คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ราเชนทร์ จัมปาสุต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 323 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5609/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโดยชอบด้วยกฎหมาย การมีหนี้สินล้นพ้นตัว และการพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
ฟ้องโจทก์บรรยายว่ามีเหตุอันควรเชื่อว่าจำเลยแสดงแบบยื่นรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง และยื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้ต่ำกว่ายอดรายรับขั้นต่ำซึ่งเจ้าพนักงานประเมินภาษีการค้าได้กำหนดไว้ เจ้าพนักงานประเมินจึงได้หมายเรียกจำเลยให้นำบัญชีพร้อมเอกสารประกอบการลงบัญชีปี 2515 ถึง 2523มา ตรวจสอบภาษี จำเลยไม่มาพบและไม่นำบัญชีมาให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบ เจ้าพนักงานประเมินอาศัยอำนาจตามมาตรา 87,87 ทวิแห่ง ป. รัษฎากร ทำการประเมินเรียกเก็บภาษีใหม่พร้อมทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 5,469,805.71 บาทจำเลยไม่มีทรัพย์ใดที่จะยึดมาชำระหนี้ได้ โจทก์ได้ทวงถามจำเลยให้ชำระแล้วสองครั้งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน จำเลยไม่ชำระจำเลยจึงมีหนี้สินล้นพ้นตัว ขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดและพิพากษาให้จำเลยล้มละลาย ดังนี้ ฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้ว ส่วนรายละเอียดต่าง ๆตามฎีกาของจำเลยนั้น โจทก์อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณาไม่จำต้องบรรยายมาในฟ้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์มีทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารมายืนยันว่าจำเลยได้รับหมายเรียกจากเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์และโจทก์ได้แจ้งกำหนดรายรับขั้นต่ำให้จำเลยทราบแล้ว พยานหลักฐานโจทก์จึงมีน้ำหนักน่าเชื่อ ส่วนจำเลยมิได้นำสืบหักล้างให้เห็นเป็นอย่างอื่นข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินภาษีจำเลยโดยชอบด้วย ป.รัษฎากร มาตรา 19,21 และจำเลยเป็นหนี้ค่าภาษีโจทก์ตามการประเมินดังกล่าว การประเมินภาษีการค้าและภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีประจำปี 2519 เจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งจำนวนเงินภาษีที่ประเมินไปยังจำเลยแล้ว อันมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ.มาตรา 173 นับแต่วันที่แจ้งดังกล่าวจนถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 10 ปีสิทธิเรียกร้องของโจทก์ในหนี้ค่าภาษีอากรปี 2519 จึงไม่ขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5608/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเป็นบุคคลล้มละลายจากคดีกู้ยืมเงินตามพ.ร.ก.กู้ยืมเงินฯ จำเลยมีส่วนร่วมหรือไม่
การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาในฐานะประธานกรรมการยังจัดให้ประชุมผู้ร่วมลงทุนออกหนังสือยืนยันว่าบริษัทยังดำเนินธุรกิจเป็นปกติ ทั้งยังออกหนังสือขอผ่อนผันชำระเงินทุนคืนแก่ผู้ร่วมลงทุนทุกราย เป็นการกำกับดูแลธุรกิจบริษัทประหนึ่งตนเป็น กรรมการผู้จัดการ พฤติการณ์บ่งชัดว่าได้ร่วมคบคิดกับบริษัท ซึ่งเป็นนิติบุคคลทำการกู้ยืมเงินด้วย แม้จำเลยที่ 1 จะมิใช่ กรรมการผู้จัดการและ มิได้ลงนามในสัญญาในฐานะผู้แทนบริษัท จำเลย ที่ 1 ก็เป็นผู้กู้ยืม เงินตามนัยพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็น การฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527มาตรา 3 เมื่อจำเลยที่ 1 อยู่ในฐานะ เป็นผู้กู้ยืมเงินและได้ตกเป็นผู้ต้องหาตามพระราชกำหนดดังกล่าว มาตรา 4,5 ทั้งได้ถูกฟ้องต่อศาลอาญาไว้แล้ว พนักงานอัยการจึงมี อำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 1 เป็นบุคคลล้มละลายได้ตามพระราชกำหนด ดังกล่าว มาตรา 10 บริษัทเป็นผู้กู้ยืมเงินโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงนามในสัญญาในฐานะผู้แทนบริษัท จำเลยที่ 2 ย่อมเป็นผู้กู้ยืมเงินไปด้วยตามนัยแห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527มาตรา 3 การที่จำเลยที่ 2 กระทำให้เกิดข้อบกพร่องขึ้นโดยลงนามคนเดียว และไม่ประทับตราสำคัญของบริษัทนั้น หาทำให้ฐานะของจำเลยที่ 2 ที่เป็นผู้แทนบริษัทเปลี่ยนแปลงไปไม่ เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้กู้ยืมเงิน และได้ตกเป็นผู้ต้องหาตามพระราชกำหนดดังกล่าว มาตรา4,5 ทั้งได้ถูกฟ้องต่อศาลอาญาไว้แล้ว เช่นนี้ พนักงานอัยการ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 2 เป็นบุคคลล้มละลายได้ตาม พระราชกำหนดดังกล่าว มาตรา 10 จำเลยที่ 2 จะได้หลอกลวงประชาชน หรือไม่ หา ได้กระทบถึงอำนาจฟ้องของโจทก์ไม่ แม้จำเลยที่ 6 จะเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทด้วยผู้หนึ่ง แต่ จำเลย ที่ 6ก็มิได้เป็นกรรมการบริษัท และไม่เคยได้รับเงินจาก ผู้ ร่วม ลงทุน โดยจ่ายหรือตกลงจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ร่วมลงทุน แต่ อย่างใดจำเลยที่ 6 ไม่มีส่วนร่วมกับจำเลยที่ 2 หรือกับบริษัท ใน การ กู้ยืม เงินจากผู้ร่วมลงทุน จำเลยที่ 6 จึงมิใช่ผู้กู้ยืมเงิน ตาม นัย พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 มาตรา 3 พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 6 เป็นบุคคลล้มละลาย ตาม พระราชกำหนด ดังกล่าวมาตรา 10 ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจสั่งไม่รอฟังข้อเท็จจริงในคดีส่วนอาญา และได้ดำเนินการพิจารณาสืบพยานหลักฐานจนเสร็จสิ้นแล้วมีคำพิพากษา ไปประกอบกับคดีส่วนอาญาที่อ้างถึงนั้นจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด เมื่อใด ก็ไม่อาจทราบได้ จึงไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะรอคดีนี้ไว้ ฟัง ข้อเท็จจริงในคดีส่วนอาญา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5608/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องล้มละลายของผู้กู้ยืมเงินตามพรบ.การกู้ยืมเงินฯ และการพิสูจน์การมีส่วนร่วมในการกระทำผิด
เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 อยู่ในฐานะเป็นผู้กู้ยืมเงิน และได้ตกเป็นผู้ต้องหาตาม พ.ร.ก. การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนพ.ศ. 2527 มาตรา 4,5 ทั้งได้ถูกฟ้องต่อศาลอาญาไว้แล้วพนักงานอัยการย่อมฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นบุคคลล้มละลายได้ตาม พ.ร.ก. ดังกล่าว มาตรา 10 ส่วนจำเลยที่ 6 เมื่อมิได้เป็นผู้กู้ยืมเงิน พนักงานอัยการย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 6 ให้เป็นบุคคลล้มละลายตาม พ.ร.ก. ดังกล่าว มาตรา 10.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5558/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกความเท็จและการฟ้องเท็จ: ความผิดแม้ในฐานะพยาน
เมื่อศาลมิได้หยิบยกเอาคำเบิกความของจำเลยที่ 2 ในคดีก่อนมาวินิจฉัยหากแต่วินิจฉัยถึงพยานหลักฐานอื่นแล้วเชื่อว่าจำเลยที่ 1 ในดดีดังกล่าวกระทำผิดจริง คำเบิกความของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นข้อสำคัญในคดี
ในคดีที่จำเลยที่ 1 ฟ้องหาว่าโจทก์ลักทรัพย์ของจำเลยที่ 1 แม้ศาลพิพากษายกฟ้องในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง และโจทก์ยังไม่ได้อยู่ในฐานะจำเลย แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 นำความเท็จมาฟ้องและเบิกความเท็จว่าโจทก์ได้ลักเอาทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ไป อันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานลักทรัพย์ โดยจำเลยที่ 1 รู้อยู่แล้วว่าข้อความตามฟ้องและที่เบิกความนั้นเป็นเท็จจำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานฟ้องเท็จและเบิกความเท็จ
จำเลยเบิกความในฐานะพยานอันเป็นอีกฐานะหนึ่งต่างหากจากการเป็นตัวจำเลย หากคำเบิกความของจำเลยเป็นความเท็จ จำเลยจะยกเอาสิทธิในการต่อสู้คดีของจำเลยมาอ้างเพื่อยกเว้นความรับผิดฐานเบิกความเท็จหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5558/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกความเท็จในคดีอาญา และการฟ้องเท็จ มีความผิดแม้ศาลยังมิได้ประทับฟ้อง
คดีก่อนโจทก์เข้าร่วมกับพนักงานอัยการฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 188 จำเลยที่ 2 เบิกความเท็จต่อศาลศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้หยิบยกเอาคำเบิกความของจำเลยที่ 2 ขึ้นวินิจฉัย หากแต่ได้วินิจฉัยกับพยานหลักฐานอื่นแล้วเชื่อว่า จำเลยที่ 1 กระทำผิดจริง คำเบิกความของจำเลยที่ 2จึงไม่เป็นข้อสำคัญในคดี จำเลยที่ 2 ไม่มีความผิดฐานเบิกความเท็จ ส่วนจำเลยที่ 1 เข้าเบิกความในฐานะพยานซึ่งเป็นอีกฐานะหนึ่งต่างหากจากการเป็นตัวจำเลยจะยกเอาสิทธิในการต่อสู้คดีของจำเลยมาอ้างเพื่อยกเว้นความรับผิดฐานเบิกความเท็จไม่ได้ และคำเบิกความของจำเลยที่ 1 ในคดีดังกล่าวที่ว่าจำเลยที่ 1 เพียงแต่หยิบเอาภาพถ่ายใบหย่าไป ไม่ได้หยิบเช็คตามฟ้องนั้นเป็นการแสดงว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ฉีกเช็คของโจทก์อันเป็นข้อสำคัญในคดีอาญาดังกล่าวซึ่งจำเลยที่ 1 ถูกฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ฉีกเช็คที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายชำระหนี้ให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานเบิกความเท็จ คดีหลัง จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ในข้อหาลักทรัพย์ ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 นำความเท็จมาฟ้องและเบิกความเท็จว่า โจทก์ลักเอาทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ไปอันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานลักทรัพย์ โดยจำเลยที่ 1 รู้อยู่แล้วว่าข้อความตามฟ้องและที่เบิกความนั้นเป็นเท็จ แม้ศาลได้พิพากษายกฟ้องในชั้นไต่สวนมูลฟ้องและโจทก์ในคดีดังกล่าวยังไม่อยู่ในฐานะเป็นจำเลย จำเลยที่ 1ยังมีความผิดฐานฟ้องเท็จและเบิกความเท็จ กฎหมายมิได้บัญญัติว่าเป็นความผิดต่อเมื่อศาลได้ประทับฟ้องไว้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5558/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกความเท็จในคดีอาญา และการฟ้องเท็จ แม้ศาลยกฟ้อง ก็เป็นความผิดฐานเบิกความเท็จได้
เมื่อศาลมิได้หยิบยกเอาคำเบิกความของจำเลยที่ 2 ในคดีก่อนมาวินิจฉัยหากแต่วินิจฉัยถึงพยานหลักฐานอื่นแล้วเชื่อว่าจำเลยที่ 1ในคดีดังกล่าวกระทำผิดจริง คำเบิกความของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นข้อสำคัญในคดี ในคดีที่จำเลยที่ 1 ฟ้องหาว่าโจทก์ลักทรัพย์ของจำเลยที่ 1แม้ศาลพิพากษายกฟ้องในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง และโจทก์ยังไม่ได้อยู่ในฐานะจำเลย แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 นำความเท็จมาฟ้องและเบิกความเท็จว่าโจทก์ได้ลักเอาทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ไป อันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานลักทรัพย์ โดยจำเลยที่ 1 รู้อยู่แล้วว่าข้อความตามฟ้องและที่เบิกความนั้นเป็นเท็จจำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานฟ้องเท็จและเบิกความเท็จ จำเลยเบิกความในฐานะพยานอันเป็นอีกฐานะหนึ่งต่างหากจากการเป็นตัวจำเลย หากคำเบิกความของจำเลยเป็นความเท็จ จำเลยจะยกเอาสิทธิในการต่อสู้คดีของจำเลยมาอ้างเพื่อยกเว้นความรับผิดฐานเบิกความเท็จหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5542/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งหยุดงานเพื่อความปลอดภัยของพระมหากษัตริย์ไม่ถือเป็นการผิดสัญญา และผู้รับเหมาต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการส่งมอบสินค้า
ที่จำเลยสั่งให้โจทก์หยุดงานชั่วคราวก็เพื่อถวายการอารักขาแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ คำสั่งจำเลยที่ให้โจทก์หยุดงานชั่วคราว จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายและโจทก์ย่อมต้องทราบดีอยู่แล้วในขณะทำสัญญาว่า องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์จะเสด็จแปรพระราชฐานมาประทับที่พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ และพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ เป็นประจำทุกปี ทั้งเมื่อได้รับคำสั่งให้หยุดงานชั่วคราว โจทก์มิได้ ทักท้วงหรือโต้แย้งแต่ประการใด จะถือว่าจำเลยผิดสัญญาโดยไม่จัดการ หรืออำนวยความสะดวกให้โจทก์เข้าทำงานก่อสร้างตามสัญญาเป็นการ ไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้หาได้ไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายอัน เกิดจากคำสั่งของจำเลย ดังกล่าวนั้นได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5531/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความยินยอมจำนองและการสัตยาบันหนี้: หนี้ร่วมผูกพันสินสมรสและสินส่วนตัว
ผู้ร้องในฐานะภรรยาของจำเลยที่ 2 ลงชื่อให้ความยินยอมในการทำนิติกรรมจำนองที่ดิน แม้หนังสือยินยอมจะไม่ได้ทำที่สำนักงานที่ดิน และต่อเจ้าพนักงานที่ดินก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายไม่ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1479 หนังสือยินยอมระบุว่า กิจการใดที่จำเลยที่ 2 ได้กระทำไปผู้ร้องร่วมรับผิดชอบในนิติกรรมนั้นด้วย เสมือนหนึ่งผู้ร้องได้กระทำเองทุกประการ แสดงให้เห็นว่าผู้ร้องได้รับรู้ถึงหนี้สินที่จำเลยที่ 2ได้ก่อให้เกิดขึ้น และถือได้ว่าผู้ร้องให้สัตยาบันหนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 ต้องผูกพันที่ดินและทรัพย์สินอื่นรวมทั้งส่วนของผู้ร้องด้วย ไม่ว่าจะเป็นสินสมรสและสินส่วนตัว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1489 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอกันส่วน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5465/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการลงโทษในชั้นฎีกา: ศาลฎีกาไม่สามารถเพิ่มโทษจำเลยเกินกว่าที่ศาลอุทธรณ์ตัดสิน หากโจทก์มิได้ฎีกาในประเด็นนั้น
ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยต่ำกว่าระวางโทษขั้นต่ำ ที่กฎหมายกำหนด เมื่อโจทก์มิได้ฎีกา ศาลฎีกาจะลงโทษจำเลยทั้งสองหนักกว่าที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาไม่ได้เพราะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5455/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตรวจค้นโดยไม่มีหมายค้นในกรณีฉุกเฉินและอำนาจเจ้าพนักงานตำรวจชั้นผู้ใหญ่
สารวัตรสืบสวนสอบสวนเป็นเจ้าพนักงานตำรวจชั้นผู้ใหญ่ทำการตรวจค้นได้ในเมื่อมีความสงสัยตามสมควรว่าสิ่งของที่ได้มาโดยการกระทำผิดได้ซ่อนหรืออยู่ในที่รโหฐาน และถ้ากรณีมีเหตุผลที่เชื่อได้ว่าหากเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมา ตรวจค้นในวันรุ่งขึ้นสิ่งของเหล่านั้นจะถูกโยกย้ายเสียก่อน และพยานหลักฐานสำคัญจะสูญหาย กรณีมีเหตุฉุกเฉินอย่างยิ่ง ฉะนั้นการค้นของสารวัตรสืบสวนสอบสวนแม้จะไม่มีหมายค้นและตรวจค้นในเวลากลางคืนก็อาจจะทำการค้นได้ ของกลางจำนวนมากเป็นชิ้นส่วนรถที่ได้จากที่รโหฐาน ซึ่งได้มีการตรวจสอบกันแล้ว และให้จำเลยรับรองไว้ว่าของกลางต่าง ๆ นั้นค้นได้ที่ที่รโหฐานดังกล่าวซึ่งจำเลยก็ได้ลงชื่อรับรองความถูกต้องไว้ตามบัญชีของกลาง ของกลางอันเป็นพยานวัตถุเหล่านี้จึงใช้ยันจำเลยได้.
of 33