พบผลลัพธ์ทั้งหมด 933 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4418/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีและเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้ากรณีราคาสำแดงต่ำกว่าราคาจริง และการตัดเศษของบาทในการคำนวณภาษี
การเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าอีกร้อยละ 20 ตามมาตรา 112 ตรี มีได้เฉพาะ 2 กรณี คือ กรณีมิได้ชำระเงินอากรครบถ้วนตามมาตรา 112 ทวิ อย่างหนึ่ง กับกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามระเบียบหรือเงื่อนไขที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดตามมาตรา 40 อีกอย่างหนึ่ง คดีนี้แม้จะปรากฏว่าจำเลยนำสินค้าเข้าโดยแสดงความจำนงว่าจะนำมาใช้ในการผลิต สินค้าสำเร็จรูปเพื่อส่งออกไปเมืองต่างประเทศภายใน 1 ปี นับแต่วันนำเข้า โดยวางหนังสือค้ำประกันของธนาคารต่อ โจทก์ที่ 1 และจำเลยมิได้นำสินค้าที่นำเข้านี้ไปผลิตเพื่อ ส่งออกให้เสร็จสิ้นครบถ้วนภายใน 1 ปีก็ตาม แต่เนื่องจาก พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรโจทก์ที่ 1 เห็นว่าจำเลย สำแดงราคาต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จึงทำการประเมิน ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น การประเมินดังกล่าวเกิดจากการที่จำเลย ยื่นใบขนสินค้าไม่ถูกต้อง กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยปฏิบัติ ผิดเงื่อนไขในการที่ผู้นำเข้าจะนำของออกจากอารักขาของ กรมศุลกากร ตามมาตรา 40 โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกเก็บ เงินเพิ่มอากรขาเข้าตามมาตรา 112 ตรี ได้ พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 มาตรา 5 บัญญัติให้ยกเว้นภาษีเงินได้ในหมวด 3 และภาษีการค้าในหมวด 4ของลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเฉพาะเศษของบาทจากการคำนวณภาษี และพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 มาตรา 112 วรรคสอง บัญญัติว่า "ในการเสียภาษีอากรและค่าธรรมเนียมตามมาตรานี้ เศษของหนึ่งบาทให้ตัดทิ้ง" บทบัญญัติดังกล่าวเป็นเรื่อง ที่ยกเว้นภาษีแก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเฉพาะเศษของบาทจากการ คำนวณในกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีนำเงินค่าภาษีทั้งหมด มาชำระ เมื่อผู้มีหน้าที่เสียภาษีมิได้นำเงินค่าภาษีมาชำระ หรือชำระไม่ครบถ้วน การคำนวณภาษีดังกล่าวจึงยังไม่สิ้นสุด การที่ศาลภาษีอากรวินิจฉัยให้ตัดเศษของบาทจากการคำนวณ ภาษีจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4418/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรและการเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าเมื่อผู้นำเข้าไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข
การเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าอีกร้อยละ 20 ตามมาตรา 112ตรี นั้นว่ามีได้เฉพาะ 2 กรณี คือ กรณีมิได้ชำระเงินอากรครบถ้วนตามมาตรา 112 ทวิอย่างหนึ่ง กับกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามระเบียบหรือเงื่อนไขที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดตามมาตรา 40 อีกอย่างหนึ่ง คดีนี้แม้จะปรากฏว่า จำเลยนำสินค้าเข้าโดยแสดงความจำนงว่าจะนำมาใช้ในการผลิตสินค้าสำเร็จรูปเพื่อส่งออกไปเมืองต่างประเทศภายใน 1 ปีนับแต่วันนำเข้า โดยวางหนังสือค้ำประกันของธนาคารต่อโจทก์ที่ 1 และจำเลยมิได้นำสินค้าที่นำเข้านี้ไปผลิตเพื่อส่งออกให้เสร็จสิ้นครบถ้วนภายใน 1 ปี ก็ตาม แต่เนื่องจากพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เห็นว่า จำเลยสำแดงราคาต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จึงทำการประเมินราคาสินค้าเพิ่มขึ้น การประเมินดังกล่าวเกิดจากการที่จำเลยยื่นใบขนสินค้าไม่ถูกต้อง กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขในการที่ผู้นำเข้าจะนำของออกจากอารักขาของศุลกากร ตามมาตรา 40 โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าตามมาตรา 112 ตรี ได้
พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2500 มาตรา 5 บัญญัติว่า "ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ในหมวด 3 และภาษีการค้าในหมวด 4 ของลักษณะ 2 แห่ง ป.รัษฎากร แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเฉพาะเศษของบาทจากการคำนวณภาษี" และ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครพ.ศ.2528 มาตรา 112 วรรคสอง บัญญัติว่า "ในการเสียภาษีอากรและค่าธรรมเนียมตามมาตรานี้ เศษของหนึ่งบาทให้ตัดทิ้ง" บทบัญญัติดังกล่าวเป็นเรื่องที่ยกเว้นภาษีแก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเฉพาะเศษของบาทจากการคำนวณในกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีนำเงินค่าภาษีทั้งหมดมาชำระ เมื่อผู้มีหน้าที่เสียภาษีมิได้นำเงินค่าภาษีมาชำระหรือชำระไม่ครบถ้วน การคำนวณภาษีดังกล่าวจึงยังไม่สิ้นสุด การที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยให้ตัดเศษของบาทจากการคำนวณภาษีจึงไม่ชอบ
พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2500 มาตรา 5 บัญญัติว่า "ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ในหมวด 3 และภาษีการค้าในหมวด 4 ของลักษณะ 2 แห่ง ป.รัษฎากร แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเฉพาะเศษของบาทจากการคำนวณภาษี" และ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครพ.ศ.2528 มาตรา 112 วรรคสอง บัญญัติว่า "ในการเสียภาษีอากรและค่าธรรมเนียมตามมาตรานี้ เศษของหนึ่งบาทให้ตัดทิ้ง" บทบัญญัติดังกล่าวเป็นเรื่องที่ยกเว้นภาษีแก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเฉพาะเศษของบาทจากการคำนวณในกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีนำเงินค่าภาษีทั้งหมดมาชำระ เมื่อผู้มีหน้าที่เสียภาษีมิได้นำเงินค่าภาษีมาชำระหรือชำระไม่ครบถ้วน การคำนวณภาษีดังกล่าวจึงยังไม่สิ้นสุด การที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยให้ตัดเศษของบาทจากการคำนวณภาษีจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4367/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน ต้องอิงค่ารายปีปีก่อนหน้า และมีเหตุผลรองรับการเปลี่ยนแปลงที่สูงกว่าปกติ
จำเลยที่ 1 ประเมินค่ารายปีทรัพย์สินที่พิพาทของโจทก์โดยนำเอาแต่เพียงราคาค่าเช่ามาตรฐานกลางมาเป็นเกณฑ์ประเมิน มิได้นำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วมาเป็นหลักในการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมาตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475มาตรา 18 และจำเลยที่ 1 ก็มิได้นำสืบว่า เหตุที่ประเมินค่ารายปีเพิ่มขึ้นมากเช่นนั้นมีเหตุผลพิเศษอย่างไร เช่นอัตราค่าภาษีของปีที่ล่วงแล้วต่ำไปหรือไม่เหมาะสมอย่างไรหรือว่าทรัพย์สินที่พิพาทของโจทก์ได้รับประโยชน์จากบริการสาธารณะเพิ่มขึ้นมากจนเป็นเหตุเพียงพอให้จำเลยที่ 1กำหนดค่ารายปีเพิ่มขึ้นมากเป็นพิเศษตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 8ดังนั้น การประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1และคำชี้ขาดของคณะกรรมการพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่จึงไม่ถูกต้อง ไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ ส่วนที่โจทก์อ้างว่าค่ารายปีทรัพย์สินที่พิพาทของโจทก์ควรเพิ่มขึ้นเป็นอัตราส่วนเท่ากับดัชนีราคาผู้บริโภคปี 2538 ของกองดัชนีเศรษฐกิจการค้า กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2537 เพียงร้อยละ 5.8ค่ารายปีทรัพย์สินที่พิพาทของโจทก์ประจำปีภาษี 2539 จึงควรเป็นเงินจำนวน 634,800 บาท และค่าภาษีควรเป็นเงิน79,350 บาท นั้น ถือได้ว่าเป็นการกำหนดค่ารายปีโดยนำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วมาเป็นเกณฑ์ในการคำนวณค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4367/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินที่มิชอบ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องใช้ค่ารายปีของปีที่แล้วเป็นหลัก และแสดงเหตุผลพิเศษในการเพิ่มค่าประเมิน
จำเลยที่ 1 ประเมินค่ารายปีทรัพย์สินที่พิพาทของโจทก์โดยนำเอาแต่เพียงราคาค่าเช่ามาตรฐานกลางมาเป็นเกณฑ์ประเมิน มิได้นำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วมาเป็นหลักในการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมาตามที่บัญญัติไว้ในพ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 18 และจำเลยที่ 1 ก็มิได้นำสืบว่า เหตุที่ประเมินค่ารายปีเพิ่มขึ้นมากเช่นนั้นมีเหตุผลพิเศษอย่างไร เช่น อัตราค่าภาษีของปีที่ล่วงแล้วต่ำไปหรือไม่เหมาะสมอย่างไร หรือว่าทรัพย์สินที่พิพาทของโจทก์ได้รับประโยชน์จากบริการสาธารณะเพิ่มขึ้นมากจนเป็นเหตุเพียงพอให้จำเลยที่ 1กำหนดค่ารายปีเพิ่มขึ้นมากเป็นพิเศษตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 8 ดังนั้น การประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 และคำชี้ขาดของคณะกรรมการพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่จึงไม่ถูกต้อง ไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรมแก่โจทก์
ส่วนที่โจทก์อ้างว่าค่ารายปีทรัพย์สินที่พิพาทของโจทก์ควรเพิ่มขึ้นเป็นอัตราส่วนเท่ากับดัชนีราคาผู้บริโภคปี 2538 ของกองดัชนีเศรษฐกิจการค้ากรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2537 เพียงร้อยละ5.8 ค่ารายปีทรัพย์สินที่พิพาทของโจทก์ประจำปีภาษี 2539 จึงควรเป็นเงินจำนวน634,800 บาท และค่าภาษีควรเป็นเงิน 79,350 บาท นั้น ถือได้ว่าเป็นการกำหนดค่ารายปีโดยนำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วมาเป็นหลักในการคำนวณค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 แล้ว
ส่วนที่โจทก์อ้างว่าค่ารายปีทรัพย์สินที่พิพาทของโจทก์ควรเพิ่มขึ้นเป็นอัตราส่วนเท่ากับดัชนีราคาผู้บริโภคปี 2538 ของกองดัชนีเศรษฐกิจการค้ากรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2537 เพียงร้อยละ5.8 ค่ารายปีทรัพย์สินที่พิพาทของโจทก์ประจำปีภาษี 2539 จึงควรเป็นเงินจำนวน634,800 บาท และค่าภาษีควรเป็นเงิน 79,350 บาท นั้น ถือได้ว่าเป็นการกำหนดค่ารายปีโดยนำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วมาเป็นหลักในการคำนวณค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3990/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีสรรพสามิตกรณีสินค้าผลิตในราชอาณาจักร และฐานภาษีตามราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม
ฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งหมดเมื่ออ่านรวมกันแล้วก็คือโจทก์ประสงค์จะอุทธรณ์ว่าการประเมินภาษีสรรพสามิต ของเจ้าพนักงานสรรพสามิตไม่ชอบนั่นเอง ประเด็นในชั้นอุทธรณ์จึงมีว่าการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ชอบหรือไม่ในการพิจารณาปัญหานี้จำเป็นที่ศาลจะต้องพิจารณาถึงตัวบทกฎหมายในเรื่องการเสียภาษีสรรพสามิตว่ามีอยู่อย่างไร คำวินิจฉัยของศาลภาษีอากรที่พิจารณาพิพากษาถึงภาษีสรรพสามิตจึงเป็นเรื่องอยู่ในประเด็น หาใช่เป็นการพิจารณาพิพากษานอกประเด็นไม่ คำสั่งกรมสรรพสามิตที่ 41/2535 เป็นคำสั่งที่อธิบดีกรมสรรพสามิตออกเพื่อตีความว่า สิ่งใดบ้างเป็นเครื่องปรับอากาศตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตที่ 03.01 ในกรณีที่มีผู้นำของเข้ามา ซึ่งจะต้องเสียภาษีสรรพสามิตในขณะนำเข้าโดยกฎหมายถือว่าความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีสรรพสามิตนั้นเกิดขึ้นในเวลาเดียวกับความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีศุลกากรสำหรับของที่นำเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ส่วนฐาน ในการคำนวณภาษีคือ มูลค่าที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องเสียภาษีนั้น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่พระราชบัญญัติสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 7 มาตรา 8 บัญญัติไว้ กล่าวโดยสรุปมาตรา 7 เป็นการวางหลักว่าผู้มีหน้าที่เสียภาษีมีหน้าที่เสียภาษีตามมูลค่าหรือปริมาณของสินค้าหรือบริการนั้นตามอัตราที่ระบุไว้ในกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตที่ใช้อยู่ในเวลาที่ความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้นส่วนมาตรา 8 เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณภาษี หรือวิธีการ หาฐานภาษีนั่นเอง โดยแยกออกเป็นกรณี ๆ ไป ได้แก่กรณีสินค้า ที่ผลิตในราชอาณาจักร กรณีสินค้านำเข้า และกรณีบริการ กรณีของโจทก์โจทก์สั่งชิ้นส่วนของเครื่องปรับอากาศเข้ามา แล้วโจทก์จึงมาสั่งคอมเพรสเซอร์มาประกอบเข้ากับชิ้นส่วน ที่นำเข้า ขายเป็นเครื่องปรับอากาศรถยนต์ให้แก่บุคคลภายนอก อีกต่อหนึ่ง ถือเป็นกรณีสินค้าผลิตในราชอาณาจักรตามความหมายของคำว่าผลิต ที่ระบุไว้ ในมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 การคำนวณค่าภาษีต้องเป็นไปตามมาตรา 8(1) คือ ถือตามราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม ซึ่งโจทก์รับอยู่แล้วว่า ต้องมีชิ้นส่วนต่าง ๆ นอกเหนือจากที่สั่งเข้ามา จึงจะประกอบ เป็นเครื่องปรับอากาศได้ เพราะฉะนั้นราคาของเครื่องปรับอากาศแต่ละเครื่องที่โจทก์ขายจึงต้องมีราคาทุนเพิ่มขึ้นจากเดิมราคาขายจึงต้องสูงขึ้น เมื่อโจทก์เสียภาษีไว้ไม่ถูกต้องเจ้าพนักงานตรวจสอบพบก็มีอำนาจประเมินใหม่ให้ถูกต้องได้โจทก์จะอ้างว่าได้เสียภาษีสรรพสามิตไปแล้วตอนนำเข้าตามคำสั่งที่ 41/2535 จึงไม่ต้องเสียอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3990/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีสรรพสามิตสินค้าผลิตในราชอาณาจักร: คำนวณจากราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม
ฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งหมดเมื่ออ่านรวมกันแล้วก็คือ โจทก์ประสงค์จะอุทธรณ์ว่าการประเมินภาษีสรรพสามิตของเจ้าพนักงานสรรพสามิตไม่ชอบนั่นเอง ประเด็นในชั้นอุทธรณ์จึงมีว่าการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ชอบหรือไม่ในการพิจารณาปัญหานี้จำเป็นอยู่ที่ศาลจะต้องพิจารณาถึงตัวบทกฎหมายในเรื่องการเสียภาษีสรรพสามิตว่ามีอยู่อย่างไร คำวินิจฉัยของศาลภาษีอากรกลางที่พิจารณาพิพากษาถึงภาษีสรรพสามิตจึงเป็นเรื่องอยู่ในประเด็น หาใช่เป็นการพิจารณาพิพากษานอกประเด็นดังโจทก์กล่าวอ้างในอุทธรณ์ไม่
คำสั่งกรมสรรพสามิตที่ 41/2535 เป็นคำสั่งที่อธิบดีกรมสรรพสามิตออกเพื่อตีความว่า สิ่งใดบ้างเป็นเครื่องปรับอากาศตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตที่ 03.01 ในกรณีที่มีผู้นำของเข้ามา ซึ่งจะต้องเสียภาษีสรรพสามิตในขณะนำเข้าโดยกฎหมายถือว่าความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีสรรพสามิตนั้นเกิดขึ้นในเวลาเดียวกับความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีศุลกากรสำหรับของที่นำเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ส่วนฐานในการคำนวณภาษีคือ มูลค่าที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องเสียภาษีนั้น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ พ.ร.บ.สรรพสามิต พ.ศ.2527มาตรา 7 มาตรา 8 บัญญัติไว้ กล่าวโดยสรุป มาตรา 7 เป็นการวางหลักว่าผู้มีหน้าที่เสียภาษีมีหน้าที่เสียภาษีตามมูลค่าหรือปริมาณของสินค้าหรือบริการนั้นตามอัตราที่ระบุไว้ในกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตที่ใช้อยู่ในเวลาที่ความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้น ส่วนมาตรา 8 เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณภาษี หรือวิธีการหาฐานภาษีนั่นเอง โดยแยกออกเป็นกรณี ๆ ไป ได้แก่กรณีสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร กรณีสินค้านำเข้าและกรณีบริการ
โจทก์สั่งชิ้นส่วนของเครื่องปรับอากาศเข้ามา แล้วโจทก์จึงมาสั่งคอมเพรสเซอร์มาประกอบเข้ากับชิ้นส่วนที่นำเข้า ขายเป็นเครื่องปรับอากาศรถยนต์ให้แก่บุคคลภายนอกอีกต่อหนึ่ง ถือเป็นกรณีสินค้าผลิตในราชอาณาจักรตามความหมายของคำว่า ผลิต ที่ระบุไว้ในมาตรา 4 ของ พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิตพ.ศ.2527 การคำนวณค่าภาษีต้องเป็นไปตามมาตรา 8 (1) คือ ถือตามราคาขายณ โรงอุตสาหกรรม ซึ่งโจทก์รับอยู่แล้วว่าต้องมีชิ้นส่วนต่าง ๆ นอกเหนือจากที่สั่งเข้ามา จึงจะประกอบเป็นเครื่องปรับอากาศได้ เพราะฉะนั้นราคาของเครื่องปรับอากาศแต่ละเครื่องที่โจทก์ขายจึงต้องมีราคาทุนเพิ่มขึ้นจากเดิม ราคาขายจึงต้องสูงขึ้น เมื่อโจทก์เสียภาษีไว้ไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานตรวจสอบพบก็มีอำนาจประเมินใหม่ให้ถูกต้องได้ โจทก์จะอ้างว่าได้เสียภาษีสรรพสามิตไปแล้วตอนนำเข้าตามคำสั่งที่ 41/2535 จึงไม่ต้องเสียอีกไม่ได้
คำสั่งกรมสรรพสามิตที่ 41/2535 เป็นคำสั่งที่อธิบดีกรมสรรพสามิตออกเพื่อตีความว่า สิ่งใดบ้างเป็นเครื่องปรับอากาศตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตที่ 03.01 ในกรณีที่มีผู้นำของเข้ามา ซึ่งจะต้องเสียภาษีสรรพสามิตในขณะนำเข้าโดยกฎหมายถือว่าความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีสรรพสามิตนั้นเกิดขึ้นในเวลาเดียวกับความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีศุลกากรสำหรับของที่นำเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ส่วนฐานในการคำนวณภาษีคือ มูลค่าที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องเสียภาษีนั้น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ พ.ร.บ.สรรพสามิต พ.ศ.2527มาตรา 7 มาตรา 8 บัญญัติไว้ กล่าวโดยสรุป มาตรา 7 เป็นการวางหลักว่าผู้มีหน้าที่เสียภาษีมีหน้าที่เสียภาษีตามมูลค่าหรือปริมาณของสินค้าหรือบริการนั้นตามอัตราที่ระบุไว้ในกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตที่ใช้อยู่ในเวลาที่ความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้น ส่วนมาตรา 8 เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณภาษี หรือวิธีการหาฐานภาษีนั่นเอง โดยแยกออกเป็นกรณี ๆ ไป ได้แก่กรณีสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร กรณีสินค้านำเข้าและกรณีบริการ
โจทก์สั่งชิ้นส่วนของเครื่องปรับอากาศเข้ามา แล้วโจทก์จึงมาสั่งคอมเพรสเซอร์มาประกอบเข้ากับชิ้นส่วนที่นำเข้า ขายเป็นเครื่องปรับอากาศรถยนต์ให้แก่บุคคลภายนอกอีกต่อหนึ่ง ถือเป็นกรณีสินค้าผลิตในราชอาณาจักรตามความหมายของคำว่า ผลิต ที่ระบุไว้ในมาตรา 4 ของ พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิตพ.ศ.2527 การคำนวณค่าภาษีต้องเป็นไปตามมาตรา 8 (1) คือ ถือตามราคาขายณ โรงอุตสาหกรรม ซึ่งโจทก์รับอยู่แล้วว่าต้องมีชิ้นส่วนต่าง ๆ นอกเหนือจากที่สั่งเข้ามา จึงจะประกอบเป็นเครื่องปรับอากาศได้ เพราะฉะนั้นราคาของเครื่องปรับอากาศแต่ละเครื่องที่โจทก์ขายจึงต้องมีราคาทุนเพิ่มขึ้นจากเดิม ราคาขายจึงต้องสูงขึ้น เมื่อโจทก์เสียภาษีไว้ไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานตรวจสอบพบก็มีอำนาจประเมินใหม่ให้ถูกต้องได้ โจทก์จะอ้างว่าได้เสียภาษีสรรพสามิตไปแล้วตอนนำเข้าตามคำสั่งที่ 41/2535 จึงไม่ต้องเสียอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3989/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการต่อภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกประเมินต่อบริษัท และสิทธิในการโต้แย้งการประเมิน
เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับและเงินเพิ่มจากจำเลยที่ 1 ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 88 (3) กรณีเช่นนี้ จำเลยที่ 1 ผู้ต้องเสียภาษีเท่านั้นที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินและผูกพันจำเลยที่ 1ให้ต้องชำระค่าภาษีตามการประเมิน แต่จะนำหนี้ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวมาใช้ยันแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้ถูกประเมินด้วยหาได้ไม่ การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ให้ร่วมรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิโต้แย้งได้ว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ถูกต้อง และหากฟังได้ว่าจำเลยที่ 1มีภาษีซื้อในเดือนภาษีกุมภาพันธ์และมีนาคม 2538 ก็ย่อมมีสิทธินำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่จำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ได้
จำเลยที่ 2 ให้การว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมโดยอ้างว่าโจทก์ไม่บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ถูกต้องอย่างไร ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้โจทก์เท่าใด ไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเพราะเหตุใด ทั้งไม่ได้บรรยายถึงขั้นตอนการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุม เพราะโจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมิน เจ้าพนักงานประเมินจึงประเมินให้จำเลยที่ 1 ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เกี่ยวข้องกับภาษีมูลค่าเพิ่มที่ไม่ถูกต้องอย่างไรได้มีการแจ้งผลการประเมินให้จำเลยที่ 2 ทราบเพื่อให้ใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินหรือไม่ ข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528มาตรา 29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 2 ให้การว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมโดยอ้างว่าโจทก์ไม่บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ถูกต้องอย่างไร ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้โจทก์เท่าใด ไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเพราะเหตุใด ทั้งไม่ได้บรรยายถึงขั้นตอนการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุม เพราะโจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมิน เจ้าพนักงานประเมินจึงประเมินให้จำเลยที่ 1 ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เกี่ยวข้องกับภาษีมูลค่าเพิ่มที่ไม่ถูกต้องอย่างไรได้มีการแจ้งผลการประเมินให้จำเลยที่ 2 ทราบเพื่อให้ใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินหรือไม่ ข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528มาตรา 29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3989/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการต่อภาษีค้างชำระของบริษัท และสิทธิในการโต้แย้งการประเมินภาษี
เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเบี้ยปรับ และเงินเพิ่มจากจำเลยที่ 1 ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 88(3) กรณีเช่นนี้ จำเลยที่ 1 ผู้ต้องเสียภาษีเท่านั้นที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินและผูกพันจำเลยที่ 1 ให้ต้องชำระค่าภาษีตามการประเมิน แต่จะนำหนี้ของจำเลยที่ 1ดังกล่าวมาใช้ยันแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้ถูกประเมินด้วยหาได้ไม่ การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ให้ร่วมรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1ด้วย จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิโต้แย้งได้ว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ถูกต้อง และหากฟังได้ว่าจำเลยที่ 1มีภาษีซื้อในเดือนภาษีกุมภาพันธ์และมีนาคม 2538 ก็ย่อมมีสิทธินำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่จำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ได้ จำเลยที่ 2 ให้การว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมโดยอ้างว่า โจทก์ไม่บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ถูกต้องอย่างไร ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้โจทก์เท่าใดไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเพราะเหตุใด ทั้งไม่ได้บรรยายถึงขั้นตอนการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่าฟ้องของโจทก์ เคลือบคลุม เพราะโจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมิน เจ้าพนักงาน ประเมินจึงประเมินให้จำเลยที่ 1 ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เกี่ยวข้องกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ไม่ถูกต้องอย่างไรได้มีการแจ้งผลการประเมินให้จำเลยที่ 2ทราบเพื่อให้ใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินหรือไม่ ข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3631/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ยื่นแก้ไขแล้วถือเป็นสิทธิทำได้ แม้การยื่นครั้งแรกจะผิดพลาด
แม้โจทก์จะยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้อง โดยโจทก์ใช้สิทธิเครดิตภาษีสำหรับสินค้าคงเหลือในเดือนภาษีมกราคมและกุมภาพันธ์ 2535เกินไปเดือนละ 20,305.11 บาท แต่โจทก์ไม่มีจำนวนภาษีที่ต้องชำระ อีกทั้งผลต่างจำนวนเงิน 20,305.11 บาท ของภาษีการค้าของสินค้าคงเหลือที่โจทก์นำมาเครดิตนั้น นอกจากโจทก์ไม่ได้รับเงินภาษีจำนวนดังกล่าวคืนไปจากจำเลยแล้วโจทก์ก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์หรืออ้างว่ามีสิทธิได้รับประโยชน์จากเครดิตภาษีจำนวนดังกล่าวด้วย และภายหลังโจทก์ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานของกรมสรรพากรจำเลยว่ามีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับการขอเครดิตภาษีสำหรับสินค้าคงเหลือของโจทก์ โจทก์ก็ได้ยื่นแก้ไขแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มให้ถูกต้องสำหรับเดือนภาษีดังกล่าวตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ของจำเลย จึงถือได้ว่าแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับเดิมได้ถูกยกเลิกไปโดยให้ใช้แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับที่แก้ไขใหม่ ซึ่งมีการแก้ไขจำนวนตัวเลขที่ถูกต้องแล้ว
ตามแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับที่ยื่นแก้ไขเพิ่มเติมเมื่ออ่านรวมกันแล้วก็พอเข้าใจได้ว่าโจทก์ได้ดำเนินการยื่นแก้ไขแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มของเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2535 ให้ถูกต้องแล้ว โจทก์จึงหาจำต้องระบุให้ชัดเจนว่าผิดพลาดอย่างไรและต้องแก้ไขเพิ่มเติมตรงไหน
ตามแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับที่ยื่นแก้ไขเพิ่มเติมเมื่ออ่านรวมกันแล้วก็พอเข้าใจได้ว่าโจทก์ได้ดำเนินการยื่นแก้ไขแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มของเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2535 ให้ถูกต้องแล้ว โจทก์จึงหาจำต้องระบุให้ชัดเจนว่าผิดพลาดอย่างไรและต้องแก้ไขเพิ่มเติมตรงไหน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3631/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกต้อง แม้รายละเอียดไม่ชัดเจน ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
แม้โจทก์จะยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องโดยโจทก์ใช้สิทธิเครดิตภาษีสำหรับสินค้าคงเหลือในเดือนภาษีมกราคมและกุมภาพันธ์ 2535 เกินไปเดือนละ20,305.11 บาท แต่โจทก์ไม่มีจำนวนภาษีที่ต้องชำระอีกทั้งผลต่างจำนวนเงิน 20,305.11 บาท ของภาษีการค้าของสินค้าคงเหลือที่โจทก์นำมาเครดิต นั้น นอกจากโจทก์ไม่ได้รับเงินภาษีจำนวนดังกล่าวคืนไปจากจำเลยแล้วโจทก์ก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์หรืออ้างว่ามีสิทธิได้รับประโยชน์จากเครดิตภาษีจำนวนดังกล่าวด้วย และภายหลังโจทก์ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานของกรมสรรพากรจำเลยว่า มีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับการขอเครดิตภาษีสำหรับสินค้าคงเหลือของโจทก์ โจทก์ก็ได้ยื่นแก้ไขแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มให้ถูกต้องสำหรับเดือนภาษีดังกล่าวตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ของจำเลย จึงถือได้ว่าแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับเดิมได้ถูกยกเลิกไปโดยให้ใช้แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับที่แก้ไขใหม่ ซึ่งมีการแก้ไขจำนวนดังกล่าวที่ถูกต้องแล้ว ตามแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับที่ยื่นแก้ไขเพิ่มเติมเมื่ออ่านรวมกันแล้วก็พอเข้าใจได้ว่าโจทก์ได้ดำเนินการยื่นแก้ไขแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มของเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2535 ให้ถูกต้องแล้วโจทก์จึงหาจำต้องระบุให้ชัดเจนว่าผิดพลาดอย่างไรและต้องแก้ไขเพิ่มเติมตรงไหน