คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมพงษ์ สนธิเณร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 633 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 726/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดตาม พ.ร.บ.ธุรกิจหลักทรัพย์ กรณีผู้บริหารสั่งซื้อขายหุ้นเอื้อประโยชน์ลูกค้าตนเอง
เมื่อตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522มาตรา 75 สัตต บัญญัติว่า กรรมการผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัท กระทำการหรือไม่กระทำการเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อตนเองหรือผู้อื่น อันเป็นการเสียหายแก่บริษัทนั้นต้องระวางโทษ ดังนี้เมื่อได้ความว่าจำเลยมีอำนาจและหน้าที่ดูแลการซื้อขายหลักทรัพย์ในกิจการของบริษัทผู้เสียหายจำเลยได้ทำการซื้อขายหลักทรัพย์ไม่เป็นไปตามลำดับตามคำสั่งซื้อขายก่อนหลัง ทำให้ผู้เสียหายได้รับความเสียหาย และ จำเลยกระทำการหรือไม่กระทำการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายเพื่อตนเองหรือผู้อื่นอันเป็นการเสียหายแก่ผู้เสียหาย จำเลยจึงมีความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ผู้เสียหายสั่งซื้อขายหุ้นในลำดับก่อน น. ทั้งสิ้นน. จึงไม่มีสิทธิซื้อขายหุ้นได้ก่อนผู้เสียหาย ส่วนพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517มาตรา 21 ตรี เป็นเพียงบทสันนิษฐานทั่วไปในกรณีที่ไม่ปรากฏชัดว่าบริษัทหลักทรัพย์ครอบครองหุ้นเพื่อตนเองหรือเพื่อลูกค้า เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้เสียหายสั่งซื้อขายหุ้นในลำดับก่อน น. ทั้งสิ้น จึงไม่ต้องด้วยบทสันนิษฐานตามกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิเข้าข่ายการค้าหรือหากำไร ต้องเสียภาษีการค้า
การครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆ ที่มิใช่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทที่เป็นทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันหรือใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะนั้น ผู้ครอบครองย่อมมีสิทธิครอบครองและยกขึ้นใช้ยันบุคคลอื่นที่มิใช่รัฐได้ ดังนั้นผู้ครอบครองจึงโอนไปซึ่งการครอบครองโดยการส่งมอบที่ดินอันเป็นทรัพย์สินที่ครอบครองให้แก่กันได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1378 และสิทธิครอบครองเป็นสิทธิอันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ซึ่ง ป.พ.พ.มาตรา 100 เดิม บัญญัติให้หมายรวมเป็นอสังหาริมทรัพย์ด้วย ดังนั้นการที่โจทก์โอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆ ให้แก่ผู้รับโอนไปโดยมีประโยชน์ตอบแทนเป็นเงินจำนวน 25,500,000 บาทย่อมเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ตามบทบัญญัติแห่ง ป.รัษฎากร มาตรา 77
โจทก์ยอมรับโอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆจำนวน 1,500 ไร่ จากบริษัท ม.เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2532 แทนการรับชำระด้วยเงินสดจำนวน 25,500,000 บาท แล้วโอนขายให้แก่ผู้รับโอนไปจำนวน 56 รายเมื่อระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน 2532 ถึงวันที่ 19 ตุลาคม 2532 ในระยะเวลาอันสั้นย่อมเห็นได้ว่า โจทก์มีเจตนารับโอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆดังกล่าวไว้เพื่อจะโอนต่อให้ผู้อื่นโดยมุ่งในค่าตอบแทนมาแต่ต้น อีกทั้งโจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีวัตถุประสงค์ประกอบการค้าดำเนินการให้เช่าช่วงที่ดินตามสัญญาเช่าช่วงที่บริษัท ม.ทำกับโจทก์ ค่าเช่าช่วงที่โจทก์ได้รับจากกิจการย่อมเป็นกำไรที่โจทก์มุ่งจะนำไปแบ่งปันแก่ผู้ถือหุ้น ฉะนั้น การที่โจทก์รับโอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใดจากบริษัท ม.แทนการชำระหนี้ด้วยเงินสดแล้วโอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆ ดังกล่าวนั้นไปโดยมีประโยชน์ตอบแทนเป็นเงิน ย่อมเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการเพื่อให้ได้เงินค่าเช่าช่วงแต่กิจการที่ทำมาแบ่งปันกำไรให้ผู้ถือหุ้นนั่นเอง นอกจากนี้โจทก์ยังได้โอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆ บางส่วน ไปในระหว่างที่โจทก์จดทะเบียน มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการค้า ซื้อขายที่ดิน จัดสรรที่ดินแล้วด้วย ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าโจทก์ขายอสังหาริมทรัพย์ไปในทางการค้าหรือหากำไร เข้าลักษณะเป็นผู้ประกอบการค้าอสังหาริมทรัพย์ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11 ซึ่งกำหนดให้ผู้ขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 3.5โจทก์จึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับจำนวน 25,500,000 บาท ดังกล่าวตามที่ ป.รัษฎากร มาตรา 78 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ กับมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าเป็นรายเดือนต่อเจ้าพนักงาน ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ซึ่งสถานการค้าตั้งอยู่ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 84, 85 และ 85 ทวิแต่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้ไม่ถูกต้อง กล่าวคือ มิได้นำรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ไปรวมคำนวณเสียภาษีการค้าด้วย เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีโดยแก้ไขเพิ่มเติมรายการในแบบแสดงรายการการค้าเพื่อให้ถูกต้องตามความจริง แล้วแจ้งการประเมินเป็นหนังสือไปยังโจทก์ได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 87, 87 ทวิ (2) และ 88 กับมีอำนาจเรียกเบี้ยปรับอีก1 เท่า ของเงินภาษีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 (3) และเรียกเงินเพิ่มตามมาตรา 89 ทวิ ตลอดจนภาษีบำรุงเทศบาลตาม พ.ร.บ.รายได้เทศบาลพ.ศ.2497 มาตรา 12 (1) ได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 172/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมทางเดินเกินขอบเขต เจ้าของสามยทรัพย์ไม่มีสิทธิถมดินเพิ่ม โจทก์มีสิทธิกีดขวาง
การจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินของโจทก์ได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าเป็นภาระจำยอมเรื่องทางเดินทั้งแปลง การวางท่อระบายน้ำ ระบบประปา ไฟฟ้าและระบบสาธารณูปโภคอื่น การที่จำเลยทั้งสี่จ้างรถบรรทุกดินเข้ามาถมที่ดินของจำเลยทั้งสี่ซึ่งมีจำนวนหลายไร่ ถือได้ว่าเป็นการใช้ทางภาระจำยอมเกินควรกว่าปกติ ย่อมทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์ไม่มีสิทธิที่จะทำได้ การที่โจทก์นำหลักปักกีดขวางมิให้รถบรรทุกดินแล่นผ่านที่ภารยทรัพย์เข้าไปถมที่ดินของจำเลยทั้งสี่จึงไม่เป็นการละเมิดต่อจำเลยทั้งสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 172/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมเกินขอบเขต & การกีดขวางทางภารจำยอมไม่เป็นการละเมิด
การจดทะเบียนภารจำยอมในที่ดินของโจทก์ได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าเป็นภารจำยอมเรื่องทางเดินทั้งแปลงการวางท่อระบายน้ำระบบประปาไฟฟ้าและระบบสาธารณูปโภคอื่นการที่จำเลยทั้งสี่จ้างรถบรรทุกดินเข้ามาถมที่ดินของจำเลยทั้งสี่ซึ่งมีจำนวนหลายไร่ถือได้ว่าเป็นการใช้ทางภารจำยอมเกินกว่าควรกว่าปกติย่อมทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์ไม่มีสิทธิที่จะทำได้การที่โจทก์นำหลักปักกีดขวางมิให้รถบรรทุกดินแล่นผ่านที่ภารยทรัพย์เข้าไปถมที่ดินของจำเลยทั้งสี่จึงไม่เป็นการละเมิดต่อจำเลยทั้งสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 172/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมเกินขอบเขต และสิทธิในการกีดขวางการใช้สามยทรัพย์
การจดทะเบียนภารจำยอมในที่ดินของโจทก์ระบุไว้ชัดแจ้งว่าเป็นภารจำยอมเรื่องทางเดินทั้งแปลงการวางท่อระบายน้ำระบบประปาไฟฟ้าและระบบสาธารณูปโภคอื่นการที่จำเลยทั้งสี่จ้างรถบรรทุกดินเข้ามาถมที่ดินของจำเลยทั้งสี่ซึ่งมีจำนวนหลายไร่ถือได้ว่าเป็นการใช้ทางภารจำยอมเกินควรกว่าปกติย่อมทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์ไม่มีสิทธิที่จะทำได้การที่โจทก์นำหลักปักกีดขวางมิให้รถบรรทุกดินแล่นผ่านที่ภารยทรัพย์เข้าไปถมที่ดินของจำเลยทั้งสี่จึงไม่เป็นการละเมิดต่อจำเลยทั้งสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 153/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางอาญาฐานยักยอกทรัพย์ จำเลยต้องมีพยานหลักฐานสนับสนุนการกระทำความผิด
ขณะสุราของโจทก์ร่วมหายไปไม่มีพยานรู้เห็นโจทก์ร่วมมาทราบว่าสุราขาดหายก็เนื่องจากมีการตรวจสอบบัญชีสุราคงเหลือและที่กล่าวหาจำเลยทั้งสองก็เพราะจำเลยทั้งสองเป็นผู้รับผิดชอบในสุราที่หายไปแต่ปรากฎว่ายังมีช. พนักงานของโจทก์ร่วมอีกคนหนึ่งเป็นผู้นำสุราไปขายให้แก่ร้านค้าและเก็บเงินจากร้านค้าซึ่งภายหลังเกิดเหตุช. ได้หลบหนีไปพยานโจทก์และโจทก์ร่วมนอกจากนี้ก็ไม่มีผู้ใดยืนยันหรือชี้ชัดได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ยักยอกสุราของโจทก์ร่วมไปมีวิธีการยักยอกและนำไปจำหน่ายอย่างไรดังนั้นการที่สุราของโจทก์ร่วมขาดหายไปจากสต๊อกอาจจะเป็นเพราะช. นำไปขายและยังเก็บเงินจากลูกค้าไม่ได้ก็ได้พยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมจึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่1ยักยอกสุราของโจทก์ร่วมไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเลิกการล้มละลายทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นหนี้สินรวมถึงหนี้ภาษีอากร แม้ศาลจะไม่ได้ระบุผลของการยกเลิกการล้มละลายไว้
ประมวลรัษฎากรเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับแก่โจทก์ขณะเกิดมูลกรณีนี้ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้จากเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้วภายในเดือนมีนาคมทุกๆปีและต้องยื่นแบบรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินภายในกำหนดดังกล่าวส่วนผู้ประกอบการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้ามีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับของตนทุกเดือนภาษีและต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้าทุกเดือนภายในวันที่15ของเดือนถัดไปแสดงว่ามูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของแต่ละปีได้เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคมของปีถัดไปส่วนมูลหนี้ค่าภาษีการค้าก็ได้เกิดขึ้นแล้วทุกเดือนภาษีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลาให้ยื่นแบบแสดงรายการค้ามูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของโจทก์ปี2521และปี2522จึงเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคม2522และเดือนมีนาคม2523ส่วนมูลหนี้ค่าภาษีการค้าของโจทก์เดือนกันยายนและตุลาคม2521ก็เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่15ของเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน2521การที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องเจ้าพนักงานจึงเรียกตรวจสอบไต่สวนแล้วทำการประเมินใหม่และแจ้งไปยังโจทก์โจทก์ได้อุทธรณ์การประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์นั้นเป็นเรื่องให้โจทก์ชำระค่าภาษีอากรที่เกิดขึ้นแล้วให้ถูกต้องครบถ้วนหาใช่มูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าดังกล่าวเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์คำวินิจฉัยหรือเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินไม่มูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและมูลหนี้ค่าภาษีการค้าของโจทก์จึงเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของโจทก์เด็ดขาด แม้พระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา136จะมิได้บัญญัติถึงผลของการยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา135(3)และ(4)เอาไว้แต่เมื่อพิจารณาถ้อยคำในมาตรา135(3)และ(4)เห็นได้ว่าเมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายด้วยเหตุตามอนุมาตราดังกล่าวแล้วลูกหนี้ย่อมหลุดพ้นหนี้สินไปทั้งหมดไม่อาจนำมาตรา77ซึ่งเป็นเรื่องผลของการปลดจากการล้มละลายมาใช้บังคับได้เมื่อปรากฏว่าศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา135(3)โจทก์จึงหลุดพ้นจากหนี้สินทั้งหมดซึ่งรวมทั้งหนี้ภาษีอากรตามฟ้องด้วยจำเลยที่2ไม่มีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์นำเงินมาชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมาตรา12

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเลิกการล้มละลายและการหลุดพ้นหนี้ภาษีอากร: ศาลสั่งยกเลิกการล้มละลายตาม ม.135(3) ทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นหนี้ทั้งหมด
ตาม ป.รัษฎากรอันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับแก่โจทก์ขณะเกิดมูลกรณีนี้ ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้จากเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้วภายในเดือนมีนาคมทุก ๆ ปี และต้องยื่นแบบรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินภายในกำหนดดังกล่าวด้วย ส่วนผู้ประกอบการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้ามีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าจากรายรับของตนทุกเดือนภาษี และต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้าทุกเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ดังนี้ แสดงว่ามูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของแต่ละปีได้เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคมของปีถัดไปส่วนมูลหนี้ค่าภาษีการค้าก็ได้เกิดขึ้นแล้วทุกเดือนภาษี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลาให้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า มูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของโจทก์สำหรับปี2521 และปี 2522 จึงเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคม 2522 และเดือนมีนาคม 2523ตามลำดับ ส่วนมูลหนี้ค่าภาษีการค้าของโจทก์สำหรับเดือนกันยายนและตุลาคม 2521ก็เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 15 ของเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน 2521 ตามลำดับ การที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้อง และเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1ได้เรียกตรวจสอบไต่สวน แล้วทำการประเมินตามแบบแจ้งการประเมินเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.3 และแจ้งไปยังโจทก์ในภายหลัง ซึ่งโจทก์ได้อุทธรณ์การประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ เป็นเรื่องให้โจทก์ชำระค่าภาษีอากรที่เกิดขึ้นแล้วให้ถูกต้องครบถ้วน หาใช่มูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคล-ธรรมดาและภาษีการค้าดังกล่าวเพิ่งเกิดขึ้น เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัย หรือเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมิน
แม้ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 136 จะมิได้บัญญัติถึงผลของการยกเลิกการล้มละลาย ตามมาตรา 135 (3) และ (4) เอาไว้ แต่เมื่อพิจารณาถ้อยคำในมาตรา 135 (3) และ (4) ก็เห็นได้ว่าเมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายด้วยเหตุตามอนุมาตราดังกล่าวแล้ว ลูกหนี้ย่อมหลุดพ้นหนี้สินไปทั้งหมดกรณีจึงไม่อาจนำมาตรา 77 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเรื่องผลของการปลดจากการล้มละลายมาใช้บังคับได้ ไม่จำต้องวินิจฉัยว่าโจทก์มีพฤติการณ์ฉ้อฉลภาษีหรือไม่อีกต่อไป
เมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา 135 (3)โจทก์จึงหลุดพ้นจากหนี้สินทั้งหมด ซึ่งรวมทั้งหนี้ภาษีอากรตามฟ้อง จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์นำเงินมาชำระหนี้ค่าภาษีอากรตาม ป.รัษฎากร มาตรา 12

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเลิกการล้มละลายทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นหนี้สินทั้งหมด แม้มีหนี้ภาษีเกิดขึ้นก่อนศาลสั่งยกเลิก
ตามประมวลรัษฎากรอันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับแก่โจทก์ขณะเกิดมูลกรณีนี้ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้จากเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้วภายในเดือนมีนาคมทุกๆปีและต้องยื่นแบบรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินภายในกำหนดดังกล่าวด้วยส่วนผู้ประกอบการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้ามีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าจากรายรับของตนทุกเดือนภาษีและต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้าทุกเดือนภายในวันที่15ของเดือนถัดไปดังนี้แสดงว่ามูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของแต่ละปีได้เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคมของปีถัดไปส่วนมูลหนี้ค่าภาษีการค้าก็ได้เกิดขึ้นแล้วทุกเดือนภาษีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลาให้ยื่นแบบแสดงรายการการค้ามูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของโจทก์สำหรับปี2521และปี2522จึงเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคม2522และเดือนมีนาคม2523ตามลำดับส่วนมูลหนี้ค่าภาษีการค้าของโจทก์สำหรับเดือนกันยายนและตุลาคม2521ก็เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่15ของเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน2521ตามลำดับการที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องและเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่1ได้เรียกตรวจสอบไต่สวนแล้วทำการประเมินตามแบบแจ้งการประเมินเอกสารหมายล.1ถึงล.3และแจ้งไปยังโจทก์ในภายหลังซึ่งโจทก์ได้อุทธรณ์การประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์เป็นเรื่องให้โจทก์ชำระค่าภาษีอากรที่เกิดขึ้นแล้วให้ถูกต้องครบถ้วนหาใช่มูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าดังกล่าวเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยหรือเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมิน แม้พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา136จะมิได้บัญญัติถึงผลของการยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา135(3)และ(4)เอาไว้แต่เมื่อพิจารณาถ้อยคำในมาตรา135(3)และ(4)ก็เห็นได้ว่าเมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายด้วยเหตุตามอนุมาตราดังกล่าวแล้วลูกหนี้ย่อมหลุดพ้นหนี้สินไปทั้งหมดกรณีจึงไม่อาจนำมาตรา77ซึ่งเป็นบทบัญญัติเรื่องผลของการปลดจากการล้มละลายมาใช้บังคับได้ไม่จำต้องวินิจฉัยว่าโจทก์มีพฤติการณ์ฉ้อฉลภาษีหรือไม่อีกต่อไป เมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายมาตรา135(3)โจทก์จึงหลุดพ้นจากหนี้สินทั้งหมดซึ่งรวมทั้งหนี้ภาษีอากรตามฟ้องจำเลยที่2ไม่มีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์นำเงินมาชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมาตรา12

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกคืนภาษีอากร, การสำคัญผิดในตัวบุคคล, และผลของการอุทธรณ์ที่มิชอบด้วยกฎหมาย
คดีนี้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้แจ้งการประเมินราคาสินค้าให้โจทก์ชำระภาษีอากรเพิ่มสำหรับใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าทั้งสองฉบับ โจทก์ได้ชำระอากรขาเข้าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่มให้แก่จำเลยแล้ว แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์การประเมินในส่วนภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ การประเมินเรียกเก็บภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่มดังกล่าวถือเป็นการประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 87 (เดิม)ซึ่งอยู่ในบังคับที่จะต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 30ก่อนจึงจะฟ้องคดีเรียกภาษีอากรที่ชำระเกินไปคืนได้
หลังจากโจทก์ทำหนังสืออุทธรณ์การประเมินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลย พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยพิจารณาแล้วมีคำสั่งยืนตามราคาประเมินและโจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์ต่อจำเลยอีก แต่มีผู้ทำเอกสารปลอมลายมือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์และรอยประทับตราของโจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อจำเลยในนามของโจทก์ เป็นเหตุให้จำเลยหลงเชื่อว่าเป็นอุทธรณ์ของโจทก์จริงและนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์และปัญหาราคา และคณะกรรมการดังกล่าววินิจฉัยให้เปลี่ยนแปลงราคาประเมินกับมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาให้โจทก์ทราบเพื่อดำเนินการขอคืนค่าภาษีอากร ดังนี้ อุทธรณ์ฉบับที่สองที่ยื่นต่อจำเลยในนามของโจทก์ซึ่งมีผู้ทำปลอมขึ้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย มิใช่อุทธรณ์ของโจทก์แม้คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์และปัญหาราคาจะรับวินิจฉัยให้ ก็หามีผลทำให้อุทธรณ์นั้นเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาไม่ ถือเท่ากับไม่มีการอุทธรณ์ดังกล่าวคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์และปัญหาราคาจึงไม่มีอำนาจวินิจฉัยให้คืนอากรให้แก่โจทก์ ดังนั้น การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาให้โจทก์ทราบเพื่อดำเนินการขอคืนค่าภาษีอากรจึงเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดว่าโจทก์เป็นผู้ยื่นอุทธรณ์ฉบับที่สอง เป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมกล่าวคือ สำคัญผิดในตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรมจึงเป็นโมฆะ หนังสือแจ้งผลการพิจารณาให้โจทก์ทราบดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้
เมื่อโจทก์ชำระอากรขาเข้าเพิ่มเติมภายหลังจากโจทก์นำของออกจากอารักขาของศุลกากรแล้ว ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี นับแต่เมื่อโจทก์ชำระภาษีอากรเพิ่มตามที่ได้รับแจ้งตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 ทวิ วรรคหนึ่งและวรรคสองเมื่อโจทก์ชำระภาษีอากรเพิ่มเติมตามที่ได้รับแจ้งการประเมินตามสำเนาใบเสร็จรับเงิน ซึ่งระบุว่าจำเลยได้รับชำระอากรแล้วเมื่อวันที่ 10 กันยายน2527 สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการขอคืนอากรขาเข้าที่ชำระเกินไป จึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2538 พ้นกำหนด 10ปีแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
of 64