คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ราเชนทร์ จัมปาสุต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 323 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3960/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ไม่รับคำขอรับชำระหนี้ ต้องยื่นภายใน 14 วันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง
คำสั่งไม่รับคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 91 เป็นการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่กฎหมายให้อำนาจไว้มิใช่เพียงความเห็นที่เสนอต่อศาลเพื่อพิจารณาสั่งเท่านั้น ผู้ร้องซึ่งได้รับความเสียหายชอบที่จะยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องคัดค้านคำสั่งดังกล่าวต่อศาลภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ได้ทราบการกระทำหรือคำวินิจฉัยนั้นตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3702/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เรื่องการชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ให้เป็นไปตามหนี้ที่จำเลยต้องรับผิด เพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้ตามกฎหมาย
กฎหมายล้มละลายเป็นกฎหมายพิเศษมีวัตถุประสงค์ที่จะคุ้มครองบรรดาเจ้าหนี้ให้ได้รับชำระหนี้หรือได้รับส่วนแบ่งอย่างเป็นธรรม ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้มากไป กว่าที่จำเลยต้องรับผิดนั้น เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะมิได้โต้แย้งมาก่อนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ยกขึ้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสองประกอบด้วย พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3702/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองเจ้าหนี้ในคดีล้มละลาย: การชำระหนี้ตามสิทธิและปัญหาความสงบเรียบร้อย
กฎหมายล้มละลายเป็นกฎหมายพิเศษมีวัตถุประสงค์ที่จะคุ้มครองบรรดาเจ้าหนี้ให้ได้รับชำระหนี้หรือได้รับส่วนแบ่งอย่างเป็นธรรม ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้เกินกว่าที่จำเลยทั้งสองต้องรับผิดเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะมิได้โต้แย้งมาก่อน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ย่อมยกขึ้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง ประกอบด้วยพ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 153.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3657/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยเช็คและเงินสด การพิสูจน์การระงับหนี้ต้องมีหลักฐานชัดเจน ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดหากพิสูจน์การชำระหนี้ไม่ได้
จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน แม้ จะ รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เคยนำเช็คไปชำระหนี้เงินกู้รายพิพาท แก่ โจทก์ แต่ก็ปรากฏว่าธนาคารปฏิเสธการใช้เงินตามเช็คนั้น หนี้ เงินกู้ ราย นี้ จึงยังคงมีอยู่ตามหนังสือสัญญากู้ การที่จำเลยที่ 2 นำสืบ ว่า จำเลย ที่ 1นำเงินสดตามเช็คไปชำระแก่โจทก์จนครบและ รับ เช็ค คืน จากโจทก์แล้วนั้นเป็นการนำสืบให้ศาลฟังข้อเท็จจริงว่า หนี้ เงินกู้ ตามสัญญากู้รายพิพาทได้ระงับแล้วโดยจำเลยที่ 1 นำ เงินสด ไป ชำระ ให้แก่โจทก์ จึงเป็นการนำสืบการใช้เงินตามความหมาย แห่ง ป.พ.พ.มาตรา 653 วรรคสอง จำเลยที่ 2 ไม่มีหลักฐานเป็น หนังสือ ลง ลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง ทั้งไม่ปรากฏว่าเอกสารอันเป็น หลักฐาน แห่ง การกู้ยืมเงินนั้นได้เวนคืนแล้วหรือได้แทงเพิกถอนแล้ว จึง รับฟัง ไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระหนี้แก่โจทก์ที่ 1 สำหรับเช็ค ที่ อ้างว่า นำ ไปชำระหนี้เงินกู้นั้นก็ไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืม จำเลย ที่ 2 จึง ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ตามฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3657/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยเช็คและเงินสด การนำสืบการใช้เงิน และผลกระทบต่อผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์และได้ชำระหนี้เงินกู้รายพิพาทเป็นเช็คแต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค หนี้เงินกู้จึงยังคงมีอยู่การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันนำสืบว่า จำเลยที่ 1 นำเงินสดตามเช็คไปชำระแก่โจทก์จนครบและรับเช็คคืนจากโจทก์แล้ว จึงเป็นการนำสืบการใช้เงินตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสองเมื่อจำเลยที่ 2 ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง และไม่ปรากฏว่าเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนหรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว จึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3561/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งนายจ้างชอบด้วยกฎหมาย แม้ใช้คำว่า 'ขอร้อง' หากวิญญูชนเข้าใจได้ว่าเป็นคำสั่ง
ที่หัวกระดาษเอกสารที่มีถึงโจทก์ มีเครื่องหมายและชื่อบริษัทจำเลยพร้อมที่อยู่และวันเดือนปีที่ทำขึ้น ต่อจากนั้นมีข้อความว่า"ถึงคุณอัจฉรา ปั้นน้อย พนักงานบัญชี เรื่องให้ตอกบัตรบันทึกเวลาทำงาน หนังสือฉบับนี้เป็นการขอร้องให้คุณบันทึก เวลาทำงานของคุณที่บริษัทออยล์เท็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัด โดยใช้เครื่องบันทึกเวลาลงในบัตรทั้งเวลาเริ่มทำงานและเวลาเลิกงาน ขอให้รับบัตรตอกเวลาดังกล่าวได้ที่หัวหน้าของคุณ ลงชื่อ น.รองประธานฝ่ายปฏิบัติการ" แม้เอกสารดังกล่าวใช้คำว่าขอร้อง แต่โดยสภาพและเนื้อความของเอกสารทั้งฉบับ วิญญูชนที่พบเห็นย่อมทราบดีว่า น.รองประธานฝ่ายปฏิบัติการและกรรมการของบริษัทจำเลยซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา และถือได้ว่าเป็นนายจ้างของโจทก์ ต้องการที่จะสั่งให้โจทก์ตอกบัตรบันทึกเวลาทำงานตามข้อบังคับของจำเลยเพียงแต่น. ใช้ถ้อยคำสุภาพเป็นภาษาอังกฤษซึ่งแปลเป็นไทยว่า ขอร้องอันเป็นรูปแบบหนึ่งของการสั่งให้ทำนั่นเอง ดังนั้น เอกสารดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างแล้ว เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตาม ย่อมเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของนายจ้าง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3469/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับคดีของผู้รับจำนองเมื่อเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้รับชำระหนี้ครบถ้วน
การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้นำยึดที่ดินของจำเลยที่ 2 ไว้ขายทอดตลาดเพื่อเอาเงินชำระหนี้ และต่อมาโจทก์ได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 2 ครบถ้วนแล้วนั้น กรณีเช่นนี้โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 ต่อไปและไม่ใช่เป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาผู้ยึดสละสิทธิในการบังคับคดีหรือเพิกเฉยไม่ดำเนินการบังคับคดีภายในเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 290 วรรคท้าย ผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองและได้ยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ต่อศาลแรงงานกลางซึ่งได้ออกหมายบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 ไว้ไม่มีสิทธิขอให้ดำเนินการบังคับคดีต่อไปได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3463/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องอุทธรณ์และการรอการลงโทษ จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย โจทก์ไม่ประสงค์ดำเนินคดี
ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ซึ่งเป็นผู้อุทธรณ์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยทั้งเจ็ดและถอนอุทธรณ์จำเลยที่ 7ไม่ดำเนินคดีกับจำเลยทั้งเจ็ดต่อไป ดังนี้แม้ข้อหาที่โจทก์ฟ้องเป็นความผิดอันยอมความไม่ได้ ซึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิขอถอนฟ้องในชั้นอุทธรณ์ก็ตาม แต่ย่อมถือได้ว่า โจทก์มีเจตนาที่จะถอนฟ้องอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ด้วย การที่ศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 คงอนุญาตให้ถอนอุทธรณ์เฉพาะจำเลยที่ 7 แล้วพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 มีความผิดตามอุทธรณ์ของโจทก์นั้น คำสั่งและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3270/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องจำกัด: การข้ามขั้นตอนตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ และสิทธิของผู้เช่าที่ดิน
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และขอให้บังคับจำเลยที่ 1 จัดการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ซึ่งเป็นการขอให้แก้ไขหรือยกเลิกมติของคณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล ก่อนที่จะมีการอุทธรณ์ตามพ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 56 เป็นการข้ามขั้นตอนตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็พิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ด้วย เพราะเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245(1) ประกอบด้วยมาตรา 247.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3270/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง - การเช่าที่ดิน - การโอนกรรมสิทธิ์ - ข้ามขั้นตอนตามกฎหมาย - สิทธิของผู้เช่า
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทซึ่งจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 เช่าทำนา นาย ป. บิดาจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาแทนจำเลยที่ 1ตกลงจะขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์โดยมิได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบเพียงแต่ตกลงกันให้โจทก์ไปตกลงกับจำเลยที่ 2 เอง ต่อมาจำเลยที่ 2ขออายัดที่ดินพิพาท และคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลมีมติให้จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 2 แล้วจำเลยทั้งสองได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทไว้ การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อขายระหว่างจำเลยทั้งสอง และขอให้บังคับจำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์เป็นการขอให้แก้ไขหรือยกเลิกมติของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำ ตำบล ก่อนที่จะมีการอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติ การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 56เป็นการข้ามขั้นตอนตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ และการที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ยังเป็นการขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ละเว้นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 53วรรคหนึ่ง ที่ต้องแจ้งให้ผู้เช่านาทราบถึงการจะขายนาและให้ผู้เช่านาได้แสดงความจำนงจะซื้อนาก่อนอีกด้วย และเมื่อโจทก์เป็นเพียงผู้จะซื้อที่ดินพิพาทยังมิใช่เจ้าของที่ดินแปลงดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยโดยอาศัยอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ ขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อขายและขอให้ห้ามจำเลยที่ 2 เข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทนั้น.
of 33