คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ราเชนทร์ จัมปาสุต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 323 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 853/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย ต้องพิจารณาว่าเป็นการโอนให้เจ้าหนี้เดิมหรือไม่ และผู้รับโอนสุจริตหรือไม่
พ.ร.บ. ล้มละลายฯมาตรา 115 ที่บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอเพิกถอนการโอนได้ในกรณีที่จำเลยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นนั้น มีความหมายว่าการโอนทรัพย์สินต้องเป็นการโอนให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่ก่อนแล้วและการโอนเช่นนั้นทำให้เจ้าหนี้อื่น ๆ ของจำเลยเสียเปรียบ เนื่องจากบรรดาเจ้าหนี้เหล่านั้นต่างก็จะไม่ได้รับชำระหนี้หรือไม่ได้รับชำระหนี้เต็ม จำนวนจากจำเลยเพราะสภาพการมีหนี้สินล้นพ้นตัวซึ่งบรรดาเจ้าหนี้เหล่านั้นได้รับความเสียหายอยู่ก่อนแล้ว เมื่อจำเลยนำทรัพย์สินเท่าที่มีไปชำระหนี้ให้เจ้าหนี้คนหนึ่งโดยเฉพาะ จึงเป็นการให้เปรียบเทียบแก่เจ้าหนี้คนนั้นและทำให้เจ้าหนี้อื่นเสียเปรียบ เพราะได้รับความเสียหายเพิ่มขึ้นเนื่องจากไม่มีโอกาสได้รับชำระหนี้โดยเฉลี่ยจากทรัพย์ที่โอนไปกฎหมายจึงมุ่งคุ้มครองบรรดาเจ้าหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่ก่อนมิให้ได้เปรียบเสียเปรียบซึ่งกันและกัน เมื่อผู้รับโอนมิได้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยมาก่อน จึงไม่มีกรณีที่เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นแต่อย่างใด จะนำมาตรานี้มาเพิกถอนการโอนรายนี้ไม่ได้และเมื่อผู้รับโอนได้รับโอนมาโดยสุจริต และเสียค่าตอบแทน ก็ไม่อาจเพิกถอนการโอนตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 114 ได้เช่นกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 853/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย ต้องเป็นการโอนให้เจ้าหนี้เดิมเพื่อให้ได้เปรียบเหนือเจ้าหนี้อื่น
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะร้องขอให้เพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายฯ มาตรา 115 ได้นั้น การโอนนั้นจะต้องเป็นการโอนให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่ก่อนแล้ว และการโอนเช่นนั้นทำให้เจ้าหนี้อื่น ๆ ของจำเลยเสียเปรียบ แต่การโอนตามสัญญาซื้อขายผู้ซื้อมิได้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยมาก่อน จึงไม่มีกรณีที่ผู้ซื้อจะได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น ย่อมนำมาตรา 115 มาเพิกถอนการโอนตามสัญญาซื้อขายไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 849/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหนังสือทวงถามทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ แม้ชื่อเขตผิดพลาด แต่การส่งถึงบ้านเลขที่ถูกต้อง ถือว่าเป็นการส่งให้แก่ผู้รับแล้ว
หนังสือทวงถามของโจทก์ 2 ฉบับได้ถูกส่งไปยังจำเลยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ โดยจ่าหน้าซองตรงกับภูมิลำเนาของจำเลยเกือบทั้งหมด ยกเว้นชื่อ เขตที่ผิดจากเขตดุสิตเป็นเขตพญาไท และมีคนในบ้านเลขที่ดังกล่าวลงชื่อรับไว้แทนจำเลยทั้งสองครั้ง จึงเชื่อ ว่าหนังสือทวงถามของโจทก์ทั้งสองฉบับได้ส่งไปยังภูมิลำเนาของจำเลยแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 849/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหนังสือทวงหนี้ที่จ่าหน้าซองผิดเขต แต่ผู้รับอยู่ในภูมิลำเนา และการสันนิษฐานว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
แม้หนังสือทวงถามที่ส่งไปยังภูมิลำเนาของจำเลยจะจ่าหน้าซองจดหมายผิดจากเขตดุสิตเป็นเขตพญาไท แต่มีคนในบ้านดังกล่าวรับไว้แทนจำเลยทั้งสองครั้ง เชื่อว่าหนังสือทวงถามได้ถูกส่งไปยังภูมิลำเนาที่อยู่ของจำเลยและจำเลยได้รับหนังสือทวงถามแล้วเมื่อจำเลยได้รับหนังสือทวงถามจากโจทก์ให้ชำระหนี้แล้วไม่น้อยกว่า2 ครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วัน และจำเลยไม่ชำระหนี้ ย่อมต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 8(9) การที่จำเลยไม่สืบพยานหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าจำเลยอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดจำเลยจึงเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 830/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัดและผู้สั่งจ่ายเช็คในสัญญาประนีประนอมยอมความ รวมถึงการล้มละลาย
ข้อพิพาทตามสิทธิเรียกร้องที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับห้างจำเลยที่ 1 ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการกระทำการแทนห้างจำเลยที่ 1 และไม่มีข้อจำกัดอำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการไว้ จำเลยที่ 2 จึงลงลายมือชื่อเป็นคู่สัญญาแทนจำเลยที่ 1 ในสัญญาประนีประนอมยอมความได้โดยไม่ต้องประทับตราห้างจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 เป็นแต่เพียงผู้ออกเช็คชำระหนี้ของห้างจำเลยที่ 1ให้แก่โจทก์ความรับผิดของจำเลยที่ 3 เป็นความรับผิดตามเช็คในฐานะผู้สั่งจ่ายตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยที่ 3 หาได้แสดงตนว่าเป็นหุ้นส่วนในห้างจำเลยที่ 1 ไม่ แม้จำเลยที่ 3 จะเป็นภริยาของจำเลยที่ 2 และได้ลงลายมือชื่อทางด้านห้างจำเลยที่ 1 ไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งมีข้อความระบุว่า "การชำระหนี้จำเลยที่ 1 ได้ชำระด้วยเช็คซึ่งสั่งจ่ายโดยจำเลยที่ 3" ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 แสดงตนเป็นหุ้นส่วนของห้างจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3จึงไม่ต้องร่วมรับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความด้วย จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นหนี้โจทก์อยู่ 839,000 บาท ห้างจำเลยที่ 1 ได้ปิดกิจการตั้งแต่ก่อนถูกฟ้องคดีนี้ ตัวอาคารห้างรวมทั้งที่ดินถูกธนาคารยึด นำขายทอดตลาดไปแล้ว จำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ จำเลยที่ 2ต้องอาศัยบุตรสาวอยู่ พฤติการณ์ต้องด้วยข้อสันนิษฐานของกฎหมายแล้วว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 823/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องและขอบเขตความรับผิดของผู้รับประกันภัยค้ำจุน กรณีละเมิดจากรถยนต์
คำให้การของจำเลยที่ต่อสู้เรื่องอำนาจฟ้องโจทก์ว่า โจทก์จะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย มีสาขาในประเทศไทย หรือไม่ และมอบอำนาจให้ พ. ฟ้องคดีนี้หรือไม่ ไม่รับรู้และรับรองนั้นคำให้การดังกล่าวมิได้ปฏิเสธไว้ชัดแจ้ง จึงไม่เป็นประเด็นพิพาท โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนแต่โจทก์มิได้บรรยายให้ปรากฏในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ของ ล. ในฐานะอะไร และมีนิติสัมพันธ์ต่อกันอย่างไร จึงฟังไม่ได้ว่า ล. มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 1 อันจะเป็นเหตุให้ ล.ต้องร่วมรับผิดในการกระทำของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะต้องใช้ค่าเสียหายในกรณี ล. ต้องรับผิดเมื่อ ล. ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 823/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของโจทก์และขอบเขตความรับผิดของผู้รับประกันภัยค้ำจุน กรณีความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
การที่จำเลยให้การแต่เพียงว่า โจทก์จะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย มีสาขาในประเทศไทยหรือไม่และมอบอำนาจให้ พ. ฟ้องคดีหรือไม่ ไม่รับรู้และรับรอง เป็นคำให้การที่มิได้ปฏิเสธชัดแจ้งว่าโจทก์ไม่เป็นนิติบุคคลอย่างไร และไม่ได้คัดค้านความไม่ถูกต้องของหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดี คำให้การของจำเลยดังกล่าวจึงไม่เป็นประเด็นข้อพิพาท โจทก์นำสืบ ม. ซึ่งเป็นเพียงพนักงานประเมินความเสียหายของโจทก์รับรองหนังสือมอบอำนาจ ดังนี้รับฟังได้ว่าเป็นหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีที่ถูกต้องแท้จริง ไม่จำเป็นต้องนำสืบผู้รับมอบอำนาจ โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดในฐานะที่เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันที่ก่อให้เกิดความเสียหายโดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ของ ล. ในฐานะอะไร และมีนิติสัมพันธ์กันอย่างไรกับ ล. เจ้าของรถยนต์คันดังกล่าว อัน ล. ต้องร่วมรับผิดในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เมื่อ ล. ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนจึงไม่ต้องรับผิดด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 768/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันคู่กรณี หากไม่โต้แย้งสิทธิในเวลาที่กำหนด ย่อมไม่อาจฟ้องเพิกถอนได้ภายหลัง
สัญญาประนีประนอมยอมความที่คู่กรณีตกลงกันต่อหน้าศาล และศาลได้มีคำพิพากษาตามยอมแล้วนั้น มีผลทำให้หนี้เดิมระงับ เกิดหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งคู่กรณีต้องปฏิบัติตามสัญญานั้น หากโจทก์เห็นว่าคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ถูกต้องก็อาจจะอุทธรณ์ได้หากเข้ากรณีตามมาตรา 138 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์และคดีถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนได้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อตกลงว่า จะบังคับชำระหนี้ด้วยวิธีการให้โจทก์โอนที่ดินทั้งแปลงให้แก่จำเลยเพื่อชำระหนี้เงินกู้ ดังนี้ ข้อตกลงนั้นไม่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 768/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: การอุทธรณ์และการบังคับคดี หากไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์แล้ว สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน
หากโจทก์เห็นว่าข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลพิพากษาตามยอมนั้นไม่ถูกต้อง ก็ชอบที่จะอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 เมื่อโจทก์ ไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์และคดีถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นคดีใหม่ได้อีก การบังคับคดีเมื่ออีกฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นต้องว่ากล่าวกันในคดีที่มีคำพิพากษาตามยอม ไม่มีอำนาจมาฟ้องบังคับเป็นคดีใหม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 768/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพัน & สิทธิในการฟ้องเพิกถอนหลังคดีถึงที่สุด
สัญญาประนีประนอมยอมความที่คู่กรณีตกลงกันต่อหน้าศาล และศาลได้มีคำพิพากษาตามยอมแล้วนั้น มีผลทำให้หนี้เดิมระงับ เกิดหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งคู่กรณีต้องปฏิบัติตามสัญญานั้น หากโจทก์เห็นว่าคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ถูกต้องก็อาจจะอุทธรณ์ได้หากเข้ากรณีตามมาตรา 138 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์และคดีถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนได้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อตกลงว่า จะบังคับชำระหนี้ด้วยวิธีการให้โจทก์โอนที่ดินทั้งแปลงให้แก่จำเลยเพื่อชำระหนี้เงินดังนี้ ข้อตกลงนั้นไม่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน.
of 33