คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมพงษ์ สนธิเณร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 633 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5569/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงานในการกำหนดวันสืบพยานและไม่อนุญาตเลื่อนคดี เป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนด
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 39 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า ในกรณีมีประเด็นที่ยังไม่อาจตกลงกันหรือไม่อาจประนีประนอมยอมความกัน ให้ศาลแรงงานจดประเด็นข้อพิพาทและบันทึกคำแถลงของโจทก์กับคำให้การของจำเลยอ่านให้คู่ความฟัง และให้ลงลายมือชื่อไว้โดยจะระบุให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนำพยานมาสืบก่อนหรือหลังก็ได้ แล้วให้ศาลแรงงานกำหนดวันสืบพยานไปทันที หมายถึงกรณีที่ศาลแรงงานกำหนดวันพิจารณาโดยยังไม่ได้กำหนดวันสืบพยาน เมื่อศาลแรงงานได้ดำเนินการตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้วก็ให้กำหนดวันสืบพยานไปทันที ประกอบกับมาตรา 29 บัญญัติว่า เพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแรงงานเป็นไปโดยประหยัด สะดวก รวดเร็ว และเที่ยงธรรม จึงให้อำนาจแก่อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางโดยได้รับอนุมัติจากประธานศาลฎีกาออกข้อกำหนดศาลแรงงาน ว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงาน ข้อ 10 ว่า ในกรณีที่ศาลแรงงานสั่งให้มีการสืบพยาน ถ้าคู่ความได้นำพยานทั้งหมดหรือบางส่วนมาศาลและพร้อมที่จะสืบได้ในวันนั้น ให้ศาลดำเนินการสืบพยานไปทันที ดังนี้ การที่ศาลแรงงานกำหนดวันสืบพยานโจทก์ในวันเดียวกันกับวันนัดพิจารณา จึงเป็นไปตามข้อกำหนดดังกล่าว ที่ศาลแรงงานไม่อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีหาเป็นการขัดต่อมาตรา 39 วรรคหนึ่งไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5569/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดวันสืบพยานในคดีแรงงาน: ศาลดำเนินการตามข้อกำหนดได้ แม้ในวันเดียวกับวันนัดพิจารณา
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา39วรรคหนึ่งที่บัญญัติว่าในกรณีมีประเด็นที่ยังไม่อาจตกลงกันหรือไม่อาจประนีประนอมยอมความกันให้ศาลแรงงานจดประเด็นข้อพิพาทและบันทึกคำแถลงของโจทก์กับคำให้การของจำเลยอ่านให้คู่ความฟังและให้ลงลายมือชื่อไว้โดยจะระบุให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนำพยานมาสืบก่อนหรือหลังก็ได้แล้วให้ศาลแรงงานกำหนดวันสืบพยานไปทันทีหมายถึงกรณีที่ศาลแรงงานกำหนดวันพิจารณาโดยยังไม่ได้กำหนดวันสืบพยานเมื่อศาลแรงงานได้ดำเนินการตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้วก็ให้กำหนดวันสืบพยานไปทันทีประกอบกับมาตรา29บัญญัติว่าเพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแรงงานเป็นไปโดยประหยัดสะดวกรวดเร็วและเที่ยงธรรมจึงให้อำนาจแก่อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางโดยได้รับอนุมัติจากประธานศาลฎีกาออกข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานข้อ10ว่าในกรณีที่ศาลแรงงานสั่งให้มีการสืบพยานถ้าคู่ความได้นำพยานทั้งหมดหรือบางส่วนมาศาลและพร้อมที่จะสืบได้ในวันนั้นให้ศาลดำเนินการสืบพยานไปทันทีดังนี้การที่ศาลแรงงานกำหนดวันสืบพยานโจทก์ในวันเดียวกันกับวันนัดพิจารณาจึงเป็นไปตามข้อกำหนดดังกล่าวที่ศาลแรงงานไม่อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีหาเป็นการขัดต่อมาตรา39วรรคหนึ่งไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5520/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสิทธิการเช่าและการไม่มีอำนาจฟ้องคดีขับไล่
คดีนี้โจทก์และโจทก์ร่วมฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและจำเลยร่วมออกจากตึกแถวพิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าสร้างและสัญญาเช่าระหว่างโจทก์ร่วมกับโจทก์ เมื่อปรากฏว่าคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 7416/2529 ของศาลชั้นต้นถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษา คือให้เพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าสร้างระหว่าง อ.กับโจทก์และเพิกถอนสัญญาเช่าสร้างระหว่างโจทก์ร่วมกับโจทก์ ซึ่งมีผลเสมือนไม่มีการโอนสิทธิการเช่าที่ดินของโจทก์ร่วมเพื่อสร้างตึกแถวแล้วยกกรรมสิทธิ์ในตึกแถวนั้นให้โจทก์ร่วม และไม่มีสัญญาเช่าระหว่างโจทก์ร่วมกับโจทก์ โจทก์ร่วมและโจทก์ยังไม่มีสิทธิอย่างใดในตึกแถวพิพาทโจทก์ร่วมและโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5520/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสิทธิเช่าและผลกระทบต่ออำนาจฟ้องขับไล่เมื่อศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดเพิกถอนสัญญาเช่า
คดีนี้โจทก์และโจทก์ร่วมฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและจำเลยร่วมออกจากตึกแถวพิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าสร้างและสัญญาเช่าระหว่างโจทก์ร่วมกับโจทก์เมื่อปรากฏว่าคดีแพ่งหมายเลขแดงที่7416/2529ของศาลชั้นต้นถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาให้เพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าสร้างระหว่างอ. กับโจทก์และเพิกถอนสัญญาเช่าระหว่างโจทก์ร่วมกับโจทก์ซึ่งมีผลเสมือนไม่มีการโอนสิทธิการเช่าที่ดินของโจทก์ร่วมเพื่อสร้างตึกแถวแล้วยกกรรมสิทธิ์ในตึกแถวนั้นให้โจทก์ร่วมและไม่มีสัญญาเช่าระหว่างโจทก์ร่วมกับโจทก์โจทก์ร่วมและโจทก์ยังไม่มีสิทธิอย่างใดในตึกแถวพิพาทโจทก์ร่วมและโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5351/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งตัวแทนโดยปริยายจากการยอมรับหนังสือเชิญและค่าตอบแทน
จำเลยที่ 1 เป็นศึกษาธิการเขตลาดกระบัง โจทก์มีหนังสือเชิญศึกษาธิการเขตลาดกระบังเป็นผู้ประสานงานของโจทก์ให้สิทธิแก่ผู้รับเชิญว่าหากไม่สามารถไปร่วมประชุมหรือรับ-ส่งเงินของสมาชิกหรือรับ-ส่งหนังสือสัญญากู้เงินสามัญ ขอให้มอบให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ผู้รับเชิญเห็นสมควรไปปฏิบัติงานแทนเป็นลายลักษณ์อักษรให้โจทก์ทราบ แสดงว่าโจทก์ตั้งศึกษาธิการเขตลาดกระบังคือจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทน จำเลยที่ 1 ไม่ได้ปฏิเสธหนังสือเชิญดังกล่าว ทั้งยังยอมรับค่าตอบแทนที่โจทก์จ่ายให้ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่ 1 รับเป็นผู้ติดต่อประสานงานของโจทก์โดยปริยาย จำเลยที่ 1 จึงเป็นตัวแทนของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5194/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, ข้อห้ามตามกฎหมาย, การแบ่งกรรมสิทธิ์รวม, ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษา
ปัญหาว่าคำฟ้องของโจทก์ต้องห้ามตามกฎหมายหรือไม่ แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ได้ การที่โจทก์ที่ 2 ฟ้องจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นมารดาของตนเป็นการต้องห้ามตาม ป.พ.พ.มาตรา 1562 อันเป็นผลให้โจทก์ที่ 2 ไม่มีอำนาจฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 3 แต่ในระหว่างพิจารณาจำเลยที่ 3 ถึงแก่กรรมโจทก์ที่ 2 ได้ขอถอนฟ้องจำเลยที่ 3ศาลชั้นต้นอนุญาตและสั่งจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 3 แล้ว จำเลยที่ 3 จึงมิได้เป็นคู่ความในคดีอีกต่อไป และเมื่อจำเลยอื่นไม่ใช่บุพการีของโจทก์ที่ 2 ฟ้องโจทก์ที่ 2 สำหรับจำเลยอื่นหาตกเป็นโมฆะ หรือต้องห้ามตามกฎหมายไม่
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน ให้จำเลยแบ่งที่ดินพิพาทอันเป็นกรรมสิทธิ์รวม การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ไปจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินพิพาทต่อเจ้าพนักงานที่ดินหากไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนามานั้นจึงเป็นการไม่ถูกต้องเพราะไม่เป็นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 1364 ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องโดยแบ่งกรรมสิทธิ์รวมตามมาตรา 1364

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5194/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, กรรมสิทธิ์รวม, การแบ่งแยกที่ดิน, ข้อห้ามตามกฎหมาย, การแก้ไขคำพิพากษา
ปัญหาว่่่าคำฟ้องของโจทก์ต้องห้ามตามกฎหมายหรือไม่แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ได้การที่โจทก์ที่่2ฟ้องจำเลยที่3ซึ่งเป็นมารดาของตนเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1562อันเป็นผลให้โจทก์ที่2ไม่มีอำนาจฟ้องเฉพาะจำเลยที่3แต่ในระหว่างพิจารณาจำเลยที่3ถึงแก่กรรมโจทก์ที่2ได้ขอถอนฟ้องจำเลยที่3ศาลชั้นต้นอนุญาตและสั่งจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่3แล้วจำเลยที่3จึงมิได้เป็นคู่ความในคดีอีกต่อไปและเมื่อจำเลยอื่นไม่ใช่บุพการีของโจทก์ที่2ฟ้องโจทก์ที่2สำหรับจำเลยอื่นหาตกเป็นโมฆะหรือต้องห้ามตามกฎหมายไม่่่ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค2พิพากษายืนให้จำเลยแบ่งที่ดินพิพาทอันเป็นกรรมสิทธิ์รวมการที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่1ที่2และที่4ใบจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินพิพาทต่อเจ้าพนักงานที่ดินหากไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนามานั้นจึงเป็นการไม่ถูกต้องเพราะไม่เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1364ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องโดยแบ่งกรรมสิทธิ์รวมตามมาตรา1364

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5126-5127/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลา การคืนเงินประกัน การปฏิเสธโดยไม่ยกเงื่อนเวลา
ป.พ.พ. มาตรา 192 วรรคท้าย (ที่ตรวจชำระใหม่) ไม่ได้บัญญัติว่า การสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาจะต้องทำโดยชัดแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร ดังนั้น เมื่อมีพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าจำเลยสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาแล้วก็บังคับได้ตามนั้น
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่กำหนดว่าจำเลยจะคืนเงินประกันให้แก่ลูกจ้างหลังจากลูกจ้างพ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยภายในสามสิบวัน เป็นเงื่อนเวลาในการที่ลูกจ้างของจำเลยจะเรียกเงินประกันคืนซึ่งเป็นประโยชน์แก่จำเลย จำเลยมีสิทธิยกประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นขึ้นปฏิเสธที่จะคืนเงินประกันให้แก่โจทก์ลูกจ้างของจำเลยได้เมื่อโจทก์เรียกเงินประกันคืนก่อนกำหนดดังกล่าว แต่เมื่อโจทก์เรียกเงินประกันคืนก่อนกำหนด จำเลยก็หาได้ยกประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาขึ้นปฏิเสธไม่ จำเลยกลับปฏิเสธว่าโจทก์ก่อความเสียหายให้แก่จำเลย พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่า จำเลยได้สละเสียซึ่งประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นแล้ว จำเลยจึงไม่อาจยกประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5126-5127/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาในสัญญาจ้าง กรณีเรียกคืนเงินประกันก่อนกำหนด
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกำหนดว่าจำเลยจะคืนเงินประกันให้หลังจากลูกจ้างพ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้างภายใน30วันเป็นเงื่อนเวลาซึ่งเป็นประโยชน์แก่จำเลยในการปฏิเสธที่จะคืนเงินประกันให้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นลูกจ้างได้เมื่อโจทก์ทั้งสองเรียกเงินคืนก่อนกำหนดแต่จำเลยหาได้ยกประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาขึ้นปฏิเสธไม่กลับปฏิเสธว่าโจทก์ทั้งสองก่อความเสียหายให้แก่จำเลยถือว่าจำเลยสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา192วรรคท้ายและการสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานี้ไม่จำต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษรจำเลยจึงไม่อาจยกประโยชน์แห่งเงื่อนเวลามาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ทั้งสองได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5008/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาเช่าซื้อโดยปริยาย: สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาในการกลับคืนสู่ฐานะเดิม
คดีที่ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248วรรคหนึ่ง ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 238ประกอบด้วยมาตรา 247
โจทก์ผู้เช่าซื้อและจำเลยผู้ให้เช่าซื้อต่างสมัครใจที่จะเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยายแล้ว ผลแห่งการเลิกสัญญาดังกล่าว คู่สัญญาจะต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม เมื่อโจทก์มิได้ผิดสัญญาก็ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายใด ๆ ให้แก่จำเลยคงจะต้องรับผิดเฉพาะค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์ของจำเลยผู้ให้เช่าซื้อในระหว่างที่โจทก์ยังคงครอบครองและใช้ประโยชน์ในทรัพย์ดังกล่าวอยู่ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคสาม และกรณีที่มีการเลิกสัญญากันแล้วเช่นนี้ โจทก์มาฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยโดยไม่เสนอชำระหนี้ค่าเสียหายตอบแทน เพื่อให้แต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม แม้จำเลยจะไม่ได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การ เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยคืนเงินก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ชำระหนี้ตอบแทนแก่จำเลยได้ด้วย
of 64