พบผลลัพธ์ทั้งหมด 125 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3081/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาทมารดาและการเรียกคืนที่ดินที่ยกให้โดยเสน่หา
โจทก์ไปทวงเงิน 2,500 บาท คืนจากจำเลย จำเลยด่าโจทก์ซึ่งเป็นมารดาว่า "อีสำเพ็ง อีหัวหงอก กูไม่ให้ อยากได้ให้ไปฟ้องร้องเอา" การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 531(2) อันเป็นการประพฤติเนรคุณโจทก์ชอบที่จะเรียกถอนคืนการให้ที่ดินที่โจทก์ยกให้จำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3081/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาทมารดาถือเป็นการประพฤติเนรคุณ โจทก์มีสิทธิเรียกคืนทรัพย์สินที่ยกให้ได้
โจทก์ยกที่ดินให้จำเลย และให้จำเลยยืมเงินอีกจำนวนหนึ่ง ต่อมาโจทก์ไปทวงเงินคืนจากจำเลย จำเลยไม่ยอมคืนกลับด่าโจทก์ผู้เป็นมารดาว่า "อีสำเพ็ง อีหัวหงอก กูไม่ให้อยากจะได้ให้ไปฟ้องร้องเอา" การกระทำของจำเลยถือได้ว่าเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง ตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 531 (2) อันเป็นการประพฤติเนรคุณ โจทก์เรียกถอนคืนการให้ที่ดินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2777/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกหนี้ตามสัญญาเปลี่ยนแปลงวิธีการชำระหนี้ เริ่มนับจากวันผิดนัดค้างชำระงวดแรก ไม่ใช่งวดสุดท้าย
โจทก์จำเลยตกลงเปลี่ยนแปลงวิธีการชำระหนี้ใหม่โดยรวมเอาเงินต้นและดอกเบี้ยค้างส่งถึงวันทำสัญญาเพื่อผ่อนคืนเป็นงวด งวดละเดือน จำนวน 54 เดือน หากจำเลยผิดนัดเดือนใดให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมด การฟ้องร้องจึงเป็นเรื่องต้องอยู่ภายในบังคับแห่ง ป.พ.พ มาตรา 166 มีอายุความ5 ปี
จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาเพียงเดือนแรก ต่อมาเดือนที่ 2 คือวันที่ 13 มีนาคม2524 จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตลอดมา ถือว่าจำเลยผิดนัดทั้งหมดทุกงวด สิทธิเรียกร้องเงินคืนทั้งหมดจึงมีขึ้นแล้ว อายุความฟ้องร้องเรียกเงินจำนวนที่ค้างจากจำเลยจึงเริ่มตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2524แล้ว หาใช่เริ่มนับอายุความเมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้งวดสุดท้ายไม่ โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 15กรกฎาคม 2531 เกิน 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 169 ประกอบมาตรา 166 ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความทั้งสิ้น
จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาเพียงเดือนแรก ต่อมาเดือนที่ 2 คือวันที่ 13 มีนาคม2524 จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตลอดมา ถือว่าจำเลยผิดนัดทั้งหมดทุกงวด สิทธิเรียกร้องเงินคืนทั้งหมดจึงมีขึ้นแล้ว อายุความฟ้องร้องเรียกเงินจำนวนที่ค้างจากจำเลยจึงเริ่มตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2524แล้ว หาใช่เริ่มนับอายุความเมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้งวดสุดท้ายไม่ โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 15กรกฎาคม 2531 เกิน 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 169 ประกอบมาตรา 166 ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความทั้งสิ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2777/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกหนี้จากการผ่อนชำระ: เริ่มนับแต่วันผิดนัดค้างชำระงวดแรก ไม่ใช่งวดสุดท้าย
เดิมจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดและตั๋วแลกเงินพร้อมดอกเบี้ย ต่อมาได้ทำสัญญารับว่ายังเป็นหนี้โจทก์ในต้นเงินและดอกเบี้ย โดยตกลงชำระเป็นรายเดือน เริ่มชำระเดือนแรกภายในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2524 เดือนต่อไปชำระภายในวันที่ 13 ของเดือนและจะชำระให้เสร็จใน 54 เดือน หากผิดนัดเดือนหนึ่งเดือนใดให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมด และยอมให้ฟ้องร้องบังคับคดีได้ถือได้ว่าโจทก์จำเลยได้ตกลงเปลี่ยนแปลงวิธีการชำระหนี้ใหม่โดยรวมเอาต้นเงินและดอกเบี้ยค้างส่งถึงวันทำสัญญาเพื่อผ่อนคืนเป็นงวด การฟ้องร้องจึงอยู่ภายในบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 166 มีอายุความ 5 ปี จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาเพียงเดือนแรก แล้วผิดนัดไม่ชำระตั้งแต่เดือนที่สอง ประจำวันที่ 13 มีนาคม 2524 และผิดนัดตลอดมาถือว่าจำเลยผิดนัดทั้งหมดทุกงวด ดังนั้น สิทธิเรียกร้องเงินทั้งหมดจึงเกิดขึ้นแล้ว อายุความฟ้องร้องเรียกเงินจำนวนที่ค้างจากจำเลยจึงเริ่มตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2524 มิใช่เริ่มนับเมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้งวดสุดท้าย โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่15 กรกฎาคม 2531 จึงเกิน 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 169 ประกอบมาตรา 166 ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2634/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทำสัญญาหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นที่มีอำนาจ
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นที่มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความหรือต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 22 (3) ลูกหนี้หามีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับเจ้าหนี้ไม่ ทั้งนี้โดยไม่ต้องคำนึงว่าเจ้าหนี้จะได้ทราบว่าลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วหรือไม่
หนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ลูกหนี้ได้ทำขึ้นหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้วจึงไม่สมบูรณ์ เพราะเกิดขึ้นโดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 94 (1) เจ้าหนี้จะขอรับชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวไม่ได้
กรณีที่เจ้าหนี้มีสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่จะบังคับให้ลูกหนี้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่เจ้าหนี้ หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาดังกล่าวภายในกำหนดเวลา 3 เดือน นับแต่วันที่ทราบ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 122 เจ้าหนี้จึงจะมีสิทธิขอรับชำระหนี้สำหรับราคาที่ดินที่ได้ชำระให้แก่ลูกหนี้ไปแล้ว และค่าเสียหายที่ได้รับ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 92 เจ้าหนี้จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ทันทีตามมาตรา 91 ไม่ได้
หนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ลูกหนี้ได้ทำขึ้นหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้วจึงไม่สมบูรณ์ เพราะเกิดขึ้นโดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 94 (1) เจ้าหนี้จะขอรับชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวไม่ได้
กรณีที่เจ้าหนี้มีสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่จะบังคับให้ลูกหนี้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่เจ้าหนี้ หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาดังกล่าวภายในกำหนดเวลา 3 เดือน นับแต่วันที่ทราบ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 122 เจ้าหนี้จึงจะมีสิทธิขอรับชำระหนี้สำหรับราคาที่ดินที่ได้ชำระให้แก่ลูกหนี้ไปแล้ว และค่าเสียหายที่ได้รับ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 92 เจ้าหนี้จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ทันทีตามมาตรา 91 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2634/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์: สิทธิเรียกร้องหนี้และการยอมรับสิทธิโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นที่มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความ หรือต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22(3) ลูกหนี้ไม่มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับเจ้าหนี้ ทั้งนี้โดย ไม่ต้องคำนึงว่าเจ้าหนี้จะได้ทราบว่าลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วหรือไม่ หนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ลูกหนี้ได้ทำขึ้นหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้วจึงไม่สมบูรณ์ เพราะเกิดขึ้นโดย ฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายตามมาตรา 94(1)เจ้าหนี้จึงขอรับชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวไม่ได้ เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่จะบังคับให้ลูกหนี้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่เจ้าหนี้ได้นั้น หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาภายในกำหนดเวลา3 เดือน นับแต่วันที่ทราบตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 122 แล้ว เจ้าหนี้จึงจะมีสิทธิขอรับชำระหนี้สำหรับราคาที่ดินที่ได้ชำระแก่ลูกหนี้ไปแล้วและค่าเสียหายที่ได้รับตามมาตรา 92 เจ้าหนี้จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 91 ก่อนพ้นกำหนดดังกล่าวไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2607/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีอาญาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวง: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยหากไม่ได้รับอนุญาตในชั้นอุทธรณ์
คดีโจทก์ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499มาตรา 22 เมื่อในชั้นอุทธรณ์ไม่มีการอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและศาลอุทธรณ์ก็ไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงไปแล้ว การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัยฎีกาของโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2307/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความน่าเชื่อถือของพยานผู้เห็นเหตุการณ์และหลักการยกประโยชน์แห่งความสงสัยในคดีอาญา
อ. พยานโจทก์เบิกความว่า จำเลยยิงผู้ตาย แต่กลับปรากฏว่าหลังเกิดเหตุประมาณ 10 นาที เจ้าพนักงานตำรวจได้มาที่เกิดเหตุพยานไม่ได้บอกเจ้าพนักงานตำรวจ พยานอ้างว่าเพราะกลัวคนร้ายจะมาทำร้ายพยาน แต่กับ ท. พี่ของผู้ตายพยานก็ไม่ได้บอกว่าใครเป็นคนร้าย พยานเป็นคนบอก ท. ทันทีที่เกิดเหตุว่าผู้ตายถูกยิงพยานไม่น่าจะเกิดความกลัวจนไม่กล้าบอกชื่อจำเลยต่อ ท. การที่พยานกลับไปภูมิลำเนาและญาติของผู้ตายไปตามให้มาเป็นพยานก็เป็นเรื่องผิดปกติ เพราะญาติของผู้ตายรู้ได้อย่างไรว่าพยานจำคนร้ายได้ในเมื่อพยานไม่ได้บอกใครไว้เลยว่า พยานจำคนร้ายได้ นอกจากนี้คนงานที่อยู่ด้วยในที่เกิดเหตุคือ ส.เบิกความว่าส. กับพวกอีก 3 คน ไม่มีใครจำหน้าคนร้ายได้ พ.เบิกความว่าพ.อ.และลูกจ้างคนอื่นไม่มีใครจำหน้าคนร้ายได้ จึงทำให้น่าสงสัยว่าอ. จำคนร้ายได้แน่นอนหรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2210/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใบอนุญาตสถานบริการเป็นสิทธิเฉพาะตัว โอนให้ผู้อื่นไม่ได้ แม้ได้รับมอบหมาย
พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 ตราออกมาเพื่อรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อย ศีลธรรม วัฒนธรรม และประเพณีอันดีของชาติใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการจึงเป็นใบอนุญาตเฉพาะตัวของผู้รับอนุญาตจะขออนุญาตแทนกันไม่ได้ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยซึ่งเป็นผู้รับใบอนุญาตให้โอนใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการให้โจทก์โดย อ้างว่าเป็นผู้ถือใบอนุญาตแทนโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2210/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใบอนุญาตสถานบริการเป็นสิทธิเฉพาะตัว โอนไม่ได้ แม้มอบหมายให้ผู้อื่นถือแทน
ใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการ ตาม พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ. 2509เป็นใบอนุญาตเฉพาะตัวของผู้รับอนุญาตโดยเฉพาะ จะขออนุญาตแทนกันไม่ได้ และ พ.ร.บ.ฉบับนี้มิได้มีบทบัญญัติว่าด้วยการโอนใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการไว้ แสดงว่าใบอนุญาตตั้งสถานบริการเป็นใบอนุญาตที่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่ระบุไว้จะต้องพิจารณาออกให้เฉพาะตัวผู้ขออนุญาต และผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนดในกฎหมายนี้เท่านั้น กรณีจึงไม่อาจฟ้อง ขอให้บังคับโอนใบอนุญาตให้แก่กันได้.