คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
บุญสิน ตุลากัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 125 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1931/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามคำพิพากษาคดีอาญา แม้คดีที่ให้นับโทษต่อยังไม่สิ้นสุด
จำเลยถูกศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกในคดีอื่นแล้ว แม้จะอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยก็ยังต้องถูกบังคับตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น จึงไม่ใช่เหตุที่จะนับโทษต่อไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1930/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องทุกข์ในนามบริษัท vs. นามส่วนตัว: ผลกระทบต่อคดีอาญา
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติตามคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่า บริษัทโจทก์ร่วมได้ร้องทุกข์โดยชอบแล้วปัญหาว่า ส. ผู้เริ่มก่อตั้งบริษัทโจทก์ร่วม ได้ร้องทุกข์ในนามส่วนตัวหรือไม่ ย่อมไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างไร ดังนั้นที่จำเลยฎีกาโต้แย้งว่า ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ส. มอบอำนาจให้ร้องทุกข์ในนามส่วนตัวเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกสำนวน และผิดจากพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนนั้น แม้จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายแต่ก็ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1835/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมโมฆียะจากเจตนาบกพร่องของผู้ป่วยหนัก ญาติสนิททราบแต่ยังทำสัญญา
แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าในช่วงเวลาที่มีการโอนขายรถยนต์พิพาทส.ป่วยมากทั้งทางร่างกายและจิตใจ แต่ก็ปรากฏในคำขอโอนทะเบียนรถยนต์ว่า ส.ลงชื่อในช่องผู้โอนในเอกสารดังกล่าวโดยวิธีลงลายมือชื่อ แสดงว่าขณะที่ ส.โอนขายรถยนต์พิพาทให้แก่จำเลยทั้งสองนั้น ส.มิได้ขาดเจตนาในการทำนิติกรรมเสียเลย แต่การกระทำโดยมีเจตนาบกพร่อง เนื่องจากขณะนั้น ส.มีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ซึ่งจำเลยทั้งสองในฐานะที่เป็นญาติสนิทย่อมต้องทราบดี นิติกรรมโอนขายรถยนต์พิพาท จึงตกเป็นโมฆียะ โจทก์ในฐานะทายาทย่อมมีสิทธิบอกล่างโมฆียกรรมดังกล่าว และการที่โจทก์ฟ้องคดี ถือได้ว่าเป็นการบอกล้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 143 แล้วนิติกรรมโอนขายรถยนต์พิพาทจึงตกเป็นโมฆะมาแต่แรก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1659/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบ: จำเลยยกข้อเท็จจริงใหม่ในฎีกาที่ไม่เคยโต้แย้งในศาลชั้นต้น
จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง มิได้โต้เถียงว่าผู้ใดเป็นผู้เสียหาย ปัญหาเรื่องผู้ใดจะเป็นผู้เสียหายจึงยุติไปแล้ว ที่จำเลยฎีกามาเพียงประการเดียวว่า ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาที่โจทก์นำสืบในเรื่องผู้เสียหายแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏในฟ้องนั้น เป็นการยกข้อเท็จจริงที่จำเลยมิได้โต้เถียงไว้ในศาลชั้นต้นขึ้นมาอ้าง อันเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 ประกอบด้วยป.วิ.อ.มาตรา 15 ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาข้อนี้ของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1659/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเมื่อจำเลยอ้างเหตุผลที่ไม่เคยโต้แย้งในชั้นศาล
จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง มิได้โต้เถียงว่าผู้ใดเป็นผู้เสียหาย ปัญหาเรื่องผู้ใดจะเป็นผู้เสียหายจึงยุติไปแล้ว ที่จำเลยฎีกามาเพียงประการเดียวว่า ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาที่โจทก์นำสืบในเรื่องผู้เสียหายแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏในฟ้องนั้นเป็นการยกข้อเท็จจริงที่จำเลยมิได้โต้เถียงไว้ในศาลชั้นต้นมาอ้างอันเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาข้อนี้ของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1649/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายและการเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดู
ป.พ.พ. มาตรา 1566 บัญญัติให้บุตรผู้เยาว์ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ในอำนาจปกครองของบิดามารดาและให้อำนาจปกครองอยู่กับมารดาในกรณีที่บุตรเกิดจากหญิงที่มิได้สมรสกับชาย และยังมิได้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายโดยบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร และมาตรา 1556 ให้ผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กเป็นผู้ฟ้องคดีให้รับเด็กเป็นบุตรในระหว่างเด็กเป็นผู้เยาว์ถ้าเด็กอายุยังไม่ครบสิบห้าปีบริบูรณ์ขณะโจทก์ยื่นฟ้อง เด็กหญิง ธ.ผู้เยาว์อายุได้ 11 เดือนเศษ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรจึงมีอำนาจฟ้องแทนได้ และมาตรา 1565 บัญญัติเกี่ยวกับการร้องขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ด้วยว่านอกจากอัยการจะฟ้องร้องแทนแล้ว ให้บิดาหรือมารดานำคดีขึ้นว่ากล่าวได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งให้รับผู้เยาว์เป็นบุตรและเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร การที่โจทก์ระบุในคำฟ้องว่าฟ้องคดีในฐานะมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์จึงชอบแล้ว และฟ้องโจทก์ขอให้จำเลยรับผู้เยาว์เป็นบุตรไม่เป็นคดีอุทลุม เพราะเป็นการฟ้องตามที่กฎหมายให้สิทธิไว้โดยเฉพาะ
จำเลยเป็นรองศาสตราจารย์และมีรายได้อื่นอีก ส่วนโจทก์ยังไม่มีอาชีพและรายได้ ผู้เยาว์จะต้องศึกษาเล่าเรียนสูงขึ้นตามวัย ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่ผู้เยาว์ตามวัยอายุของผู้เยาว์เหมาะสมดีแล้ว เว้นแต่ที่กำหนดให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ตั้งแต่วันคลอดนั้นไม่ถูกต้อง เพราะการเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายตามคำพิพากษาของศาล มีผลนับแต่วันศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด
เนื่องจากการเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายมีผลทันทีนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1557 (3) จึงไม่จำต้องบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนรับเด็กหญิง ธ.เป็นบุตร ทั้งตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2478 มาตรา 20บัญญัติว่า เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาว่าผู้ใดเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ผู้มีส่วนได้เสียจะยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดซึ่งรับรองถูกต้องแล้วมาให้บันทึกในทะเบียนก็ได้ ศาลจึงไม่จำต้องสั่งคำขอของโจทก์ในส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1649/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย, ค่าอุปการะเลี้ยงดู, และผลของการพิพากษาถึงที่สุด
ธ. ผู้เยาว์เกิดจากโจทก์ซึ่งเป็นมารดาที่มิได้สมรสกับชาย และยังมิได้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นบิดา โจทก์จึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของ ธ. ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นบิดาให้รับ ธ. เป็นบุตรและเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจากจำเลยได้ ไม่เป็นคดีอุทลุม การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามคำพิพากษาของศาลนั้น มีผลนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุด ดังนั้น ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจะต้องกำหนดให้นับแต่วันดังกล่าว มิใช่นับแต่วันคลอด และศาลไม่จำต้องบังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรอีก เพราะผู้มีส่วนได้เสียยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดซึ่งรับรองถูกต้องแล้ว ให้บันทึกในทะเบียนได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1649/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย, ค่าอุปการะเลี้ยงดู, และผลของการพิพากษา
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1566 บัญญัติให้บุตรผู้เยาว์ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ในอำนาจปกครองของบิดามารดาและให้อำนาจปกครองอยู่กับมารดาในกรณีที่บุตรเกิดจากหญิงที่มิได้สมรสกับชาย และยังมิได้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายโดยบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร และมาตรา 1556 ให้ผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กเป็นผู้ฟ้องคดีให้รับเด็กเป็นบุตรในระหว่างเด็กเป็นผู้เยาว์ถ้าเด็กอายุยังไม่ครบสิบห้าปีบริบูรณ์ขณะโจทก์ยื่นฟ้อง เด็กหญิงธ.ผู้เยาว์อายุได้ 11 เดือนเศษ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรจึงมีอำนาจฟ้องแทนได้ และมาตรา 1565 บัญญัติเกี่ยวกับการร้องขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ด้วยว่านอกจากอัยการจะฟ้องร้องแทนแล้ว ให้บิดาหรือมารดานำคดีขึ้นว่ากล่าวได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งให้รับผู้เยาว์เป็นบุตรและเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร การที่โจทก์ระบุในคำฟ้องว่าฟ้องคดีในฐานะมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์จึงชอบแล้ว และฟ้องโจทก์ขอให้จำเลยรับผู้เยาว์เป็นบุตรไม่เป็นคดีอุทลุม เพราะเป็นการฟ้องตามที่กฎหมายให้สิทธิไว้โดยเฉพาะ จำเลยเป็นรองศาสตราจารย์และมีรายได้อื่นอีก ส่วนโจทก์ยังไม่มีอาชีพและรายได้ ผู้เยาว์จะต้องศึกษาเล่าเรียนสูงขึ้นตามวัยศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่ผู้เยาว์ตามวันอายุของผู้เยาว์เหมาะสมดีแล้ว เว้นแต่ที่กำหนดให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ตั้งแต่วันคลอดนั้นไม่ถูกต้อง เพราะการเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายตามคำพิพากษาของศาล มีผลนับแต่วันศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด เนื่องจากการเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายมีผลทันทีนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1557(3)จึงไม่จำต้องบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนรับเด็กหญิง ธ. เป็นบุตรทั้งตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 มาตรา 20บัญญัติว่า เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาว่าผู้ใดเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ผู้มีส่วนได้เสียจะยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดซึ่งรับรองถูกต้องแล้วมาให้บันทึกในทะเบียนก็ได้ ศาลจึงไม่จำต้องสั่งคำขอของโจทก์ในส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1605/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่อุปการะเลี้ยงดูคู่สมรสและบุตร: หลักเกณฑ์การพิจารณาตามความสามารถและฐานะ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 วรรคสอง กำหนดให้สามีภริยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและฐานะของตน จำเลยจึงต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูภริยาใหม่ด้วยเพราะเป็นหน้าที่ตามกฎหมายจะต้องกระทำ จะอ้างว่าภริยาใหม่มีรายได้มากไม่น่าจะเดือดร้อน จำเลยไม่จำต้องอุปการะเลี้ยงดูหาได้ไม่ และมาตรา 1564 วรรคแรก กำหนดให้บิดาและมารดามีหน้าที่ร่วมกันในการให้การอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์ ดังนั้นโจทก์จำเลยจึงสมควรร่วมกันจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์คนละครึ่ง
ค่าอุปการะเลี้ยงดูนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1598/38และมาตรา 1598/39 บัญญัติให้ศาลคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้และฐานะของผู้รับและพฤติการณ์แห่งกรณี ทั้งศาลจะสั่งแก้ไขค่าอุปการะเลี้ยงดูเพิ่มอีกในภายหลังก็ได้ ขณะฟ้องโจทก์และจำเลยต่างมีรายได้ จำเลยมีภริยาใหม่และมีบุตร จำเลยย่อมจะต้องมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูภริยาและบุตร มิใช่จำเลยมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูแต่เพียงผู้เยาว์คนเดียว การกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูให้ผู้เยาว์ต้องคำนึงถึงรายได้จำเลยกับรายจ่ายในครอบครัวของจำเลย ความจำเป็นทางด้านการเงินของผู้เยาว์ อายุและระดับการศึกษาของผู้เยาว์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1605/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรและภริยาใหม่ ความจำเป็นในการพิจารณาความสามารถและฐานะของคู่กรณี
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 วรรคสอง กำหนดให้สามีภริยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและฐานะของตน จำเลยจึงต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูภริยาใหม่ด้วยเพราะเป็นหน้าที่ตามกฎหมายจะต้องกระทำ จะอ้างว่าภริยาใหม่มีรายได้มากไม่น่าจะเดือดร้อน จำเลยไม่จำต้องอุปการะเลี้ยงดูหาได้ไม่ และมาตรา 1564 วรรคแรก กำหนดให้บิดาและมารดามีหน้าที่ร่วมกันในการให้การอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์ ดังนั้นโจทก์จำเลยจึงสมควรร่วมกันจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์คนละครึ่ง ค่าอุปการะเลี้ยงดูนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1598/38 และมาตรา 1598/39 บัญญัติให้ศาลคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้และฐานะของผู้รับและพฤติการณ์แห่งกรณี ทั้งศาลจะสั่งแก้ไขค่าอุปการะเลี้ยงดูเพิ่มอีกในภายหลังก็ได้ ขณะฟ้องโจทก์และจำเลยต่างมีรายได้ จำเลยมีภริยาใหม่และมีบุตรจำเลยย่อมจะต้องมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูภริยาและบุตร มิใช่จำเลยมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูแต่เพียงผู้เยาว์คนเดียว การกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูให้ผู้เยาว์ต้องคำนึงถึงรายได้จำเลยกับรายจ่ายในครอบครัวของจำเลย ความจำเป็นทางด้านการเงินของผู้เยาว์อายุและระดับการศึกษาของผู้เยาว์ด้วย.
of 13