พบผลลัพธ์ทั้งหมด 933 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4498/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานภาษีการพนัน: การตีความ 'ยอดที่ต้องเสีย' ใน พ.ร.บ.การพนัน และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง
ตามมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.การพนัน (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2503 ผู้รับใบอนุญาตการเล่นหมายเลข 17 หมายเลข 18 และหมายเลข 19 ในบัญชี ข.จะต้องเสียภาษีตามมาตรา 16 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวจากฐานที่ไม่เหมือนกันกล่าวคือ ผู้รับใบอนุญาตการเล่นหมายเลข 17 ในบัญชี ข.เสียภาษีจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่าย ผู้รับใบอนุญาตการเล่นหมายเลข 18 ในบัญชี ข.เสียภาษีจากยอดสลากซึ่งมีผู้รับซื้อก่อนหักรายจ่าย และผู้รับใบอนุญาตการเล่นหมายเลข 19ในบัญชี ข.เสียภาษีจากยอดรายรับซึ่งหักรายจ่ายแล้ว ดังนั้น การที่ มาตรา 16วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวบัญญัติให้ผู้รับใบอนุญาตการเล่นหมายเลข 17หมายเลข 18 และหมายเลข 19 ในบัญชี ข.เสียภาษีเพิ่มขึ้นอีกไม่เกินร้อยละสองครึ่งเพื่อให้เป็นรายได้แก่เทศบาลแห่งท้องที่ที่เล่นการพนันตามใบอนุญาต โดยมิได้ระบุว่าให้เสียภาษีเพิ่มขึ้นอีกร้อยละสองครึ่งจากฐานใดนั้น จึงหมายความว่าให้ผู้รับใบอนุญาตหมายเลข 17 หมายเลข 18 และหมายเลข 19 ดังกล่าวเสียภาษีเพิ่มขึ้นอีกไม่เกินร้อยละสองครึ่งแห่งยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายหรือยอดราคาสลากซึ่งมีผู้รับซื้อก่อนหักรายจ่ายหรือยอดรายรับซึ่งหักรายจ่ายแล้วแล้วแต่ว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นเป็นผู้รับใบอนุญาตการเล่นหมายเลขใดในบัญชี ข.ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ออกกฎกระทรวงฉบับที่ 17 (พ.ศ.2503)ตามความใน พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478 กำหนดภาษีตามมาตรา 16 วรรคหนึ่งไว้ในข้อ 12 วรรคหนึ่งว่า ผู้รับใบอนุญาตการเล่นโตแตไลเซเตอร์สำหรับการเล่นอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งเป็นการเล่นหมายเลข 19 ในบัญชี ข.เสียภาษีในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีร้อยละ 10 ในจังหวัดอื่นร้อยละ 5 แห่งยอดรายรับซึ่งหักรายจ่ายแล้วผู้รับใบอนุญาตการเล่นสลากกินแบ่ง สลากกินรวบหรือการเล่นอย่างใด ที่เสี่ยงโชคให้เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นแก่ผู้เล่นคนใดคนหนึ่ง สวีปหรือขายสลากกินแบ่ง สลากกินรวบหรือสวีปซึ่งไม่ได้ออกในประเทศไทย แต่ได้จัดให้มีขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายของประเทศนั้น ซึ่งเป็นการเล่นหมายเลข 16 หมายเลข 18และหมายเลข 20 ในบัญชี ข.เสียภาษีในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีร้อยละ10 ในจังหวัดอื่นร้อยละ 5 แห่งยอดราคาสลากซึ่งมีผู้รับซื้อก่อนหักรายจ่าย และกำหนดในข้อ 12 วรรคสองว่า นอกจากภาษีดังกล่าวแล้วให้ผู้รับใบอนุญาตเสียภาษีเพิ่มขึ้น ตามมาตรา 16 วรรคสอง อีกร้อยละสองครึ่งแห่งยอดที่ต้องเสียเพื่อเป็นรายได้ของเทศบาลแห่งท้องที่ที่เล่นการพนันตามใบอนุญาต ดังนั้น คำว่า "ยอดที่ต้องเสีย" ตามข้อ 12 วรรคสอง แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 17 (พ.ศ.2503)ดังกล่าว จึงหมายถึงยอดที่เป็นฐานในการเสียภาษีตามวรรคหนึ่งคือยอดรายรับก่อนหักรายจ่าย แล้วแต่ว่าเป็นผู้รับใบอนุญาตการเล่นหมายเลขใดในบัญชี ข.นั่นเอง หาใช่ว่าการเก็บภาษีเพิ่มขึ้นเป็นรายได้ของจำเลยจึงต้องเก็บจากยอดภาษีที่ต้องเสียโดยเทียบเคียงกับมาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.รายได้เทศบาลพ.ศ.2497 และมาตรา 112 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการ กรุงเทพ-มหานคร พ.ศ.2528 ไม่
แม้ความในมาตรา 12 วรรคสอง ของกฎกระทรวงฉบับที่ 17(พ.ศ.2503) จะใช้คำว่า "ยอดที่ต้องเสีย" โดยไม่ได้ระบุว่าให้เสียภาษีเพิ่มขึ้นจากฐานใด แต่เมื่อพิจารณาจาก พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478 มาตรา 16แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.การพนัน (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2503 ข้อ 12 และกฎกระทรวงฉบับที่ 17 (พ.ศ.2503) ตลอดจนหมายเหตุของการแก้ไขแล้วความในวรรคสองของมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478 นั้นต้องอ่านต่อเนื่องจากความในวรรคหนึ่ง ฐานในการจัดเก็บภาษีการพนันใช้ฐานในการคำนวณภาษีคือรายรับก่อนหักรายจ่าย ซึ่งในกรณีนี้คือสลากม้าแข่งที่สนามม้าได้รับไว้ทั้งสิ้น เมื่อโจทก์ผู้รับใบอนุญาตการเล่นโตแตไลเซเตอร์สำหรับการแข่งม้าซึ่งเป็นการเล่นหมายเลข 17 ในบัญชี ข.แห่ง พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478โจทก์จึงต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นตามมาตรา 16 วรรคสอง ในอัตราร้อยละสองครึ่งของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายของการเล่นการพนันดังกล่าว หาใช่ว่าต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นอีกร้อยละสองครึ่งแห่งยอดภาษีที่ต้องเสียตามวรรคหนึ่ง ตามถ้อยคำที่บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรในมาตรา 12 วรรคสอง ดังกล่าวไม่
แม้ความในมาตรา 12 วรรคสอง ของกฎกระทรวงฉบับที่ 17(พ.ศ.2503) จะใช้คำว่า "ยอดที่ต้องเสีย" โดยไม่ได้ระบุว่าให้เสียภาษีเพิ่มขึ้นจากฐานใด แต่เมื่อพิจารณาจาก พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478 มาตรา 16แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.การพนัน (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2503 ข้อ 12 และกฎกระทรวงฉบับที่ 17 (พ.ศ.2503) ตลอดจนหมายเหตุของการแก้ไขแล้วความในวรรคสองของมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478 นั้นต้องอ่านต่อเนื่องจากความในวรรคหนึ่ง ฐานในการจัดเก็บภาษีการพนันใช้ฐานในการคำนวณภาษีคือรายรับก่อนหักรายจ่าย ซึ่งในกรณีนี้คือสลากม้าแข่งที่สนามม้าได้รับไว้ทั้งสิ้น เมื่อโจทก์ผู้รับใบอนุญาตการเล่นโตแตไลเซเตอร์สำหรับการแข่งม้าซึ่งเป็นการเล่นหมายเลข 17 ในบัญชี ข.แห่ง พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478โจทก์จึงต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นตามมาตรา 16 วรรคสอง ในอัตราร้อยละสองครึ่งของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายของการเล่นการพนันดังกล่าว หาใช่ว่าต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นอีกร้อยละสองครึ่งแห่งยอดภาษีที่ต้องเสียตามวรรคหนึ่ง ตามถ้อยคำที่บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรในมาตรา 12 วรรคสอง ดังกล่าวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4358/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายสินค้าให้เช่าซื้อ: การจดทะเบียนย้อนหลังและการวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากร
ตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร (ฉบับที่ 30)พ.ศ.2534 มาตรา 26 ผู้ประกอบการที่จะมีสิทธิขอเสียภาษีการค้าและหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขายสินค้าตามสัญญาให้เช่าซื้อจะต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งตาม ป.รัษฎากร มาตรา 77/1 (6)ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้แก่ผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 85 หรือ 85/1 หรือที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราวตามมาตรา85/3 และตาม ป.รัษฎากร มาตรา 85 วรรคสี่ การยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดและให้ผู้ประกอบการดังกล่าวเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนนับแต่วันที่ระบุไว้ในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้โจทก์จะได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อวันที่ 19 มีนาคม2535 อันเป็นระยะเวลาภายหลังจากที่โจทก์ยื่นขอรับสิทธิเสียภาษีการค้าและหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.03.5 เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2535 ก็ตามแต่อธิบดีกรมสรรพากรก็ได้อนุมัติให้การเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของโจทก์มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 เป็นต้นมา และให้โจทก์มีสิทธิได้รับการพิจารณาเพื่อขอรับสิทธิเสียภาษีการค้าและหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มจึงต้องถือว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนับแต่วันดังกล่าวตาม ป.รัษฎากร มาตรา 85 วรรคสี่ และมีผลทำให้การยื่นคำขอรับสิทธิเสียภาษีการค้าและหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.03.5 เมื่อวันที่ 30 มกราคม2535 เป็นการยื่นในฐานะผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โจทก์จึงได้รับสิทธิขอเสียภาษีการค้าและหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมป.รัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 มาตรา 26
ตามมาตรา 26 วรรคห้า แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 คำวินิจฉัยที่จะถือเป็นที่สุดต้องเป็นคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากร แต่ ว.มิได้เป็นอธิบดีกรมสรรพากรในขณะนั้น ทั้งไม่ปรากฏว่าอธิบดีกรมสรรพากรได้มีคำสั่งมอบหมายให้ ว.มีคำวินิจฉัยดังกล่าวแทนตน คำวินิจฉัยของ ว.ที่วินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ได้รับสิทธิขอเสียภาษีการค้าและหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มจึงยังไม่ถือเป็นที่สุด
ตามมาตรา 26 วรรคห้า แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 คำวินิจฉัยที่จะถือเป็นที่สุดต้องเป็นคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากร แต่ ว.มิได้เป็นอธิบดีกรมสรรพากรในขณะนั้น ทั้งไม่ปรากฏว่าอธิบดีกรมสรรพากรได้มีคำสั่งมอบหมายให้ ว.มีคำวินิจฉัยดังกล่าวแทนตน คำวินิจฉัยของ ว.ที่วินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ได้รับสิทธิขอเสียภาษีการค้าและหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มจึงยังไม่ถือเป็นที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4358/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุมัติให้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มย้อนหลัง ทำให้มีสิทธิขอรับสิทธิเสียภาษีการค้า/ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มได้
ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534มาตรา 26 ผู้ประกอบการที่จะมีสิทธิขอเสียภาษีการค้าและหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขายสินค้าตามสัญญาให้เช่าซื้อจะต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77/1(6) ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้แก่ผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 85 หรือ 85/1 หรือที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราวตามมาตรา 85/3 และตามประมวลรัษฎากร มาตรา 85 วรรคสี่ การยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดและให้ผู้ประกอบการดังกล่าวเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนนับแต่วันที่ระบุไว้ในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้โจทก์จะได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2535 อันเป็นระยะเวลาภายหลังจากที่โจทก์ยื่นขอรับสิทธิเสียภาษีการค้าและหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.03.5เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2535 ก็ตาม แต่อธิบดีกรมสรรพากรก็ได้อนุมัติให้การเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของโจทก์มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม2535 เป็นต้นมา และให้โจทก์มีสิทธิได้รับการพิจารณาเพื่อขอรับสิทธิเสียภาษีการค้าและหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงต้องถือว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนับแต่วันดังกล่าวตามประมวลรัษฎากร มาตรา 85 วรรคสี่ และมีผลทำให้การยื่นคำขอรับสิทธิเสียภาษีการค้าและหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.03.5เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2535 เป็นการยื่นในฐานะผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มโจทก์จึงได้รับสิทธิขอเสียภาษีการค้าและหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 มาตรา 26
ตามมาตรา 26 วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 คำวินิจฉัยที่จะถือเป็นที่สุดต้องเป็นคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากร แต่ ว. มิได้เป็นอธิบดีกรมสรรพากรในขณะนั้น ทั้งไม่ปรากฏว่าอธิบดีกรมสรรพากรได้มีคำสั่งมอบหมายให้ ว. มีคำวินิจฉัยดังกล่าวแทนตน คำวินิจฉัยของ ว. ที่วินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ได้รับสิทธิขอเสียภาษีการค้าและหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงยังไม่ถือเป็นที่สุด
ตามมาตรา 26 วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 คำวินิจฉัยที่จะถือเป็นที่สุดต้องเป็นคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากร แต่ ว. มิได้เป็นอธิบดีกรมสรรพากรในขณะนั้น ทั้งไม่ปรากฏว่าอธิบดีกรมสรรพากรได้มีคำสั่งมอบหมายให้ ว. มีคำวินิจฉัยดังกล่าวแทนตน คำวินิจฉัยของ ว. ที่วินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ได้รับสิทธิขอเสียภาษีการค้าและหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงยังไม่ถือเป็นที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4358/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุมัติให้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มย้อนหลัง ทำให้มีสิทธิได้รับการพิจารณาขอเสียภาษีการค้า/ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534มาตรา 26 ผู้ประกอบการที่จะมีสิทธิขอเสียภาษีการค้าและหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขายสินค้าตามสัญญาให้เช่าซื้อจะต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77/1(6) ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้แก่ผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 85 หรือ 85/1 หรือที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราวตามมาตรา 85/3 และตามประมวลรัษฎากร มาตรา 85 วรรคสี่ การยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดและให้ผู้ประกอบการดังกล่าวเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนนับแต่วันที่ระบุไว้ในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้โจทก์จะได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2535 อันเป็นระยะเวลาภายหลังจากที่โจทก์ยื่นขอรับสิทธิเสียภาษีการค้าและหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.03.5เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2535 ก็ตาม แต่อธิบดีกรมสรรพากรก็ได้อนุมัติให้การเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของโจทก์มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม2535 เป็นต้นมา และให้โจทก์มีสิทธิได้รับการพิจารณาเพื่อขอรับสิทธิเสียภาษีการค้าและหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงต้องถือว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนับแต่วันดังกล่าวตามประมวลรัษฎากร มาตรา 85 วรรคสี่ และมีผลทำให้การยื่นคำขอรับสิทธิเสียภาษีการค้าและหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.03.5เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2535 เป็นการยื่นในฐานะผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มโจทก์จึงได้รับสิทธิขอเสียภาษีการค้าและหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 มาตรา 26
ตามมาตรา 26 วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 คำวินิจฉัยที่จะถือเป็นที่สุดต้องเป็นคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากร แต่ ว. มิได้เป็นอธิบดีกรมสรรพากรในขณะนั้น ทั้งไม่ปรากฏว่าอธิบดีกรมสรรพากรได้มีคำสั่งมอบหมายให้ ว. มีคำวินิจฉัยดังกล่าวแทนตน คำวินิจฉัยของ ว. ที่วินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ได้รับสิทธิขอเสียภาษีการค้าและหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงยังไม่ถือเป็นที่สุด
ตามมาตรา 26 วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 คำวินิจฉัยที่จะถือเป็นที่สุดต้องเป็นคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากร แต่ ว. มิได้เป็นอธิบดีกรมสรรพากรในขณะนั้น ทั้งไม่ปรากฏว่าอธิบดีกรมสรรพากรได้มีคำสั่งมอบหมายให้ ว. มีคำวินิจฉัยดังกล่าวแทนตน คำวินิจฉัยของ ว. ที่วินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ได้รับสิทธิขอเสียภาษีการค้าและหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงยังไม่ถือเป็นที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4128/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินกรณีเจ้าของสถานีบริการเช่าที่ดิน: ค่าเช่ารวมถือเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษี
ตามบทบัญญัติของมาตรา 40 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 ซึ่งบัญญัติว่าถ้าที่ดินและโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ เป็นของคนละเจ้าของ เจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆต้องเสียภาษีทั้งสิ้น ฯลฯ นั้น เป็นการกำหนดว่าหากที่ดินและโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างเป็นของคนละเจ้าของกันแล้ว เป็นหน้าที่ของเจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินรวมกันแต่เมื่อค่าเช่าที่โจทก์ได้รับจากห้างหุ้นส่วนจำกัดช. เป็นการให้เช่าสถานีบริการ รวมทั้งที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกับสถานีบริการแสดงว่าเงินค่าเช่าจำนวนดังกล่าวเป็นค่าเช่าสถานีบริการและเช่าที่ดินรวมกันแล้ว การที่โจทก์ในฐานะเจ้าของโรงเรือนซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนได้เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินรวมกันมา จึงเป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4128/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน: การประเมินค่าเช่ารวมที่ดินเมื่อเจ้าของสถานีบริการและที่ดินต่างกัน
ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 40 วรรคสอง กำหนดว่าหากที่ดินและโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างเป็นของคนละเจ้าของกันแล้วเป็นหน้าที่ของเจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินจากค่ารายปีของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างรวมกันกับส่วนของที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอื่นนั้นด้วย เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของสถานีบริการน้ำมัน ส่วน ป. กับ จ. เป็นเจ้าของที่ดิน ดังนั้น ค่าเช่าที่โจทก์ได้รับจาก ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. จึงเป็นการให้เช่าสถานีบริการรวมทั้งที่ดินใช้ต่อเนื่องกับสถานีบริการแสดงว่าเงินค่าเช่าดังกล่าวเป็นค่าเช่าสถานีบริการและเช่าที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องด้วย จึงเป็นค่ารายปีที่โจทก์ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4128/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินกรณีเช่าสถานีบริการรวมที่ดิน
ตามบทบัญญัติของมาตรา 40 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 ซึ่งบัญญัติว่า ถ้าที่ดินและโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ เป็นของคนละเจ้าของ เจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆต้องเสียภาษีทั้งสิ้น ฯลฯ นั้น เป็นการกำหนดว่าหากที่ดินและโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างเป็นของคนละเจ้าของกันแล้ว เป็นหน้าที่ของเจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินรวมกัน แต่เมื่อค่าเช่าที่โจทก์ได้รับจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.เป็นการให้เช่าสถานีบริการ รวมทั้งที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกับสถานีบริการ แสดงว่าเงินค่าเช่าจำนวนดังกล่าวเป็นค่าเช่าสถานีบริการและเช่าที่ดินรวมกันแล้ว การที่โจทก์ในฐานะเจ้าของโรงเรือนซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนได้เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินรวมกันมา จึงเป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4092/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อเลิกกันเนื่องจากโจทก์ไม่ต่อทะเบียนรถยนต์ ทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดค่าเสียหาย
ราคารถยนต์คันที่เช่าซื้อที่ยังขาดจำนวนเป็นค่าเสื่อมราคาอันถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายซึ่งผู้เช่าซื้อจะรับผิดชอบก็ต่อเมื่อผู้เช่าซื้อเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อ การที่จำเลยที่ 1 นำรถยนต์คันที่เช่าซื้อไปคืนให้แก่โจทก์เป็นเพราะความผิดของโจทก์เองที่ไม่ยอมต่อทะเบียนรถยนต์ให้แก่จำเลยที่ 1 ทำให้จำเลยที่ 1 ไม่สามรถนำไปรับจ้างหาประโยชน์ได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการบอกเลิกสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 573ซึ่งคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 และเมื่อสัญญาเลิกกันโดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาแล้วโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกราคารถยนต์ที่ยังขาดจากจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4092/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อเลิกสัญญา: ค่าเสื่อมราคาเป็นค่าเสียหายเมื่อผู้เช่าซื้อไม่ได้ผิดสัญญา
ราคารถยนต์คันที่เช่าซื้อที่ยังขาดจำนวนเป็นค่าเสื่อมราคาอันถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายซึ่งผู้เช่าซื้อจะรับผิดชอบก็ต่อเมื่อผู้เช่าซื้อเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อ
การที่จำเลยที่ 1 นำรถยนต์คันที่เช่าซื้อไปคืนให้แก่โจทก์เป็นเพราะความผิดของโจทก์เองที่ไม่ยอมต่อทะเบียนรถยนต์ให้แก่จำเลยที่ 1 ทำให้จำเลยที่ 1 ไม่สามาถนำไปรับจ้างหาประโยชน์ได้ การกระทำของจำเลยที่ 1ดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการบอกเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ.มาตรา 573 ซึ่งคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 และเมื่อสัญญาเลิกกันโดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาแล้วโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกราคารถยนต์ที่ยังขาดจากจำเลยที่ 1
การที่จำเลยที่ 1 นำรถยนต์คันที่เช่าซื้อไปคืนให้แก่โจทก์เป็นเพราะความผิดของโจทก์เองที่ไม่ยอมต่อทะเบียนรถยนต์ให้แก่จำเลยที่ 1 ทำให้จำเลยที่ 1 ไม่สามาถนำไปรับจ้างหาประโยชน์ได้ การกระทำของจำเลยที่ 1ดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการบอกเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ.มาตรา 573 ซึ่งคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 และเมื่อสัญญาเลิกกันโดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาแล้วโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกราคารถยนต์ที่ยังขาดจากจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3706/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างต้องเป็นไปตามขั้นตอนกฎหมาย หากไม่เป็นไปตามขั้นตอน ศาลมีอำนาจยกการบังคับคดีได้
หลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนรั้วลวดหนามออกไปจากที่ดินโจทก์และห้ามจำเลยและบริวารเกี่ยวข้องกับที่ดินดังกล่าวอีกต่อไปขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค3จำเลยรับว่าได้ปลูกสร้างบ้านในที่พิพาทเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค3และศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนบ้านพิพาทดังกล่าวออกจากที่ดินซึ่งโจทก์มีสิทธิครอบครองได้แต่ในกรณีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากอสังหาริมทรัพย์นั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296เบญจกำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างนั้นและในการรื้อถอนให้ปิดประกาศกำหนดการรื้อถอนไว้ณบริเวณนั้นไม่น้อยกว่าเจ็ดวันดังนั้นการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีส่งมอบบ้านพิพาทให้โจทก์ครอบครองย่อมไม่ใช่เป็นวิธีการบังคับคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ศาลชอบที่จะมีคำสั่งให้ยกวิธีการบังคับคดีเฉพาะบ้านพิพาทและให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการใหม่เสียให้ถูกต้อง