คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมพงษ์ สนธิเณร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 633 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 906/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายที่ดิน: ศาลต้องวินิจฉัยประเด็นสัญญาซื้อขาย ไม่ใช่เพียงขับไล่ และไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 224
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยโดยอ้างว่า จำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อที่ดินจากโจทก์เนื้อที่ 25 ไร่ ราคา 175,000 บาทวางมัดจำ 80,000 บาท ส่วนที่เหลือจะชำระให้ในวันจดทะเบียน โอนที่ดิน เมื่อถึงกำหนดนัดจำเลยไม่ชำระเงินส่วนที่เหลือ โจทก์จึงริบมัดจำและถือว่าสัญญาเลิกกัน ที่ดินที่จำเลยบุกรุก ประมาณ 10 ไร่ หากให้เช่าจะได้ค่าเช่าปีละ 12,000 บาท จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์ผิดสัญญา เพราะไม่สามารถแบ่งแยกที่ดินให้แก่จำเลยตามสัญญาได้ ขอให้ยกฟ้องและบังคับโจทก์รังวัดแบ่งแยกที่ดินเนื้อที่ 25 ไร่และจดทะเบียนโอนที่ดินให้จำเลย หากไม่สามารถแบ่งแยกได้ให้โจทก์คืนเงินมัดจำ 80,000 บาท สภาพแห่งข้อหามิใช่คดีฟ้องขับไล่บุคคลใดออกจากอสังหาริมทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสองแต่เป็นคดีที่พิพาทกันตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินซึ่งราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เกินกว่า50,000 บาท จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 906/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายที่ดิน: การพิจารณาประเด็นข้อเท็จจริงและการย้อนสำนวนเพื่อวินิจฉัยชี้ขาด
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทโจทก์จึงริบมัดจำและถือว่าสัญญาเลิกกันขอให้ขับไล่และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายจำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าโจทก์ผิดสัญญาจะซื้อขายเพราะไม่สามารถแบ่งแยกที่ดินได้ตามสัญญาขอให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญาหรือคืนเงินมัดจำดังนั้นสภาพแห่งข้อหาจึงมิใช่คดีฟ้องขับไล่บุคคลใดออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ4,000บาทแต่เป็นคดีที่พิพาทกันตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินซึ่งราคาทรัพย์หรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เกินกว่า50,000บาทจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 462-463/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการอุทธรณ์และฎีกา การบังคับชำระหนี้และการโอนกรรมสิทธิ์ที่ไม่ปรากฏในฟ้องอุทธรณ์
จำเลยมิได้มีคำขอท้ายอุทธรณ์ให้โจทก์รับเงินค่าที่ดินพร้อมตึกแถวและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลยและมิได้เสียค่าขึ้นศาลในส่วนนี้แสดงว่าจำเลยไม่ประสงค์จะอุทธรณ์ในประเด็นนี้ศาลจึงพิพากษาให้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 283/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับเงื่อนไขรัฐวิสาหกิจที่ดีมีผลผูกพันตลอดสัญญา - เงินบำเหน็จ
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจยอมรับการปรับเงินเดือนตามโครงการรัฐวิสาหกิจที่ดีโดยวิธีเอาค่าจ้างอัตราสุดท้ายของโจทก์เดือนละ27,860บาทคูณด้วยจำนวนปีอายุการทำงานเป็นเงินบำนาญที่โจทก์จะได้เท่ากับโจทก์ยอมรับปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีตามคำให้การของจำเลยแล้วโจทก์จะเลือกยอมรับมติคณะรัฐมนตรีเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับการปรับเงินเดือนของโจทก์โดยไม่ยอมรับส่วนที่เกี่ยวกับวิธีคำนวณเงินบำเหน็จของโจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 283/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับเงื่อนไขการปรับเงินเดือนของพนักงานรัฐวิสาหกิจ และผลกระทบต่อการคำนวณเงินบำเหน็จ
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจยอมรับการปรับเงินเดือนตามโครงการรัฐวิสาหกิจที่ดีโดยวิธีเอาค่าจ้างอัตราสุดท้ายของโจทก์เดือนละ27,860 บาท คูณด้วยจำนวนปีอายุการทำงานเป็นเงินบำเหน็จที่โจทก์จะได้เท่ากับโจทก์ยอมรับปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีตามคำให้การของจำเลยแล้ว โจทก์จะเลือกยอมรับมติคณะรัฐมนตรีเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับการปรับเงินเดือนของโจทก์โดยไม่ยอมรับส่วนที่เกี่ยวกับวิธีคำนวณเงินบำเหน็จของโจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9217/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาคดีอาญาในคดีแพ่ง & ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง
เมื่อศาลจังหวัดระยองได้มีหนังสือแจ้งให้ศาลชั้นต้นทราบว่าจัดการส่งหมายนัดและสำเนาฎีกาให้แก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ ศาลชั้นต้นให้หมายแจ้งให้โจทก์ทั้งสองทราบว่าโจทก์ทั้งสองจะดำเนินการอย่างไรให้แถลงภายใน15 วัน โจทก์ทั้งสองทราบคำสั่งแล้วไม่มาแถลงภายในเวลาที่กำหนด ถือว่าโจทก์ทั้งสองทิ้งฎีกาสำหรับจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2)ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247
คดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การที่ศาลพิพากษาคดีอาญาว่า พยานหลักฐานของโจทก์ไม่อาจรับฟังได้จึงพิพากษายกฟ้องนั้น เป็นกรณีที่คำพิพากษาคดีอาญาได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงอันเป็นประเด็นแห่งคดีแล้วว่าพยานหลักฐานของโจทก์ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ถือได้ว่าศาลได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 1 กระทำการโดยประมาทหรือไม่ไว้แน่นอนแล้ว เมื่อโจทก์ที่ 1 เป็นผู้เสียหายในคดีอาญาข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญาจึงผูกพันโจทก์ที่ 1 ในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีแพ่งในการพิพากษาคดีนี้ศาลจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้ขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46
โจทก์ที่ 2 ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 เป็นจำนวนเงิน 174,338 บาท ดังนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่โจทก์ที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของรถยนต์หมายเลขทะเบียน 2 จ - 3838 กรุงเทพมหานคร และมีอำนาจฟ้องหรือไม่จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 หรือไม่ เหตุละเมิดเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 หรือไม่ และค่าเสียหายมีเพียงใดนั้นล้วนเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
เมื่อการพิพากษาคดีนี้ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้ขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อโจทก์ที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ของโจทก์ที่ 1 ซึ่งได้ชดใช้ค่าสินไหมแทนแก่โจทก์ที่ 1 ตามสัญญาประกันภัยแล้วรับช่วงสิทธิมาเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 2ที่ 3 และที่ 4 จึงได้รับผลของบทบัญญัติดังกล่าวเช่นเดียวกับโจทก์ที่ 1 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9217/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งหมายนัด และการผูกพันตามคำพิพากษาคดีอาญาในคดีแพ่ง
เมื่อศาลจังหวัดระยองได้มีหนังสือแจ้งให้ศาลชั้นต้นทราบว่าจัดการส่งหมายนัดและสำเนาฎีกาให้แก่จำเลยที่1ไม่ได้ศาลชั้นต้นให้หมายแจ้งให้โจทก์ทั้งสองทราบว่าโจทก์ทั้งสองจะดำเนินการอย่างไรให้แถลงภายใน15วันโจทก์ทั้งสองทราบคำสั่งแล้วไม่มาแถลงภายในเวลาที่กำหนดถือว่าโจทก์ทั้งสองทิ้งฎีกาสำหรับจำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา174(2)ประกอบด้วยมาตรา246และ247 คดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาการที่ศาลศาลอุทธรณ์คดีอาญาว่าพยานหลักฐานของโจทก์ไม่อาจรับฟังได้จึงพิพากษายกฟ้องนั้นเป็นกรณีที่คำพิพากษาคดีอาญาได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงอันเป็นประเด็นแห่งคดีแล้วว่าพยานหลักฐานของโจทก์ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยที่1กระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้องถือได้ว่าศาลได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในประเด็นที่ว่าจำเลยที่1กระทำการโดยประมาทหรือไม่ไว้แน่นอนแล้วเมื่อโจทก์ที่1เป็นผู้เสียหายในคดีอาญาข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญาจึงผูกพันโจทก์ที่1ในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีแพ่งในการพิพากษาคดีนี้ศาลจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาว่าจำเลยที่1ไม่ได้ขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา46 โจทก์ที่2ฟ้องขอให้จำเลยที่2ที่3และที่4ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ที่2เป็นจำนวนเงิน174,338บาทดังนั้นทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งที่โจทก์ที่2ฎีกาว่าโจทก์ที่1เป็นเจ้าของรถยนต์หมายเลขทะเบียน2จ-3838กรุงเทพมหานครและมีอำนาจฟ้องหรือไม่จำเลยที่1เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่2และที่3หรือไม่เหตุละเมิดเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่1หรือไม่และค่าเสียหายมีเพียงใดนั้นล้วนเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ เมื่อการพิพากษาคดีนี้ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาว่าจำเลยที่1ไม่ได้ขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อโจทก์ที่2เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ของโจทก์ที่1ซึ่งได้ชดใช้ค่าสินไหมแทนแก่โจทก์ที่1ตามสัญญาประกันภัยแล้วรับช่วงสิทธิมาเรียกร้องเอาจากจำเลยที่2ที่3และที่4จึงได้รับผลของบทบัญญัติดังกล่าวเช่นเดียวกับโจทก์ที่1ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9204/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าและฝากเก็บทรัพย์ - อายุความ 10 ปี - อำนาจฟ้อง - ฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ทำสัญญาเช่าฉาง ตามฟ้องจากจำเลยเพื่อเก็บข้าวเปลือกของโจทก์ โดยจำเลยรับรองว่าจะเก็บรักษาข้าวเปลือกที่โจทก์นำมาเก็บไว้ในฉาง มิให้เปลี่ยนแปลงหรือผิดไปจากสภาพเดิม ถ้าเกิดความเสียหายหรือสูญหายขึ้นจำเลยจะต้องรับผิดชอบและยินยอมใช้ราคาข้าวเปลือกที่ผิดชนิดหรือขาดจำนวนไปไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ยกเว้นข้าวเปลือกที่ยุบตัวตามสภาพไม่เกินร้อยละ 2ของจำนวนข้าวทั้งหมดหรือเกิดจากเหตุสุดวิสัยจำเลยไม่ดูแลรักษาข้าวเปลือกของโจทก์ตามสัญญา เป็นเหตุให้ข้าวเปลือกในฉาง สูญหาย ขอให้บังคับจำเลยชำระราคาข้าวเปลือกดังกล่าว เห็นว่า ฟ้องโจทก์แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองแล้ว โจทก์บรรยายข้อเท็จจริงมาในฟ้องโดยละเอียดพร้อมกับแนบสำเนาสัญญาเช่าฉาง เอกชนสำเนาบัญชีข้าวเปลือกและราคาข้าวมาท้ายฟ้องด้วยการที่โจทก์มิได้ระบุในฟ้องว่าเป็นเรื่องผิดสัญญาหรือละเมิดก็ไม่ทำให้เป็นฟ้องเคลือบคลุม ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การตลาดเพื่อเกษตรกรพ.ศ. 2517 คณะกรรมการองค์การตลาดเพื่อการเกษตรมีอำนาจหน้าที่ในการวางนโยบายทั่วไปเท่านั้น ส่วนการบริหารกิจการเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการโจทก์ การฟ้องคดีเป็นกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกซึ่งผู้อำนวยการโจทก์เป็นตัวแทนของโจทก์ที่จะมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้ ตามสัญญาเช่าฉาง เอกชนนอกจากเป็นสัญญาเช่าทรัพย์แล้วยังมีข้อกำหนดให้จำเลยมีหน้าที่เก็บรักษาข้าวเปลือกและดูแลมิให้เกิดความเสียหายแก่ข้าวเปลือกที่เก็บรักษาไว้ในฉาง ด้วย หากเกิดความเสียหายหรือสูญหายขึ้น จำเลยต้องรับผิดชอบใช้ราคาข้าวเปลือกที่ขาดจำนวนไปให้แก่โจทก์ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาฝากทรัพย์รวมอยู่ในตัวด้วยฉะนั้นจำเลยในฐานะผู้รับฝากทรัพย์ซึ่งจะต้องคืนทรัพย์ที่รับฝากไว้ให้แก่โจทก์ เมื่อทรัพย์ที่รับฝากสูญหายไปจำเลยจึงต้องใช้ราคาทรัพย์ที่รับฝากาไว้แทนตัวทรัพย์การฟ้องให้ใช้ราคาทรัพย์ในกรณีเช่นนี้ไม่ใช่เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวแก่การฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671 และไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนด10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9204/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของผู้อำนวยการ อ.ต.ก. และอายุความสัญญาเช่าที่รวมสัญญาฝากทรัพย์
ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การตลาดเพื่อเกษตรกรพ.ศ. 2517 มาตรา 20 และมาตรา 22 แสดงว่า คณะกรรมการมีอำนาจ หน้าที่ในการวางนโยบายทั่วไปขององค์การตลาดเพื่อเกษตรกร โจทก์เท่านั้น ส่วนการบริหารกิจการเป็นอำนาจหน้าที่ของ ผู้อำนวยการ การฟ้องคดีเป็นกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ซึ่งผู้อำนวยการเป็นตัวแทนของโจทก์ จึงเป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดี แทนโจทก์ได้ ตามสัญญาเช่าฉางเอกชนพิพาท นอกจากเป็นสัญญาเช่าทรัพย์แล้วยังมีข้อกำหนดให้จำเลยมีหน้าที่เก็บรักษาข้าวเปลือกและดูแลมิให้เกิดความเสียหายแก่ข้าวเปลือกที่เก็บรักษาไว้ในฉางด้วยหากเกิดความเสียหายขึ้น จำเลยต้องรับผิดชอบใช้ราคาข้าวเปลือกที่ขาดจำนวนไปให้แก่โจทก์ ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาฝากทรัพย์รวมอยู่ในตัวด้วย ฉะนั้นจำเลยในฐานะผู้รับฝากทรัพย์เมื่อทรัพย์ที่รับฝากสูญหายไป จำเลยจึงต้องใช้ราคาทรัพย์ที่รับฝากไว้แทนตัวทรัพย์ การฟ้องให้ใช้ราคาทรัพย์ในกรณีเช่นนี้ไม่ใช่เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับการฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671และไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนด 10 ปี ตามมาตรา 164(เดิม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9204/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าฉางและสัญญาฝากทรัพย์: ความรับผิดชอบต่อความเสียหายของทรัพย์ที่รับฝากและอายุความ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ทำสัญญาเช่าฉางตามฟ้องจากจำเลยเพื่อเก็บข้าวเปลือกของโจทก์ โดยจำเลยรับรองว่าจะเก็บรักษาข้าวเปลือกที่โจทก์นำมาเก็บไว้ในฉางมิให้เปลี่ยนแปลงหรือผิดไปจากสภาพเดิม ถ้าเกิดความเสียหายหรือสูญหายขึ้นจำเลยจะต้องรับผิดชอบและยินยอมใช้ราคาข้าวเปลือกที่ผิดชนิดหรือขาดจำนวนไปไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ยกเว้นข้าวเปลือกที่ยุบตัวตามสภาพไม่เกินร้อยละ 2ของจำนวนข้าวทั้งหมดหรือเกิดจากเหตุสุดวิสัย จำเลยไม่ดูแลรักษาข้าวเปลือกของโจทก์ตามสัญญา เป็นเหตุให้ข้าวเปลือกในฉางสูญหาย ขอให้บังคับจำเลยชำระราคาข้าวเปลือกดังกล่าว เห็นว่า ฟ้องโจทก์แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา172 วรรคสอง แล้ว โจทก์บรรยายข้อเท็จจริงมาในฟ้องโดยละเอียดพร้อมกับแนบสำเนาสัญญาเช่าฉางเอกชนสำเนาบัญชีข้าวเปลือกและราคาข้าวมาท้ายฟ้องด้วยการที่โจทก์มิได้ระบุในฟ้องว่าเป็นเรื่องผิดสัญญาหรือละเมิดก็ไม่ทำให้เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ตาม พ.ร.ฎ.จัดตั้งองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร พ.ศ.2517คณะกรรมการองค์การตลาดเพื่อการเกษตรมีอำนาจหน้าที่ในการวางนโยบายทั่วไปเท่านั้น ส่วนการบริหารกิจการเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการโจทก์ การฟ้องคดีเป็นกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกซึ่งผู้อำนวยการโจทก์เป็นตัวแทนของโจทก์ที่จะมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้
ตามสัญญาเช่าฉางเอกชนนอกจากเป็นสัญญาเช่าทรัพย์แล้วยังมีข้อกำหนดให้จำเลยมีหน้าที่เก็บรักษาข้าวเปลือก และดูแลมิให้เกิดความเสียหายแก่ข้าวเปลือกที่เก็บรักษาไว้ในฉางด้วย หากเกิดความเสียหายหรือสูญหายขึ้น จำเลยต้องรับผิดชอบใช้ราคาข้าวเปลือกที่ขาดจำนวนไปให้แก่โจทก์ ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาฝากทรัพย์รวมอยู่ในตัวด้วย ฉะนั้นจำเลยในฐานะผู้รับฝากทรัพย์ซึ่งจะต้องคืนทรัพย์ที่รับฝากไว้ให้แก่โจทก์ เมื่อทรัพย์ที่รับฝากสูญหายไป จำเลยจึงต้องใช้ราคาทรัพย์ที่รับฝากไว้แทนตัวทรัพย์ การฟ้องให้ใช้ราคาทรัพย์ในกรณีเช่นนี้ไม่ใช่เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวแก่การฝากทรัพย์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 671 และไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนด 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม
of 64