คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมพงษ์ สนธิเณร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 633 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3495/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง: ทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท และการโต้แย้งดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐาน
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งโอนขายให้แก่จำเลยที่ 5 และขอให้จำเลยที่ 2ถึงที่ 4 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขาย การขอให้เพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 กับจำเลยที่ 5 นั้น มีผลให้โจทก์บังคับให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทมาเป็นของโจทก์ จึงเท่ากับเรียกร้องที่ดินนั้นมาจากจำเลยที่ 5 และให้โอนมาเป็นของโจทก์ตามสัญญาจะซื้อขาย แม้จะเป็นการขอให้เพิกถอนการซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 กับจำเลยที่ 5 ก็ตาม แต่ผลแห่งการเพิกถอนนี้เป็นเหตุให้โจทก์ได้มาซึ่งที่ดิน-พิพาทในที่สุด จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์เท่ากับราคาที่ดินที่ขอให้บังคับโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ ที่ดินพิพาทมีราคา 160,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248วรรคหนึ่ง
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ทำสัญญา-จะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในราคา 160,000 บาท ในขณะที่จำเลยดังกล่าวเป็นผู้เยาว์โดยให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำนิติกรรมแทนโดยขออนุญาตทำนิติกรรมต่อศาลคดี-เด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ได้รับเงินค่าขายที่ดิน160,000 บาท จากโจทก์แล้ว จำเลยทั้งห้าฎีกาโต้เถียงเพื่อให้ศาลฎีกาฟังแตกต่างกับที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ฟังเป็นว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แทนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 2 เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3448/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขาย: สิทธิเรียกร้องค่าปรับและหน้าที่ชำระราคาที่ดินเมื่อศาลบังคับตามสัญญา
ตามสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.2 ข้อ 3 มีข้อความว่าถ้าผู้จะขายผิดสัญญา ผู้จะขายยอมให้ผู้จะซื้อฟ้องบังคับให้เป็นไปตามสัญญาและยอมใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้จะซื้อจำนวน 30,000 บาท เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ผิดสัญญา แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทและกำหนดให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิได้รับเบี้ยปรับตามที่ได้กำหนดไว้ในสัญญา
แม้คำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสองมิได้ขอชำระราคาที่ดินให้จำเลยทั้งสอง แต่การซื้อขายที่ดินเป็นสัญญาต่างตอบแทน ต่างฝ่ายก็มีหน้าที่ชำระหนี้ต่อกัน เมื่อศาลอุทธรณ์บังคับให้จำเลยทั้งสองจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองก็มีหน้าที่ต้องชำระราคาค่าที่ดินพิพาทให้จำเลยทั้งสองที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้โจทก์ชำระค่าที่ดินพิพาทส่วนที่เหลือแก่จำเลยทั้งสองนั้นชอบแล้วไม่เป็นการเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3448/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขาย: สิทธิเรียกร้องเบี้ยปรับและหน้าที่ชำระราคาที่ดินเมื่อมีการบังคับสัญญา
ตามสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมายจ.2ข้อ3มีข้อความว่าถ้าผู้จะขายผิดสัญญาผู้จะขายยอมให้ผู้จะซื้อฟ้องบังคับให้เป็นไปตามสัญญาและยอมใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้จะซื้อจำนวน30,000บาทเมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ผิดสัญญาแม้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทและกำหนดให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งสองโจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิได้รับเบี้ยปรับตามที่ได้กำหนดไว้ในสัญญา แม้คำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสองมิได้ขอชำระราคาที่ดินให้จำเลยทั้งสองแต่การซื้อขายที่ดินเป็นสัญญาต่างตอบแทนต่างฝ่ายก็มีหน้าที่ชำระหนี้ต่อกันเมื่อศาลอุทธรณ์บังคับให้จำเลยทั้งสองจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ทั้งสองโจทก์ทั้งสองก็มีหน้าที่ต้องชำระราคาค่าที่ดินพิพาทให้จำเลยทั้งสองที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้โจทก์ชำระค่าที่ดินพิพาทส่วนที่เหลือแก่จำเลยทั้งสองนั้นชอบแล้วไม่เป็นการเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3426/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดรหัสประเภทกิจการและการหมดอายุสิทธิฟ้องร้องกรณีอุทธรณ์ผลการพิจารณาของกองทุนเงินทดแทน
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องอัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบการจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนและการอุทธรณ์ลงวันที่11มิถุนายน2516ข้อ6และข้อ23ว่าสำนักงานกองทุนเงินทดแทนเป็นผู้กำหนดรหัสประเภทกิจการของโจทก์เมื่อโจทก์ไม่พอใจจึงมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน โจทก์ยื่นอุทธรณ์เกี่ยวกับการกำหนดรหัสประเภทกิจการของโจทก์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนเมื่อวันที่29เมษายน2536คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนได้วินิจฉัยแล้วมีมติว่าโจทก์อยู่ในรหัสประเภทกิจการ1004"การประกอบรถยนต์"อัตราเงินสมทบร้อยละ0.6และรหัสประเภทกิจการอื่นๆเพิ่มเติมตามประเภทกิจการของผู้ว่าจ้างโจทก์โดยโจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยดังกล่าวเมื่อวันที่24พฤศจิกายน2536การที่โจทก์ไม่พอใจในคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวโจทก์ต้องยื่นฟ้องต่อศาลภายในสามสิบวันนัดแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยตามข้อ25ของประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าวข้างต้นแต่โจทก์มิได้ฟ้องคดีภายในกำหนดโดยฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่23กันยายน2537โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องอัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบการจ่ายเงินทดแทนและการอุทธรณ์ลงวันที่11มิถุนายน2516ข้อ8เป็นกรณีที่ถ้าปรากฎว่ารหัสประเภทกิจการที่กำหนดไว้ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงให้สำนักงานกองทุนเงินทดแทนวินิจฉัยและเปลี่ยนแปลงรหัสประเภทกิจการและอัตราเงินสมทบของนายจ้างให้ตรงกับข้อเท็จจริงเมื่อไม่ปรากฎว่าสำนักงานกองทุนเงินทดแทนได้มีคำวินิจฉัยเปลี่ยนแปลงรหัสประเภทกิจการและอัตราเงินสมทบของโจทก์แต่อย่างใดทั้งการอุทธรณ์ตามข้อ8ก็ไม่ต้องขอให้สำนักงานประกันสังคมจำเลยที่1วินิจฉัยก่อนดังนี้อุทธรณ์ของโจทก์ในเรื่องนี้จึงไม่เป็นการอุทธรณ์ตามข้อ8แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3426/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดรหัสประเภทกิจการเงินสมทบทุนกองทุนเงินทดแทนและการหมดอายุการฟ้องร้อง
การที่โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนว่าสำนักงานกองทุนเงินทดแทนกำหนดรหัสประเภทกิจการของโจทก์ไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริงนั้นมิใช่เป็นการอุทธรณ์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องอัตราและวิธีเก็บเงินสมทบการวางเงินทดแทน ของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนและการอุทธรณ์ลงวันที่11มิถุนายนพ.ศ.2516ในข้อ8เนื่องจากไม่ปรากฏว่าสำนักงานกองทุนเงินทดแทนได้มีคำวินิจฉัยเปลี่ยนแปลงรหัสประเภทกิจการและอัตราเงินสมทบของโจทก์แต่อย่างใดและการอุทธรณ์ตามข้อ8ไม่ต้องขอให้สำนักงานกองทุนเงินทดแทนวินิจฉัยก่อนดังนั้นเมื่อโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวโจทก์มิได้ยื่นฟ้องต่อศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยโจทก์จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3426/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมดอายุความฟ้องร้องการกำหนดรหัสประเภทกิจการและการเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสมทบของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบ การจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนและการอุทธรณ์ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2516 ข้อ 6 และข้อ 23 ว่า สำนักงานกองทุนเงินทดแทนเป็นผู้กำหนดรหัสประเภทกิจการของโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่พอใจจึงมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน
โจทก์ยื่นอุทธรณ์เกี่ยวกับการกำหนดรหัสประเภทกิจการของโจทก์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2536 คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนได้วินิจฉัยแล้วมีมติว่า โจทก์อยู่ในรหัสประเภทกิจการ 1004"การประกอบรถยนต์" อัตราเงินสมทบร้อยละ 0.6 และรหัสประเภทกิจการอื่น ๆเพิ่มเติมตามประเภทกิจการของผู้ว่าจ้างโจทก์ โดยโจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยดังกล่าวเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2536 การที่โจทก์ไม่พอใจในคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวโจทก์ต้องยื่นฟ้องต่อศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยตามข้อ 25 ของประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าวข้างต้น แต่โจทก์มิได้ฟ้องคดีภายในกำหนดโดยฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2537 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบ การจ่ายเงินทดแทนและการอุทธรณ์ ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2516 ข้อ 8 เป็นกรณีที่ถ้าปรากฏว่ารหัสประเภทกิจการที่กำหนดไว้ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ให้สำนักงานกองทุนเงินทดแทนวินิจฉัยและเปลี่ยนแปลงรหัสประเภทกิจการและอัตราเงินสมทบของนายจ้างให้ตรงกับข้อเท็จจริง เมื่อไม่ปรากฏว่าสำนักงานกองทุนเงินทดแทนได้มีคำวินิจฉัยเปลี่ยนแปลงรหัสประเภทกิจการและอัตราเงินสมทบของโจทก์แต่อย่างใด ทั้งการอุทธรณ์ตามข้อ 8 ก็ไม่ต้องขอให้สำนักงานประกันสังคมจำเลยที่ 1 วินิจฉัยก่อน ดังนี้ อุทธรณ์ของโจทก์ในเรื่องนี้จึงไม่เป็นการอุทธรณ์ตามข้อ 8แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3376/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: คดีเดิมอยู่ระหว่างพิจารณา ห้ามฟ้องคดีเดียวกันซ้ำ แม้ถอนอุทธรณ์แล้วก็ไม่ช่วย
คดีเดิมโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยได้ฟ้องแย้งจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีเดิมศาลจังหวัดสมุทรปราการมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้ง โจทก์อุทธรณ์คำสั่งคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์โจทก์มาฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีนี้ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกับฟ้องแย้งคดีเดิมและต่อมาโจทก์ถอนอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฟ้องแย้ง ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงซ้อนกับฟ้องแย้งในคดีเดิมต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง แม้ต่อมาจะปรากฏว่าโจทก์ได้ถอนอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฟ้องแย้งแล้วก็หาทำให้ฟ้องคดีนี้ซึ่งเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในขณะยื่นคำฟ้องมาแต่ต้นกลายเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3376/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: คดีฟ้องแย้งเดิมอยู่ระหว่างพิจารณา ห้ามฟ้องคดีใหม่ถึงแม้จะถอนอุทธรณ์แล้ว
เดิมจำเลยที่1ในคดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้เป็นจำเลยต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการฐานผิดสัญญาและเรียกค่าสินค้าโจทก์ให้การและฟ้องแย้งว่าจำเลยที่1ผิดสัญญาขอให้บังคับจำเลยที่1ใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยศาลจังหวัดสมุทรปราการมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งโจทก์อุทธรณ์คำสั่งคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์โจทก์มาฟ้องจำเลยที่1เป็นคดีนี้และต่อมาโจทก์จึงขอถอนอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฟ้องแย้งเมื่อฟ้องแย้งในคดีเดิมของโจทก์เป็นเรื่องเดียวกันกับคดีนี้และโจทก์ในคดีนี้ซึ่งเป็นจำเลยในคดีเดิมมีฐานะเป็นโจทก์ในส่วนฟ้องแย้งในคดีเดิมด้วยการที่คดีเดิมอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์โจทก์ฟ้องจำเลยที่1คดีนี้จึงซ้อนกับฟ้องแย้งในคดีของศาลจังหวัดสมุทรปราการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173แม้ต่อมาโจทก์ได้ถอนอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฟ้องแย้งแล้วก็หาทำให้ฟ้องคดีนี้ซึ่งเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในขณะยื่นฟ้องมาแต่ต้นกลายเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3309/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดินที่มีข้อจำกัดสิทธิ การไม่มีเจตนาฝ่าฝืนกฎหมาย
ขณะที่โจทก์และนาง ค. ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทนั้นนาง ค. มีเพียงสิทธิครอบครองและกำลังดำเนินการขอออกโฉนด โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์และนาง ค. ได้ทราบหรือคาดคิดว่าเมื่อออกโฉนดแล้วจะมีการห้ามโอนที่ดินพิพาท ครั้นเมื่อออกโฉนดที่ดินแล้วมีข้อกำหนดห้ามโอน 10 ปี จะถือว่ามีเจตนาฝ่าฝืนกฎหมายห้ามโอนหาได้ไม่ ทั้งโจทก์มิได้ฟ้องให้โอนที่ดินพิพาท สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทจึงไม่ตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3248/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์และฎีกาในคดีอาญาที่มีอัตราโทษจำกัดตามกฎหมาย
เฉพาะข้อหาความผิดตาม ป.อ.มาตรา 371 ที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษนั้น อัตราโทษอย่างสูงที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 193 ทวิ การที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งหมดรวมถึงอุทธรณ์ดุลพินิจในการกำหนดโทษซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงสำหรับข้อหาความผิดตามมาตรา 371 ด้วย โดยมิได้รับอนุญาตจากผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรืออัยการสูงสุดลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ว่ามีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยตามที่ ป.วิ.อ.มาตรา193 ตรี บัญญัติไว้ จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงในข้อหาความผิดดังกล่าว ความผิดในข้อหาดังกล่าวย่อมยุติเพียงศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 หาได้ไม่ เพราะมิใช่กรณีฎีกาของจำเลยต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 218, 219 และ 220 การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยมาทั้งหมดจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกา
of 64