พบผลลัพธ์ทั้งหมด 633 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9029/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท-การนับโทษ-ความผิดฐานมีและเสพยาเสพติด
จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ความผิดของจำเลยฐานมีเฮโรอีนและฐานเสพเฮโรอีนเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทและศาลชั้นต้นนับโทษจำเลยไม่ถูกต้องนั้น แม้ฎีกาข้อนี้จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่เป็นข้อที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายไว้ชัดเจนว่าจำเลยได้เสพกัญชาผสมเฮโรอีน และจำเลยได้ร่วมกันมีเฮโรอีนซึ่งเหลือจากการเสพจำนวน 1 หลอดน้ำหนัก 0.03 กรัม ไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต จำเลยให้การรับสารภาพย่อมเป็นการยอมรับข้อกล่าวหาของโจทก์ว่า จำเลยเสพเฮโรอีนและมีเฮโรอีนที่เหลือจากการเสพไว้ในครอบครองจริง ความผิดดังกล่าวเป็นความผิดที่แยกกันได้เป็น 2 กระทง เพราะข้อหาฐานมีเฮโรอีนนั้นโจทก์มุ่งถึงเฮโรอีนซึ่งจำเลยมีเหลืออยู่หลังจากได้เสพไปแล้ว
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายไว้ชัดเจนว่าจำเลยได้เสพกัญชาผสมเฮโรอีน และจำเลยได้ร่วมกันมีเฮโรอีนซึ่งเหลือจากการเสพจำนวน 1 หลอดน้ำหนัก 0.03 กรัม ไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต จำเลยให้การรับสารภาพย่อมเป็นการยอมรับข้อกล่าวหาของโจทก์ว่า จำเลยเสพเฮโรอีนและมีเฮโรอีนที่เหลือจากการเสพไว้ในครอบครองจริง ความผิดดังกล่าวเป็นความผิดที่แยกกันได้เป็น 2 กระทง เพราะข้อหาฐานมีเฮโรอีนนั้นโจทก์มุ่งถึงเฮโรอีนซึ่งจำเลยมีเหลืออยู่หลังจากได้เสพไปแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8731/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นเอกสารประกอบคำฟ้องและการรับฟังพยานหลักฐาน ศาลมีอำนาจรับฟังเอกสารที่ยื่นพร้อมคำฟ้อง แม้ไม่ได้ส่งซ้ำ
การที่ ป.วิ.พ.มาตรา 90 กำหนดให้คู่ความฝ่ายที่อ้างเอกสารต้องยื่นสำเนาเอกสารต่อศาลและคู่ความฝ่ายอื่นล่วงหน้าก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยานนั้น นอกจากเพื่อประโยชน์ในการที่ศาลจะได้สอบถามคู่ความเกี่ยวกับเอกสารนั้นในวันชี้สองสถานแล้ว ยังมีความประสงค์จะให้ศาลและคู่ความได้ทราบล่วงหน้าก่อนสืบพยานว่า พยานเอกสารที่คู่ความแต่ละฝ่ายอ้างเกี่ยวกับคดีอย่างไร เอกสารมีความน่าเชื่อถือในเบื้องต้นอย่างไรหรือไม่ และให้คู่ความฝ่ายที่ถูกยันด้วยเอกสารนั้นได้มีโอกาสตรวจสอบในเบื้องต้นว่าเอกสารที่อ้างอิงมีความถูกต้องแท้จริงเพียงใด หรือสำเนาที่ยื่นไว้ตรงกับต้นฉบับเอกสารหรือไม่ สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดี สำเนาหนังสือมอบอำนาจให้ทำนิติกรรม หนังสือสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกัน ซึ่งโจทก์ส่งศาลในวันพิจารณามีข้อความอย่างเดียวกันกับสำเนาเอกสารที่แนบมาท้ายฟ้อง เมื่อจำเลยทั้งสามได้รับสำเนาคำฟ้องพร้อมกับสำเนาเอกสารท้ายฟ้องแล้ว ก็เป็นการถูกต้องตามความประสงค์ของบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น แม้โจทก์ไม่ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่จำเลยทั้งสามอีก ศาลก็มีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นนั้นได้ในเมื่อเห็นว่าเอกสารนั้นเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 87
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8731/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นเอกสารประกอบการพิจารณาคดี: ศาลรับฟังได้แม้ไม่ส่งสำเนาให้คู่ความ หากคู่ความได้รับสำเนาคำฟ้องพร้อมเอกสารแนบแล้ว
การที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90กำหนดให้คู่ความฝ่ายที่อ้างเอกสารต้องยื่นสำเนาเอกสารต่อศาลและคู่ความฝ่ายอื่นล่วงหน้าก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยานนั้น นอกจากเพื่อประโยชน์ในการที่ศาลจะได้สอบถามคู่ความเกี่ยวกับเอกสารนั้นในวันชี้สองสถานแล้วยังมีความประสงค์จะให้ศาลและคู่ความได้ทราบล่วงหน้าก่อนสืบพยานว่า พยานเอกสารที่คู่ความแต่ละฝ่ายอ้างเกี่ยวกับคดีอย่างไร เอกสารมีความน่าเชื่อถือในเบื้องต้นอย่างไรหรือไม่ และให้คู่ความฝ่ายที่ถูกยันด้วยเอกสารนั้นได้มีโอกาสตรวจสอบในเบื้องต้นว่าเอกสารที่อ้างอิงมีความถูกต้องแท้จริงเพียงใด หรือสำเนาที่ยื่นไว้ตรงกับต้นฉบับเอกสารหรือไม่ สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีสำเนาหนังสือมอบอำนาจให้ทำนิติกรรม หนังสือสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกัน ซึ่งโจทก์ส่งศาลในวันพิจารณามีข้อความอย่างเดียวกันกับสำเนาเอกสารที่แนบมาท้ายฟ้อง เมื่อจำเลยทั้งสามได้รับสำเนาคำฟ้องพร้อมกับสำเนาเอกสารท้ายฟ้องแล้วก็เป็นการถูกต้องตามความประสงค์ของบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น แม้โจทก์ไม่ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่จำเลยทั้งสามอีก ศาลก็มีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นนั้นได้ในเมื่อเห็นว่าเอกสารนั้นเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8510/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาทนอกกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนด ทำให้จำเลยไม่สามารถอุทธรณ์ได้
ศาลแรงงานกลางได้มีคำสั่งในการกำหนดประเด็นข้อพิพาทซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเมื่อวันที่25เมษายน2537การที่จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องเมื่อวันที่13ตุลาคม2537คัดค้านว่าศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทไม่ถูกต้องเป็นการคัดค้านเมื่อล่วงพ้นกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งในการกำหนดประเด็นข้อพิพาทไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา183วรรคสี่ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา31ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองไม่ได้คัดค้านหรือโต้แย้งคำสั่งในการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของศาลแรงงานกลางจำเลยทั้งสองจึงอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งในการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของศาลแรงงานกลางดังกล่าวไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8510/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านคำสั่งกำหนดประเด็นข้อพิพาทเกินกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย
ศาลแรงงานกลางได้มีคำสั่งในการกำหนดประเด็นข้อพิพาทซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2537 การที่จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2537 คัดค้านว่าศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทไม่ถูกต้อง เป็นการคัดค้านเมื่อล่วงพ้นกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่ศาลแรงงาน-กลางมีคำสั่งในการกำหนดประเด็นข้อพิพาท ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 183วรรคสี่ ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ถือได้ว่า จำเลยทั้งสองไม่ได้คัดค้านหรือโต้แย้งคำสั่งในการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของศาลแรงงานกลาง จำเลยทั้งสองจึงอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งในการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของศาลแรงงานกลางดังกล่าวไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8408/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องจำเลยที่ไม่ได้เป็นคู่สัญญา และผลของการไม่ส่งเอกสารต้นฉบับตามคำสั่งศาล
โจทก์ฟ้องบังคับจำเลยทั้งสองตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแต่ปรากฎว่าตามสัญญาจะซื้อจะขาย มีโจทก์และจำเลยที่ 1เป็นคู่สัญญาเท่านั้นแม้โฉนดที่ดินที่จะซื้อขายกันตามสัญญามีชื่อจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมด้วยเมื่อจำเลยที่ 2 มิได้เป็นคู่สัญญา จำเลยที่ 2 หาต้องมีความผูกพันรับผิดตามสัญญาจะซื้อจะขายที่จำเลยที่ 1 ได้ทำไว้ทำกับโจทก์ไม่ แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นภรรยาจำเลยที่ 1ก็ตาม โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยทั้งสองทำสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์แล้วประพฤติผิดสัญญา ดังนั้น สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่โจทก์จำเลยทำไว้จึงเป็นพยานเอกสารที่สำคัญ ซึ่งโจทก์ได้อ้างเอกสารดังกล่าวไว้ด้วย แต่ปรากฎว่าในวันชี้สองสถานโจทก์ขอส่งสำเนาสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโดยไม่มีต้นฉบับมาแสดง อ้างว่าต้นฉบับอยู่ที่จำเลย ซึ่งจำเลยปฎิเสธว่าไม่ได้อยู่ที่จำเลยแต่อยู่ที่โจทก์ และโจทก์มิได้ขอหมายเรียกเอกสารดังกล่าวจากจำเลย ศาลชั้นต้นจึงไม่รับสำเนาสัญญาจะซื้อจะขายของโจทก์ส่วนจำเลยอ้างหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายหรือสัญญาวางมัดจำโดยส่งเป็นสำเนาเอกสารอ้างว่าต้นฉบับเอกสารดังกล่าวจากโจทก์ ดังนี้ เมื่อปรากฎว่า ต้นฉบับเอกสารอยู่ที่โจทก์และโจทก์ไม่ยอมนำมาส่งตามคำสั่งศาล ย่อมถือว่าข้อเท็จจริงแห่งข้ออ้างที่จำเลยจะต้องนำสืบโดยเอกสารนั้นโจทก์ได้ยอมรับแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 123 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8408/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผูกพันตามสัญญาซื้อขายที่ดิน และการนำพยานเอกสารที่ไม่ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องบังคับจำเลยทั้งสองตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแต่ปรากฏว่าตามสัญญาจะซื้อจะขาย มีโจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นคู่สัญญาเท่านั้นแม้โฉนดที่ดินที่จะซื้อขายกันตามสัญญามีชื่อจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมด้วยเมื่อจำเลยที่ 2 มิได้เป็นคู่สัญญา จำเลยที่ 2 หาต้องมีความผูกพันรับผิดตามสัญญาจะซื้อจะขายที่จำเลยที่ 1 ได้ทำไว้กับโจทก์ไม่ แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นภรรยาจำเลยที่ 1 ก็ตาม โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยทั้งสองทำสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์แล้วประพฤติผิดสัญญา ดังนั้น สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่โจทก์จำเลยทำไว้จึงเป็นพยานเอกสารที่สำคัญ ซึ่งโจทก์ได้อ้างเอกสารดังกล่าวไว้ด้วย แต่ปรากฏว่าในวันชี้สองสถานโจทก์ขอส่งสำเนาสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโดยไม่มีต้นฉบับมาแสดง อ้างว่าต้นฉบับอยู่ที่จำเลย ซึ่งจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้อยู่ที่จำเลยแต่อยู่ที่โจทก์ และโจทก์มิได้ขอหมายเรียกเอกสารดังกล่าวจากจำเลย ศาลชั้นต้นจึงไม่รับสำเนาสัญญาจะซื้อจะขายของโจทก์ส่วนจำเลยอ้างหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายหรือสัญญาวางมัดจำโดยส่งเป็นสำเนาเอกสารอ้างว่าต้นฉบับอยู่ที่โจทก์และได้ขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเรียกต้นฉบับเอกสารดังกล่าวจากโจทก์ ดังนี้ เมื่อปรากฏว่า ต้นฉบับเอกสารอยู่ที่โจทก์และโจทก์ไม่ยอมนำมาส่งตามคำสั่งศาล ย่อมถือว่าข้อเท็จจริงแห่งข้ออ้างที่จำเลยจะต้องนำสืบโดยเอกสารนั้นโจทก์ได้ยอมรับแล้วตาม ป.วิ.พ.มาตรา 123 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยทั้งสองทำสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์แล้วประพฤติผิดสัญญา ดังนั้น สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่โจทก์จำเลยทำไว้จึงเป็นพยานเอกสารที่สำคัญ ซึ่งโจทก์ได้อ้างเอกสารดังกล่าวไว้ด้วย แต่ปรากฏว่าในวันชี้สองสถานโจทก์ขอส่งสำเนาสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโดยไม่มีต้นฉบับมาแสดง อ้างว่าต้นฉบับอยู่ที่จำเลย ซึ่งจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้อยู่ที่จำเลยแต่อยู่ที่โจทก์ และโจทก์มิได้ขอหมายเรียกเอกสารดังกล่าวจากจำเลย ศาลชั้นต้นจึงไม่รับสำเนาสัญญาจะซื้อจะขายของโจทก์ส่วนจำเลยอ้างหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายหรือสัญญาวางมัดจำโดยส่งเป็นสำเนาเอกสารอ้างว่าต้นฉบับอยู่ที่โจทก์และได้ขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเรียกต้นฉบับเอกสารดังกล่าวจากโจทก์ ดังนี้ เมื่อปรากฏว่า ต้นฉบับเอกสารอยู่ที่โจทก์และโจทก์ไม่ยอมนำมาส่งตามคำสั่งศาล ย่อมถือว่าข้อเท็จจริงแห่งข้ออ้างที่จำเลยจะต้องนำสืบโดยเอกสารนั้นโจทก์ได้ยอมรับแล้วตาม ป.วิ.พ.มาตรา 123 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8401/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันหน้าที่การงาน ตำแหน่งใหม่เพิ่มความเสี่ยง ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในตำแหน่งพนักงานธุรการ แม้จะไม่จำกัดว่าเป็นการค้ำประกันเฉพาะในตำแหน่งดังกล่าวและไม่มีกำหนดเวลาก็ตาม การที่โจทก์มีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งพนักงานรับจ่ายเงิน ให้รับผิดชอบในเรื่องการเงินอันเป็นการเพิ่มความเสี่ยงภัยและความรับผิดให้แก่จำเลยที่ 2 มากขึ้น จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดในหน้าที่การงานตำแหน่งใหม่แม้จะได้ทราบและมิได้คัดค้านการที่โจทก์แต่งตั้งให้จำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งพนักงานรับ-จ่ายเงิน ก็ไม่มีผลทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8401/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อลูกหนี้เปลี่ยนตำแหน่งงานและเพิ่มความเสี่ยง
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในตำแหน่งพนักงานธุรการ แม้จะไม่จำกัดว่าเป็นการค้ำประกันเฉพาะในตำแหน่งดังกล่าวและไม่มีกำหนดเวลาก็ตาม การที่โจทก์มีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งพนักงานรับ -จ่ายเงิน ให้รับผิดชอบในเรื่องการเงินอันเป็นการเพิ่มความเสี่ยงภัยและความรับผิดให้แก่จำเลยที่ 2 มากขึ้น จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดในหน้าที่การงานตำแหน่งใหม่ แม้จะได้ทราบและมิได้คัดค้านการที่โจทก์แต่งตั้งให้จำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งพนักงานรับ - จ่ายเงิน ก็ไม่มีผลทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8365/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องราคาทรัพย์สินเช่าซื้อ และค่าเสียหายจากการผิดสัญญาเช่าซื้อ
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว ย่อมมีผลทำให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่ไม่มีผลกระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแก่กันตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 และมาตรา 392 บัญญัติว่า การชำระหนี้ของคู่สัญญาอันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้นให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 369 กล่าวคือให้นำมาตรา 369 ว่าด้วยการชำระหนี้ในสัญญาต่างตอบแทนมาใช้บังคับ ดังนี้โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อจึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยผู้เช่าซื้อชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์หรือค่าใช้ทรัพย์ได้ เมื่อฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์หรือค่าใช้ทรัพย์ของโจทก์ตลอดเวลาที่จำเลยที่ 1 ยังครอบครองทรัพย์ของโจทก์อยู่ ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้ และค่าเสียหายเช่นนี้ศาลอาจกำหนดตามที่เห็นสมควรได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฎในคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 การที่จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์ของโจทก์ไปแล้วผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อจนโจทก์บอกเลิกสัญญา แต่จำเลยที่ 1ไม่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยขาดประโยชน์ที่ควรจะได้จากการนำรถยนต์ดังกล่าวออกให้เช่า การฟ้องเรียกค่าเสียหายเช่นนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องได้ภายในอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/30 ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องขอให้ชำระราคาทรัพย์สินที่เช่าซื้อจนครบตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งกำหนดว่า "ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญา ตามข้อ 7 ข้างต้น หรือเจ้าของบอกเลิกสัญญานี้และกลับเข้าครอบครองรถยนต์ตามข้อ 5 ของสัญญานี้ เงินทั้งปวงที่ผู้เช่าได้ชำระให้แก่เจ้าของก่อนหน้านั้นให้คงเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของ และผู้เช่าจะต้องจ่ายค่าซ่อมรถยนต์พร้อมทั้งค่าอุปกรณ์และอะไหล่ทั้งปวงเพื่อซ่อมรถยนต์ให้กลับคืนสู่สภาพดีตามที่เจ้าของประมาณราคาขึ้นโดยทันที และจะชดใช้ค่าเสื่อมราคาและค่าเสียหายนอกเหนือจากค่าเช่าซื้อทุกงวดที่ค้างชำระอยู่แล้ว ตลอดทั้งเงินจำนวนอื่นใดที่จะต้องจ่ายตามสัญญานี้ กับถ้าหากในขณะบอกเลิกการเช่านั้น ผู้เช่าได้ชำระเงินค่าเช่าซื้อและรวมกับเงินชำระครั้งแรกรวมกันไม่ถึงครึ่งหนึ่งของราคาเช่าซื้อที่ระบุในบัญชีรายการท้ายสัญญา ผู้เช่าซื้อจะต้องจ่ายเงินเพิ่มเติมอีกจำนวนหนึ่งซึ่งเมื่อรวมกับจำนวนที่จ่ายเป็นค่าเช่าซื้อรวมทั้งเงินที่ชำระครั้งแรกแล้วจะเท่ากับครึ่งหนึ่งของราคาเช่าซื้อที่ระบุในบัญชีรายการท้ายสัญญา"ข้อสัญญาดังกล่าวนี้ใช้บังคับได้ โดยมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ และในกรณีฟ้องร้องเรียกราคารถยนต์เช่าซื้อที่ยังขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อเช่นนี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ยังขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อเช่นนี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 190/30 มิใช่อายุความหกเดือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563