คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ราเชนทร์ จัมปาสุต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 323 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5848/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคาร การรื้อถอน และอำนาจศาลในการวินิจฉัย
ความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้รื้ออาคารตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 นั้น เมื่อฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่าการกระทำของจำเลยไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎหมายจึงรับฟังไม่ได้ว่ามีกรณีเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะใช้อำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารได้ตามกฎหมาย การที่จำเลยไม่รื้อถอนอาคารจึงไม่มีความผิด ปัญหาว่าคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้รื้อถอนอาคารขอบหรือไม่ ย่อมกระทบกระเทือนถึงความสงบสุขของประชาชนและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง จึงเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ การกระทำความผิดตามกฎหมาย ซึ่งผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกหรือปรับหรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อจำเลยต้องโทษถึงจำคุก แม้จะมีโทษปรับด้วย ศาลก็มีอำนาจพิจารณาลงโทษจำคุกจำเลยแต่เพียงสถานเดียวได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5846/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท - ความรับผิดส่วนตัวของผู้สั่งจ่ายที่มิได้ประทับตราบริษัท - ล้มละลาย
แม้มูลหนี้ตามเช็คพิพาทเกิดจากการหักทอนบัญชีหนี้สินระหว่างโจทก์กับบริษัท ป. แต่เมื่อเช็คพิพาทเป็นเช็คผู้ถือที่จำเลยออกให้โจทก์โดยมิได้ประทับตราของบริษัท ป. จำเลยต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คพิพาทเป็นส่วนตัว การที่จำเลยออกเช็คพิพาทให้โจทก์เพื่อชำระหนี้แทนบริษัทป. โดยมิได้ประทับตราบริษัท ป. ถือว่าจำเลยจ่ายเช็คพิพาทชำระหนี้โจทก์ในฐานะส่วนตัว มิใช่ในฐานะตัวแทนบริษัท ป. จำเลยต้องรับผิดตามเช็คนั้น เมื่อจำเลยไม่มีทรัพย์สินที่จะชำระหนี้โจทก์ และ ยังเป็นลูกหนี้เจ้าหนี้อื่นอยู่อีกหลายล้านบาท รวมทั้งจำเลย ได้ บอก กับอ.ว่า ไม่มีเงินชำระ ยอมติดคุก จำเลยจึงเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว และไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5736/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินส่วนตัวก่อนสมรส: ที่ดินและบ้านที่ได้รับยกให้ก่อนจดทะเบียนสมรส ไม่ใช่สินสมรส
บิดาผู้ร้องยกที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่ผู้ร้องระหว่างที่ผู้ร้องกับจำเลยอยู่กินฉันสามีภริยาแต่ก่อนมีการจดทะเบียนสมรสย่อมถือได้ว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องมีอยู่ก่อนสมรสจึงเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องตามมาตรา 1471(1) แห่ง ป.พ.พ.ส่วนการที่จำเลยครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทร่วมกับผู้ร้อง ย่อมไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้เปลี่ยนเจตนาหรือลักษณะแห่งการครอบครองเป็นการยึดถือเพื่อตนอันจักทำให้จำเลยเกิดสิทธิครอบครองในทรัพย์พิพาท สินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 นั้น จะต้องเป็นทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรสเท่านั้น กฎหมายหาได้บัญญัติให้ทรัพย์สินที่คู่สมรสร่วมกันเป็นเจ้าของอยู่ก่อนสมรสกลายเป็นสินสมรสเมื่อได้มีการสมรสไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5736/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินส่วนตัวก่อนสมรส: ที่ดินรับมรดกก่อนแต่งงานเป็นสินส่วนตัว แม้ทำกินร่วมกัน
บิดาผู้ร้องยกที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่ผู้ร้องก่อนที่ผู้ร้องกับจำเลยจะจดทะเบียนสมรสกัน ย่อมถือได้ว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องมีอยู่ก่อนสมรสและเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องตามมาตรา 1471(1) แห่ง ป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 การที่บิดาผู้ร้องยกที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่ผู้ร้องในระหว่างที่ผู้ร้องอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลย แม้ว่าจะเป็นเพียงการยกสิทธิครอบครองให้โดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือ และผู้ร้องกับจำเลยได้ทำกินและอยู่อาศัยในที่ดินและบ้านพิพาทตลอดมา ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าของร่วมกับผู้ร้อง เพราะการที่จำเลยทำกินและอาศัยอยู่ในที่ดินและบ้านพิพาทร่วมกับผู้ร้องเนื่องจากอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาเช่นนี้ ย่อมไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้เปลี่ยนเจตนาหรือลักษณะแห่งการครอบครองเป็นการยึดถือเพื่อตนอันจักทำให้จำเลยเกิดสิทธิครอบครองในทรัพย์สินที่พิพาท กรณีที่จะเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 นั้น จะต้องเป็นทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรสเท่านั้น กฎหมายหาได้บัญญัติให้ทรัพย์สินที่คู่สมรสร่วมกันเป็นเจ้าของอยู่ก่อนสมรส กลายเป็นสินสมรสเมื่อได้มีการสมรสไม่ แม้ว่าหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาจะเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยกับผู้ร้องก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยด้วย โจทก์ก็ย่อมไม่มีอำนาจยึดสินส่วนตัวของผู้ร้องบังคับชำระหนี้แก่โจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5736/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินส่วนตัวก่อนสมรส: ที่ดินที่ได้รับยกให้ก่อนจดทะเบียนสมรสไม่เป็นสินสมรส
บิดาผู้ร้องยกที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่ผู้ร้องก่อนที่ผู้ร้องกับจำเลยจะจดทะเบียนสมรสกัน ย่อมถือได้ว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องมีอยู่ก่อนสมรสและเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องตามมาตรา 1471 (1) แห่ง ป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519
การที่บิดาผู้ร้องยกที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่ผู้ร้องในระหว่างที่ผู้ร้องอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลย แม้ว่าจะเป็นเพียงการยกสิทธิครอบครองให้โดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือและผู้ร้องกับจำเลยได้ทำกินและอยู่อาศัยในที่ดินและบ้านพิพาทตลอดมา ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าของร่วมกับผู้ร้อง เพราะการที่จำเลยทำกินและอาศัยอยู่ในที่ดินและบ้านพิพาทร่วมกับผู้ร้องเนื่องจากอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาเช่นนี้ ย่อมไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้เปลี่ยนเจตนาหรือลักษณะแห่งการครอบครองเป็นการยึดถือเพื่อตนอันจักทำให้จำเลยเกิดสิทธิครอบครองในทรัพย์สินที่พิพาท
กรณีที่จะเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 นั้น จะต้องเป็นทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรสเท่านั้น กฎหมายหาได้บัญญัติให้ทรัพย์สินที่คู่สมรสร่วมกันเป็นเจ้าของอยู่ก่อนสมรส กลายเป็นสินสมรสเมื่อได้มีการสมรสไม่
แม้ว่าหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาจะเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยกับผู้ร้องก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยด้วย โจทก์ก็ย่อมไม่มีอำนาจยึดสินส่วนตัวของผู้ร้องบังคับชำระหนี้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5682/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องเรียกทายาทบุคคลภายนอกเข้าสู่คดีไม่ใช่คำคู่ความ อุทธรณ์ฎีกาคำสั่งระหว่างพิจารณาไม่ได้
คำร้องที่จำเลยขอให้ศาลชั้นต้นเรียกทายาทของบุคคลภายนอกเข้ามาในคดีมิใช่คำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(5)เพราะไม่ได้ตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ เมื่อศาลชั้นต้นยกคำร้องจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาและศาลชั้นต้นยังไม่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีจำเลยทั้งสองจะอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งระหว่างพิจารณาดังกล่าวไม่ได้ ต้องห้ามตามมาตรา 226(1) ประกอบกับมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5682/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดีที่ไม่ใช่คู่ความ และข้อจำกัดในการอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งระหว่างพิจารณา
คำร้องที่จำเลยขอให้ศาลเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดีมิใช่คำคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1(5) เพราะไม่ได้ตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ เมื่อศาลชั้นต้นยกคำร้อง จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาจำเลยจะอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งระหว่างพิจารณาไม่ได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226(1) ประกอบกับ มาตรา 247.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5654/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องหนี้สัญญากู้เงินซื้อขายหุ้น - คดีไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 164
โจทก์ฟ้องให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายโดยอาศัยมูลหนี้จากสัญญากู้เงินเพื่อซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามป.พ.พ. มาตรา 164 โจทก์มิได้ฟ้องจำเลยโดยอาศัยมูลหนี้จากเงินค่าที่โจทก์ได้ออกทดรองจ่ายซื้อหุ้นคืนซึ่งมีอายุความ 2 ปี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5624/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การรื้อฟ้องประเด็นกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินที่เคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
คดีก่อนมีประเด็นว่าพินัยกรรมที่ น. ทำสมบูรณ์หรือไม่และทรัพย์พิพาทเป็นของจำเลยทั้งสอง (โจทก์ในคดีก่อน) หรือเป็นของข. (จำเลยในคดีก่อน) ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าพินัยกรรมทำขึ้นโดยชอบและทรัพย์พิพาทเป็นของจำเลยทั้งสอง (โจทก์ในคดีก่อน)คดีถึงที่สุด คดีนี้โจทก์ทั้งสามฟ้องว่าทรัพย์พิพาทเป็นมรดกตกทอดแก่ ข. เมื่อ ข. ถึงแก่ความตายทรัพย์พิพาทจึงตกทอดแก่โจทก์ทั้งสาม ซึ่งเป็นบุตร ข. จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับในคดีก่อนว่าทรัพย์พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของใคร อาศัยเหตุอันเป็นที่มาแห่งกรรมสิทธิ์ของฝ่ายไหนอย่างไร ฟ้องโจทก์ทั้งสามในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำตามป.วิ.พ. มาตรา 148.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5624/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: ทรัพย์พิพาทเป็นของใคร? ศาลยกฟ้องเมื่อประเด็นเคยถูกวินิจฉัยแล้ว
คดีก่อนมีประเด็นว่า พินัยกรรมที่ น. ทำขึ้นสมบูรณ์หรือไม่และทรัพย์พิพาทเป็นของจำเลยทั้งสอง (โจทก์ในคดีก่อน) หรือเป็นของข. (จำเลยในคดีก่อน) ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาในคดีก่อนว่าพินัยกรรมดังกล่าวทำขึ้นโดยชอบ และทรัพย์พิพาทเป็นของจำเลยทั้งสอง(โจทก์ในคดีก่อน) คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์ทั้งสามในฐานะผู้สืบสิทธิของ ข. (จำเลยในคดีก่อน) จะกลับมาฟ้องใหม่ว่าทรัพย์พิพาทเป็นของภริยาเดิมของ น.ซึ่งเป็นมรดกตกทอดแก่ ข.มารดาของโจทก์ทั้งสามเมื่อ ข.ถึงแก่ความตายทรัพย์พิพาทจึงเป็นมรดกตกทอดแก่โจทก์ทั้งสามย่อมเป็นการรื้อร้องฟ้องในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เพราะประเด็นในคดีก่อนและคดีหลังก็คือทรัพย์พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของใคร ฟ้องโจทก์ทั้งสามจึงเป็นฟ้องซ้ำ.
of 33