พบผลลัพธ์ทั้งหมด 323 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 377/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถทางแยก: ผู้ขับรถต้องระมัดระวังและปฏิบัติตามกฎจราจรเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
พระราชบัญญัติ ญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา51(2)(จ) ที่บังคับรถซึ่งอยู่ในทางร่วมทางแยกต้องให้รถที่สวนมาในทางเดินรถเดียวกันผ่านไปก่อนเมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงให้เลี้ยวขวาไปได้นั้น ไม่ใช้แก่กรณีการเดินรถในถนนคนละสาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 377/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถทางแยก: การประเมินความรับผิดของผู้ขับขี่และหลักการใช้มาตรา 71(2) พ.ร.บ.จราจรทางบก
จำเลยที่ 1 ขับรถมาถึงทางร่วมทางแยกก่อนรถโจทก์ จะนำมาตรา 71(2) พ.ร.บ. จราจรทางบกฯ มาใช้บังคับไม่ได้ เพราะตามบทมาตราดังกล่าวเป็นกรณีที่รถมาถึงทางร่วมทางแยกพร้อมกัน และตามมาตรา 51(2)(จ) ก็เป็นกรณีเมื่อรถอยู่ในทางร่วมทางแยกต้องให้รถที่สวนมาในทางเดินรถเดียวกันผ่านไปก่อน เมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงให้เลี้ยวขวาไปได้ มิใช่กรณีการเดินรถในถนนคนละสาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 336/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คนต่างด้าวได้รับการอนุญาตให้อยู่ในไทยชั่วคราว ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.ก.คนเข้าเมือง
คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและการอนุญาตยังไม่สิ้นสุดหรือถูกเพิกถอน ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติ คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 81
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 336/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะบุคคลต่างด้าว: การได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรโดยชอบด้วยกฎหมาย
คนต่างด้าวจะมีความผิดตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522มาตรา 81 ต้องอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือการอนุญาตสิ้นสุดหรือถูกเพิกถอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 298/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความระงับคดีอาญา: จำเลยฎีกาได้แม้ไม่ยกขึ้นศาลชั้นต้น หากเป็นเรื่องอำนาจฟ้องคดีและกระทบความสงบเรียบร้อย
ปัญหาที่ว่า ความผิดอาญาระหว่างโจทก์ร่วมและจำเลยระงับลงโดยการยอมความแล้วนั้น แม้จำเลยมิได้หยิบยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่เป็นเรื่องอำนาจฟ้องคดีอาญา อันเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยยกขึ้นฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 298/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยักยอกทรัพย์ – อายุความ – ยอมความ: การเบียดบังสินค้าคืนจากลูกค้าเป็นความผิดฐานยักยอก การแจ้งความหลังตรวจพบของกลางไม่ขาดอายุความ การรับปากคืนสินค้าไม่ใช่การยอมความ
จำเลยเป็นลูกจ้างขายสินค้าเวชภัณฑ์ ของโจทก์ร่วม ได้รับมอบหมายจากโจทก์ร่วมให้ไปเก็บเงินค่าสินค้ายาและรับสินค้ายาคืนจากลูกค้าจำเลยได้รับสินค้ายามาแล้ว แต่ไม่ยอมส่งมอบให้โจทก์ร่วม กลับนำไปขายต่อให้ลูกค้ารายอื่น อันเป็นการเบียดบังเป็นประโยชน์ส่วนตนโดยทุจริตย่อมมีความผิดฐานยักยอก ว.ตรวจร้านขายยาต่าง ๆ ทำให้ทราบว่าจำเลยรับสินค้ายาคืนมาแล้วไม่นำส่งโจทก์ร่วม จึงแจ้งให้ผู้อำนวยการฝ่ายการเงินของโจทก์ร่วมทราบเมื่อเดือนธันวาคม 2526 แสดงว่าโจทก์ร่วมเพิ่งทราบถึงการกระทำความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดนับแต่บัดนั้น โจทก์ร่วมร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเมื่อเดือนมกราคม 2527 คดีจึงไม่ขาดอายุความ ปัญหาว่า ความผิดอาญาระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยระงับลงโดยการยอมความแล้วหรือไม่เป็นเรื่องอำนาจฟ้องคดีอาญา อันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ก็สามารถยกขึ้นฎีกาได้ การที่จำเลยยอมรับว่าจะนำสินค้ายาตามบันทึกรายการสินค้ายาที่รับคืนมาจากลูกค้ามาคืนให้แก่โจทก์ร่วมภายในระยะเวลาที่กำหนดนั้น ไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมยอมที่จะไม่ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยจึงไม่เป็นการยอมความอันจะทำให้คดีอาญาระงับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 229/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานโจทก์ไม่เพียงพอพิสูจน์ความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาถึงจำเลยที่ไม่ฎีกา
คดีที่มีจำเลยหลายคนซึ่งศาลรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันแม้จำเลยสำนวนคดีหนึ่งฎีกา แต่จำเลยอีกสำนวนคดีหนึ่งไม่ได้ฎีกาขึ้นมาก็ตาม เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าพยานหลักฐานโจทก์รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองสำนวนคดีกระทำผิดฐานฆ่าผู้อื่นอันถือว่าเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยสำนวนคดีที่ไม่ได้ฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 229/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลฎีกาขยายผลคำพิพากษาถึงจำเลยอื่น แม้ไม่ฎีกา โดยพิจารณาจากพยานหลักฐานร่วมกัน
เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยกับ ว. ร่วมเป็นคนร้ายฆ่าผู้ตาย คงรับฟังได้แต่เพียงว่า ว. ทำร้ายผู้ตายโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ แม้ ว. ซึ่งเป็นจำเลยในคดีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิจารณาพิพากษา รวมกับคดีนี้ และถึงที่สุดไปแล้ว จะไม่ได้ฎีกาขึ้นมา ถือว่าเป็น เหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึง ว. ได้ ตามป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 209/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดตามกำหนด สิ้นสุดโดยผลของสัญญา ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย
การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 46 วรรคสอง หมายถึงการที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานปลดออกจากงาน หรือไล่ออกจากงานอันเป็นลักษณะที่นายจ้างกระทำต่อลูกจ้างในขณะยังมีความสัมพันธ์ต่อกันตามสัญญาจ้างแรงงานแต่สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนนั้นเมื่อครบกำหนดสัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงโดยผลของสัญญา มิใช่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานปลดออกจากงาน หรือไล่ออกจากงาน จึงไม่ใช่เป็นการเลิกจ้างลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 209/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างสิ้นสุดตามกำหนด สิทธิค่าชดเชย, การเลิกจ้าง, และการโต้แย้งข้อเท็จจริงในคดีแรงงาน
โจทก์ที่ 1 ทำงานกับจำเลยโดยทำสัญญาจ้างเป็นปี ๆ เริ่มทำสัญญาครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2530 ต่อมาในปี 2533 สัญญาจ้างลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2533 ระบุว่าสัญญาจ้างมีกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างเข้าทำงานตามสัญญาและมีข้อความตอนท้ายสัญญาว่าเริ่มวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2533 ซึ่งมีความหมายชัด อยู่ในตัวแล้วว่าคู่สัญญาให้สัญญามีผลเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2533เมื่อครบกำหนดสัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงโดยผลของสัญญา มิใช่จำเลยให้โจทก์ที่ 1 ออกจากงาน ปลดออกจากงาน หรือไล่ออกจากงานตามความหมายของประกาศของกระทรวงมหาดไทย เรื่อง คุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่ 11) ข้อ 46 วรรคสอง จึงไม่ใช่เป็นการเลิกจ้าง โจทก์ที่ 1ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ที่ 2 ไม่ได้ทำงานเนื่องจากจำเลยได้จัดตารางทำงานให้ อ. ทำงานแทนโจทก์ที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน 2534 แล้ว โจทก์ที่ 2 ไม่ได้ละทิ้งหน้าที่ จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ที่ 2 ขอลาออกจากการทำงานตั้งแต่เดือนตุลาคม 2533 ให้มีผลวันที่ 3 พฤศจิกายน 2533 จำเลยไม่อนุมัติให้โจทก์ที่ 2 ลาออก โจทก์ที่ 2 ไม่มาทำงานในวันที่4 พฤศจิกายน 2533 จนถึงเดือนมกราคม 2534 จึงเป็นการหยุดงานที่ไม่มีเหตุสมควร เป็นการละทิ้งหน้าที่นั้น เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54.