คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ราเชนทร์ จัมปาสุต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 323 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมหลังคู่ความอีกฝ่ายหมดพยาน ถือเป็นข้อโต้แย้งที่ต้องห้ามตามกฎหมาย
โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมหลังจากเสร็จการสืบพยานจำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนโดยมิได้อ้างเหตุตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88ศาลชั้นต้น (ศาลแรงงานกลาง) มีคำสั่งอนุญาต สำเนาให้จำเลย และทนายจำเลยได้รับสำเนาแล้ว คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเมื่อจำเลยไม่ได้โต้แย้งไว้ จึงยกขึ้นอุทธรณ์คัดค้านไม่ได้ ต้องห้าม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6535/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อเลิกแล้ว ทรัพย์สินยังเป็นของผู้ให้เช่า ไม่ถือเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลาย
ผู้ร้องเป็นเจ้าของรถยนต์พิพาท ที่ผู้ร้องยอมให้รถยนต์พิพาทอยู่ในครอบครองใช้สอยของจำเลยเกิดจากสัญญาเช่าซื้อ เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อจนมีผลให้สัญญาเช่าซื้อเลิกกัน จำเลยมีหน้าที่ต้องส่งมอบรถยนต์พิพาทคืนแก่ผู้ร้องโดยพลัน ถ้าไม่ส่งมอบถือว่าครอบครองไว้โดยมิชอบตามสัญญาเช่าซื้อ การที่สัญญาเช่าซื้อเลิกกันก่อนมีการขอให้จำเลยล้มละลายและก่อนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะยึดรถยนต์พิพาท อีกทั้งผู้ร้องก็ได้มีหนังสือแจ้งเตือนให้จำเลยชำระหนี้ มิฉะนั้น ผู้ร้องจะดำเนินคดีกับจำเลย แสดงว่า ผู้ร้องมิได้ยินยอมให้จำเลยครอบครองรถยนต์พิพาทนับแต่วันที่สัญญาเช่าซื้อเลิกกัน ทั้งผู้ร้องก็เตรียมจะฟ้องจำเลยแล้วจะถือว่ารถยนต์พิพาทอยู่ในครอบครองของจำเลยด้วยความยินยอม อนุญาตของผู้ร้องหาได้ไม่ จึงยังถือไม่ได้ว่ารถยนต์พิพาท เป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายอันอาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 109(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6428/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ภาษีเกิดขึ้นเมื่อมีการประเมินและแจ้งการประเมินแล้ว ไม่ถือเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
ในการชำระหนี้ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน แม้ว่าผู้พึงชำระจะมีหน้าที่ต้องชำระเป็นรายปี แต่ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯมาตรา 38 ผู้รับการประเมินจะต้องชำระก็ต่อเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประเมินและแจ้งการประเมินให้ทราบแล้ว เมื่อปรากฏว่าศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยที่ 1 วันที่ 30 ธันวาคม 2530กรุงเทพมหานครเจ้าหนี้ยังไม่ได้ประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปี 2530 ซึ่งจัดเก็บในปี 2531 และแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบจำเลยที่ 1 จึงยังไม่ต้องชำระค่าภาษี ดังนี้เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธินำหนี้ค่าภาษีดังกล่าวมาขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯมาตรา 94.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6223/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คเพื่อประกันการชำระหนี้ ไม่ถือเป็นเช็คใช้ตามกฎหมาย
ครั้งแรกที่จำเลยยืมเงินโจทก์ โจทก์ได้ไปเปิดบัญชีให้จำเลยเพื่อให้จำเลยออกเช็คมาใช้เงินแก่โจทก์ หลังจากนั้นจำเลยได้นำเงินสดมาชำระแก่โจทก์ การยืมเงินครั้งที่สองครั้งที่สามจำเลยออกเช็คมอบให้โจทก์ไว้ครั้งละ 1 ฉบับ ก็เพื่อเป็นประกันว่าจำเลยจะไม่โกงเงินที่จำเลยยืมไปแสดงให้เห็นว่าจำเลยได้ออกเช็คทั้งสามฉบับดังกล่าวมอบให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกันเงินที่จำเลยยืมไปจากโจทก์เท่านั้น เช็คพิพาท 2 ฉบับเป็นเช็คที่จำเลยมอบให้โจทก์ในการยืมเงินครั้งที่ 4 และครั้งที่ 5 เพื่อประกันเงินจำนวนที่จำเลยยืมไปเช่นเดียวกับเช็คฉบับก่อน ๆ โดยโจทก์จำเลยไม่มีเจตนาจะให้ใช้เช็คพิพาทเป็นการชำระหนี้ จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6223/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คค้ำประกันหนี้ ไม่ใช่เช็คชำระหนี้ การออกเช็คเพื่อประกันการยืมเงิน ไม่เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
ครั้งแรกที่จำเลยยืมเงินโจทก์ โจทก์ได้ไปเปิดบัญชีให้จำเลยเพื่อให้จำเลยออกเช็คมาใช้เงินแก่โจทก์ หลังจากนั้นจำเลยได้นำเงินสดมาชำระแก่โจทก์ การยืมเงินครั้งที่สองครั้งที่สามจำเลยออกเช็คมอบให้โจทก์ไว้ครั้งละ 1 ฉบับ ก็เพื่อเป็นประกันว่าจำเลยจะไม่โกงเงินที่จำเลยยืมไปแสดงให้เห็นว่าจำเลยได้ออกเช็คทั้งสามฉบับดังกล่าวมอบให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกันเงินที่จำเลยยืมไปจากโจทก์เท่านั้น เช็คพิพาท 2 ฉบับเป็นเช็คที่จำเลยมอบให้โจทก์ในการยืมเงินครั้งที่ 4 และครั้งที่ 5 เพื่อประกันเงินจำนวนที่จำเลยยืมไปเช่นเดียวกับเช็คฉบับก่อน ๆ โดยโจทก์จำเลยไม่มีเจตนาจะให้ใช้เช็คพิพาทเป็นการชำระหนี้ จำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6145/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ-อายุความ: คดีแรงงาน การกระทำเกินอำนาจ-หนังสือรับสภาพหนี้ ไม่ขาดอายุความ
คดีก่อนจำเลยฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลย มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานเพราะโจทก์อายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ จำเลยต้องจ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพและค่าชดเชยหรือไม่ ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยกล่าวหาว่าจำเลยผิดสัญญาจ้างแรงงาน มีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยปฏิบัติหน้าที่ในทางการที่จ้างฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งของโจทก์ และกระทำเกินขอบอำนาจที่ได้รับมอบหมายจากโจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือไม่ ดังนี้ประเด็นข้อพิพาทคดีนี้กับคดีก่อนต่างกัน ฟ้องคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาจ้างแรงงานซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา164 วันที่ 6 กันยายน 2526 จำเลยได้ทำหนังสือรับรองความเสียหายให้แก่โจทก์ เป็นหนังสือรับสภาพหนี้ ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2526 ดังนั้น โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2534 ยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6061/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีละเมิดทางแพ่ง, การรับผิดร่วมกัน, การประมาทเลินเล่อ, การพิพากษาแก้
นายสุรพลเป็นเจ้าพนักงานป่าไม้ในสังกัดของจำเลยที่ 1ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2ขับรถยนต์โดยสารของจำเลยที่ 2 ในทางการที่จ้างคนทั้งสองต่างขับรถด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้รถยนต์ทั้งสองคันชนกัน รถยนต์ที่จำเลยที่ 3 ขับเสียหลักแฉลบไปชนรถยนต์ของโจทก์ซึ่งนายสุภาพเป็นผู้ขับได้รับความเสียหาย เกิดเหตุแล้วนายสุภาพได้รายงานให้เลขาธิการสำนักงานของโจทก์ทราบเหตุมีใจความสำคัญว่า "ได้มีรถยนต์โดยสารประจำทางสายขอนแก่น-หล่มสัก หมายเลขทะเบียน 10-1806 ขก.ชนกับรถยนต์บรรทุกเล็กราชการของกรมป่าไม้ หมายเลขทะเบียน น-2691ซย.ฯลฯ...แล้วรถยนต์โดยสารประจำทางเสียหลักพุ่งมาชนรถยนต์ราชการของศปอ.หมายเลขทะเบียน2ง-9601ซึ่งวิ่งมาตามเลนปกติด้วยความเร็วประมาณ 50 กม/ชม. เนื่องจากสภาพถนนไม่ดี...รายละเอียดปรากฏตามภาพถ่ายและแผนผังแสดงสถานที่เกิดเหตุที่แนบมาพร้อมนี้" และยังได้รายงานด้วยว่าได้แจ้งความต่อร้อยเวรประจำสถานีตำรวจท้องที่เกิดเหตุเป็นหลักฐานเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายต่อไปแล้ว รายงานของนายสุภาพระบุชัดว่ารถยนต์คันหมายเลขทะเบียน น-2691 ชัยภูมิ เป็นรถยนต์ราชการของจำเลยที่ 1 ซึ่งตามปกติจำเลยที่ 1 ย่อมจะต้องใช้รถยนต์ดังกล่าวในราชการ รายงานระบุด้วยว่ารถยนต์ของโจทก์แล่นอยู่ในทางเดินรถตามปกติ และได้แจ้งความเป็นหลักฐานในการเรียกร้องค่าเสียหายแล้วเป็นการแสดงว่ารถยนต์อีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายกระทำผิด โจทก์จึงทราบถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าคือจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่เลขาธิการสำนักงานของโจทก์ทราบรายงานของนายสุภาพคือวันที่ 15 เมษายน 2528 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 30 พฤษภาคม2529 เกิน 1 ปี นับแต่วันดังกล่าว คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ส่วนคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ที่ 3 รายงานของนายสุภาพมิได้ระบุว่าคนขับรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุคือใครและเป็นลูกจ้างกระทำในทางการที่จ้างของบุคคลผู้ใด ปรากฏว่าเลขาธิการสำนักงานของโจทก์ทราบชื่อคนขับและนายจ้างของคนขับรถยนต์โดยสารเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2528คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงไม่ขาดอายุความ จำเลยที่ 2 ที่ 3ต้องร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 3 และนายสุรพลผู้ขับรถของจำเลยที่ 1 ขับรถคนละคันแล่นสวนทางกันโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้รถชนกันและรถยนต์ของโจทก์เสียหาย เป็นกรณีต่างคนต่างกระทำละเมิด แต่ละฝ่ายต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นตามสัดส่วนของความร้ายแรงแห่งการกระทำละเมิดของฝ่ายตน มิใช่ร่วมกันรับผิด ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 หรือนายสุรพลฝ่ายใดมีความประมาทเลินเล่อยิ่งกว่ากันจำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงรับผิดในจำนวนเงินค่าเสียหายแต่เพียงกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินค่าเสียหายทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6061/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีละเมิดทางแพ่ง และความรับผิดร่วมกันของจำเลยหลายคนในกรณีละเมิด
นายสุรพลเป็นเจ้าพนักงานป่าไม้ในสังกัดของจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์โดยสารของจำเลยที่ 2 ในทางการที่จ้างคนทั้งสองต่างขับรถด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้รถยนต์ทั้งสองคันชนกัน รถยนต์ที่จำเลยที่ 3ขับเสียหลักแฉลบไปชนรถยนต์ของโจทก์ซึ่งนายสุภาพเป็นผู้ขับได้รับความเสียหาย เกิดเหตุแล้วนายสุภาพได้รายงานให้เลขาธิการสำนักงานของโจทก์ทราบเหตุมีใจความสำคัญว่า "ได้มีรถยนต์โดยสารประจำทางสายขอนแก่น - หล่มสัก หมายเลขทะเบียน 10 - 1806 ขก. ชนกับรถยนต์บรรทุกเล็กราชการของกรมป่าไม้ หมายเลขทะเบียน น - 2691 ชย...ฯลฯ... แล้วรถยนต์โดยสารประจำทางเสียหลักพุ่งมาชนรถยนต์ราชการของ ศปอ. หมายเลขทะเบียน 2 ง - 9601 ซึ่งวิ่งมาตามเลนปกติด้วยความเร็วประมาณ 50 กม/ชม. เนื่องจากสภาพถนนไม่ดี... รายละเอียดปรากฏตามภาพถ่ายและแผนผังแสดงสถานที่เกิดเหตุที่แนบมาพร้อมนี้" และยังได้รายงานด้วยว่าได้แจ้งความต่อร้อยเวรประจำสถานีตำรวจท้องที่เกิดเหตุเป็นหลักฐานเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายต่อไปแล้ว รายงานของนายสุภาพระบุชัดว่ารถยนต์คันหมายเลขทะเบียน น - 2691 ชัยภูมิ เป็นรถยนต์ราชการของจำเลยที่ 1 ซึ่งตามปกติจำเลยที่ 1 ย่อมจะต้องใช้รถยนต์ดังกล่าวในราชการ รายงานระบุด้วยว่ารถยนต์ของโจทก์แล่นอยู่ในทางเดินรถตามปกติ และได้แจ้งความเป็นหลักฐานในการเรียกร้องค่าเสียหายแล้ว เป็นการแสดงว่ารถยนต์อีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายกระทำผิด โจทก์จึงทราบถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าคือจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่เลขาธิการสำนักงานของโจทก์ทราบรายงานของนายสุภาพ คือวันที่ 15เมษายน 2528 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 30 พฤษภาคม 2529 เกิน 1 ปี นับแต่วันดังกล่าว คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ส่วนคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2ที่ 3 รายงานของนายสุภาพมิได้ระบุว่าคนขับรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุคือใครและเป็นลูกจ้างกระทำในทางการที่จ้างของบุคคลผู้ใด ปรากฏว่าเลขาธิการสำนักงานของโจทก์ทราบชื่อคนขับและนายจ้างของคนขับรถยนต์โดยสารเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2528 คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงไม่ขาดอายุความ จำเลยที่ 2 ที่ 3 ต้องร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
จำเลยที่ 3 และนายสุรพลผู้ขับรถของจำเลยที่ 1 ขับรถคนละคันแล่นสวนทางกันโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้รถชนกันและรถยนต์ของโจทก์เสียหาย เป็นกรณีต่างคนต่างกระทำละเมิด แต่ละฝ่ายต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นตามสัดส่วนของความร้ายแรงแห่งการกระทำละเมิดของฝ่ายตน มิใช่ร่วมกันรับผิด ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 หรือนายสุรพลฝ่ายใดมีความประมาทเลินเล่อยิ่งกว่ากัน จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงรับผิดในจำนวนเงินค่าเสียหายแต่เพียงกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินค่าเสียหายทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5996/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินการตามขั้นตอนพิจารณาคำร้องขอใบสำคัญคนต่างด้าว มิใช่การปฏิเสธสิทธิ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
หนังสือกองทะเบียนคนต่างด้าวและภาษีอากรที่ มท 0613.01/2792กำหนดให้นายทะเบียนคนต่างด้าวทุกแห่งทราบและถือปฏิบัติ 3 ข้อ และมีข้อความตอนสุดท้ายว่า "จึงแจ้งมาเพื่อทราบและถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป" เป็นคำสั่งกำหนดวิธีปฏิบัติอันเป็นขั้นตอนในการพิจารณาคำร้องขอให้ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว จำเลยที่ 2ดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าวนี้มิใช่การปฏิเสธไม่ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้แก่โจทก์ทั้งสี่ จำเลยทั้งสองยังมิได้โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ทั้งสี่ โจทก์ทั้งสี่จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5996/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินการตามขั้นตอนพิจารณาคำร้องขอใบสำคัญคนต่างด้าว มิใช่การปฏิเสธสิทธิ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
หนังสือของกองทะเบียนคนต่างด้าวและภาษีอากรที่มท 0613.01/2792 ลงวันที่ 10 กันยายน 2528 เรื่อง คนญวนอพยพที่ถูกถอนสัญชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ยื่นขอรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว กำหนดให้นายทะเบียนคนต่างด้าวทุกแห่งทราบและถือปฏิบัติดังนี้ 1. ให้เจ้าหน้าที่ทะเบียนคนต่างด้าวรับคำร้องพร้อมรูปถ่ายและหลักฐานประกอบเรื่องไว้ 2. ให้นายทะเบียนคนต่างด้าวท้องที่ที่รับคำร้องรวบรวมเรื่องส่งให้กองทะเบียนคนต่างด้าวและภาษีอากรพิจารณา 3. ให้นายทะเบียนคนต่างด้าวท้องที่แจ้งให้ผู้ยื่นคำร้องทราบด้วยว่า เมื่อกองทะเบียนคนต่างด้าวและภาษีอากรพิจารณาสิ้นสุดผลเป็นประการใดจะได้แจ้งให้ผู้ร้องทราบ และตอนท้ายสุดมีข้อความว่า "จึงแจ้งมาเพื่อทราบและถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป" นั้น เป็นคำสั่งกำหนดวิธีปฏิบัติอันเป็นขั้นตอนในการพิจารณาคำร้อง ขอให้ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว การที่จำเลยที่ 2 ปฏิบัติราชการแทนจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นนายทะเบียนคนต่างด้าวในเขตท้องที่อำเภอเมืองหนองคายดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าว มิใช่การปฏิเสธไม่ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสองยังมิได้โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง.
of 33