คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ราเชนทร์ จัมปาสุต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 323 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 321/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ: ระยะเวลาการยื่นคำร้องและการทราบข้อเท็จจริง
การเพิกถอนกระบวนการพิจารณาที่ผิดระเบียบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรค 2 ที่จะต้องยื่นคำร้องก่อนศาลมีคำพิพากษานั้น จะใช้บังคับในกรณีที่คู่ความฝ่ายที่เสียหายเพิ่งทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างของการผิดระเบียบนั้นภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วหาได้ไม่ เพราะเป็นการฝืนธรรมชาติที่จะบังคับให้ยื่นคำร้องขอเพิกถอนโดยที่ตนยังไม่ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 321/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ แม้ยื่นหลังมีคำพิพากษา หากเพิ่งทราบข้อผิดพลาดภายหลัง
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคสองที่ให้คู่ความฝ่ายที่เสียหายยกข้อค้านเรื่องผิดระเบียบขึ้นกล่าวได้ในเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษาแต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้นจะใช้กับกรณีที่คู่ความฝ่ายที่เสียหายเพิ่งทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างของการผิดระเบียบนั้นภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้วหาได้ไม่ เพราะเป็นการฝ่าฝืนธรรมชาติที่จะบังคับให้คู่ความฝ่ายที่เสียหายจากกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบยื่นคำร้อง ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาเสียก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาโดยที่ตนยังไม่ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น จำเลยยื่นคำร้องอ้างว่าไม่มีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลย จำเลยไม่ได้มอบอำนาจให้นาง ร.ดำเนินคดีแทนทั้งนางร.ไม่ได้ตั้งให้นาย ม. เป็นทนายความ แต่นาย ม. ได้ดำเนินกระบวนพิจารณาในฐานะทนายความตลอดมาเป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นหลงผิดดำเนินกระบวนพิจารณาไปจนมีคำพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี ดังนี้ย่อมเห็นได้ชัดว่ากระบวนพิจารณาและคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเป็นการไม่ชอบ จำเลยซึ่งได้รับความเสียหายจึงชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นให้เพิกถอนการพิจารณาที่ศาลชั้นต้นดำเนินไปโดยผิดระเบียบนั้นเสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 320/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบหลังมีคำพิพากษา: การแจ้งหมายเรียกและอำนาจทนายความ
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว โดยอ้างว่าไม่มีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 มิได้มอบอำนาจให้มารดาดำเนินคดีแทนทั้งมารดาจำเลยที่ 1ก็ไม่เคยตั้งทนายความให้ดำเนินคดีแต่ประการใด ดังนี้ หากข้อเท็จจริงเป็นดังคำร้องของจำเลยที่ 1 กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นย่อมเป็นการไม่ชอบเป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นหลงผิด มีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 1 แพ้คดี จำเลยที่ 1 จึงยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27วรรคแรก กรณีไม่ต้องห้ามตาม มาตรา 27 วรรคสอง เพราะจำเลยที่ 1เพิ่งทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างของการผิดระเบียบนั้นภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 320/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ศาลต้องพิจารณาเมื่อคู่ความไม่ทราบข้อผิดพลาดก่อนมีคำพิพากษา
บทบัญญัติมาตรา 27 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ที่ว่าการร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาผิดระเบียบต้องยื่นก่อนมีคำพิพากษานั้น ใช้กับกรณีที่คู่ความฝ่ายที่เสียหายได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์ อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างของการผิดระเบียบก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเท่านั้น จำเลยไม่เคยทราบว่าตนถูกฟ้องทั้งปรากฏว่ามีผู้แอบอ้างเป็นจำเลยเข้ามาดำเนินคดีในฐานะจำเลย ทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย จำเลยเพิ่งทราบภายหลังจากศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแล้ว ดังนี้จำเลยย่อมชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นให้เพิกถอนการพิจารณาที่ศาลชั้นต้นดำเนินไปโดยผิดระเบียบได้ตามมาตรา 27 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4143/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความและการชำระหนี้แทนจำเลย
จำเลยกับผู้ร้องทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่าจำเลยยอมโอนที่ดินแปลงพิพาทให้ผู้ร้อง หากผิดสัญญาให้ผู้ร้อง บังคับได้ทันทีและให้ถือเอาคำพิพากษาตามยอมแสดงเจตนาโอนกรรมสิทธิ์แทนจำเลยได้ เมื่อศาลได้พิพากษา ตามยอมเสร็จเด็ดขาดแล้ว ผู้ร้องย่อมมีสิทธิตามคำพิพากษา ที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้งดการบังคับคดีของโจทก์ได้ โจทก์ฟ้องบังคับจำนอง ศาลมีคำพิพากษาให้จำเลย ชำระหนี้ตามฟ้องแก่โจทก์ หนี้ตามสัญญาจำนองจึงกลายเป็นหนี้ตามคำพิพากษาไปแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิไถ่จำนองตามจำนวนหนี้ในสัญญาจำนอง แต่มีสิทธิเข้าชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่โจทก์แทนจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 230

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4143/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการไถ่จำนองหลังมีคำพิพากษาตามยอม และการชำระหนี้แทนจำเลย
จำเลยกับผู้ร้องทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่าจำเลยยอมโอนที่ดินแปลงพิพาทให้ผู้ร้อง หากผิดสัญญาให้ผู้ร้องบังคับได้ทันทีและให้ถือเอาคำพิพากษาตามยอมแสดงเจตนาโอนกรรมสิทธิ์แทนจำเลยได้ เมื่อศาลได้พิพากษาตามยอมเสร็จเด็ดขาดแล้ว ผู้ร้องย่อมมีสิทธิตามคำพิพากษาที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1300 ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้งดการบังคับคดีของโจทก์ได้
โจทก์ฟ้องบังคับจำนอง ศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ตามฟ้องแก่โจทก์ หนี้ตามสัญญาจำนองจึงกลายเป็นหนี้ตามคำพิพากษาไปแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิไถ่จำนองตามจำนวนหนี้ในสัญญาจำนอง แต่มีสิทธิเข้าชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่โจทก์แทนจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 230

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3945/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายอสังหาริมทรัพย์: ศาลรับฟังพยานบุคคลได้ แม้มีสัญญาเป็นหนังสือ
คดีนี้เป็นการทำสัญญาจะซื้อขายอสังหาริมทรัพย์โดยได้มีการวางมัดจำไว้แล้ว ซึ่งไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ก็ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ จึงไม่ใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง แม้ต่อมาจะได้มีการทำสัญญาจะซื้อขายเป็นหนังสือ โจทก์ก็นำพยานบุคคลมาสืบได้ว่า โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ตกลงกันแตกต่างจากที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญาจะซื้อขาย โดยให้โจทก์ผ่อนชำระเงินค่างวดงวดแรกเมื่อก่อสร้างอาคารแล้วเสร็จ และศาลย่อมรับฟังพยานหลักฐานโจทก์ได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3945/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงนอกสัญญาจะซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ศาลรับฟังได้หากมีพยานหลักฐานสนับสนุน และมีผลบังคับใช้ได้
คดีนี้เป็นการทำสัญญาจะซื้อขายอสังหาริมทรัพย์โดยได้มีการวางมัดจำไว้แล้ว ซึ่งไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือก็ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ จึงไม่ใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง แม้ต่อมาจะได้มีการทำสัญญาจะซื้อขายเป็นหนังสือ โจทก์ก็นำพยานบุคคลมาสืบได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ตกลงกันแตกต่างจากที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญาจะซื้อขาย โดยให้โจทก์ผ่อนชำระเงินค่างวดงวดแรกเมื่อก่อสร้างอาคารแล้วเสร็จ และศาลย่อมรับฟังพยานหลักฐานโจทก์ได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3945/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์: ข้อตกลงพิเศษนอกเหนือสัญญา และการผิดสัญญา
โจทก์ตกลงซื้อห้องชุดจากจำเลยที่ 1 โดยวางเงินมัดจำไว้ 10,000บาท เป็นการทำสัญญาจะซื้อขายอสังหาริมทรัพย์โดยได้มีการวางมัดจำไว้แล้ว ซึ่งไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือก็ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้จึงไม่ใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง แม้ต่อมาจะได้มีการทำสัญญาจะซื้อขายเป็นหนังสือ โจทก์ก็นำพยานบุคคลมาสืบได้ว่า โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ตกลงกันแตกต่างจากที่ระบุไว้ในสัญญานั้นอย่างไรบ้าง ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3834/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดี, หนังสือมอบอำนาจ, ดอกเบี้ยผิดสัญญา, และดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้
หนังสือมอบอำนาจระบุให้อำนาจ ช. มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์แม้จะมิได้ระบุตัวบุคคลที่จะให้ฟ้องไว้โดยเฉพาะเจาะจงช.ก็มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองแทนโจทก์ได้ ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยหาใช่ข้อกฎหมายอันถือเป็นเรื่องที่ศาลจะรับรู้เองได้ แต่เป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งที่คู่ความมีหน้าที่จะต้องนำสืบโจทก์ไม่นำสืบจึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ถึงอัตราร้อยละ 18 ต่อปี เกินกว่ากฎหมายกำหนดทั้งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยเป็นโมฆะ อย่างไรก็ดีการที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ในกำหนด โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในระหว่างผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224.
of 33