พบผลลัพธ์ทั้งหมด 323 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3066/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการตั้งคณะกรรมการลูกจ้างในสถานประกอบกิจการที่มีสาขาต่างจังหวัด
นายจ้างมีสถานประกอบกิจการโรงงาน 2 แห่ง แต่ละแห่งอยู่คนละจังหวัดกัน เมื่อสหภาพแรงงานได้ตั้งคณะกรรมการลูกจ้างสำหรับโรงงานในจังหวัดหนึ่งแล้ว ก็ยังมีสิทธิที่จะตั้งคณะกรรมการลูกจ้างสำหรับโรงงานในอีกจังหวัดหนึ่งได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3066/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างในสถานประกอบกิจการที่มีสาขาต่างจังหวัด สหภาพแรงงานมีสิทธิแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างในแต่ละจังหวัดได้
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 45,46 และประกาศของกรมแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการเลือกตั้งคณะกรรมการลูกจ้าง ฉบับลงวันที่ 16 พฤษภาคม 2518 ข้อ 1 กำหนดว่า"ในสถานประกอบกิจการแห่งหนึ่ง ให้เลือกตั้งกรรมการลูกจ้างได้หนึ่งคณะ เว้นแต่สถานประกอบกิจการนั้นมีหน่วยงานหรือสาขาในจังหวัดอื่น ลูกจ้างในสถานประกอบการเช่นว่านั้นอาจตกลงกันเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างขึ้นจังหวัดละคณะได้" ดังนั้น แม้สหภาพแรงงาน อ.จะได้ตั้งคณะกรรมการลูกจ้างจำนวน 21 คน สำหรับโรงงานของจำเลยที่จังหวัดชลบุรีแล้ว ทางสหภาพฯ ย่อมมีสิทธิที่จะตั้งคณะกรรมการลูกจ้างจำนวน 13 คน สำหรับโรงงานจำเลยที่จังหวัดนครราชสีมาได้อีกโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างโดยชอบด้วยกฎหมายตามการแต่งตั้งในครั้งหลังนี้ จำเลยไม่มีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 52.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2998/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การฟ้องคดีเดิมซ้ำ โดยอาศัยเหตุผลและเอกสารหลักฐานเดิม ศาลยกฟ้อง
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกันฉบับเดียวกับที่โจทก์นำมาฟ้องในคดีนี้ และศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องคดีก่อนคดีถึงที่สุดแล้วโดยวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีเอกสารหนังสือสัญญาค้ำประกันมาแสดง เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 วรรคสอง เท่ากับศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีแล้วว่า จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันโดยอาศัยเหตุที่โจทก์ไม่มีหนังสือสัญญาค้ำประกันมาแสดงต่อศาล โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกันฉบับเดียวกับที่ฟ้องในคดีก่อน จึงเป็นการขอให้ศาลวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีโดยอาศัยเหตุเรื่องหนังสือสัญญาค้ำประกันฉบับเดิมนั้นอีก เป็นการฟ้องขอให้ศาลวินิจฉัยในประเด็นโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2998/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การฟ้องคดีเดิมด้วยเหตุและเอกสารหลักฐานชุดเดียวกัน ศาลพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์
ในคดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากโจทก์ไม่มีหนังสือสัญญาค้ำประกันมาแสดง คดีถึงที่สุดโจทก์มาฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกันฉบับเดียวกับที่ฟ้องในคดีก่อน จึงเป็นการฟ้องขอให้ศาลวินิจฉัยในประเด็นโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2982/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการกู้ยืมเงิน หนังสือรับสภาพหนี้เพียงพอ แม้ไม่มีคำว่า 'กู้ยืม' โดยตรง
คำว่า หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 นั้น กฎหมายมิได้มีความหมายเคร่งครัดถึงกับว่าจะต้องมีถ้อยคำว่ากู้ยืมอยู่ในหนังสือนั้น เมื่อโจทก์มีหนังสือรับสภาพหนี้ซึ่งมีใจความว่าจำเลยเป็นหนี้เงินโจทก์จำนวน 19,780 บาท จำเลยรับจะชดใช้เงินให้แก่โจทก์กับมีลายมือชื่อจำเลยในฐานะลูกหนี้ลงไว้มาแสดงและมีพยานบุคคลมาสืบประกอบอธิบายได้ว่าหนี้เงินจำนวนดังกล่าวเป็นหนี้ที่เกิดจากการกู้เงินจำนวนเท่าใด จากการซื้อสินค้าเชื่อจำนวนเท่าใดก็ถือได้ว่าหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2982/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือ ไม่ต้องระบุคำว่า 'กู้ยืม' โดยชัดเจน หากมีลายมือชื่อผู้ยืมและพยานหลักฐานสนับสนุน
หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือนั้นกฎหมายมิได้มีความหมายเคร่งครัดถึงกับว่าจะต้องมีถ้อยคำว่ากู้ยืมอยู่ในหนังสือนั้นไม่เมื่อโจทก์มีหนังสือรับสภาพหนี้ซึ่งมีใจความว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์และจำเลยรับจะชดใช้เงินแก่โจทก์ กับมีลายมือชื่อจำเลยในฐานะลูกหนี้ลงไว้มาแสดง ทั้งมีพยานบุคคลมาสืบประกอบอธิบายถึงมูลหนี้ดังกล่าว ถือได้ว่าหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 653 บัญญัติไว้แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2942/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์และฎีกานอกประเด็นข้อต่อสู้เดิม ทำให้ศาลฎีกาไม่อาจรับวินิจฉัยได้ และประเด็นค่าเสียหาย ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชอบแล้ว
จำเลยให้การว่า โจทก์เช่าซื้อรถแทรกเตอร์จากบริษัท ท. จำกัดและยังชำระค่าเช่าซื้อไม่ครบ รถแทรกเตอร์จึงมิใช่ของโจทก์ขณะที่โจทก์ทำสัญญากับจำเลย โจทก์มิใช่ผู้มีกรรมสิทธิ์ในรถแทรกเตอร์สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์มีอำนาจฟ้อง จำเลยกลับอุทธรณ์ว่า โจทก์ค้างชำระค่าเช่าซื้อหลายงวดก่อนที่จะทำสัญญากับจำเลย โจทก์จึงเป็นผู้ไม่สามารถจะจัดการให้จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในรถแทรกเตอร์ได้สัญญาจึงเป็นโมฆะ อุทธรณ์ของจำเลยเป็นการอุทธรณ์นอกประเด็นข้อต่อสู้การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้จึงเป็นการไม่ชอบ ไม่เป็นเหตุที่จะให้สิทธิจำเลยโต้แย้งต่อมาได้ ดังนั้นการที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ขาดส่งค่าเช่าซื้อหลายงวดมาก่อนทำสัญญากับจำเลย โจทก์จึงไม่สามารถจะจัดการโอนกรรมสิทธิ์ในรถแทรกเตอร์ให้แก่จำเลย การที่โจทก์หลอกลวงให้จำเลยทำสัญญากับโจทก์ สัญญานั้นจึงเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จึงเป็นการฎีกานอกประเด็น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2924/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลมีอำนาจสั่งให้นับอายุงานต่อเนื่องได้
จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยไม่ถูกต้องตามพยานหลักฐานในสำนวน แปลพยานหลักฐานไม่ถูกต้อง ฟังข้อเท็จจริงผิดไปจากพยานหลักฐานในสำนวนและหยิบยกพยาน เหตุผลต่าง ๆ ขึ้นอ้างให้ศาลฎีกาฟังว่าโจทก์ไม่ได้ป่วยแตกต่างไปจากที่ศาลแรงงานกลางฟังมาเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ในคดีที่มีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมหรือไม่นั้น แม้ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นเรื่องค่าเสียหายไว้ โดยไม่ได้กำหนดประเด็นว่ามีเหตุควรให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานหรือไม่ ถ้าศาลแรงงานกลางเห็นว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานกลางก็พิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานต่อไปได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯมาตรา 49 ซึ่งกำหนดให้ศาลแรงงานมีอำนาจที่จะคุ้มครองป้องกันมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่เป็นธรรมโดยบัญญัติให้ศาลแรงงานอาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานต่อไปในอัตราค่าจ้างที่ได้รับในขณะเลิกจ้าง ดังนั้น การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้นับอายุงานของโจทก์ต่อเนื่องจากอายุงานเดิมก่อนถูกเลิกจ้าง โดยอาศัยมาตราดังกล่าว จึงชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นการพิพากษานอกคำฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2924/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานมีอำนาจนับอายุงานต่อเนื่องตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานฯ
ศาลแรงงานได้กำหนดประเด็นเรื่องค่าเสียหายไว้โดยไม่ได้กำหนดประเด็นว่ามีเหตุควรให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามฟ้องหรือไม่ แต่เมื่อศาลแรงงานเห็นว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมศาลแรงงานก็พิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานต่อไปได้ตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 49พระราชบัญญัติ ญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 49 กำหนดให้ศาลแรงงานมีอำนาจที่จะคุ้มครองป้องกันมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่เป็นธรรม โดยบัญญัติให้ศาลแรงงานอาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างผู้นั้นเข้าทำงานต่อไปในอัตราค่าจ้างที่ได้รับขณะเลิกจ้าง ซึ่งย่อมหมายความว่าเป็นการสั่งให้รับลูกจ้างกลับเข้าทำงานต่อไปในฐานะเดิมก่อนถูกเลิกจ้างการที่ศาลแรงงานพิพากษาให้นับอายุงานของโจทก์ต่อเนื่องจากอายุงานเดิมก่อนถูกเลิกจ้าง โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 49 จึงชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นการพิพากษานอกคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2924/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานและนับอายุงานต่อเนื่อง กรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นเรื่องค่าเสียหายโดยมิได้กำหนดประเด็นว่ามีเหตุควรให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานหรือไม่ แต่หากศาลแรงงานกลางเห็นว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมศาลแรงงานกลางก็พิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานต่อไปได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 49 โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในหน้าที่และค่าจ้างเดิมโดยไม่ได้ขอให้นับอายุงานต่อเนื่อง แต่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 49 กำหนดให้ศาลแรงงานมีอำนาจที่จะคุ้มครองป้องกันมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่เป็นธรรม โดยบัญญัติให้ศาลแรงงานอาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานต่อไปในอัตราค่าจ้างที่ได้รับขณะเลิกจ้าง ซึ่งย่อมหมายความว่าเป็นการสั่งให้รับลูกจ้างกลับเข้าทำงานต่อไปในฐานะเดิมก่อนถูกเลิกจ้างการที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้นับอายุงานของโจทก์ต่อเนื่องจากอายุงานเดิมก่อนถูกเลิกจ้าง โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 49 แห่งบทกฎหมายดังกล่าว จึงชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นการพิพากษานอกคำฟ้อง