คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ราเชนทร์ จัมปาสุต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 323 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2079/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งคำสั่งออกจากที่ดินต้องเป็นไปตามระเบียบ หากไม่ถูกต้องครบถ้วน ถือว่าจำเลยยังไม่ได้รับคำสั่งและไม่มีความผิด
ตามระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ฉบับที่ 3(พ.ศ. 2515) ว่าด้วยวิธีปฏิบัติในการแจ้งและออกคำสั่งแก่ผู้ฝ่าฝืนมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 96 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2515 ใช้บังคับกำหนดให้เจ้าหน้าที่ผู้นำส่งหนังสือแจ้งบันทึกเหตุการณ์และเหตุผลในการไม่ยอมรับหนังสือแจ้งไว้ และให้มีพยานอย่างน้อย2 คน ลงชื่อรับรองไว้ในบันทึกนั้นด้วย เมื่อผู้นำส่งหนังสือแจ้งได้ปฏิบัติการดังกล่าวแล้วนั้นให้ถือว่าผู้ฝ่าฝืนได้รับหนังสือแจ้งแล้ว แต่ตามบันทึกข้อความของเจ้าหน้าที่ผู้นำหนังสือแจ้งและคำสั่งให้ออกจากที่ดินไปส่งแก่จำเลย นอกจากจะไม่ปรากฏเหตุผลที่ผู้ฝ่าฝืนไม่ยอมรับหนังสือแจ้งแล้ว ยังไม่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ผู้นำส่งได้สอบถามเหตุผลเอาจากผู้ฝ่าฝืนแล้วบันทึกไว้และไม่ปรากฏว่าบันทึกดังกล่าวเป็นเอกสารที่อ้างอิงเกี่ยวกับจำเลยว่าเป็นผู้เข้าไปยึดถือครอบครองก่นสร้างที่ดินของรัฐอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน บันทึกข้อความนั้นจึงไม่ถูกต้องครบถ้วนตามที่ระเบียบกำหนด จะถือว่าจำเลยได้รับหนังสือแจ้งอันเป็นคำสั่งเจ้าพนักงานซึ่งสั่งการตามอำนาจที่กฎหมายให้ไว้และทราบคำสั่งนั้นแล้วหาได้ไม่ จำเลยไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 และประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 108

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2079/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งคำสั่งออกจากที่ดินต้องถูกต้องตามระเบียบ หากไม่ถูกต้อง ถือว่าจำเลยไม่ได้รับแจ้งและไม่มีความผิด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108,108 ทวิและ ป.อ. 368 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่ามีความผิดตาม ป.ที่ดินมาตรา 108 ทวิ และ ป.อ. มาตรา 368 มีผลเท่ากับว่าศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องในข้อหาความผิดตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108 แล้ว เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์ ข้อหาความผิดดังกล่าวจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108จึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15และที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108 ทวิ โดยกล่าวในฎีกาเพียงว่าขอให้พิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมิได้กล่าวว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108 ทวิ เพราะเหตุใดก็เป็นฎีกาที่ไม่แจ้งชัดต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติมาตราทั้งสองดังกล่าวเช่นกัน ตามระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ฉบับที่ 3(พ.ศ. 2515) ว่าด้วยวิธีปฏิบัติในการแจ้งและออกคำสั่งแก่ผู้ฝ่าฝืนมาตรา 9 แห่ง ป.ที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิบัติฉบับที่ 96ใช้บังคับกำหนดให้เจ้าหน้าที่ผู้นำส่งหนังสือแจ้งบันทึกเหตุการณ์และเหตุผลในการไม่ยอมรับหนังสือแจ้งไว้ แต่ตามบันทึกข้อความของเจ้าหน้าที่ผู้นำหนังสือแจ้งและคำสั่งให้ออกจากที่ดินไปส่งแก่จำเลยนอกจากจะไม่ปรากฏเหตุผลที่ผู้ฝ่าฝืนไม่ยอมรับหนังสือแจ้งแล้วยังไม่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ผู้นำส่งได้สอบถามเหตุผลเอาจากผู้ฝ่าฝืนแล้วบันทึกไว้ บันทึกข้อความนั้นจึงยังไม่ถูกต้องครบถ้วน จะถือว่าจำเลยได้รับหนังสือแจ้งอันเป็นคำสั่งเจ้าพนักงานซึ่งสั่งการตามอำนาจที่มีกฎหมายให้ไว้และทราบคำสั่งนั้นแล้วหาได้ไม่ จำเลยจึงยังไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 368 และ ป.ที่ดิน มาตรา 108.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2068/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าหน้าที่สถานธนานุเคราะห์ กรณีทุจริตลักทรัพย์ จำเลยไม่มีส่วนประมาทเลินเล่อ
การที่จำเลยที่ 2 พนักงานเก็บของลางานอยู่เสมอเพราะเหตุเจ็บป่วยแล้วจำเลยที่ 3 ผู้ช่วยพนักงานเก็บของสามารถเข้าไปในห้องเก็บของได้นั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ปล่อยให้จำเลยที่ 3กระทำการแทนโดยตลอด การที่จำเลยที่ 2 ออกไปช่วยคนอื่นทำงานบ้างเล็กน้อย เนื่องจากขณะนั้นจำเลยที่ 2 ไม่มีงานของตนเองที่จะต้องทำนั้น ไม่ถือเป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ และการที่จำเลยที่ 3 ลักลอบเอาทรัพย์ที่รับจำนำไปจากห้องเก็บของนั้นแสดงอยู่ในตัวว่าจำเลยที่ 3 ได้กระทำโดยปกปิดมิให้ผู้อื่นโดยเฉพาะจำเลยที่ 2 ทราบ แม้แต่ผู้ตรวจการซึ่งมา ตรวจ เป็นประจำก็ยังไม่ทราบ จนกระทั่งมีการร้องขอให้มีการตรวจเป็นพิเศษจึงทราบทั้งไม่มีระเบียบกำหนดให้พนักงานเก็บของต้องตรวจสิ่งของเป็นประจำทุกเดือนหรือในกำหนดเวลาเท่าใด ประกอบกับไม่ปรากฏพฤติการณ์น่าสงสัยว่าจำเลยที่ 3 กระทำการทุจริตมาก่อน เช่นนี้พฤติการณ์แห่งคดีจึงไม่ถึงขนาดที่จะรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 กระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2049/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกที่ดินพิพาท: การกระทำโดยได้รับอนุญาตจากผู้มีส่วนได้เสียทำให้ไม่มีความผิด
โจทก์ร่วมกับ ท. มารดาโจทก์ร่วมและจำเลยยังโต้เถียงความเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทกันอยู่ จำเลยเข้าไปไถที่ดินพิพาทเพราะท. ให้จำเลยทำจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2049/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกที่ดินพิพาท: การกระทำโดยได้รับอนุญาตจากผู้มีสิทธิครอบครองทำให้อาญาฐานบุกรุกไม่สำเร็จ
โจทก์ร่วมกับ ท. มารดาโจทก์ร่วมและจำเลยยังโต้เถียง ความเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทกันอยู่ จำเลยเข้าไปไถที่ดินพิพาทเพราะ ท. ให้จำเลยทำจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2025/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานหลักฐานอ่อนแอ ขาดความน่าเชื่อถือ ไม่สามารถพิสูจน์ความผิดฐานรับของโจรได้ ศาลยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
ท.ด.และต. พยานโจทก์ทั้งสามปากต่างยืนยันว่าจำกระบือของโจทก์ร่วมได้ เพราะมีตำหนิพิเศษคือเดินขาหลังข้างขวาเป๋แต่ไม่ปรากฏว่าพยานทั้งสามได้รีบบอกเรื่องที่เห็นจำเลยจูงกระบือดังกล่าวไปให้โจทก์ร่วม หรือ น. ซึ่งเป็นผู้รับฝากกระบือของโจทก์ร่วมไว้ทราบ หากแต่บอกเมื่อเวลาล่วงเลยหลังเกิดเหตุแล้วหลายเดือน และข้อเท็จจริงปรากฏว่า ท. พยานโจทก์อยู่บ้านใกล้กับน. ข้ออ้างของ ท. ว่าเหตุที่ไม่แจ้งให้ น. ทราบในวันเกิดเหตุเพราะกลัวมีภัยนั้นไม่สมเหตุผล สำหรับ ด.และต. พยานโจทก์ก็ไม่เคยให้การไว้ในชั้นสอบสวน ทำให้มีเหตุระแวงว่าจะเห็นจำเลยจริงหรือไม่ อีกทั้งชั้นจับกุมและสอบสวนจำเลยให้การปฏิเสธตลอดมาพยานโจทก์ไม่มั่นคงพอที่จะฟังลงโทษจำเลย ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2021/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ต้องมีพยานหลักฐานชัดเจนถึงการกระทำโดยตรงของจำเลย
โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็นว่าจำเลยเป็นผู้ถอนทำลายต้นไม้อีกทั้งผู้เสียหายก็มิได้ไปดูแลที่ดินพิพาทเป็นประจำ และต้นไม้ที่ผู้เสียหายปลูกในที่ดินพิพาทเป็นต้นไม้ขนาดเล็ก อายุเพียง6 เดือน หากต้นไม้ดังกล่าวต้องตายเพราะขาดการดูแลรดน้ำก่อนจำเลยบุกรุกเข้าไปก็เป็นได้ พยานหลักฐานของโจทก์รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ถอนทำลายต้นไม้ที่ผู้เสียหายปลูกไว้ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1989/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างต้องมีอำนาจจากนายจ้าง การมอบหมายอำนาจให้ผู้อื่นเลิกจ้างต้องชัดเจน
การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 วรรคสอง หมายความถึงการเลิกจ้างโดยนายจ้างหรือผู้มีอำนาจกระทำการแทนนายจ้าง ร. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลย เมื่อไม่ปรากฏว่าภรรยาของ ร. ได้รับมอบหมายจากร.ให้มีอำนาจเลิกจ้างโจทก์การที่ภรรยาของร.ให้ส.ไปบอกโจทก์ว่าไม่ให้มาทำงานกับจำเลย ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1989/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเลิกจ้างพนักงาน: ภรรยาผู้บริหารไม่มีอำนาจ
ภรรยาของกรรมการผู้จัดการของจำเลยมิใช่กรรมการผู้จัดการของจำเลยที่จะมีอำนาจเลิกจ้างพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลยได้ และภรรยาของกรรมการผู้จัดการของจำเลยมิได้รับมอบหมายจากกรรมการผู้จัดการของจำเลยให้มีอำนาจเลิกจ้างพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลย ภรรยาของกรรมการผู้จัดการของจำเลยจึงไม่มีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นพนักงาน การที่ภรรยากรรมการผู้จัดการของจำเลยบอกโจทก์ไม่ให้มาทำงานต่อไป ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1989/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเลิกจ้างลูกจ้างต้องมาจากกรรมการผู้จัดการ หรือผู้ได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจ
ร.เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยภรรยาของร.ไม่ใช่กรรมการผู้จัดการของจำเลยที่จะมีอำนาจเลิกจ้างพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลยได้ และภรรยาของ ร. ไม่ได้รับมอบหมายจากร. ผู้มีอำนาจกระทำแทนจำเลยให้มีอำนาจเลิกจ้างพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลย ภรรยาของ ร.จึงไม่มีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยได้ การที่ภรรยาของ ร.ให้ส. บอกโจทก์ไม่ให้มาทำงานกับจำเลยอีกต่อไป ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์
of 33