาตรา ๔๙ แต่เป็นกรณีออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนและแจ้งประเมินตามวิธีปกติตามมาตรา ๑๙, ๒๐, ๒๓, ๒๔ แห่ง ป.รัษฎากร จึงไม่ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร
โจทก์มอบเงินจำนวน ๑๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท ให้ ด.ไปหาผลประโยชน์ร่วมกับบุคคลอื่น แล้ว ด.ได้นำเงินของโจทก์กับบุคคลอื่นดังกล่าวไปซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินจากบริษัทเงินทุนต่าง ๆ ต่อมา ด.จึงได้นำเงินมาคืนให้โจทก์จำนวน ๑๖,๓๐๑,๙๔๖.๔๘ บาท ซึ่งแม้โจทก์จะได้เงินเพิ่มขึ้นจากเดิมจำนวน๑,๓๐๑,๙๔๖.๔๘ บาท น่าเชื่อว่าเป็นเงินดอกเบี้ยจากตั๋วเงินที่ ด.นำเงินของโจทก์กับบุคคลอื่นไปซื้อตั๋วสัญญาใช้เงิน และโจทก์ก็อ้างว่า ด.ได้เสียภาษีเงินได้ในส่วนนี้แล้ว ซึ่งตาม ป.รัษฎากร มาตรา ๕๐ ก็ได้บัญญัติให้บริษัทผู้จ่ายดอกเบี้ยตั๋วเงินหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ เมื่อ ด.ในฐานะผู้จัดการของคณะบุคคลที่มอบหมายให้นำเงินไปหาผลประโยชน์ได้เสียภาษีเงินได้ในส่วนนี้แล้ว โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในส่วนนี้อีก ตาม ป.รัษฎากร มาตรา ๖, ๔๒ (๑๔) และ ๕๖ วรรคสุดท้าย
เช็คของขวัญที่โจทก์ได้รับในปี ๒๕๓๓ จำนวน ๔๖ ฉบับ รวมเป็นเงิน ๘๓,๑๐๒,๕๐๐ บาท นั้น โจทก์นำสืบว่า บริษัท ส.จำกัด มอบให้โจทก์เป็นค่าซื้อที่ดิน โดยบริษัท ส.รับเช็คของขวัญดังกล่าวมาจากลูกค้าของบริษัทอีกต่อหนึ่งเช่นนี้ แม้บริษัท ส.จะได้ซื้อที่ดินจากโจทก์เป็นเงินถึง ๘๕,๐๐๐,๐๐๐ บาทเศษดังที่โจทก์นำสืบจริง ก็ไม่มีเหตุผลใดที่บริษัท ส.จะต้องชำระค่าที่ดินให้โจทก์โดยใช้เช็คแบ่งย่อยออกเป็นหลายฉบับ โดยเฉพาะเป็นเช็คของขวัญที่มิใช่เช็คของบริษัทเองหรือแคชเชียร์เช็ค ซึ่งน่าจะใช้เป็นหลักฐานในการชำระเงินได้ดีกว่าดังนี้เมื่อพยานหลักฐานโจทก์พิรุธไร้น้ำหนักไม่น่าเชื่อ การที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถือว่าเงินตามเช็คดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา ๔๐ (๘) ของโจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9761/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้รถจักรยานยนต์หลังชิงทรัพย์เข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี แม้ทรัพย์สินมีขนาดเล็ก
จำเลยใช้มีดปลายแหลมจี้เอาสร้อยคอทองคำและเงินสดของผู้เสียหายทั้งสามแล้ววิ่งไปขึ้นรถจักรยานยนต์ที่จอดเตรียมอยู่ขับหลบหนี แม้ทรัพย์ที่จำเลยชิงไปจะเป็นของเล็กสามารถพาไปได้โดยไม่ต้องใช้รถจักรยานยนต์ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยใช้รถจักรยานยนต์พาทรัพย์ที่ชิงได้ไป แสดงว่าจำเลยมีเจตนาจะใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะพาทรัพย์ที่ชิงได้นั้นไป จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9503/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินหลังทำพินัยกรรมไม่สมบูรณ์ ไม่ทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะ ทรัพย์สินยังตกเป็นมรดก
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1673 และมาตรา 1696 วรรคหนึ่งการโอนไปโดยสมบูรณ์ซึ่งทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรมอันจะทำให้ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้นเป็นอันเพิกถอนไป หมายถึงการโอนทรัพย์สินที่ยังมีผลอยู่ในขณะที่ผู้ทำพินัยกรรมตาย
หลังจาก ฟ.ทำพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 1 กันยายน 2520 ยกที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 182 ให้แก่ น. และเลขที่ 206ให้แก่ น.กับโจทก์แล้ว แม้ต่อมา ฟ.ได้จดทะเบียนยกที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่ น.โดยเสน่หา และหลังจากนั้น ฟ.ก็ได้ฟ้องขอถอนคืนการให้และขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาท คดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาให้ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงกลับคืนมาเป็นของ ฟ.กรณีก็ถือไม่ได้ว่า ฟ.ได้โอนไปโดยสมบูรณ์ซึ่งทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรมตามพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 1 กันยายน 2520 ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้นจึงหาเป็นอันเพิกถอนไปไม่ เมื่อ ฟ.ถึงแก่กรรม ที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่182 จึงเป็นทรัพย์มรดกของ ฟ.ตกได้แก่ น. และที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 206 เป็นทรัพย์มรดกของ ฟ.ตกได้แก่ น.กับโจทก์ตามพินัยกรรมดังกล่าวข้างต้น
โจทก์เป็นผู้รับพินัยกรรมของ ฟ.ในที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 206 จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ น.ย่อมมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องแบ่งมรดกของ น.แก่โจทก์ เมื่อโจทก์แจ้งให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์แล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 206 แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9503/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินหลังทำพินัยกรรม การเพิกถอนพินัยกรรม และสิทธิในทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม
การโอนไปโดยสมบูรณ์ซึ่งทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรมอันจะทำให้ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้นเป็นอันเพิกถอนไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1696 วรรคหนึ่ง หมายถึงการโอนทรัพย์สินที่ยังมีผลอยู่ในขณะที่ผู้ทำพินัยกรรมตาย เมื่อ ฟ. ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทตาม น.ส.3 เลขที่ 182 ให้แก่ น. และเลขที่ 206 ให้แก่ น. กับโจทก์ที่ 8 แล้ว แม้ต่อมา ฟ.ได้จดทะเบียนยกที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่ น. โดยเสน่หาแต่หลังจากนั้น ฟ. ก็ได้ฟ้องขอถอนคืนการให้และขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาท คดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาให้ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงกลับคืนมาเป็นของ ฟ. จึงถือไม่ได้ว่า ฟ. ได้โอนไปโดยสมบูรณ์ซึ่งทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรม ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้นจึงหาเป็นอันเพิกถอนไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9268/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีอาญา: การได้ตัวจำเลยมายังศาล
จำเลยต้องหาว่ากระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา เหตุเกิดเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2518 เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยได้เมื่อวันที่ 6 มีนาคม2538 และส่งมอบจำเลยให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดี ต่อมาวันที่ 10 มีนาคม2538 ศาลชั้นต้นออกหมายขังจำเลยไว้ในระหว่างสอบสวนมีกำหนด 7 วัน ตามที่พนักงานสอบสวนยื่นคำร้องขอ จึงถือได้ว่าได้ตัวจำเลยมาอยู่ในอำนาจศาลหรือได้ตัวจำเลยมายังศาลแล้ว ฉะนั้น เมื่อต่อมาวันที่ 13 มีนาคม 2538 ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ปล่อยจำเลยชั่วคราวในระหว่างสอบสวนตามคำร้องของจำเลย และโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในวันเดียวกันนั้น ซึ่งยังไม่พ้นกำหนดยี่สิบปีนับแต่วันที่ 15 มีนาคม 2518จึงถือได้ว่าโจทก์ได้ฟ้องและได้ตัวจำเลยมายังศาลภายในกำหนดยี่สิบปี นับแต่วันกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 95 (1) แล้ว ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9268/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีอาญาฆ่าผู้อื่น: การจับกุมและส่งตัวผู้ต้องหาต่อศาลทำให้เกิดผลต่ออายุความ
จำเลยต้องหาว่ากระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาเหตุเกิดเมื่อวันที่15มีนาคม2518เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยได้เมื่อวันที่6มีนาคม2538และส่งมอบจำเลยให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีต่อมาวันที่10มีนาคม2538ศาลชั้นต้นออกหมายขังจำเลยไว้ในระหว่างสอบสวนมีกำหนด7วันตามที่พนักงานสอบสวนยื่นคำร้องขอจึงถือได้ว่าได้ตัวจำเลยมาอยู่ในอำนาจศาลหรือได้ตัวจำเลยมายังศาลแล้วฉะนั้นเมื่อต่อมาวันที่13มีนาคม2538ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ปล่อยจำเลยชั่วคราวในระหว่างสอบสวนตามคำร้องของจำเลยและโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในวันเดียวกันนั้นซึ่งยังไม่พ้นกำหนดยี่สิบปีนับแต่วันที่15มีนาคม2518จึงถือได้ว่าโจทก์ได้ฟ้องและได้ตัวจำเลยมายังศาลภายในกำหนดยี่สิบปีนับแต่วันกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา95(1)แล้วฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9245/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินจากคดียาเสพติด: สิทธิของผู้ร้องที่ไม่ได้ยื่นคำคัดค้านตามกฎหมาย
ศาลพิพากษาริบรถยนต์ของกลางให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ผู้ร้องยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลางหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว ถือได้ว่าผู้ร้องมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่บังคับให้เจ้าของทรัพย์สินยื่นคำร้องขอเข้าในคดีก่อนศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30 วรรคสอง แม้พนักงานเจ้าหน้าที่จะมิได้ประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันในท้องถิ่นแต่ได้ประกาศในหนังสือพิมพ์ "ข่าวสด" ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์รายวันที่ออกในส่วนกลางที่ส่งไปจำหน่ายทั่วไปในราชอาณาจักร อันเป็นการประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันที่มีจำหน่ายแพร่หลายในท้องถิ่นสองวันติดต่อกันถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ถือได้ว่าผู้ร้องได้ทราบประกาศแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลางแก่ผู้ร้องหลังจากศาลมีคำพิพากษาแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9238/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง การนำบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาใช้โดยอนุโลม
ป.วิ.อ. มิได้บัญญัติถึงรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในเรื่องการยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาผู้พิจารณาคดีหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคสี่ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ทั้งนี้ มาตรา 248วรรคสี่ แห่ง ป.วิ.พ.ได้วางหลักเกณฑ์ในเรื่องนี้ไว้ว่า การขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์รับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาได้นั้น ให้ผู้ฎีกายื่นคำร้องถึงผู้พิพากษานั้นพร้อมกับคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้น คดีนี้แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยที่ 1 แต่การที่จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องในวันเดียวกันนั้นซึ่งยังอยู่ภายในกำหนดอายุฎีกา ขอให้ผู้พิพากษาที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์พิจารณาอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงโดยที่จำเลยที่ 1 มิได้ยื่นฎีกาฉบับใหม่เข้ามาด้วยเช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1ประสงค์จะขอถือเอาฎีกาฉบับเดิมที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับไปแล้วนั้นเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงประกอบคำร้องขออนุญาตฎีกาของจำเลยที่ 1 ต่อไป กรณีย่อมอนุโลมได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงพร้อมกับคำฟ้องฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวแล้ว จึงชอบที่ผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จะได้พิจารณาคำร้องและคำฟ้องฎีกาของจำเลยที่ 1ว่ามีเหตุสมควรจะอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9238/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง: การยื่นคำร้องพร้อมฎีกาเดิม & การใช้บทบัญญัติมาตรา 248 วรรคสี่ ป.วิ.พ. โดยอนุโลม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามิให้บัญญัติถึงรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในเรื่องการยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาผู้พิจารณาคดีหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคสี่ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา15มาใช้บังคับโดยอนุโลมทั้งนี้มาตรา248วรรคสี่แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งได้วางหลักเกณฑ์ในเรื่องนี้ไว้ว่าการขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์รับรองว่ามีเหตุผลสมควรที่จะฎีกาได้นั้นให้ผู้ฎีกายื่นคำร้องถึงผู้พิพากษานั้นพร้อมกับคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้นคดีนี้แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยที่1แต่การที่จำเลยที่1ได้ยื่นคำร้องในวันเดียวกันนั้นซึ่งยังอยู่ภายในกำหนดอายุฎีกาขอให้ผู้พิพากษาที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์พิจารณาอนุญาตให้จำเลยที่1ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงโดยที่จำเลยที่1มิได้ยื่นฎีกาฉบับใหม่เข้ามาด้วยเช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยที่1ประสงค์จะขอถือเอาฎีกาฉบับเดิมที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับไปแล้วนั้นเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงประกอบคำร้องขออนุญาตฎีกาของจำเลยที่1ต่อไปกรณีย่อมอนุโลมได้ว่าจำเลยที่1ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงพร้อมกับคำฟ้องฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวแล้วจึงชอบที่ผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จะได้พิจารณาคำร้องและคำฟ้องฎีกาของจำเลยที่1ว่ามีเหตุสมควรจะอนุญาตให้จำเลยที่1ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9159/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลและการจำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ไม่ยื่นคำขอต่อศาล ศาลไม่คืนค่าขึ้นศาล
ค่าขึ้นศาลเป็นค่าธรรมเนียมศาลศาลจะคืนให้ได้ต้องเป็นกรณีที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา151ส่วนการจำหน่ายคดีเพราะโจทก์ไม่ยื่นคำขอต่อศาลภายในสิบห้าวันนับแต่ระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยยื่นคำให้การได้สิ้นสุดลงนั้นถือได้ว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปซึ่งเป็นความผิดพลาดของโจทก์เองศาลจึงจำหน่ายคดีตามมาตรา198วรรคสองโดยไม่สั่งคืนค่าขึ้นศาลให้โจทก์
of 94