คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมพงษ์ สนธิเณร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 633 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2723/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: การกำหนดราคาที่ดินโดยคณะกรรมการและการชำระเงินตามสัญญา แม้มีการสอบเขตภายหลังก็ไม่ถือเป็นการสำคัญผิด
เมื่อคณะอนุกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินได้ตรวจสอบจำนวนเนื้อที่ดินและกำหนดค่าทดแทนที่ดินแล้วได้มีการนำเสนอผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการกำหนดค่าทดแทนทรัพย์สินที่ถูกเขตชลประทาน จากนั้นจึงได้เสนอเรื่องและสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินต่อกรมชลประทานโจทก์เพื่อพิจารณาอนุมัติดังนั้นหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างตัวแทนของโจทก์กับ พ. สามีจำเลยที่ 1 ซึ่งโจทก์ยอมผูกพันตามสัญญาจะซื้อจะขายจึงเป็นไปด้วยความสมัครใจของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย และมีผลผูกพันให้คู่สัญญาต้องปฏิบัติตามสัญญานั้นแม้ต่อมาได้มีการสอบเขตที่ดินของ พ. อีกครั้งหนึ่งและเจ้าหน้าที่ของโจทก์แต่ฝ่ายเดียวได้จัดแบ่งราคาที่ดินออกเป็นสองส่วน ทำให้ค่าทดแทนที่ดินที่ พ. มีสิทธิได้รับลดลง และโจทก์ได้สมัครใจจ่ายค่าทดแทนจำนวนนี้ให้ พ. ไปแล้ว ต่อมาภายหลังโจทก์จะมากำหนดราคาซื้อขายที่ดินขึ้นใหม่แต่ฝ่ายเดียว เป็นเหตุให้ราคาที่ดินลดต่ำลงโดยผู้ขายไม่ได้ตกลงด้วยหาได้ไม่ จำเลยที่ 4 เป็นช่างรังวัดที่ดิน มีหน้าที่รังวัดแบ่งแยกที่ดินของ พ.ที่ถูกเขตชลประทานตามที่ฝ่ายพ.กับเจ้าหน้าที่ของกรมชลประทานโจทก์นำชี้และตามแนวหลักเขตคลองชลประทานที่เจ้าหน้าที่ของกองสำรวจภูมิประเทศปักไว้ถูกต้องตามระเบียบแล้ว หาได้รังวัดไปโดยพลการตามอำเภอใจของตนไม่ อีกทั้งจำเลยที่ 4 ไม่มีหน้าที่กำหนดค่าทดแทนที่ดิน เพราะในการกำหนดค่าทดแทนที่ดินมีคณะกรรมการระดับจังหวัดและคณะอนุกรรมการระดับอำเภอมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงอยู่แล้ว โจทก์จึงมิอาจอ้างได้ว่าพ. กับจำเลยที่ 4 ร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2723/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินที่ผูกพันโดยความสมัครใจ และการกำหนดค่าทดแทนที่ดินโดยคณะกรรมการ
เมื่อคณะอนุกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินได้ตรวจสอบจำนวนเนื้อที่ดินและกำหนดค่าทดแทนที่ดินแล้วได้มีการนำเสนอผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการกำหนดค่าทดแทนทรัพย์สินที่ถูกเขตชลประทาน จากนั้นจึงได้เสนอเรื่องและสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินต่อกรมชลประทานโจทก์เพื่อพิจารณาอนุมัติ ดังนั้นหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างตัวแทนของโจทก์กับ พ.สามีจำเลยที่ 1 ซึ่งโจทก์ยอมผูกพันตามสัญญาจะซื้อจะขายจึงเป็นไปด้วยความสมัครใจของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย และมีผลผูกพันให้คู่สัญญาต้องปฏิบัติตามสัญญานั้น แม้ต่อมาได้มีการสอบเขตที่ดินของ พ.อีกครั้งหนึ่ง และเจ้าหน้าที่ของโจทก์แต่ฝ่ายเดียวได้จัดแบ่งราคาที่ดินออกเป็นสองส่วน ทำให้ค่าทดแทนที่ดินที่ พ.มีสิทธิได้รับลดลง และโจทก์ได้สมัครใจจ่ายค่าทดแทนจำนวนนี้ให้ พ.ไปแล้ว ต่อมาภายหลังโจทก์จะมากำหนดราคาซื้อขายที่ดินขึ้นใหม่แต่ฝ่ายเดียว เป็นเหตุให้ราคาที่ดินลดต่ำลงโดยผู้ขายไม่ได้ตกลงด้วยหาได้ไม่
จำเลยที่ 4 เป็นช่างรังวัดที่ดิน มีหน้าที่รังวัดแบ่งแยกที่ดินของ พ.ที่ถูกเขตชลประทานตามที่ฝ่าย พ.กับเจ้าหน้าที่ของกรมชลประทานโจทก์นำชี้และตามแนวหลักเขตคลองชลประทานที่เจ้าหน้าที่ของกองสำรวจภูมิประเทศปักไว้ถูกต้องตามระเบียบแล้ว หาได้รังวัดไปโดยพลการตามอำเภอใจของตนไม่อีกทั้งจำเลยที่ 4 ไม่มีหน้าที่กำหนดค่าทดแทนที่ดิน เพราะในการกำหนดค่าทดแทนที่ดินมีคณะกรรมการระดับจังหวัดและคณะอนุกรรมการระดับอำเภอมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงอยู่แล้ว โจทก์จึงมิอาจอ้างได้ว่า พ.กับจำเลยที่ 4 ร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2636/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมและการบังคับคดี: เจ้าหนี้มีสิทธิยึดและขายทอดตลาดได้ทั้งแปลงหากเจ้าของรวมตกลงแบ่งไม่ได้
ผู้ร้องและจำเลยกับพวกเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมโดยยังมิได้มีการแบ่งส่วนเช่นนี้โจทก์ทั้งหกซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธินำยึดและขายทอดตลาดไปได้ทั้งแปลงเพราะกรณีระหว่างเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมถ้าไม่ตกลงกันว่าจะแบ่งทรัพย์กันอย่างไรแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1364ก็ต้องขายไปทั้งแปลงโจทก์ทั้งหกขอขายทั้งแปลงผู้ร้องจึงขอให้กันส่วนของผู้ร้องออกจากการขายทอดตลาดหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2636/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวม - สิทธิเจ้าหนี้ - การบังคับชำระหนี้ - ขายทอดตลาดทั้งแปลง
ผู้ร้องและจำเลยกับพวกเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมโดยยังมิได้มีการแบ่งส่วนเช่นนี้ โจทก์ทั้งหกซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธินำยึดและขายทอดตลาดไปได้ทั้งแปลง เพราะกรณีระหว่างเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมถ้าไม่ตกลงกันว่าจะแบ่งทรัพย์กันอย่างไรแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 ก็ต้องขายไปทั้งแปลง โจทก์ทั้งหกขอขายทั้งแปลง ผู้ร้องจึงขอให้กันส่วนของผู้ร้องออกจากการขายทอดตลาดหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2597/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์คณะผู้พิพากษาไม่เป็นไปตามกฎหมาย ความชอบธรรมในการพิจารณาคดี
การที่ บ.ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมาแล้วมาเป็นองค์คณะลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อีก เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 11 (5)ศาลฎีกาเห็นว่ามีเหตุอันสมควรให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสียแล้วส่งสำนวนคืนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อให้พิพากษาใหม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบด้วยมาตรา 243 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2597/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีส่วนร่วมในการพิจารณาคดีขององค์คณะศาลที่ขัดแย้งตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การที่บ. ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมาแล้วมาเป็นองค์คณะลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อีกเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา11(5)ศาลฎีกาเห็นว่ามีเหตุอันสมควรให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสียแล้วส่งสำนวนคืนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อให้พิพากษาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา247ประกอบด้วยมาตรา243(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2405/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: ดอกเบี้ยเกินอัตราไม่ทำให้เช็คเป็นโมฆะ, สิทธิเรียกร้องต้นเงินยังคงอยู่
แม้จำเลยมิได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การว่าเช็คพิพาทมีการรวมดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายทบต้นไว้ในเช็คนั้นด้วยจึงเป็นโมฆะทั้งฉบับ ทั้งท้ายคำให้การยังมีคำขอให้ยกฟ้องโจทก์ในส่วนของเงินที่เป็นดอกเบี้ยที่เป็นโมฆะ แต่กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์หรือชั้นฎีกาได้ และศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาต้องวินิจฉัยให้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง และมาตรา 249 วรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้ไม่ชอบ
เช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยออกให้เพื่อชำระหนี้เดิมซึ่งจำเลยกู้ยืมจากโจทก์จำนวน 100,000 บาทโดยมีการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อเดือนรวมอยู่ด้วย ดอกเบี้ยทั้งหมดจึงตกเป็นโมฆะเพราะวัตถุประสงค์ในการเรียกดอกเบี้ยเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 แต่โจทก์ยังมีสิทธิเรียกร้องต้นเงิน เพราะส่วนของนิติกรรมที่เป็นโมฆะคือการคิดดอกเบี้ยอันเป็นหนี้อุปกรณ์ในนิติกรรมกู้ยืมเงินเท่านั้น ส่วนต้นเงินที่กู้ยืมอันเป็นหนี้ประธานยังสมบูรณ์อยู่แยกออกจากกันได้ สำหรับเช็คพิพาทเป็นนิติกรรมคนละอันกับนิติกรรมการกู้ยืม เมื่อจำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้กู้ยืมและโจทก์ยอมรับเอาเช็คนั้นแทนการชำระหนี้โดยใช้เงิน หนี้กู้ยืมจะระงับไปก็ต่อเมื่อเช็คได้ใช้เงินแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 โจทก์จึงมีสิทธิอาศัยเช็คพิพาทเป็นมูลหนี้ฟ้องจำเลยได้ แต่จำเลยคงต้องรับผิดเพียงต้นเงิน เพราะส่วนดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะแล้วจำเลยจะไม่ยอม รับผิดตามเช็คเสียเลยไม่ได้ กรณีไม่ใช่เช็คพิพาทตกเป็นโมฆะทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2405/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท-ดอกเบี้ยเกินอัตรา: แม้เช็คไม่ได้เป็นโมฆะทั้งหมด แต่ดอกเบี้ยที่เกินกว่ากฎหมายกำหนดเป็นโมฆะ โจทก์มีสิทธิเรียกร้องแต่ต้นเงิน
แม้จำเลยมิได้ให้การว่าเช็คพิพาทมีการรวมดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายทบต้นไว้ด้วยเช็คพิพาทจึงเป็นโมฆะทั้งฉบับ แต่ท้ายคำให้การก็มีคำขอให้ยกฟ้องโจทก์ในส่วนดอกเบี้ยนี้ด้วย ทั้งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์หรือชั้นฎีกาได้และศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาต้องวินิจฉัยให้ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้จึงไม่ชอบและศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยคดีไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ จำเลยออกเช็คพิพาทให้เพื่อชำระหนี้เงินกู้จากโจทก์โดยมีการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อเดือนรวมอยู่ด้วย ดอกเบี้ยทั้งหมดจึงตกเป็นโมฆะ แต่โจทก์ยังมีสิทธิเรียกร้องต้นเงินอันเป็นหนี้ประธานที่สมบูรณ์แยกออกจากดอกเบี้ยซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์ได้ ส่วนเช็คพิพาทเป็นนิติกรรมคนละอันกับนิติกรรมการกู้ยืมเป็นเช็คที่สมบูรณ์มิใช่เช็คพิพาทตกเป็นโมฆะทั้งหมด โจทก์มีสิทธิอาศัยเช็คดังกล่าวฟ้องจำเลยได้ แต่จำเลยคงต้องรับผิดเพียงต้นเงินเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2370-2374/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการแก้ไขเอกสารสำคัญของนายจ้าง
ใบตรวจสอบคืนน้ำเค็ม-ขวดเปล่าเป็นเอกสารสำคัญที่ใช้ในการควบคุมสินค้าเข้าออกทั้งหมดของนายจ้างหากมีการแก้ไขตัวเลขในเอกสารดังกล่าวให้ผิดไปจากความจริงจะทำให้ไม่สามารถตรวจสอบจำนวนสินค้าได้และการแก้ไขดังกล่าวจะทำมีการทุจริตได้การที่ลูกจ้างได้ลงลายมือชื่อกำกับการแก้ไขตัวเลขซึ่งพนักงานอีกคนหนึ่งเป็นผู้แก้ไขซึ่งนายจ้างมีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานห้ามไว้เพื่อปกป้องผลประโยชน์หรือทรัพย์สินของนายจ้างและป้องกันการทุจริตการกระทำของลูกจ้างดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างเป็นกรณีที่ร้ายแรงกรณีต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(4)ซึ่งนายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา583

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2370-2374/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับร้ายแรง กรณีแก้ไขเอกสารสำคัญเพื่อทุจริต
โจทก์ทั้งห้าเป็น ลูกจ้างจำเลยกระทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับที่นายจ้างกำหนดให้ลูกจ้างปฏิบัติเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการปฏิบัติงานและเพื่อป้องกันมิให้ลูกจ้างกระทำการอันก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของนายจ้างและตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ระบุว่าหากลูกจ้างกระทำผิดอย่างร้ายแรงเช่น(1)การกระทำโดยจงใจให้นายจ้างได้รับความเสียหาย(5)ปลอมแปลงแก้ไขเอกสารหรือหลักฐานหรือให้หลักฐานแก่นายจ้างเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นฯลฯโดยโจทก์ที่1ถึงที่4ได้ลงลายมือชื่อกำกับการแก้ไขตัวเลขในใบเช็คคืนน้ำเต็ม-ขวดเปล่าที่พนักงานตรวจสอบรายการสินค้าได้แก้ไขให้ผิดไปจากความเป็นจริงส่วนโจทก์ที่5ได้แก้ไขตัวเลขและลงลายมือชื่อกำกับการแก้ไขด้วยตนเองในเช็คคืนน้ำเต็ม-ขวดเปล่าเป็นเอกสารสำคัญที่ใช้ในการควบคุมสินค้าเข้าออกทั้งหมดการกระทำของโจทก์ทั้งห้าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอันมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องผลประโยชน์หรือทรัพย์สินของจำเลยและป้องกันการทุจริตถือได้ว่าเป็นกรณี ร้ายแรงต้องด้วย ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ47(4)จำเลยมีสิทธิ เลิกจ้างโจทก์ทั้งห้าได้โดย ไม่ต้อง บอกกล่าวล่วงหน้า ไม่ต้องรับผิดชำระ ค่าชดเชยเงินสะสมสมทบพร้อมสิทธิประโยชน์ สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และ ค่าเสียหายตามฟ้องแก่โจทก์ทั้งห้า
of 64