พบผลลัพธ์ทั้งหมด 323 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4268/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วมในความผิดเช็ค: ผู้สลักหลังเช็คก็มีความผิดได้หากมีเจตนาออกเช็คเพื่อชำระหนี้
พ.ร.บ.เป็นกฎหมายในส่วนอาญาซึ่ง ป.อ.มาตรา 17 บัญญัติว่า บทบัญญัติในภาค 2 แห่ง ป.อ. ใช้ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย ดังนั้น คำว่า "ผู้ใดออกเช็ค" ตามพ.ร.บ.ดังกล่าว มาตรา 3 จึงมิได้มีความหมายเฉพาะผู้ออกเช็คในฐานะผู้สั่งจ่ายเท่านั้นที่จะเป็นผู้กระทำความผิดได้ บุคคลอื่นแม้มิใช่ผู้สั่งจ่ายก็อาจร่วมกระทำความผิดกับผู้ออกเช็คโดยเป็นตัวการร่วมกันตาม ป.อ. มาตรา 83 ได้ โจทก์ฟ้องคดีนี้ว่าจำเลยที่ 4 ร่วมกันสั่งจ่ายเช็คกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3เพื่อชำระหนี้ในการซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและเครื่องจักรแม้จำเลยที่ 4 จะเป็นผู้สลักหลังเช็คมิใช่ผู้สั่งจ่ายเช็ค แต่ตามพฤติการณ์ถือได้ว่าจำเลยที่ 4 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 2 ที่ 3กรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ออกเช็คของบริษัทจำเลยที่ 1 เพื่อชำระหนี้นั้น เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยที่ 4 จึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4268/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วมออกเช็ค – แม้เป็นผู้สลักหลังก็มีความผิดได้ตาม พ.ร.บ. เช็ค
พระราชบัญญัติเป็นกฎหมายในส่วนอาญาซึ่งประมวลกฎหมายอาญามาตรา 17 บัญญัติว่า บทบัญญัติในภาค 2 แห่งประมวลกฎหมายอาญาใช้ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย ดังนั้น คำว่า"ผู้ใดออกเช็ค" ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 3 จึงมิได้มีความหมายเฉพาะผู้ออกเช็คในฐานะผู้สั่งจ่ายเท่านั้นที่จะเป็นผู้กระทำความผิดได้ บุคคลอื่นแม้มิใช่ผู้สั่งจ่ายก็อาจร่วมกระทำความผิดกับผู้ออกเช็คโดยเป็นตัวการร่วมกันตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 ได้ โจทก์ฟ้องคดีนี้ว่าจำเลยที่ 4 ร่วมกันสั่งจ่ายเช็คกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เพื่อชำระหนี้ในการซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและเครื่องจักรแม้จำเลยที่ 4 จะเป็นผู้สลักหลังเช็คมิใช่ผู้สั่งจ่ายเช็ค แต่ตามพฤติการณ์ถือได้ว่าจำเลยที่ 4 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 กรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ออกเช็คของบริษัทจำเลยที่ 1 เพื่อชำระหนี้นั้น เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยที่ 4 จึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4118/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันของคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีล้มละลาย: จำเลยไม่อาจปฏิเสธหนี้ที่ศาลเคยตัดสินแล้ว
ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ให้โจทก์ คำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยที่ 2 เมื่อโจทก์นำหนี้ตาม คำพิพากษาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีล้มละลายจำเลยที่ 2 จะโต้เถียงว่าไม่ได้เป็นหนี้ตามคำพิพากษาหรือเป็นหนี้ที่ไม่ชอบ ด้วยกฎหมายหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4118/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาถึงที่สุดผูกพันคู่ความในคดีล้มละลาย แม้จำเลยอ้างหนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ข้อสันนิษฐานหนี้สินล้นพ้นตัวมีผล
เมื่อมีคำพิพากษาให้จำเลยร่วมรับผิดชำระหนี้ 1,000,000 บาทพร้อมดอกเบี้ย คดีถึงที่สุด คำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยซึ่งเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายจำเลยจะโต้เถียงว่าไม่ได้เป็นหนี้ตามคำพิพากษาหรือเป็นหนี้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่ ต้องถือว่าเป็นหนี้ที่แท้จริงและถูกต้อง เมื่อไม่สามารถบังคับคดีเนื่องจากสืบหาทรัพย์สินของจำเลยไม่พบ และโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ไม่น้อยกว่าสองครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่า30 วัน จำเลยไม่ชำระจึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว เมื่อจำเลยไม่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ไม่น้อยกว่า 50,000 บาทเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้แน่นอนและจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว ทั้งไม่มีเหตุอื่นที่ไม่สมควรให้จำเลยล้มละลาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4079/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาด: การไม่ได้รับแจ้งการประมูลและสมรู้กันกดราคา
จำเลยยื่นคำร้องว่า จำเลยไม่ได้รับทราบการประกาศขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ อีกทั้งไม่มีผู้ใดนำประกาศดังกล่าว ไป ติด ยังสถานที่ตั้งทรัพย์ที่จะขายและเป็นการประมูลที่ตกลงกัน ไว้ ล่วงหน้า ในกลุ่มผู้สู้ราคา ซึ่งมีความหมายว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้แจ้งวันขายทอดตลาดทรัพย์ให้จำเลย ทราบเป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 306และการประมูลซื้อทรัพย์ที่ ขายทอดตลาดเป็นการสมรู้กันกดราคา ซื้อจำเลยมีสิทธิขอให้ศาลสั่ง เพิกถอนการขายทอดตลาดได้เมื่อยังไม่พ้นกำหนด 8 วัน นับแต่วัน ที่จำเลยทราบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4032/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยต้องแสดงเหตุผลที่ชัดเจนและสมเหตุสมผลในการเลิกจ้าง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม โดยอ้างเหตุหลายประการรวมทั้งอ้างว่าจำเลยไม่อ้างเหตุแห่งการเลิกจ้างและไม่ได้บอกกล่าวให้โจทก์ทราบล่วงหน้าด้วย จำเลยให้การว่า ก่อนเลิกจ้างโจทก์ จำเลยได้บอกกล่าวให้โจทก์ทราบล่วงหน้าแล้ว ในคำบอกกล่าวได้ระบุชัดแจ้งว่าเหตุที่เลิกจ้างนั้นเนื่องจากโจทก์หย่อนสมรรถภาพในการทำงาน ดังนั้น ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า ยังไม่มีเหตุเพียงพอที่จะถือว่าโจทก์หย่อนสมรรถภาพตามที่จำเลย ให้การต่อสู้ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จึงเป็นการวินิจฉัยตรงตามประเด็นพิพาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3965/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรวมและคดีล้มละลาย: สิทธิในการยึดทรัพย์และแบ่งส่วนของเจ้าหนี้
ที่ดินพิพาทมีลูกหนี้เป็นเจ้าของรวม เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีสิทธิยึดมาแบ่งแก่เจ้าหนี้ในคดีล้มละลายได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 19,22(1) และ 109(1) แม้ผู้ร้องกับพวกเป็นเจ้าของรวมฝ่ายข้างมากเห็นว่าไม่ควรขายที่ดินพิพาททั้งแปลงก็จะนำบทบัญญัติมาตรา 1361 วรรคสอง แห่ง ป.พ.พ. มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ไม่ได้ เพราะกรรมสิทธิ์ของเจ้าของรวมแต่ละคนย่อมครอบไปเหนือทรัพย์สินทั้งหมดจนกว่าจะมีการแบ่งทรัพย์สินหรือโดยการขาย ดังนั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจยึดที่ดินพิพาทออกขายได้ทั้งแปลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 ผู้ร้องย่อมใช้สิทธิเรียกขอแบ่งส่วนของตน ตามสิทธิของเจ้าของรวมได้ในทางการบังคับคดี ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 287 ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 153.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3963/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ไม่ทำตามแบบและอายุความครอบครองปรปักษ์
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งปล่อยที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยึดไว้ในคดีล้มละลาย โดยอ้างว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์มาตามสัญญาซื้อขาย และผู้ร้องได้ครอบครองเป็นเจ้าของโดยความสงบและเปิดเผยเป็นเวลาเกิน 10 ปี ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์โดยอายุความแล้วนั้นเมื่อการซื้อขายมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 456วรรคแรก และเมื่อปรากฏว่าผู้ร้องเพิ่งมีสภาพเป็นนิติบุคคลนับถึงวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังไม่ถึง10 ปี ทั้งไม่มีเวลาครอบครองทรัพย์ของผู้โอนที่จะนับรวมกับผู้ร้องได้ ผู้ร้องไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยอายุความครอบครองปรปักษ์ตามกฎหมายดังนั้นผู้ร้องจึงขอให้ศาลสั่งปล่อยทรัพย์ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยึดไว้ไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3961/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย ต้องยื่นต่อศาลภายใน 14 วันนับแต่วันทราบการขายทอดตลาด ไม่ต้องยื่นต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก่อน
จำเลยคัดค้านการกระทำคือการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งต้องคัดค้านต่อศาลภายใน 14 วัน นับแต่วันทราบการกระทำการขายทอดตลาดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 146 กรณีนี้หามีกฎหมายกำหนดให้จำเลยต้องยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ยกเลิกการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เองก่อนไม่ ฉะนั้น แม้จำเลยจะได้ยื่นคำร้องดังกล่าวเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งให้ยกคำร้อง ก็ไม่ทำให้ระยะเวลาที่จำเลยจะต้องคัดค้านการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต่อศาลขยายไปเป็น 14 วัน นับแต่วันที่ได้ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3960/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ไม่รับคำขอรับชำระหนี้ ถือเป็นคำวินิจฉัยที่สามารถคัดค้านต่อศาลได้
คำสั่งไม่รับคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 91 เป็นการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่กฎหมายให้อำนาจไว้มิใช่เพียงความเห็นที่เสนอต่อศาลเพื่อพิจารณาสั่งเท่านั้น ผู้ร้องซึ่งได้รับความเสียหายชอบที่จะยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องคัดค้านคำสั่งดังกล่าวต่อศาลภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ได้ทราบการกระทำหรือคำวินิจฉัยนั้นตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146