พบผลลัพธ์ทั้งหมด 633 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3027/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ต้องยกเหตุข้อกล่าวหาใหม่ที่ไม่เคยถูกยกขึ้นในศาลแรงงานถือเป็นข้อห้ามตามกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเท่าใดกำหนดจ่ายค่าจ้างเมื่อใด สหภาพแรงงานแต่งตั้งโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างเมื่อใด รวมทั้งวันที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้ขออนุญาตต่อศาลแรงงาน ซึ่งไม่เป็นการเลิกจ้างตามกฎหมาย ขอให้เพิกถอนคำสั่งเลิกจ้างดังกล่าวและรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิม พร้อมทั้งจ่ายค่าจ้างและดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ ถือได้ว่าเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว โดยไม่จำต้องบรรยายว่า กรรมการลูกจ้างที่สหภาพแรงงานแต่งตั้งมีจำนวนกี่คน เป็นบุคคลใดบ้าง และตำแหน่งกรรมการลูกจ้างที่ว่างลง 2 คน นั้นคือใคร ตำแหน่งว่างเพราะเหตุใด สหภาพแรงงานมีจำนวนสมาชิกที่เป็นลูกจ้างจำเลยจำนวนเท่าใด มากพอเท่ากับที่กฎหมายกำหนดไว้ในการที่จะมีอำนาจแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างหรือไม่ เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวโจทก์นำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่ใช่กรรมการลูกจ้างเพราะสหภาพแรงงานผู้แต่งตั้งโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างมีสมาชิกไม่ถึงจำนวนตามที่กฎหมายกำหนดให้มีสิทธิในการแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างได้ แต่จำเลยกลับอุทธรณ์ว่า การแต่งตั้งโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างเพิ่มแทนตำแหน่งที่ว่างไม่ชอบ เพราะสมาชิกที่สมัครก่อนถึงวันประชุมใหญ่ของสหภาพแรงงานยังไม่มีฐานะเป็นสมาชิกและไม่มีสิทธิแต่งตั้งกรรมการสหภาพแรงงาน กรรมการสหภาพแรงงานที่ได้รับการแต่งตั้งจึงเป็นกรรมการโดยไม่ชอบ ไม่มีสิทธิแต่งตั้งโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างเพิ่มแทนตำแหน่งที่ว่าง โจทก์จึงเป็นกรรมการลูกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นคนละเหตุกับที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงาน ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบด้วยพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่ใช่กรรมการลูกจ้างเพราะสหภาพแรงงานผู้แต่งตั้งโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างมีสมาชิกไม่ถึงจำนวนตามที่กฎหมายกำหนดให้มีสิทธิในการแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างได้ แต่จำเลยกลับอุทธรณ์ว่า การแต่งตั้งโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างเพิ่มแทนตำแหน่งที่ว่างไม่ชอบ เพราะสมาชิกที่สมัครก่อนถึงวันประชุมใหญ่ของสหภาพแรงงานยังไม่มีฐานะเป็นสมาชิกและไม่มีสิทธิแต่งตั้งกรรมการสหภาพแรงงาน กรรมการสหภาพแรงงานที่ได้รับการแต่งตั้งจึงเป็นกรรมการโดยไม่ชอบ ไม่มีสิทธิแต่งตั้งโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างเพิ่มแทนตำแหน่งที่ว่าง โจทก์จึงเป็นกรรมการลูกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นคนละเหตุกับที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงาน ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบด้วยพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2891/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายจ่ายโบนัสพิเศษไม่ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (19) หากไม่ได้กำหนดจ่ายจากผลกำไรสุทธิ
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตระบุพยานเพิ่มเติมภายหลังวันชี้สองสถานพร้อมทั้งแนบบัญชีพยานมาท้ายคำร้องด้วยปรากฏว่าเอกสารดังกล่าวล้วนเป็นพยานหลักฐานสำคัญที่จะทำให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นที่ว่าค่าใช้จ่ายเงินโบนัสพิเศษของโจทก์ในช่วงระยะเวลาที่ถูกประเมินเป็นรายจ่ายต้องห้ามหรือไม่ให้เป็นไปโดยถูกต้องเที่ยงธรรมจำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานดังกล่าวคำสั่งที่อนุญาตให้ระบุพยานเพิ่มเติมจึงชอบแล้ว เงินโบนัสพิเศษที่โจทก์จ่ายหาได้กำหนดขึ้นจากผลกำไรที่ได้รับในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีไม่แต่เป็นการจ่ายโดยคำนึงถึงผลการปฏิบัติงานของบริษัทโดยส่วนรวมแล้วนำมาจัดสรรให้แก่พนักงานรายจ่ายเงินโบนัสพิเศษของโจทก์จึงมิใช่รายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา65ตรี(19)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2891/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล: รายจ่ายโบนัสพิเศษไม่ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (19) หากไม่ได้กำหนดจ่ายจากผลกำไรสุทธิ
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตระบุพยานเพิ่มเติมภายหลังวันชี้สองสถานพร้อมทั้งแนบบัญชีพยานมาท้ายคำร้องด้วยปรากฎว่าเอกสารดังกล่าวล้วนเป็นพยานหลักฐานสำคัญที่จะทำให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นที่ว่าค่าใช้จ่ายเงินโบนัสพิเศษของโจทก์ในช่วงระยะเวลาที่ถูกประเมินเป็นรายจ่ายต้องห้ามหรือไม่ให้เป็นไปโดยถูกต้องเที่ยงธรรมจำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานดังกล่าวหลักฐานดังกล่าวคำสั่งที่อนุญาตให้ระบุพยานเพิ่มเติมจึงชอบแล้ว เงินโบนัสพิเศษที่โจทก์จ่ายหาได้กำหนดขึ้นจากผลกำไรที่ได้รับในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีไม่แต่เป็นการจ่ายโดยคำนึงถึงผลการปฎิบัติงานของบริษัทโดยส่วนรวมแล้วนำมาจัดสรรให้แก่พนักงานรายจ่ายเงินโบนัสพิเศษของโจทก์จึงมิใช่รายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา65ตรี(19)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2891/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล: โบนัสพิเศษไม่ใช่รายจ่ายต้องห้ามหากไม่ได้กำหนดจ่ายจากผลกำไรสุทธิ
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตระบุพยานเพิ่มเติมภายหลังวันชี้สองสถานพร้อมทั้งแนบบัญชีพยานมาท้ายคำร้องด้วย ปรากฏว่าเอกสารดังกล่าวล้วนเป็นพยานหลักฐานสำคัญที่จะทำให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นที่ว่า ค่าใช้จ่ายเงินโบนัสพิเศษของโจทก์ในช่วงระยะเวลาที่ถูกประเมินเป็นรายจ่ายต้องห้ามหรือไม่ให้เป็นไปโดยถูกต้องเที่ยงธรรมจำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานดังกล่าว คำสั่งที่อนุญาตให้ระบุพยานเพิ่มเติมจึงชอบแล้ว เงินโบนัสพิเศษที่โจทก์จ่ายหาได้กำหนดขึ้นจากผลกำไรที่ได้รับในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีไม่ แต่เป็นการจ่ายโดยคำนึงถึงผลการปฏิบัติงานของบริษัทโดยส่วนรวมแล้วนำมาจัดสรรให้แก่พนักงาน รายจ่ายเงินโบนัสพิเศษของโจทก์จึงมิใช่รายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (19)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2891/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตให้ระบุพยานเพิ่มเติมและการวินิจฉัยรายจ่ายพิเศษที่ไม่เข้าข่ายรายจ่ายต้องห้าม
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตระบุพยานเพิ่มเติมภายหลังวันชี้สองสถานพร้อมทั้งแนบบัญชีพยานมาท้ายคำร้องด้วย ปรากฏว่าเอกสารดังกล่าวล้วนเป็นพยานหลักฐานสำคัญที่จะทำให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นที่ว่า ค่าใช้จ่ายเงินโบนัสพิเศษของโจทก์ในช่วงระยะเวลาที่ถูกประเมินเป็นรายจ่ายต้องห้ามหรือไม่ให้เป็นไปโดยถูกต้องเที่ยงธรรมจำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานดังกล่าว คำสั่งที่อนุญาตให้ระบุพยานเพิ่มเติมจึงชอบแล้ว
เงินโบนัสพิเศษที่โจทก์จ่ายหาได้กำหนดขึ้นจากผลกำไรที่ได้รับในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีไม่ แต่เป็นการจ่ายโดยคำนึงถึงผลการปฏิบัติงานของบริษัทโดยส่วนรวมแล้วนำมาจัดสรรให้แก่พนักงาน รายจ่ายเงินโบนัสพิเศษของโจทก์จึงมิใช่รายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (19)
เงินโบนัสพิเศษที่โจทก์จ่ายหาได้กำหนดขึ้นจากผลกำไรที่ได้รับในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีไม่ แต่เป็นการจ่ายโดยคำนึงถึงผลการปฏิบัติงานของบริษัทโดยส่วนรวมแล้วนำมาจัดสรรให้แก่พนักงาน รายจ่ายเงินโบนัสพิเศษของโจทก์จึงมิใช่รายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (19)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2751/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: ระยะเวลาการครอบครองระหว่างคดีไม่นับรวมกับระยะเวลาก่อนยื่นคำร้อง
จำเลยที่2ครอบครองที่พิพาทในระหว่างคดีจะอ้างว่าเป็นการครอบครองปรปักษ์ต่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหาได้ไม่จึงไม่อาจนับระยะเวลาดังกล่าวรวมเข้ากับระยะเวลาที่ได้ครอบครองมาก่อนวันยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ได้และเมื่อหลังจากที่คดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้วจำเลยที่2ก็เพิ่งครอบครองที่พิพาทมาเพียง7ปีเศษจึงยังไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2729/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมบังคับคดี: การกำหนดความรับผิดชอบระหว่างโจทก์และจำเลย โดยคำนึงถึงความสุจริตและเหตุผลสมควร
แม้โจทก์เป็นผู้นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินทั้งสามแปลงของจำเลย ซึ่งถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างอื่นต้องเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149 และเมื่อขายทอดตลาดที่ดินที่ยึดเพียงแปลงเดียวได้เงินเพียงพอชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่โจทก์ ทำให้ไม่ต้องขายทอดตลาดที่ดินที่ยึดอีกสองแปลง ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ถอนการยึดแล้ว โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีตามตาราง 5 ข้อ 3 ท้ายป.วิ.พ. ก็ตาม แต่ ป.วิ.พ. มาตรา 149 ก็อยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติว่าด้วยความรับผิดชั้นที่สุดของคู่ความในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามมาตรา 161 ซึ่งตามมาตรา 161 วรรคสอง ให้รวมถึงค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีด้วยคดีนี้จำเลยเป็นฝ่ายที่แพ้คดีต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำพิพากษา ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีย่อมตกอยู่แก่จำเลย แต่ตามมาตรา 161 วรรคแรก ก็บัญญัติให้เป็นดุลพินิจของศาลที่จะกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดหรือทั้งสองฝ่ายเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดหรือแต่บางส่วน โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวงได้ เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายไม่สุจริตในการบังคับคดีประวิงการชำระหนี้แก่โจทก์ คดีจึงมีเหตุผลสมควรให้จำเลยเป็นผู้รับผิดในค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีเมื่อยึดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2729/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมบังคับคดี: ศาลฎีกาตัดสินให้จำเลยรับผิดเมื่อโจทก์สุจริตในการยึดทรัพย์และจำเลยประวิงการชำระหนี้
โจทก์เป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา149มีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีตามตาราง5ข้อ3ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งเป็นค่าฤชาธรรมเนียมตามมาตรา161วรรคสองแต่บทบัญญัติในมาตรา149อยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติว่าด้วยความรับผิดชันที่สุดของคู่ความในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งมาตรา161วรรคแรกบัญญัติให้ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีย่อมตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีและให้เป็นดุลพินิจของศาลที่จะกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดหรือทั้งสองฝ่ายเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดหรือแต่บางส่วนโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวงได้เมื่อโจทก์เป็นผู้นำเจ้าพักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินทั้งสามแปลงของจำเลยโดยสุจริตแต่จำเลยเป็นฝ่ายไม่สุจริตในการบังคับคดีและประวิงการชำระหนี้แก่โจทก์ศาลจึงให้จำเลยเป็นผู้รับผิดในค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีเมื่อยึดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายตามตาราง5ข้อ3ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2729/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดค่าธรรมเนียมบังคับคดี: ผู้แพ้คดีต้องรับผิด แม้โจทก์เป็นผู้ดำเนินการยึดทรัพย์
โจทก์เป็นผู้นำ เจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินของจำเลยซึ่งเป็น ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ตามปกติแล้วโจทก์เป็นฝ่ายมีหน้าที่ต้องชำระ ค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีในการยึดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายตามตาราง5ข้อ3ท้ายป.วิ.พ.และป.วิ.พ.มาตรา149แต่มาตรา149อยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติว่าด้วยความรับผิดชั้นที่สุดของคู่ความในเรื่อง ค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งมาตรา161วรรคแรกบัญญัติให้ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีและวรรคสองบัญญัติว่าถ้ามิได้ระบุค่าฤชาธรรมเนียมชนิดใดไว้โดยเฉพาะค่าฤชาธรรมเนียมนั้นให้รวมถึงค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีด้วยคดีนี้จำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดีจึงต้องรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีอย่างไรก็ตามบทบัญญัติมาตรา161วรรคแรกให้เป็นดุลพินิจของศาลที่จะกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดหรือทั้งสองฝ่ายเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดหรือแต่บางส่วนโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2729/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมบังคับคดี: ศาลฎีกาตัดสินให้จำเลยรับผิดเนื่องจากไม่สุจริตในการบังคับคดีและประวิงการชำระหนี้
โจทก์เป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 149 มีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีตามตาราง 5 ข้อ 3 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งเป็นค่าฤชาธรรมเนียมตามมาตรา 161 วรรคสอง แต่บทบัญญัติในมาตรา 149 อยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติว่าด้วยความรับผิดชันที่สุดของคู่ความในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม ซึ่งมาตรา 161 วรรคแรกบัญญัติให้ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีย่อมตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี และให้เป็นดุลพินิจของศาลที่จะกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดหรือทั้งสองฝ่ายเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดหรือแต่บางส่วนโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวงได้ เมื่อโจทก์เป็นผู้นำเจ้าพักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินทั้งสามแปลงของจำเลยโดยสุจริต แต่จำเลยเป็นฝ่ายไม่สุจริตในการบังคับคดีและประวิงการชำระหนี้แก่โจทก์ ศาลจึงให้จำเลยเป็นผู้รับผิดในค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีเมื่อยึดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายตามตาราง 5 ข้อ 3 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง