พบผลลัพธ์ทั้งหมด 323 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2577/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีจำนอง, การบอกกล่าวหนี้, ดอกเบี้ยเกินกฎหมาย, และความยินยอมในการฟ้องคดี
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้จำนอง ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 728 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดคดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า ก่อนฟ้องโจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้และไถ่ถอนจำนอง จำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วโจทก์ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดแล้ว ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน หนังสือของสามีโจทก์ที่ยินยอมให้โจทก์ฟ้องจำเลย มิใช่ใบมอบอำนาจที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ โจทก์คิดดอกเบี้ยเงินกู้จากจำเลยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือนเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยเป็นโมฆะ แต่จำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2532/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับชั่วคราวให้วางเงินจากผลประโยชน์กิจการ ไม่ใช่การบังคับเอาแก่ทรัพย์สิน
การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวของโจทก์ก่อนพิพากษา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 โดยให้จำเลยนำเงินที่ได้จากการบริหารกิจการโรงแรม น. มาวางศาลเดือนละ150,000 บาท นับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นนั้น มีลักษณะเป็นการบังคับให้จำเลยนำผลประโยชน์ที่ได้รับในการบริหารกิจการโรงแรมดังกล่าวในระหว่างพิจารณาคดีมาวางไว้ที่ศาล มิใช่เป็นเรื่องประสงค์จะบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลย จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งจำเลยจะขอวางหลักทรัพย์อื่นเป็นหลักประกันหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2449/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องฎีกาเนื่องจากการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาฎีกา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันที่จำเลยยื่นฎีกานั้นว่าให้จำเลยนำส่งสำเนาฎีกาให้แก่โจทก์ภายใน 7 วันมิฉะนั้นถือว่าทิ้งฎีกา ย่อมถือได้ว่าจำเลยทราบคำสั่ง ของศาลชั้นต้นแล้วตามข้อความท้ายฎีกาที่ว่า รอฟังคำสั่งอยู่ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว เมื่อจำเลยไม่ไปวางเงินค่าพาหนะและค่าป่วยการในการส่งสำเนาฎีกาอันเป็นการไม่นำส่งสำเนาฎีกาตามคำสั่งของศาลชั้นต้นย่อมเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นการทิ้งฟ้องฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2387/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองในที่ดินสาธารณะ: การขุดบ่อจับปลาไม่ถือเป็นการครอบครองที่ดิน
ประเด็นข้อพิพาทในคดีมีว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ การที่ศาลวินิจฉัยว่าที่พิพาทเป็นหนองน้ำสาธารณะสำหรับประชาชนใช้ร่วมกันก็คือวินิจฉัยว่าที่พิพาทไม่ได้เป็นของโจทก์นั่นเอง เป็นการวินิจฉัยตามประเด็นในคดี ที่พิพาทเป็นหนองน้ำสาธารณะสำหรับประชาชนใช้ร่วมกันโจทก์เพียงแต่เข้าไปขุดบ่อไว้เป็นแห่ง ๆ เพื่อจับปลาซึ่งเป็นการกระทำในลักษณะทำนองเดียวกับจำเลยและราษฎรคนอื่น ๆ และในหน้าน้ำทุกปีมีน้ำท่วมพื้นที่ทั้งหมดไม่มีผู้ใดสามารถใช้ประโยชน์จากบ่อที่ขุดไว้ได้โจทก์จึงไม่มีสิทธิครอบครองที่พิพาท ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยที่ลงหลักปักเขตขุดคูในที่พิพาทเพื่อเป็นบ่อปลา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2387/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองในที่สาธารณะ: การครอบครองและทำประโยชน์ในหนองน้ำสาธารณะไม่ถือเป็นสิทธิครอบครอง
ประเด็นข้อพิพาทมีว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่พิพาทเป็นหนองน้ำสาธารณะสำหรับประชาชนใช้ร่วมกันเท่ากับวินิจฉัยว่าที่พิพาทไม่ได้เป็นของโจทก์นั่นเองจึงเป็นการวินิจฉัยตรงตามประเด็นในคดี โจทก์เพียงแต่เข้าไปขุดบ่อไว้เป็นแห่ง ๆ ในที่พิพาทซึ่งเป็นหนองน้ำสาธารณะสำหรับประชาชนใช้ร่วมกัน เพื่อจับปลาเช่นเดียวกับจำเลยและราษฎรคนอื่น ๆ และในหน้าน้ำทุกปีน้ำท่วมพื้นที่ทั้งหมดไม่มีผู้ใดสามารถใช้ประโยชน์จากบ่อที่ขุดไว้ได้ ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทำประโยชน์อย่างอื่นในที่พิพาท โจทก์จึงไม่มีสิทธิครอบครองที่พิพาท ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2350/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ตัวผู้กระทำผิดจากการเบิกความพยาน, พยานหลักฐาน, และคำรับสารภาพของผู้ต้องหา
ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 นุ่งโสร่งและใส่เสื้อแขนสั้นตรงกับที่จำเลยที่ 1 แต่งกายในตอนเช้าและในตอนเย็น ขณะเจ้าพนักงานตำรวจไปจับกุมก็ยังแต่งกายชุดเดิมการปล้นกระทำกันในระยะประชิดโดยจำเลยที่ 1 วิ่งจากข้างทางมายืนขวางหน้ารถแล้วยกอาวุธปืนขึ้นจ้องขู่บังคับให้หยุดรถ แม้ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 จะสวมหมวกถักด้วยไหมพรม แต่ใบหน้าตั้งแต่ระดับคิ้วลงมาจดคางไม่มีสิ่งใดปิดบัง เหตุเกิดเวลากลางวัน พยานโจทก์เคยเห็นหน้าจำเลยที่ 1 มาก่อนเกิดเหตุเพียงไม่กี่ชั่วโมง และเห็นรอยแผลเป็นที่บริเวณใกล้ข้อมือซ้ายของจำเลยที่ 1 ขณะยกอาวุธปืนจ้องขู่บังคับอยู่ตรงหน้ารถ พยานโจทก์ย่อมจำคนร้ายได้ถูกต้อง และหลังเกิดเหตุยังได้ระบุตำหนิรูปพรรณคนร้ายจนเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานตำรวจติดตามไปจับจำเลยที่ 1 ได้ แล้วจำเลยที่ 1 ซัดทอดว่าจำเลยที่ 2 เป็นคนร้ายและนำเจ้าพนักงานตำรวจไปจับจำเลยที่ 2 ได้พร้อมของกลางจำเลยที่ 2 ให้การรับว่าเงินของกลางได้มาจากการปล้นทรัพย์ของผู้เสียหาย ชั้นสอบสวนจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การรับสารภาพพยานหลักฐานโจทก์จึงมีน้ำหนักรับฟังได้โดยปราศจากสงสัยว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดจริงตามฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2302/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินเพื่อเลี่ยงชำระหนี้: อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ศาลแขวง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยพยานหลักฐานในสำนวนแล้วฟังว่า การที่จำเลยมีชื่อเป็นเจ้าของรถพิพาทก่อนโอนให้ ป. นั้น จำเลยมิได้มีกรรมสิทธิ์ในรถคันพิพาทอย่างแท้จริง แต่เป็นการปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างจำเลยกับ ป. ในฐานะลูกหนี้เจ้าหนี้ การกระทำของจำเลยหาได้มีเจตนาที่จะมิให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนไม่ โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทที่โอนให้แก่ ป. และการโอนรถพิพาทมีเจตนาเพื่อมิให้โจทก์ได้รับชำระหนี้แล้ว เป็นการโต้เถียงดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2215/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกค่าปรับก่อนบอกเลิกสัญญา: การบอกเลิกสัญญาตามข้อ 20 ไม่ครอบคลุมสิทธิเรียกร้องค่าปรับ
ตามสัญญาข้อ 19 มีข้อความว่า ถ้าผู้รับจ้างส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จตามสัญญา แต่ผู้ว่าจ้างยังมิได้บอกเลิกสัญญาผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างปรับผู้รับจ้างเป็นรายวัน วันละ6,240 บาท นับแต่วันที่ล่วงเลยกำหนดวันแล้วเสร็จตามสัญญาจนถึงวันที่งานแล้วเสร็จบริบูรณ์และข้อ 19 วรรคสองว่า ในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าผู้ว่าจ้างเห็นว่า ผู้รับจ้างไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและใช้สิทธิตามข้อ 20 นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วย และสัญญาข้อ 20 มีข้อความว่า ถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้ว ผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างริบหลักประกันสัญญาดังกล่าวในสัญญาข้อ 3 ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา โจทก์ต้องใช้สิทธิเรียกร้องค่าปรับจากจำเลยเสียก่อนที่จะบอกเลิกสัญญา การที่โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาที่จำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบงานตามสัญญาให้แก่โจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงต้องริบหลักประกันและเรียกค่าปรับเป็นรายวัน วันละ 6,240 บาท นับแต่วันถัดจากวันสิ้นสุดสัญญาถึงวันบอกเลิกสัญญานั้น ถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกเลิกสัญญาในระหว่างที่มีการปรับตามสัญญาข้อ 19 วรรคสอง แต่เป็นการบอกเลิกสัญญาตามข้อ 20 ซึ่งไม่ได้ระบุให้สิทธิแก่โจทก์ในการเรียกค่าปรับจากจำเลยทั้งสอง โจทก์จึงเรียกค่าปรับจากจำเลยทั้งสองด้วยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2177/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้าง การที่นายจ้างเรียกรับเงินเดือนนอกรอบถือเป็นการเลิกจ้าง และคำให้การที่ขัดแย้งกันเอง
กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยสั่งพนักงานการเงินของจำเลยคิดเงินเดือนที่ผ่านมาให้แก่โจทก์และเรียกโจทก์มารับเงินโจทก์เข้ามาในบริษัทแต่ไม่ยอมรับเงินการที่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทเรียกโจทก์มารับเงินค่าจ้างสำหรับระยะเวลาทำงานของโจทก์ที่ผ่านมาทั้งๆที่วันนั้นมิใช่วันจ่ายเงินเดือนตามปกติของจำเลยถือได้ว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์แล้ว โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่ได้เลิกจ้างโจทก์แต่โจทก์ได้ออกจากงานไปเองและโจทก์ได้กล่าวต่อลูกค้าของจำเลยว่าบริษัทเฮงซวยไปซื้อสินค้ามันทำไมอันเป็นการกระทำความผิดต่อนายจ้างทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงจำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์เป็นคำให้การที่ขัดแย้งกันเองกล่าวคือจำเลยต่อสู้ว่าจำเลยไม่ได้เลิกจ้างโจทก์แต่โจทก์ออกจากงานไปเองแล้วกลับอ้างว่าจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ดังนั้นประเด็นข้อพิพาทจึงมีเพียงว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์หรือไม่คดีไม่มีประเด็นว่าจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์หรือไม่เพราะการที่จะเกิดประเด็นว่าจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์หรือไม่จะต้องเป็นกรณีที่จำเลยยอมรับว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์เสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2177/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้าง: การเรียกรับเงินเดือนนอกวันจ่ายปกติถือเป็นการเลิกจ้าง และคำให้การที่ขัดแย้งกันย่อมไร้ผล
กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยสั่งพนักงานการเงินของจำเลยคิดเงินเดือนที่ผ่านมาให้แก่โจทก์และเรียกโจทก์มารับเงินโจทก์เข้ามาในบริษัทแต่ไม่ยอมรับเงิน การที่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทเรียกโจทก์มารับเงินค่าจ้างสำหรับระยะเวลาทำงานของโจทก์ที่ผ่านมา ทั้ง ๆ ที่วันนั้นมิใช่วันจ่ายเงินเดือนตามปกติของจำเลยถือได้ว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์แล้ว โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยไม่ได้เลิกจ้างโจทก์ แต่โจทก์ได้ออกจากงานไปเอง และโจทก์ได้กล่าวต่อลูกค้าของจำเลยว่า บริษัทเฮงซวยไปซื้อสินค้ามันทำไมอันเป็นการกระทำความผิดต่อนายจ้าง ทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์เป็นคำให้การที่ขัดแย้งกันเอง กล่าวคือจำเลยต่อสู้ว่าจำเลยไม่ได้เลิกจ้างโจทก์ แต่โจทก์ออกจากงานไปเองแล้วกลับอ้างว่าจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ ดังนั้นประเด็นข้อพิพาทจึงมีเพียงว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์หรือไม่ คดีไม่มีประเด็นว่าจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์หรือไม่ เพราะการที่จะเกิดประเด็นว่าจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์หรือไม่ จะต้องเป็นกรณีที่จำเลยยอมรับว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์เสียก่อน