คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมพงษ์ สนธิเณร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 633 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8365/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อเลิกแล้ว: สิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย, ค่าขาดประโยชน์, และอายุความของหนี้
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว ย่อมมีผลทำให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่ไม่มีผลกระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแก่กันตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 391 และมาตรา 392 บัญญัติว่า การชำระหนี้ของคู่สัญญาอันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้นให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งมาตรา369 กล่าวคือให้นำมาตรา 369 ว่าด้วยการชำระหนี้ในสัญญาต่างตอบแทนมาใช้บังคับ ดังนี้โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อจึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยผู้เช่าซื้อชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์หรือค่าใช้ทรัพย์ได้ เมื่อฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์หรือค่าใช้ทรัพย์ของโจทก์ตลอดเวลาที่จำเลยที่ 1 ยังครอบครองทรัพย์ของโจทก์อยู่ ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้ และค่าเสียหายเช่นนี้ศาลอาจกำหนดตามที่เห็นสมควรได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142
การที่จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์ของโจทก์ไปแล้วผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อจนโจทก์บอกเลิกสัญญา แต่จำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยขาดประโยชน์ที่ควรจะได้จากการนำรถยนต์ดังกล่าวออกให้เช่า การฟ้องเรียกค่าเสียหายเช่นนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องได้ภายในอายุความสิบปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30
ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องขอให้ชำระราคาทรัพย์สินที่เช่าซื้อจนครบตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งกำหนดว่า "ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาตามข้อ 7 ข้างต้น หรือเจ้าของบอกเลิกสัญญานี้และกลับเข้าครอบครองรถยนต์ตามข้อ 5 ของสัญญานี้ เงินทั้งปวงที่ผู้เช่าได้ชำระให้แก่เจ้าของก่อนหน้านั้นให้คงเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของ และผู้เช่าจะต้องจ่ายค่าซ่อมรถยนต์พร้อมทั้งค่าอุปกรณ์และอะไหล่ทั้งปวงเพื่อซ่อมรถยนต์ให้กลับคืนสู่สภาพดีตามที่เจ้าของประมาณราคาขึ้นโดยทันที และจะชดใช้ค่าเสื่อมราคาและค่าเสียหายนอกเหนือจากค่าเช่าซื้อทุกงวดที่ค้างชำระอยู่แล้ว ตลอดทั้งเงินจำนวนอื่นใดที่จะต้องจ่ายตามสัญญานี้ กับถ้าหากในขณะบอกเลิกการเช่านั้น ผู้เช่าได้ชำระเงินค่าเช่าซื้อและรวมกับเงินชำระครั้งแรกรวมกันไม่ถึงครึ่งหนึ่งของราคาเช่าซื้อที่ระบุในบัญชีรายการท้ายสัญญา ผู้เช่าซื้อจะต้องจ่ายเงินเพิ่มเติมอีกจำนวนหนึ่งซึ่งเมื่อรวมกับจำนวนที่จ่ายเป็นค่าเช่าซื้อรวมทั้งเงินที่ชำระครั้งแรกแล้วจะเท่ากับครึ่งหนึ่งของราคาเช่าซื้อที่ระบุในบัญชีรายการท้ายสัญญา..." ข้อสัญญาดังกล่าวนี้ใช้บังคับได้ โดยมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ และในกรณีฟ้องเรียกราคารถยนต์เช่าซื้อที่ยังขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อเช่นนี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความสิบปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 190/30มิใช่อายุความหกเดือนตาม ป.พ.พ.มาตรา 563

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8360/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินค่ารายปีภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับสถานีบริการน้ำมัน โดยเทียบเคียงกับสถานีอื่นและดัชนีราคา
การที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 กำหนดค่ารายปีในปี 2533 เสียใหม่โดยเทียบเคียงกับสถานีจำหน่ายน้ำมันแห่งอื่นที่มีลักษณะทำเลที่ตั้งและขนาดคล้ายคลึงกันนั้น มิใช่คำวินิจฉัยชี้ขาดที่ทำให้คดีเสร็จไป เพราะคำวินิจฉัยชี้ขาดคดีจะต้องวินิจฉัยไปตามพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยที่ 1 แล้วชี้ขาดลงไปว่าให้จำเลยที่ 1 ประเมินได้เท่าใด คำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางในส่วนนี้จึงไม่ชอบ
ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 8ให้ความหมายว่า ค่ารายปี คือจำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆแต่สัญญาระหว่างโจทก์กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.และบริษัท ด.มิได้กำหนดค่าผลประโยชน์ตอบแทนกันเป็นอัตราที่แน่นอน หากแต่คู่สัญญาได้ตกลงให้ผู้ดำเนินกิจการสถานีบริการน้ำมันต้องซื้อน้ำมันและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมจากโจทก์ หากเดือนใดซื้อเป็นจำนวนน้อย ก็จะต้องชำระค่าตอบแทนแก่โจทก์ในอัตราสูง แต่ถ้าเดือนใดซื้อเป็นจำนวนมาก ก็จะชำระค่าตอบแทนในอัตราต่ำ ตามอัตราค่าตอบแทนที่ระบุไว้ในสัญญาแต่ละช่วงเวลาไป นอกจากนี้โจทก์ยังได้รับผลประโยชน์เป็นค่าธรรมเนียมการใช้สถานีบริการน้ำมันและเครื่องหมายการค้าอีกจำนวนหนึ่งด้วย เห็นได้ว่าผลประโยชน์ที่โจทก์ได้รับนั้นเป็นค่าตอบแทนจากการใช้ตัวอาคารสถานที่ส่วนหนึ่งจากเครื่องมือ อุปกรณ์ ในการเก็บรักษาและบริการน้ำมันอีกส่วนหนึ่ง รวมทั้งได้รับผลกำไรจากการจำหน่ายน้ำมันและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมอีกส่วนหนึ่ง ไม่สามารถจำแนกได้ว่าจะเป็นค่าตอบแทนเฉพาะการใช้โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ กับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนดังกล่าว อันจะต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นจำนวนเดือนละเท่าใด จึงไม่อาจนำค่าตอบแทนตามสัญญาดำเนินงานสถานีบริการน้ำมันมาคำนวณเป็นค่ารายปีได้ สำหรับข้อเท็จจริงในส่วนที่เกี่ยวกับสถานีบริการน้ำมันแห่งอื่นที่โจทก์นำสืบมาก็ไม่ปรากฏว่า สถานีบริการน้ำมันเหล่านั้นมีสภาพ ขนาดทำเลที่ตั้งเป็นอย่างไร มีสัญญาในลักษณะต่างตอบแทนเช่นเดียวกับโรงเรือนพิพาทหรือไม่ อีกทั้งไม่ปรากฏว่าการเรียกเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินที่ผ่านมาใช้หลักเกณฑ์ประการใด จึงไม่อาจนำค่ารายปีของสถานีบริการน้ำมันแห่งอื่นที่โจทก์นำสืบมาเทียบเคียงกำหนดเป็นค่ารายปีของโรงเรือนพิพาทในปีภาษีตามฟ้องได้ ค่ารายปีของโรงเรือนพิพาทตามฟ้องจึงต้องเทียบเคียงกับค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วเป็นหลักตามมาตรา 18 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 ซึ่งได้ความว่าในปีที่ล่วงมาแล้วคือปี 2532 จำเลยที่ 1 กำหนดค่ารายปีของโรงเรือนเลขที่ 30/7เป็นเงิน 420,000 บาท และระหว่างปี 2532 ถึง 2534 กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ ได้จัดทำดัชนีผู้บริโภคทั่วไปของกรุงเทพมหานครและดัชนีผู้บริโภคทั่วไปทั้งประเทศไว้ ปรากฏว่า ดัชนีผู้บริโภคดังกล่าวทั้งสองประเภทในหมวดเคหสถาน เครื่องเรือน และเครื่องใช้ในบ้านมีอัตราเพิ่มขึ้นในปี 2533ไม่เกินร้อยละ 3.5 ดังนั้นการที่โจทก์ยอมให้มีการเพิ่มค่ารายปีขึ้นอีกร้อยละ 7ของค่ารายปีปี 2532 รวมเป็นเงิน 449,400 บาท จึงนับว่าเหมาะสมแล้วและถือเอาเป็นค่ารายปีสำหรับปีภาษี 2533 ได้
สำหรับโรงเรือนและที่ดินรายพิพาทแห่งที่สองแม้จะได้ความว่ายังไม่เคยกำหนดค่ารายปีกันมาก่อน เนื่องจากเพิ่งจะเปิดดำเนินการได้เพียง9 เดือนก็ตาม แต่ก็ปรากฏว่า โรงเรือนและที่ดินรายพิพาทแห่งที่สองก็เป็นสถานีบริการน้ำมันเช่นเดียวกับโรงเรือนและที่ดินรายพิพาทแห่งแรก ทั้งยังตั้งอยู่ริมถนนพหลโยธินและอยู่ในท้องที่ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานีเช่นเดียวกันอีกด้วย ดังนี้ เมื่อคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่และทำเลที่ตั้งแล้ว เห็นว่า อาจกำหนดค่ารายปีของโรงเรือนและที่ดินรายพิพาทแห่งที่สองโดยเทียบเคียงกับค่ารายปีของโรงเรือนและที่ดินรายพิพาทแห่งแรกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8360/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: หลักเกณฑ์การคำนวณค่ารายปีตามดัชนีผู้บริโภคและลักษณะทรัพย์สิน
การที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1กำหนดค่ารายปีในปี 2533 เสียใหม่โดยเทียบเคียงกับสถานีจำหน่ายน้ำมันแห่งอื่นที่มีลักษณะทำเลที่ตั้งและขนาดคล้ายคลึงกันนั้น มิใช่คำวินิจฉัยชี้ขาดที่ทำให้คดีเสร็จไปเพราะคำวินิจฉัยชี้ขาดคดีจะต้องวินิจฉัยไปตามพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยที่ 1 แล้ว ชี้ขาดลงไปว่าให้จำเลยที่ 1ประเมินได้เท่าใด คำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางในส่วนนี้จึงไม่ชอบ ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475มาตรา 8 ให้ความหมายว่า ค่ารายปี คือจำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ แต่สัญญาระหว่างโจทก์กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.และบริษัทด. มิได้กำหนดค่าผลประโยชน์ตอบแทนกันเป็นอัตราที่แน่นอน หากแต่คู่สัญญาได้ตกลงให้ผู้ดำเนินกิจการสถานีบริการน้ำมันต้องซื้อน้ำมันและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมจากโจทก์ หากเดือนใดซื้อเป็นจำนวนน้อย ก็จะต้องชำระค่าตอบแทนแก่โจทก์ในอัตราสูง แต่ถ้าเดือนใดซื้อเป็นจำนวนมาก ก็จะชำระค่าตอบแทนในอัตราต่ำตามอัตราค่าตอบแทนที่ระบุไว้ในสัญญาแต่ละช่วงเวลาไปนอกจากนี้โจทก์ยังได้รับผลประโยชน์เป็นค่าธรรมเนียมการใช้สถานีบริการน้ำมันและเครื่องหมายการค้าอีกจำนวนหนึ่งด้วยเห็นได้ว่าผลประโยชน์ที่โจทก์ได้รับนั้นเป็นค่าตอบแทนจากการใช้ตัวอาคารสถานที่ส่วนหนึ่งจากเครื่องมือ อุปกรณ์ในการเก็บรักษาและบริการน้ำมันอีกส่วนหนึ่ง รวมทั้งได้รับผลกำไรจากการจำหน่ายน้ำมันและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมอีกส่วนหนึ่ง ไม่สามารถจำแนกได้ว่าจะเป็นค่าตอบแทนเฉพาะการใช้โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ กับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนดังกล่าว อันจะต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นจำนวนเดือนละเท่าใด จึงไม่อาจนำค่าตอบแทนตามสัญญาดำเนินงานสถานีบริการน้ำมันมาคำนวณเป็นค่ารายปีได้ สำหรับข้อเท็จจริงในส่วนที่เกี่ยวกับสถานีบริการน้ำมันแห่งอื่นที่โจทก์นำสืบมาก็ไม่ปรากฏว่า สถานีบริการน้ำมันเหล่านั้นมีสภาพ ขนาด ทำเลที่ตั้งเป็นอย่างไรมีสัญญาในลักษณะต่างตอบแทนเช่นเดียวกับโรงเรือนพิพาทหรือไม่ อีกทั้งไม่ปรากฏว่าการเรียกเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินที่ผ่านมาใช้หลักเกณฑ์ประการใด จึงไม่อาจนำค่ารายปีของสถานีบริการน้ำมันแห่งอื่นที่โจทก์นำสืบมาเทียบเคียงกำหนดเป็นค่ารายปีของโรงเรือนพิพาทในปีภาษีตามฟ้องได้ ค่ารายปีของโรงเรือนพิพาทตามฟ้องจึงต้องเทียบเคียงกับค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วเป็นหลักตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475ซึ่งได้ความว่าในปีที่ล่วงมาแล้วคือปี 2532 จำเลยที่ 1 กำหนด ค่ารายปีของโรงเรือนเลขที่ 30/7 เป็นเงิน 420,000 บาทและระหว่างปี 2532 ถึง 2534 กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์กระทรวงพาณิชย์ ได้จัดทำดัชนีผู้บริโภคทั่วไปของกรุงเทพมหานครและดัชนีผู้บริโภคทั่วไปทั้งประเทศไว้ ปรากฏว่า ดัชนีผู้บริโภคดังกล่าวทั้งสองประเภทในหมวดเคหสถานเครื่องเรือน และเครื่องใช้ในบ้านมีอัตราเพิ่มขึ้นในปี 2533ไม่เกินร้อยละ 3.5 ดังนั้นการที่โจทก์ยอมให้มีการเพิ่มค่ารายปีขึ้นอีกร้อยละ 7 ของค่ารายปีปี 2532 รวมเป็นเงิน449,400 บาท จึงนับว่าเหมาะสมแล้วและถือเอาเป็นค่ารายปีสำหรับปีภาษี 2533 ได้ สำหรับโรงเรือนและที่ดินรายพิพาทแห่งที่สองแม้จะได้ความว่ายังไม่เคยกำหนดค่ารายปีกันมาก่อน เนื่องจากเพิ่งจะเปิดดำเนินการได้เพียง 9 เดือนก็ตาม แต่ก็ปรากฏว่า โรงเรือนและที่ดินรายพิพาทแห่งที่สองก็เป็นสถานีบริการน้ำมันเช่นเดียวกับโรงเรือนและที่ดินรายพิพาทแห่งแรก ทั้งยังตั้งอยู่ริมถนนพหลโยธินและอยู่ในท้องที่ตำบลคลองหนึ่งอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เช่นเดียวกันอีกด้วยดังนี้ เมื่อคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่และทำเลที่ตั้งแล้ว เห็นว่า อาจกำหนดค่ารายปีของโรงเรือนและที่ดินรายพิพาทแห่งที่สองโดยเทียบเคียงกับค่ารายปีของโรงเรือนและที่ดินรายพิพาทแห่งแรกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8336/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: การจับกุมและการมีภูมิลำเนาของจำเลยมีผลต่อการรับฟ้องคดี
ในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้จำเลยถูกจับในท้องที่อำเภอสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรีในข้อหาพยายามฆ่าและต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ปลอมแปลงเอกสารและใช้เอกสารปลอมกับข้อหาอื่นๆซึ่งมิใช่ข้อหาลักทรัพย์หรือรับของโจรตามที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ศาลจังหวัดกบินทร์บุรีได้พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยจำเลยถูกจำคุกอยู่ในเรือนจำอำเภอกบินทร์บุรี แต่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา22คำว่าจำเลยถูกจับในท้องที่หนึ่งหมายถึงเจ้าพนักงานจับจำเลยจริงๆในเขตศาลนั้นตามที่ถูกกล่าวหาเมื่อจำเลยถูกจับในความผิดฐานอื่นและเจ้าพนักงานตำรวจได้อายัดตัวจำเลยมาสอบสวนในคดีนี้ถือไม่ได้ว่าคดีนี้จำเลยถูกจับในเขตอำนาจศาลจังหวัดกบินทร์บุรีโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดกบินทร์บุรีไม่ได้ เรือนจำอำเภอกบินทร์บุรีซึ่งจำเลยต้องโทษจำคุกอยู่ในคดีอื่นในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในคดีนี้คดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างอุทธรณ์เรือนจำจึงมิใช่ท้องที่ที่จำเลยมีที่อยู่เพราะคดีดังกล่าวจำเลยมิได้ถูกจำคุกตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดของศาลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา47ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ1แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2535จึงไม่อาจถือว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่เรือนจำอำเภอกบินทร์บุรีอีกด้วยโจทก์จึงฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดกบินทร์บุรีไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8336/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: การฟ้องคดีอาญาต้องพิจารณาจากสถานที่จับกุมและภูมิลำเนาของจำเลย
ในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ จำเลยถูกจับในท้องที่อำเภอสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรี ในข้อหาพยายามฆ่าและต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ ปลอมแปลงเอกสารและใช้เอกสารปลอมกับข้อหาอื่น ๆ ซึ่งมิใช่ข้อหาลักทรัพย์หรือรับของโจทก์ตามที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ ศาลจังหวัดกบินทร์บุรีได้พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย จำเลยถูกจำคุกอยู่ในเรือนจำอำเภอกบินทร์บุรี แต่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 22 คำว่า จำเลยถูกจับในท้องที่หนึ่ง หมายถึงเจ้าพนักงานจับจำเลยจริง ๆ ในเขตศาลนั้นตามที่ถูกกล่าวหา เมื่อจำเลยถูกจับในความผิดฐานอื่นและเจ้าพนักงานตำรวจได้อายัดตัวจำเลยมาสอบสวนในคดีนี้ ถือไม่ได้ว่าคดีนี้จำเลยถูกจับในเขตอำนาจศาลจังหวัดกบินทร์บุรี โจทก์ฟ้องจำเลยต่อ ศาลจังหวัดกบินทร์บุรีไม่ได้ เรือนจำอำเภอกบินทร์บุรีซึ่งจำเลยต้องโทษจำคุกอยู่ในคดีอื่นในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในคดีนี้ คดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างอุทธรณ์ เรือนจำจึงมิใช่ท้องที่ที่จำเลยมีที่อยู่ เพราะคดีดังกล่าวจำเลยมิได้ถูกจำคุกตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดของศาลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 47ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2535จึงไม่อาจถือว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่เรือนจำอำเภอกบินทร์บุรีอีกด้วยโจทก์จึงฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดกบินทร์บุรีไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8336/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: การฟ้องคดีอาญาต้องยึดสถานที่จับกุมหรือที่อยู่ของจำเลย หาใช่สถานที่เกิดเหตุ
ในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ จำเลยถูกจับในท้องที่อำเภอสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี ในข้อหาพยายามฆ่าและต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ปลอมแปลงเอกสารและใช้เอกสารปลอมกับข้อหาอื่น ๆซึ่งมิใช่ข้อหาลักทรัพย์หรือรับของโจรตามที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ศาลจังหวัดกบินทร์บุรีได้พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยจำเลยถูกจำคุกอยู่ในเรือนจำอำเภอกบินทร์บุรี แต่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22 คำว่า จำเลยถูกจับในท้องที่หนึ่ง หมายถึงเจ้าพนักงานจับจำเลยจริง ๆในเขตศาลนั้นตามที่ถูกกล่าวหา เมื่อจำเลยถูกจับในความผิดฐานอื่น และเจ้าพนักงานตำรวจได้อายัดตัวจำเลยมาสอบสวนในคดี นี้ ถือไม่ได้ว่าคดีนี้จำเลยถูกจับในเขตอำนาจศาลจังหวัดกบินทร์บุรีโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดกบินทร์บุรีไม่ได้ เรือนจำอำเภอกบินทร์บุ*รีซึ่งจำเลยต้องโทษจำคุกอยู่ในคดีอื่น ในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในคดีนี้ คดีดังกล่าวอยู่ในระหว่าง อุทธรณ์เรือนจำจึงมิใช่ท้องที่ที่จำเลยมีที่อยู่ เพราะคดีดังกล่าว จำเลยมิได้ถูกจำคุกตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดของศาล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 47 ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535จึงไม่อาจถือว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่เรือนจำอำเภอกบินทร์บุรีอีกด้วยโจทก์จึงฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดกบินทร์บุรีไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8336/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: การจับกุมและภูมิลำเนาของจำเลยมีผลต่อการฟ้องคดี
ในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ จำเลยถูกจับในท้องที่อำเภอสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรี ในข้อหาพยายามฆ่าและต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ ปลอมแปลงเอกสารและใช้เอกสารปลอมกับข้อหาอื่น ๆ ซึ่งมิใช่ข้อหาลักทรัพย์หรือรับของโจรตามที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ ศาลจังหวัดกบินทร์บุรีได้พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย จำเลยถูกจำคุกอยู่ในเรือนจำอำเภอกบินทร์บุรี แต่ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 22 คำว่า จำเลยถูกจับในท้องที่หนึ่ง หมายถึงเจ้าพนักงานจับจำเลยจริง ๆในเขตศาลนั้นตามที่ถูกกล่าวหา เมื่อจำเลยถูกจับในความผิดฐานอื่นและเจ้าพนักงาน-ตำรวจได้อายัดตัวจำเลยมาสอบสวนในคดีนี้ ถือไม่ได้ว่าคดีนี้จำเลยถูกจับในเขตอำนาจศาลจังหวัดกบินทร์บุรี โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดกบินทร์บุรีไม่ได้
เรือนจำอำเภอกบินทร์บุรีซึ่งจำเลยต้องโทษจำคุกอยู่ในคดีอื่นในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในคดีนี้ คดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างอุทธรณ์ เรือนจำจึงมิใช่ท้องที่ที่จำเลยมีที่อยู่ เพราะคดีดังกล่าวจำเลยมิได้ถูกจำคุกตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดของศาลตาม ป.พ.พ. มาตรา 47 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535 จึงไม่อาจถือว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่เรือนจำอำเภอกบินทร์บุรีอีกด้วย โจทก์จึงฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดกบินทร์บุรีไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7849/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาเช่าซื้อสูงเกินส่วน ศาลลดลงได้ และจำเลยมิอาจอ้างเหตุที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาไปแล้ว
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์จำนวน45,000บาทและค่าเช่าซื้อที่ขาดจำนวน301,800บาทศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเฉพาะค่าขาดประโยชน์เป็นเงิน15,000บาทแก่โจทก์โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเพิ่มขึ้นในส่วนค่าเช่าซื้อที่ขาดเป็นเงิน301,800บาทจำเลยที่1แก้อุทธรณ์ว่าจำเลยที่1เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นข้อเท็จจริงจึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์จำนวน15,000บาทแม้ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยชำระเงินเป็นค่าเช่าซื้อที่ยังขาดเพิ่มขึ้น200,000บาทแล้วจำเลยที่1ฎีกาขอให้ยกฟ้องโจทก์ก็ตามทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาของจำเลยที่1ย่อมต้องคำนวณหักค่าเสียหายซึ่งจำเลยที่1พอใจตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจำนวน15,000บาทออกทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกิน200,000บาทต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง ตามข้อสัญญาเช่าซื้อที่กำหนดไว้ว่าผู้เช่าซื้อยอมชำระเงินจำนวนที่ยังขาดอยู่อีกให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อจนครบความหมายของคำว่า"ยอมชำระเงินจำนวนที่ยังขาดอยู่อีก"มีว่าผู้เช่าซื้อจะต้องชำระราคารถยนต์ที่เช่าซื้อที่ยังขาดอยู่จนครบตามที่ระบุไว้ในสัญญาเป็นสัญญาเพื่อรักษาผลประโยชน์ของเจ้าของผู้ให้เช่าซื้อถือว่าเป็นข้อตกลงเรื่องค่าเสียหายเป็นการกำหนดเบี้ยปรับกันไว้ล่วงหน้าเงินจำนวนที่ยังขาดอยู่อีกนี้จึงมิใช่เป็นกรณีที่กำหนดให้ผู้เช่าซื้อชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างดังนั้นแม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าโจทก์เรียกร้องมาตามสัญญาเช่าซื้อในส่วนที่เป็นค่าเสื่อมราคาหรือแทนค่าเสื่อมราคาแต่ศาลอุทธรณ์ก็ยังวินิจฉัยต่อไปว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าจึงเป็นเบี้ยปรับซึ่งถ้าสูงเกินส่วนย่อมลดลงได้ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฎในคำฟ้องหรืออุทธรณ์ของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 ที่จำเลยฎีกาว่ากรณีน่าเชื่อว่าโจทก์ขายรถยนต์ที่เช่าซื้อต่ำกว่าราคาที่ควรจะเป็นโจทก์ได้รับประโยชน์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อคุ้มกับเงินที่โจทก์ลงทุนแล้วและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ได้รับค่าเสียหายเพิ่มขึ้น200,000บาทเป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนนั้นเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ที่ฟังว่าเงินที่โจทก์ได้รับจากจำเลยมาแล้วยังไม่คุ้มกับความเสียหายในส่วนนี้เมื่อพิจารณาทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายแล้วเห็นสมควรกำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้ให้โจทก์200,000บาทจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยเห็นพ้องกับศาลล่างทั้งสองว่าตามสัญญาเช่าซื้อดอกเบี้ยอัตราร้อยละ18ต่อปีเป็นเบี้ยปรับแต่โจทก์ได้รับเงินจากจำเลยเป็นเงินจำนวนสูงมากกว่าค่าขาดประโยชน์ใช้สอยรายเดือนเป็นจำนวนมากเงินส่วนค่าดอกเบี้ยที่เป็นเบี้ยปรับจึงซ้ำซ้อนกับเบี้ยปรับที่โจทก์ได้รับไว้และมีจำนวนมากเกินควรแล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจำนวนนี้อีกนั้นเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการกำหนดเบี้ยปรับลดลงเป็นจำนวนพอสมควรโดยให้โจทก์ได้รับเบี้ยปรับเป็นดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ที่จำเลยว่าศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าขาดประโยชน์ให้จำเลยทั้งสองชำระแก่โจทก์เดือนละ5,000บาทเป็นเงิน15,000บาทค่าเสียหายในส่วนนี้สูงเกินควรเพราะโจทก์ได้รับเงินจากจำเลยไปเป็นจำนวนมากคุ้มประโยชน์ของโจทก์แล้วขอให้ยกคำขอของโจทก์ในส่วนนี้เสียนั้นเห็นว่าปัญหาข้อนี้จำเลยมิได้อุทธรณ์และจำเลยแก้อุทธรณ์ว่าจำเลยเห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายในการขาดประโยชน์ของโจทก์15,000บาทแล้วฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7849/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการฎีกาในชั้นฎีกา, เบี้ยปรับสัญญาเช่าซื้อ, และการโต้แย้งดุลพินิจศาลอุทธรณ์
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นค่าขาด-ประโยชน์จำนวน 45,000 บาท และค่าเช่าซื้อที่ขาดจำนวน 301,800 บาทศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเฉพาะค่าขาดประโยชน์เป็นเงิน 15,000 บาทแก่โจทก์ โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเพิ่มขึ้นในส่วนค่าเช่าซื้อที่ขาดเป็นเงิน 301,800 บาท จำเลยที่ 1 แก้อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้น ข้อเท็จจริงจึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์จำนวน 15,000 บาท แม้ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยชำระเงินเป็นค่าเช่าซื้อที่ยังขาดเพิ่มขึ้น200,000 บาท แล้วจำเลยที่ 1 ฎีกาขอให้ยกฟ้องโจทก์ก็ตาม ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาของจำเลยที่ 1 ย่อมต้องคำนวณหักค่าเสียหายซึ่งจำเลยที่ 1 พอใจตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจำนวน 15,000 บาท ออก ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกิน200,000 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ตามข้อสัญญาเช่าซื้อที่กำหนดไว้ว่าผู้เช่าซื้อยอมชำระเงินจำนวนที่ยังขาดอยู่อีกให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อจนครบ ความหมายของคำว่า "ยอมชำระเงินจำนวนที่ยังขาดอยู่อีก" มีว่า ผู้เช่าซื้อจะต้องชำระราคารถยนต์ที่เช่าซื้อที่ยังขาดอยู่จนครบตามที่ระบุไว้ในสัญญา เป็นสัญญาเพื่อรักษาผลประโยชน์ของเจ้าของผู้ให้เช่าซื้อถือว่าเป็นข้อตกลงเรื่องค่าเสียหาย เป็นการกำหนดเบี้ยปรับกันไว้ล่วงหน้าเงินจำนวนที่ยังขาดอยู่อีกนี้จึงมิใช่เป็นกรณีที่กำหนดให้ผู้เช่าซื้อชำระค่าเช่าซื้อที่ค้าง ดังนั้น แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าโจทก์เรียกร้องมาตามสัญญาเช่าซื้อในส่วนที่เป็นค่าเสื่อมราคาหรือแทนค่าเสื่อมราคา แต่ศาลอุทธรณ์ก็ยังวินิจฉัยต่อไปว่า ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าจึงเป็นเบี้ยปรับซึ่งถ้าสูงเกินส่วนย่อมลดลงได้ ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องหรืออุทธรณ์ของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
ที่จำเลยฎีกาว่า กรณีน่าเชื่อว่าโจทก์ขายรถยนต์ที่เช่าซื้อต่ำกว่าราคาที่ควรจะเป็น โจทก์ได้รับประโยชน์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อคุ้มกับเงินที่โจทก์ลงทุนแล้ว และศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ได้รับค่าเสียหายเพิ่มขึ้น200,000 บาท เป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ที่ฟังว่า เงินที่โจทก์ได้รับจากจำเลยมาแล้วยังไม่คุ้มกับความเสียหายในส่วนนี้ เมื่อพิจารณาทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายแล้ว เห็นสมควรกำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้ให้โจทก์200,000 บาท จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยเห็นพ้องกับศาลล่างทั้งสองว่าตามสัญญาเช่าซื้อ ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 18 ต่อปีเป็นเบี้ยปรับ แต่โจทก์ได้รับเงินจากจำเลยเป็นเงินจำนวนสูงมากกว่าค่าขาดประโยชน์ใช้สอยรายเดือนเป็นจำนวนมาก เงินส่วนค่าดอกเบี้ยที่เป็นเบี้ยปรับจึงซ้ำซ้อนกับเบี้ยปรับที่โจทก์ได้รับไว้และมีจำนวนมากเกินควรแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจำนวนนี้อีกนั้นเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการกำหนดเบี้ยปรับลดลงเป็นจำนวนพอสมควร โดยให้โจทก์ได้รับเบี้ยปรับเป็นดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
ที่จำเลยว่า ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าขาดประโยชน์ให้จำเลยทั้งสองชำระแก่โจทก์เดือนละ 5,000 บาท เป็นเงิน 15,000 บาทค่าเสียหายในส่วนนี้สูงเกินควร เพราะโจทก์ได้รับเงินจากจำเลยไปเป็นจำนวนมากคุ้มประโยชน์ของโจทก์แล้ว ขอให้ยกคำขอของโจทก์ในส่วนนี้เสียนั้นเห็นว่า ปัญหาข้อนี้จำเลยมิได้อุทธรณ์ และจำเลยแก้อุทธรณ์ว่า จำเลยเห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายในการขาดประโยชน์ของโจทก์ 15,000 บาท แล้ว ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7597/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนที่ดินอันเป็นการฉ้อฉล โดยไม่ต้องฟ้องเจ้าพนักงานที่ดิน
จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 อันเป็นการฉ้อฉลโจทก์ ผู้ที่โต้แย้งสิทธิของโจทก์ก็คือจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ขอให้เจ้าพนักงานที่ดินกระทำการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ส่วนเจ้าพนักงานที่ดินกระทำการไปตามอำนาจหน้าที่ นอกจากนี้การที่ ป. ที่ดิน มาตรา 61 และมาตรา 71บัญญัติให้เจ้าพนักงานที่ดินมีหน้าที่ดำเนินการตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลดังนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1กับจำเลยที่ 2 ได้ โดยมิต้องฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินผู้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเข้ามาด้วย
of 64