คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมพงษ์ สนธิเณร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 633 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2302/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลลดค่าปรับในสัญญาประกันตัวผู้ต้องหา: เบี้ยปรับเป็นดุลพินิจศาลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์ฟ้องเรียกค่าปรับจากจำเลยที่ทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาในชั้นสอบสวนแม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ว่าค่าปรับสูงเกินไปเมื่อศาลเห็นว่ามีเหตุสมควรลดค่าปรับก็ย่อมทำได้เพราะค่าปรับตามสัญญาประกันชั้นสอบสวนเป็นเบี้ยปรับจึงเป็นดุลพินิจของศาลที่มีอำนาจจะลดค่าปรับให้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2221/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะสัญชาติของผู้เกิดในไทยจากบิดามารดาต่างด้าวที่เข้ามาโดยไม่ได้รับอนุญาต
แม้โจทก์ทั้งสิบสองจะเป็นผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย แต่บิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าว ทั้งในขณะเกิดนายยุงบิดาซึ่งมิได้มีการสมรสกับนางเวียงมารดาเป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ดังนี้ แม้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 8 และโจทก์ที่ 9 ถึงที่ 12 จะมิได้ถูกถอนสัญชาติไทยและมิได้ถูกจำกัดมิให้ได้รับสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่337 แต่โจทก์ทั้งสิบสองก็เป็นผู้ไม่ได้รับสัญชาติไทย ตามมาตรา 7 ทวิ วรรคหนึ่ง(3) แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 มาตรา 5 และ พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535มาตรา 11 บัญญัติว่า บทบัญญัติมาตรา 7 ทวิ แห่งพ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.นี้ให้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2221/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญชาติไทยของบุตรผู้เกิดจากบิดามารดาต่างด้าวที่เข้ามาในไทยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้โจทก์ทั้งสิบสองจะเกิดในราชอาณาจักรไทยแต่ก็เป็นบุตรนายย. ซึ่งเป็นคนญวนอพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยมิชอบแล้วได้อยู่กินเป็นสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสกับนาง ว.ซึ่งเกิดที่จังหวัดสกลนครและมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวแม้โจทก์ที่1ถึงที่8และโจทก์ที่9ถึงที่12จะมิได้ถูกถอนสัญชาติไทยและมิได้ถูกจำกัดมิให้ได้รับสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่337แต่โจทก์ทั้งสิบสองก็เป็นผู้ไม่ได้รับสัญชาติไทยตามมาตรา7ทวิวรรคหนึ่ง(3)แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติพ.ศ.2508ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญชาติ(ฉบับที่2)พ.ศ.2535มาตรา5เพราะพระราชบัญญัติสัญชาติ(ฉบับที่2)พ.ศ.2535มาตรา11บัญญัติให้การแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวมีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาซื้อขายตามเนื้อที่จริงหลังรังวัด: สัญญาจะซื้อขายต้องเป็นไปตามเนื้อที่ที่กรมที่ดินรังวัด ไม่ใช่เนื้อที่ตามเอกสารเดิม
เดิมโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งมีเนื้อที่4ไร่1งาน69ตารางวาในราคาตารางวาละ3,100บาทต่อมาโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินดังกล่าวใหม่โดยระบุว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายตกลงจะซื้อขายกันในราคาตารางวาละ3,100บาทเหมือนเดิมตามจำนวนเนื้อที่ที่ระบุในเอกสารของกรมที่ดินต่อมาจำเลยจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามจำเลยเนื้อที่ที่เจ้าพนักงานรังวัดใหม่คือ4ไร่2งาน424/10ตารางวาแต่โจทก์จะยอมรับซื้อและชำระราคาที่ดินเฉพาะจำเลยเนื้อที่4ไร่67ตารางวาเท่านั้นดังนั้นเมื่อปรากฎว่าโจทก์และจำเลยเคยตกลงเลื่อนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินออกไปเพราะเจ้าพนักงานที่ดินยังทำการรังวัดไม่แล้วเสร็จย่อมแสดงให้เห็นว่าคู่กรณีมีเจตนาที่จะซื้อขายที่ดินพิพาทกันตามจำนวนเนื้อที่ที่ระบุในเอกสารของกรมที่ดินในวันที่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์และชำระราคากล่าวคือเมื่อเจ้าพนักงานที่ดินรังวัดที่ดินพิพาทได้จำนวนเนื้อที่ที่แน่นอนแล้วมิใช่ให้คิดตามจำนวนเนื้อที่ที่ระบุไว้ในเอกสารของกรมที่ดินในวันที่ทำหน้งสือสัญญาจะซื้อขายดังนั้นการที่จำเลยไม่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามจำนวนเนื้อที่ที่โจทก์ประสงค์จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการผิดสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวอย่างไรก็ตามที่โจทก์จำเลยไปสำนักงานที่ดินเพื่อทำการโอนที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื่อขายแต่มีปัญหาเกี่ยวกับการตีความในสัญญาซึ่งไม่อาจตกลงกันได้และทั้งสองฝ่ายต้องการให้ศาลเป็นผู้ตัดสินแสดงว่าโจทก์ปฏิเสธที่จะรับโอนที่ดินเฉพาะส่วนที่โจทก์เข้าใจว่าไม่ถูกต้องตามสัญญาจะซื้อขายเท่านั้นเห็นได้ว่ากรณีเป็นเรื่องที่โต้แย้งกันเกี่ยวกับการตีความในข้อตกลงตามสัญญายังถือไม่ได้ว่าโจทก์มีเจตนาไม่ปฏิบัติตามสัญญาจำเลยจะอ้างข้อโต้แย้งดังกล่าวมาบอกเลิกสัญญาและริบเงินมัดจำหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทเนื้อที่ดินในสัญญาซื้อขาย การตีความสัญญาเป็นสาระสำคัญ มิใช่การปฏิเสธการปฏิบัติตามสัญญา
เดิมโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งมีเนื้อที่4 ไร่ 1 งาน 69 ตารางวา ในราคาตารางวาละ 3,100 บาท ต่อมาโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินดังกล่าวใหม่โดยระบุว่า คู่กรณีทั้งสองฝ่ายตกลงจะซื้อขายกันในราคาตารางวาละ 3,100 บาท เหมือนเดิมตามจำนวนเนื้อที่ที่ระบุในเอกสารของกรมที่ดิน ต่อมาจำเลยจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามจำนวนเนื้อที่ที่เจ้าพนักงานรังวัดใหม่ คือ 4 ไร่ 2 งาน 42 4/10ตารางวา แต่โจทก์จะยอมรับซื้อและชำระราคาที่ดินเฉพาะจำนวนเนื้อที่ 4 ไร่67 ตารางวา เท่านั้น ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์และจำเลยเคยตกลงเลื่อนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินออกไปเพราะเจ้าพนักงานที่ดินยังทำการรังวัดไม่แล้วเสร็จย่อมแสดงให้เห็นว่าคู่กรณีมีเจตนาที่จะซื้อขายที่ดินพิพาทกันตามจำนวนเนื้อที่ที่ระบุในเอกสารของกรมที่ดินในวันที่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์และชำระราคา กล่าวคือเมื่อเจ้าพนักงานที่ดินรังวัดที่ดินพิพาทได้จำนวนเนื้อที่ที่แน่นอนแล้ว มิใช่ให้คิดตามจำนวนเนื้อที่ที่ระบุไว้ในเอกสารของกรมที่ดินในวันที่ทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายดังนั้น การที่จำเลยไม่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามจำนวนเนื้อที่ที่โจทก์ประสงค์ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการผิดสัญญาจะซื้อขายดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ที่โจทก์จำเลยไปสำนักงานที่ดินเพื่อทำการโอนที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อขาย แต่มีปัญหาเกี่ยวกับการตีความในสัญญาซึ่งไม่อาจตกลงกันได้และทั้งสองฝ่ายต้องการให้ศาลเป็นผู้ตัดสิน แสดงว่าโจทก์ปฏิเสธที่จะรับโอนที่ดินเฉพาะส่วนที่โจทก์เข้าใจว่าไม่ถูกต้องตามสัญญาจะซื้อขายเท่านั้น เห็นได้ว่ากรณีเป็นเรื่องที่โต้แย้งกันเกี่ยวกับการตีความในข้อตกลงตามสัญญา ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มีเจตนาไม่ปฏิบัติตามสัญญาจำเลยจะอ้างข้อโต้แย้งดังกล่าวมาบอกเลิกสัญญาและริบเงินมัดจำหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1795/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหลักทรัพย์ ตัวแทนชำระหนี้ และอายุความคดีตัวการตัวแทน
พยานบุคคลของโจทก์ได้เบิกความรับรองพยานเอกสารว่ามีอยู่จริงและถูกต้อง แม้พยานโจทก์ที่เบิกความมาจะมิได้รู้เห็นขณะทำพยานเอกสาร แต่พยานเหล่านั้นเป็นผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับพยานเอกสาร และเมื่อได้ตรวจสอบเอกสารต่าง ๆแล้ว ก็สามารถรับรองความถูกต้องแท้จริงได้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับฟังพยานบุคคลของโจทก์ดังกล่าวจึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 95(2) ข้อตกลงในหนังสือแต่งตั้งตัวแทนมีสาระสำคัญว่าเมื่อโจทก์ซื้อหลักทรัพย์ตามคำสั่งของจำเลยและออกเงินทดรองจ่ายแทนจำเลยภายใน 4 วัน นับแต่วันซื้อจำเลยจะต้องชำระเงินที่โจทก์ทดรองจ่ายจนครบพร้อมค่าใช้จ่ายและบำเหน็จ มี ส. เบิกความยืนยันว่า จำเลยเป็นผู้ลงชื่อออกตั๋วสัญญาใช้เงินชำระหนี้ให้โจทก์ แม้ ส. จะมิได้รู้เห็นขณะจำเลยลงชื่อในตั๋วสัญญาใช้เงิน แต่ ส. เป็นผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีและปฏิบัติการของโจทก์ และได้ตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในคดีนี้ ทั้งยังปรากฏว่าจำเลยเคยออกตั๋วสัญญาใช้เงินแลกเปลี่ยนกับฉบับเดิมที่ไม่ได้มีการชำระมาหลายครั้ง ลายมือชื่อของจำเลยในตั๋วสัญญาใช้เงินย่อมอยู่ในความรู้เห็นของ ส.ดังนั้นส. จึงอยู่ในฐานะที่จะรับรองความถูกต้องแท้จริงของเอกสารดังกล่าวได้คำเบิกความของพยานจึงไม่ใช่พยานบอกเล่าที่จะต้องห้ามมิให้รับฟัง การที่ ก. พยานโจทก์เบิกความว่าตามหลักฐานที่โจทก์ส่งศาลในวันเบิกความไม่มีฉบับใดยืนยันว่าโจทก์ซื้อหุ้นบริษัท ส.และบริษัทฟ. แต่เมื่อ ก. ได้เบิกความไว้ด้วยว่า เอกสารที่ศาลขอหมายเรียกไปก่อนมาเบิกความนั้นได้จัดส่งมาให้แล้ว แต่ส่งผิดไปที่ศาลอื่น จึงไม่มีเอกสารดังกล่าวให้พยานตรวจดู จะฟังว่าโจทก์มิได้ซื้อหลักทรัพย์ของ 2 บริษัทดังกล่าวและมิได้ออกเงินทดรองแทนจำเลยหาได้ไม่ เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ที่ค้าง โจทก์จึงนำหุ้นของจำเลย5 รายการ ออกขายในตลาดหลักทรัพย์นำเงินมาหักชำระหนี้ที่ค้าง และจำเลยยอมรับว่ามีการขายหุ้นของจำเลยไปจริงดังนี้ เมื่อปรากฏตามหนังสือตั้งตัวแทนซึ่งมีข้อความว่าหากจำเลยผิดนัดในการชำระเงิน ยอมให้โจทก์เลือกปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่ง และยอมให้โอนขายหลักทรัพย์ดังกล่าวแก่บุคคลใด ๆ ในราคาที่เห็นสมควร ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวนี้ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงใช้บังคับกันได้ เมื่อจำเลยผิดนัดโจทก์ย่อมนำหุ้นที่ซื้อแทนจำเลยไว้ออกขายได้โดยไม่จำต้องมีหนังสือแจ้งให้จำเลยทราบล่วงหน้า แม้ในคำฟ้องจะใช้คำว่า ขอเรียกค่านายหน้า แต่กรณีนี้ความจริงเป็นเรื่องที่โจทก์เรียกร้องเอาเงินที่ได้ทดรองจ่ายแทนจำเลยในกิจการที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยเข้าลักษณะตัวการตัวแทน ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ซึ่งมีกำหนด10 ปี มิใช่ 2 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1710/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทภาษีอากร: การประเมินรายได้, การปรับปรุงแก้ไข, และอำนาจของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ของผู้ต้องเสียภาษีอากรตามประเด็นที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้และผู้ต้องเสียภาษีอากรอุทธรณ์จะไปพิจารณาประเด็นอื่นนอกเหนือจากที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้หาได้ไม่เพราะคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ใช่เจ้าพนักงานประเมินทั้งยังเป็นการข้ามขั้นตอนไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งมาตรา19,20แห่งประมวลรัษฎากรส่วนมาตรา31วรรคสองแห่งประมวลรัษฎากรนั้นมิใช่บทบัญญัติให้อำนาจคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาประเด็นใดก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1710/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ต้องพิจารณาเฉพาะประเด็นที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้เท่านั้น
ประมวลรัษฎากรได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินกับคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไว้ต่างหากจากกัน โดยเริ่มแรกหากเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ใดแสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ก็มีอำนาจออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการนั้นมาไต่สวนและออกหมายเรียกพยานกับสั่งให้ผู้ยื่นรายการหรือพยานนั้นนำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดงได้ แล้วมีอำนาจแก้จำนวนเงินที่ประเมินหรือที่ยื่นรายการไว้เดิมโดยอาศัยพยานหลักฐานที่ปรากฏและแจ้งจำนวนเงินที่ต้องชำระอีกไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากร ในกรณีนี้จะอุทธรณ์การประเมินก็ได้ ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรมาตรา 19, 20 คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงมีอำนาจหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์ของผู้ต้องเสียภาษีอากรดังกล่าวตามประเด็นที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้และผู้ต้องเสียภาษีอากรอุทธรณ์ จะไปพิจารณาประเด็นอื่นนอกเหนือจากที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้หาได้ไม่ เพราะคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ใช่เจ้าพนักงานประเมิน อีกทั้งยังเป็นการข้ามขั้นตอนไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติมาตรา 19, 20
การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ปรับปรุงรายได้ของโจทก์เพิ่มขึ้นในการคำนวณกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2526ทั้ง ๆ ที่เจ้าพนักงานประเมินมิได้ทำการประเมินในรายการนี้ จึงเป็นการพิจารณาประเด็นอื่นนอกเหนือจากที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฏากร ส่วนประมวลรัษฎากร มาตรา 31วรรคสอง นั้น มิใช่บทบัญญัติให้อำนาจคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาประเด็นใดก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1696/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับคืนโฉนดที่ดินหลังการบังคับคดีสำเร็จ การสอบถามความเห็นคู่ความก่อนศาลมีคำสั่ง
โจทก์บังคับคดียึดที่ดินของจำเลยเพื่อขายทอดตลาดโดยโจทก์เป็นผู้มอบโฉนดที่ดินแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อประกอบการยึดต่อมาจำเลยชำระเงินให้โจทก์พร้อมทั้งค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีครบถ้วนและเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ถอนการบังคับคดีแล้วการบังคับคดีย่อมสำเร็จบริบูรณ์หากโจทก์ละเลยเพิกเฉยไม่ไปขอรับโฉนดที่ดินคืนจากเจ้าพนักงานบังคับคดีความเสียหายย่อมตกแก่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมอยู่ด้วยฉะนั้นเมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอรับโฉนดคืนศาลชั้นต้นชอบที่จะนัดพร้อมโจทก์จำเลยเพื่อสอบถามว่าโจทก์จะคัดค้านประการใดหรือไม่เพื่อจะได้ทำคำวินิจฉัยชี้ขาดให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา302ต่อไปการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลยโดยไม่นัดพร้อมเพื่อสอบถามคู่ความที่เกี่ยวข้องก่อนจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1603/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเว้นภาษีเงินได้จากการขายอ้อย และการจ่ายดอกเบี้ยคืนภาษีอากร
กฎกระทรวงฉบับที่ 173 (พ.ศ.2530) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ให้กำหนดเงินได้ของชาวไร่อ้อยตามกฎหมายว่าด้วยอ้อยและน้ำตาลทรายที่ได้รับจากการขายอ้อยอันเกิดจากกสิกรรมที่ตนเองและหรือครอบครัวได้ทำเอง เป็นเงินได้ตาม (17) ของมาตรา42 แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่ขายให้แก่โรงงานตามกฎหมายว่าด้วยอ้อยและน้ำตาลทราย ระหว่างวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2529 ถึงวันที่ 30 กันยายนพ.ศ. 2530 ซึ่งมีผลให้จำนวนเงินที่ได้จากการขายอ้อยดังกล่าวได้รับยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นั้นเอง
การที่จะพิจารณาว่าเงินได้ของชาวไร่อ้อยจะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาถึงแหล่งที่มาของรายได้เป็นสำคัญ กล่าวคือถ้าเป็นเงินได้ที่ได้จากการขายอ้อยให้แก่โรงงานตามวันเวลาที่กำหนดในกฎกระทรวงแล้ว ก็ย่อมได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ทั้งสิ้น ทั้งนี้โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าชาวไร่อ้อยจะได้รับเงินดังกล่าวมาในเวลาใด
การคืนเงินภาษีอากร มาตรา 4 ทศ แห่งประมวลรัษฎากรกำหนดให้ผู้ที่ได้รับคืนเงินภาษีอากรได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีอากรที่ได้รับคืนโดยไม่คิดทบต้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง แต่มิให้เกินกว่าจำนวนเงินภาษีอากรที่ได้รับคืน ซึ่งตามกฎกระทรวงฉบับที่ 161 (พ.ศ.2526) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากร ข้อ 1 (3) ก็มีข้อความชัดเจนว่า กรณีคืนเงินภาษีอากรที่ชำระตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินหรือตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือคืนเงินภาษีการค้าที่ชำระสำหรับสินค้าที่นำเข้าในหรือส่งออกนอกราชอาณาจักร ให้เริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันชำระภาษีอากร การที่ศาลภาษี-อากรกลางให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระดอกเบี้ยจากจำนวนเงินภาษีที่จะต้องคืนให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนถึงวันชำระเสร็จโดยโจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้าน จึงนับว่าเป็นผลดีแก่จำเลยที่ 1 มากแล้ว
of 64