พบผลลัพธ์ทั้งหมด 323 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2172/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของนายจ้าง, หุ้นส่วนผู้จัดการ, และผู้รับประกันภัย เมื่อพิสูจน์ไม่ได้ว่าลูกจ้างประมาท
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างของ ว. ให้ร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ ว. ได้กระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 และฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัย ให้ร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ เป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแยกได้เมื่อศาลฎีกาฟังว่า ว. มิได้ขับรถโดยประมาท แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกา คงฎีกาขึ้นมาเฉพาะจำเลยที่ 1 ที่ 3 ศาลฎีกาก็พิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245ประกอบด้วยมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2172/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย: ศาลมีอำนาจพิพากษาถึงจำเลยที่ไม่ฎีกา หากเป็นหนี้ที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างของ ว. ให้ร่วมรับผิด ใน ผลแห่งละเมิดที่ ว. ได้กระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1และฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 และ จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัย ให้ร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย แก่โจทก์ กรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจ แบ่งแยกได้แม้จำเลยที่ 2จะมิได้อุทธรณ์ฎีกา คงฎีกาขึ้นมาเฉพาะ จำเลยที่ 1 ที่ 3 แต่เมื่อศาลฎีกาฟังว่า ว. มิได้ขับรถโดยประมาท พิพากษายกฟ้องโจทก์ ก็ย่อมมี อำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 245 ประกอบด้วย มาตรา 247.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2165/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดี: เหตุจำเป็นไม่อาจก้าวล่วง & ผลกระทบต่อความยุติธรรม
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งให้เลื่อนคดีแก่ทนายจำเลยทั้งสามมาครั้งหนึ่งแล้ว ทนายจำเลยทั้งสามจะขอเลื่อนการพิจารณาอีกไม่ได้เว้นแต่มีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ และหากศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีไปจะทำให้เสียความยุติธรรม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 วรรคแรก การที่ทนายจำเลยทั้งสามยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีครั้งต่อมาโดยอ้างเหตุแห่งความจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ว่าเพราะทนายจำเลยทั้งสามติดว่าความที่ศาลอื่นซึ่งนัดไว้ก่อนและเป็นนัดสุดท้ายฝ่ายโจทก์ไม่ได้คัดค้านว่าไม่เป็นความจริง ดังนั้น ต้องถือว่าทนายจำเลยทั้งสามติดว่าความที่ศาลอื่นจริง ทนายจำเลยทั้งสามย่อมไม่สามารถว่าความสองคดีต่างศาลกันในเวลาเดียวกันได้ นับว่ามีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ และเมื่อจำเลยทั้งสามยังไม่ได้เบิกความเป็นพยานตนเอง หากศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีย่อมจะทำให้เสียความยุติธรรมแก่จำเลยทั้งสาม ชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งเลื่อนคดีไปเท่าที่จำเป็นแม้จะเกินกว่าหนึ่งครั้งตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2133/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 248 กรณีโต้แย้งดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์
สุกรที่ผู้ร้องขอให้ปล่อยจากการยึด เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาไว้เป็นเงิน 21,000 บาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน50,000 บาท ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่า ส. และจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นพยานผู้ร้องเบิกความถึงเอกสารหมาย ร.1 แตกต่างกันเป็นพิรุธน่าสงสัยว่าเอกสารดังกล่าวได้จัดทำขึ้นหลังยึดสุกรแล้วที่ผู้ร้องฎีกาว่าสุกรดังกล่าวเป็นของผู้ร้องไม่ใช่ของจำเลยที่ 2 การที่ศาลรับฟังพยานโจทก์เป็นการสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารหมาย ร.1 นั้น จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2086/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทุจริตในการยืมรถยนต์: การใช้รถเพื่อย้ายที่อยู่ไม่ใช่ความผิดฐานลักทรัพย์
ป. เป็นลูกจ้างของผู้เสียหาย มีหน้าที่เฝ้าดูแลรถยนต์ในร้านของผู้เสียหาย ป. กับพวกรวมทั้งจำเลยใช้รถยนต์ของผู้เสียหายบรรทุกข้าวของส่วนตัวออกจากที่พักในร้านของผู้เสียหายเพื่อย้ายที่อยู่ใหม่ โดยมิได้เอาทรัพย์สินมีค่าอย่างอื่นของผู้เสียหายไปด้วย เมื่อใช้รถยนต์ของผู้เสียหายเสร็จก็นำไปจอดทิ้งไว้แล้วพวกของป. โทรศัพท์แจ้งให้พี่ชายผู้เสียหายทราบถึงสถานที่ที่ทิ้งรถไว้ เพื่อให้ผู้เสียหายติดตามเอาคืน แสดงให้เห็นว่าจำเลยกับ ป. และพวกมิได้เอารถยนต์ของผู้เสียหายไปโดยเจตนาทุจริตจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2085/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้มีประกันมีสิทธิรับชำระหนี้จากหลักประกันก่อนเจ้าหนี้อื่น การชำระหนี้ไม่ทำให้เจ้าหนี้สามัญเสียเปรียบ
ลูกหนี้กู้เงินจากผู้คัดค้านโดยจดทะเบียนจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรวม 2 โฉนด เป็นประกัน แต่สัญญาจำนองมีข้อความว่าลูกหนี้ตกลงจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อประกันหนี้เงินกู้และหนี้สินประเภทอื่น ๆ ของผู้จำนอง ทั้งมีอยู่แล้วในขณะทำสัญญาหรือที่จะมีขึ้นต่อไปในภายหน้าด้วย สัญญาจำนองจึงมีผลเป็นการประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่ลูกหนี้เป็นผู้คัดค้านอยู่ก่อนแล้วด้วยและถือว่าผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้มีประกันในหนี้ดังกล่าวทั้งสองจำนวน เมื่อผู้คัดค้านนำเงินค่าขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้งสองโฉนดมาหักหนี้เงินกู้แล้วคงเหลือเงินอีก 60,000 บาท ผู้คัดค้านย่อมนำเงินที่เหลือมาหักหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งผู้คัดค้านมีฐานะเป็นเจ้าหนี้มีประกันด้วยได้ ไม่ทำให้เจ้าหนี้อื่นซึ่งเป็นเพียงเจ้าหนี้สามัญเสียเปรียบ จึงเพิกถอนการไถ่ถอนจำนองและการรับชำระหนี้ของผู้คัดค้านตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2085/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้มีประกันบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินหลักประกันก่อนเจ้าหนี้อื่น แม้มีการชำระหนี้ก่อนล้มละลาย
ผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้มีประกันซึ่งเมื่อลูกหนี้ล้มละลายผู้คัดค้านอาจใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ได้โดยบังคับเอากับทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน แล้วขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนหนี้ที่ยังขาดอยู่หรือขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแล้วขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่ หรือตีราคาทรัพย์อันเป็นหลักประกันแล้วขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 96(2)(3)(4) ดังนั้นการที่ลูกหนี้จดทะเบียนขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของลูกหนี้ที่จำนองเป็นประกันหนี้ไว้แก่ผู้คัดค้านให้แก่ผู้อื่นไป และลูกหนี้นำเงินที่ได้จากการขายทรัพย์ดังกล่าวทั้งหมดไปชำระหนี้ให้แก่ผู้คัดค้าน จึงอยู่ในเกณฑ์ที่ผู้คัดค้านในฐานะเจ้าหนี้มีประกันจะบังคับเอาได้ การที่ผู้คัดค้านรับชำระหนี้ส่วนนี้ย่อมไม่ทำให้เจ้าหนี้อื่นซึ่งมีฐานะเป็นเพียงเจ้าหนี้สามัญเสียเปรียบการกระทำของลูกหนี้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำให้ผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น แม้จะกระทำในระหว่างระยะเวลา 3 เดือน ก่อนร้องขอให้ล้มละลาย ก็ไม่อาจเพิกถอนการชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองดังกล่าวตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2085/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลายและการเพิกถอนการชำระหนี้
ผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้มีประกัน เมื่อลูกหนี้ล้มละลายผู้คัดค้านอาจใช้สิทธิขอรับชำระหนี้โดยบังคับเอากับทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน แล้วขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนหนี้ที่ยังขาดอยู่หรือขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน แล้วขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่ หรือตีราคาทรัพย์อันเป็นหลักประกันแล้วขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่ได้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 96(2)(3)(4)ดังนั้น เงินค่าขายทรัพย์ที่เหลือจากการหักชำระหนี้รายอื่นจึงอยู่ในเกณฑ์ที่ผู้คัดค้านในฐานะเจ้าหนี้มีประกันจะบังคับเอาได้การที่ผู้คัดค้านรับชำระหนี้ส่วนนี้ย่อมไม่ทำให้เจ้าหนี้อื่นซึ่งมีฐานะเป็นเพียงเจ้าหนี้สามัญเสียเปรียบ การกระทำของลูกหนี้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำให้ผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นจึงไม่อาจเพิกถอนการชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองรายนี้ตาม มาตรา 115.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2085/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองประกันหนี้ทุกชนิด: ผู้คัดค้านมีสิทธิหักหนี้เบิกเกินบัญชีจากเงินค่าขายที่ดินได้ ไม่ทำให้เจ้าหนี้สามัญเสียเปรียบ
ลูกหนี้กู้เงินจากผู้คัดค้านโดยจดทะเบียนจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรวม 2 โฉนดเป็นประกัน แต่สัญญาจำนองมีข้อความว่า ลูกหนี้ตกลงจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อประกันหนี้เงินกู้และหนี้สินประเภทอื่น ๆ ของผู้จำนอง ทั้งที่มีอยู่แล้วในขณะทำสัญญาหรือที่จะมีขึ้นต่อไปในภายหน้าด้วยสัญญาจำนองจึงมีผลเป็นการประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่ลูกหนี้เป็นหนี้ผู้คัดค้านอยู่ก่อนแล้วด้วยและถือว่าผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้มีประกันในหนี้ดังกล่าวทั้งสองจำนวน เมื่อผู้คัดค้านนำเงินค่าขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้งสองโฉนดมาหักหนี้เงินกู้แล้ว คงเหลือเงินอีก 60,000 บาท ผู้คัดค้านย่อมนำเงินที่เหลือมาหักหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งผู้คัดค้านมีฐานะเป็นเจ้าหนี้มีประกันด้วยได้ ไม่ทำให้เจ้าหนี้อื่นซึ่งเป็นเพียงเจ้าหนี้สามัญเสียเปรียบ จึงเพิกถอนการไถ่ถอนจำนองและการรับชำระหนี้ของผู้คัดค้านตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2079/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำสั่งออกจากที่ดินต้องถูกต้องตามระเบียบ หากไม่ถูกต้อง ถือว่าจำเลยไม่ได้รับแจ้งและไม่มีความผิด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108,108 ทวิและ ป.อ. 368 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่ามีความผิดตาม ป.ที่ดินมาตรา 108 ทวิ และ ป.อ. มาตรา 368 มีผลเท่ากับว่าศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องในข้อหาความผิดตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108 แล้ว เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์ ข้อหาความผิดดังกล่าวจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108จึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15และที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108 ทวิ โดยกล่าวในฎีกาเพียงว่าขอให้พิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมิได้กล่าวว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108 ทวิ เพราะเหตุใดก็เป็นฎีกาที่ไม่แจ้งชัดต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติมาตราทั้งสองดังกล่าวเช่นกัน ตามระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ฉบับที่ 3(พ.ศ. 2515) ว่าด้วยวิธีปฏิบัติในการแจ้งและออกคำสั่งแก่ผู้ฝ่าฝืนมาตรา 9 แห่ง ป.ที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิบัติฉบับที่ 96ใช้บังคับกำหนดให้เจ้าหน้าที่ผู้นำส่งหนังสือแจ้งบันทึกเหตุการณ์และเหตุผลในการไม่ยอมรับหนังสือแจ้งไว้ แต่ตามบันทึกข้อความของเจ้าหน้าที่ผู้นำหนังสือแจ้งและคำสั่งให้ออกจากที่ดินไปส่งแก่จำเลยนอกจากจะไม่ปรากฏเหตุผลที่ผู้ฝ่าฝืนไม่ยอมรับหนังสือแจ้งแล้วยังไม่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ผู้นำส่งได้สอบถามเหตุผลเอาจากผู้ฝ่าฝืนแล้วบันทึกไว้ บันทึกข้อความนั้นจึงยังไม่ถูกต้องครบถ้วน จะถือว่าจำเลยได้รับหนังสือแจ้งอันเป็นคำสั่งเจ้าพนักงานซึ่งสั่งการตามอำนาจที่มีกฎหมายให้ไว้และทราบคำสั่งนั้นแล้วหาได้ไม่ จำเลยจึงยังไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 368 และ ป.ที่ดิน มาตรา 108.