คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมพงษ์ สนธิเณร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 633 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยประเด็นนอกฟ้อง: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันในศาลล่าง
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า (1) ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ (2) โจทก์หรือจำเลยทั้งหกเป็นฝ่ายผิดสัญญา (3) โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายหรือไม่ เพียงใด โจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6มอบโฉนดที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขาย และตั้งหรือเชิดจำเลยที่ 1 หรือยอมให้จำเลยที่ 1 เชิดตัวเองเป็นตัวแทนขายที่ดินพิพาท จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ซึ่งเป็นตัวการต้องรับผิดต่อโจทก์ เป็นการฎีกาในข้อที่โจทก์มิได้บรรยายกล่าวอ้างมาในฟ้องและที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ ที่ศาลล่างทั้งสองหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาท ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 142 ประกอบด้วย มาตรา 246 ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ทั้งไม่ใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกาตาม มาตรา 249 แห่งบทบัญญัติดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกานอกประเด็น: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันในศาลล่าง แม้ไม่กระทบความสงบเรียบร้อย
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า(1)ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่(2)โจทก์หรือจำเลยทั้งหกเป็นฝ่ายผิดสัญญา(3)โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายหรือไม่เพียงใดโจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่2ถึงที่6มอบโฉนดที่ดินพิพาทให้จำเลยที่1เป็นผู้ขายและตั้งหรือเชิดจำเลยที่1หรือยอมให้จำเลยที่1เชิดตัวเองเป็นตัวแทนขายที่ดินพิพาทจำเลยที่2ถึงที่6ซึ่งเป็นตัวการต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นการฎีกาในข้อที่โจทก์มิได้บรรยายกล่าวอ้างมาในฟ้องและที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ที่ศาลล่างทั้งสองหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาทไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142ประกอบด้วยมาตรา246ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองทั้งไม่ใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนต้องห้ามฎีกาตามมาตรา249แห่งบทบัญญัติดังกล่าวศาลฏีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 113/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมกันมียาเสพติดไว้เพื่อขาย และการใช้บทกฎหมายใหม่ที่มีผลต่อโทษ
พยานโจทก์เบิกความสอดคล้องกันมั่นคงโดยเห็นการกระทำของจำเลยที่2ตั้งแต่ต้นจนกระทั่งหิ้วถุงพลาสติกซึ่งบรรจุยาม้าของกลางไปส่งให้จำเลยที่1นำไปซุกไว้ที่ใต้เบาะที่นั่งคนขับรถยนต์ของ ส.ชั้นจับกุมจำเลยที่2ก็ให้การรับสารภาพโดยเขียนบันทึกคำให้การด้วยตนเองแม้จำเลยที่2 จะให้การปฏิเสธในชั้นสอบสวน แต่ก็รับว่า บันทึกคำให้การดังกล่าวเป็นลายมือของจำเลยที่2 พยานหลักฐานของโจทก์ มีน้ำหนักและ เหตุผลฟังได้ว่าจำเลยที่2 กับพวก ร่วมกันมียาม้าของกลางไว้เพื่อขาย หลังจากที่จำเลยที่2กระทำความผิดได้มีพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท(ฉบับที่3)พ.ศ.2535แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518โดยเพิ่มเติมมาตรา13ทวิห้ามมิให้ผู้ใดผลิตขายนำเข้าหรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท2แยกจากเดิมซึ่งบัญญัติรวมไว้ในมาตรา13และแก้ไขโทษปรับขั้นสูงให้ต่ำลงถือว่าเป็นคุณแก่จำเลยจึงต้องใช้บทบัญญัติกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมใหม่มาปรับแก่คดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 89/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยจากการเลิกจ้างต้องไม่ต่ำกว่ากฎหมายคุ้มครองแรงงาน แม้คำนวณตามระเบียบบริษัท
ระเบียบข้อบังคับของจำเลยได้กำหนดหลักเกณฑ์เป็นฐานการจ่ายเงินชดเชยไว้ในตอนต้นว่าบริษัทจะจ่ายเงินชดเชยให้ตามอัตราซึ่งประกาศในกฎหมายคุ้มครองแรงงานของกระทรวงมหาดไทย เงินที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์ตามระเบียบข้อบังคับสำหรับพนักงานบริษัท ข้อ 70 (2) ซ. คงอยู่ในหลักเกณฑ์ดังกล่าว แม้ตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยนั้นจะคำนวณจากเงินเดือนครั้งสุดท้ายเดือนละ 31,320 บาท คูณ 100% คูณ 36 ปี 18 วัน ซึ่งเป็นจำนวนปีที่โจทก์ปฏิบัติงานให้แก่จำเลย แต่ก็มิได้น้อยกว่าค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 (3) แก้ไขโดยประกาศของกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2532 ข้อ 7 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์กำหนดไว้ กล่าวคือค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ทั้งโจทก์ก็ได้รับผลประโยชน์มากกว่าด้วย เงินที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์ตามระเบียบข้อบังคับสำหรับพนักงานบริษัทเอกสารหมาย ล.1 ข้อ 70(2) ซ. จึงเป็นค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 84/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างผิดแบบและการบังคับรื้อถอนอาคารพาณิชย์ โดยเจ้าของร่วมมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมอาคาร
จำเลยที่1ขออนุญาตก่อสร้างอาคารเพื่อใช้เป็นอาคารพาณิชย์แม้จำเลยที่1จะใช้อาคารพิพาทชั้นล่างเพื่อประโยชน์แห่งการค้าส่วนชั้นบนเป็นที่พักอาศัยเมื่ออาคารพิพาทตั้งอยู่ริมถนนซึ่งปกติเป็นอาคารที่ใช้เพื่อประโยชน์แห่งการค้าถือได้ว่าเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรมจึงเป็นอาคารพาณิชย์ซึ่งตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพาณิชย์พ.ศ.2522กำหนดให้บันไดสำหรับอาคารพาณิชย์ต้องกว้างไม่น้อยกว่า1.50เมตรฉะนั้นการลดความกว้างของบันไดจึงข้อต่อบัญญัติดังกล่าว จำเลยทั้งสองเป็นพี่น้องกันเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินที่ก่อสร้างอาคารพิพาทจำเลยที่1เป็นผู้ขออนุญาตก่อสร้างอาคารพิพาทโดยจำเลยที่2เป็นผู้ยินยอมให้ก่อสร้างจำเลยทั้งสองจึงเป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและอาคารพิพาทเมื่อผู้อำนวยการเขตได้มีคำสั่งให้จำเลยที่1แก้ไขอาคารให้ถูกต้องตามแบบแปลนและมีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างและแจ้งคำสั่งให้จำเลยที่1ทราบย่อมถือได้ว่ามีคำสั่งแจ้งให้จำเลยที่2ผู้เป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและอาคารทราบแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่2 การก่อสร้างหรือต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งไม่ขัดต่อกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นหรือขัดแต่ยังสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารยื่นคำขอรับใบอนุญาตหรือสั่งให้เจ้าของอาคารหรือผู้ดำเนินการดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้แล้วแต่กรณีดังนี้การที่ผู้อำนวยการเขตได้มีคำสั่งให้จำเลยที่1ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องเกี่ยวกับระยะช่วงเสาอาคารด้านหน้าและระยะช่วงเสาอาคารด้านหลังได้มีคำสั่งให้ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องและมีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างแล้วแต่จำเลยทั้งสองมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งทั้งมิได้อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์โจทก์จึงร้องขอต่อศาลให้บังคับให้รื้อถอนได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522มาตรา43วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 84/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารพาณิชย์ไม่เป็นไปตามข้อบัญญัติ และเจ้าของร่วมต้องรับผิดชอบตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
จำเลยที่ 1 ขออนุญาตก่อสร้างอาคารเพื่อใช้เป็นอาคารพาณิชย์แม้จำเลยที่ 1 จะใช้อาคารพิพาทชั้นล่างเพื่อประโยชน์แห่งการค้า ส่วนชั้นบนเป็นที่พักอาศัย เมื่ออาคารพิพาทตั้งอยู่ริมถนนซึ่งปกติเป็นอาคารที่ใช้เพื่อประโยชน์แห่งการค้า ถือได้ว่าเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม จึงเป็นอาคารพาณิชย์ซึ่งตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2522 กำหนดให้บันไดสำหรับอาคารพาณิชย์ต้องกว้างไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร ฉะนั้น การลดความกว้างของบันไดจึงขัดต่อข้อบัญญัติดังกล่าว
จำเลยทั้งสองเป็นพี่น้องกัน เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินที่ก่อสร้างอาคารพิพาท จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขออนุญาตก่อสร้างอาคารพิพาท โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ยินยอมให้ก่อสร้าง จำเลยทั้งสองจึงเป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและอาคารพิพาท เมื่อผู้อำนวยการเขตได้มีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 แก้ไขอาคารให้ถูกต้องตามแบบแปลน และมีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างและแจ้งคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ทราบ ย่อมถือได้ว่ามีคำสั่งแจ้งให้จำเลยที่ 2 ผู้เป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและอาคารทราบแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
การก่อสร้างหรือต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งไม่ขัดต่อกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น หรือขัดแต่ยังสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารยื่นคำขอรับใบอนุญาตหรือสั่งให้เจ้าของอาคารหรือผู้ดำเนินการ ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้แล้วแต่กรณี ดังนั้น การที่ผู้อำนวยการเขตได้มีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องเกี่ยวกับระยะช่วงเสาอาคารด้านหน้าและระยะช่วงเสาอาคารด้านหลัง ได้มีคำสั่งให้ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องและมีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างแล้ว แต่จำเลยทั้งสองมิได้ปฏิบัติตามคำสั่ง ทั้งมิได้อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงร้องขอต่อศาลให้บังคับให้รื้อถอนได้ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 43 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 66/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายใบยาสูบและการผิดสัญญาชำระหนี้ ศาลแก้ไขดอกเบี้ยให้เป็นไปตามคำขอ
โจทก์ตกลงซื้อใบยาสูบแห้งจากจำเลยโดยโจทก์จ่ายเงินทดรองให้จำเลยก่อนเมื่อจำเลยขายใบยาสูบแห้งให้โจทก์แล้วให้โจทก์หักราคาใบยาสูบชำระหนี้ได้จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่จำนวนหนึ่งโจทก์จำเลยได้ทำสัญญามีข้อความว่ายอดหนี้ที่ค้างโจทก์ให้จำเลยแบ่งชำระหนี้ได้เป็นงวดๆรวม3งวดโดยโจทก์ไม่คิดดอกเบี้ยจากจำเลยหลังจากนั้นมาจำเลยขายใบยาสูบให้โจทก์อีกหลายครั้งเมื่อโจทก์หักเงินครั้งสุดท้ายแล้วจำเลยยังคงค้างชำระหนี้โจทก์อยู่จำนวนหนึ่งหลังจากนั้นจำเลยไม่ได้ขายใบยาสูบให้โจทก์อีกเลยดังนี้สัญญาให้จำเลยแบ่งชำระหนี้เป็นงวดๆเป็นนิติกรรมซึ่งเกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาของโจทก์และจำเลยอันมีผลผูกพันให้จำเลยชำระเงินทดรองล่วงหน้าซึ่งยังคงค้างโจทก์อยู่ตามฤดูการผลิตใบยาสูบการที่จำเลยละเลยไม่ชำระเงินทดรองจ่ายล่วงหน้าให้โจทก์ให้ครบถ้วนจึงเป็นการผิดสัญญาโจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินทดรองล่วงหน้าให้โจทก์ได้ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยตั้งแต่วันผิดนัดนั้นเป็นการเกินคำขอที่ขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับจากวันฟ้องไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142และเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองและแก้ให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 66/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดสัญญาซื้อขายใบยาสูบ และสิทธิในการบังคับชำระหนี้ แม้ไม่บอกเลิกสัญญา
เมื่อสัญญาขายใบยาสูบได้กำหนดเวลาชำระหนี้เงินทดรองล่วงหน้าที่ค้างชำระอยู่ไว้เป็นงวดๆตามฤดูการผลิตใบยาสูบการที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ขายละเลยเสียไม่ได้ชำระเงินทดรองล่วงหน้าที่รับไปให้แก่โจทก์ให้ครบถ้วนอันเป็นการผิดสัญญาและในกรณีผิดสัญญาสิทธิของคู่สัญญาที่จะบังคับเอาแก่คู่สัญญาฝ่ายที่ผิดสัญญาประการหนึ่งก็คือบังคับให้คู่สัญญาปฏิบัติการชำระหนี้ตามมูลหนี้นั้นโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินทดรองล่วงหน้าให้แก่โจทก์ได้แม้โจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญาก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 59/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: จำนวนทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท และการโต้เถียงดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐาน
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายฐานละเมิด142,900บาทพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ทั้งสองโจทก์ทั้งสองมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเกินไปกว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งสองฎีกาขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย283,218บาท(คิดถึงวันฟ้อง)แก่โจทก์ทั้งสองพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่9สิงหาคม2531เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จจึงเป็นคดีที่มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามมิให้โจทก์ทั้งสองฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสองฎีกาเพื่อให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงแตกต่างไปจากที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาเป็นว่าลูกจ้างของโจทก์ทั้งสองมิได้ขับรถโดยประมาทหากแต่ลูกจ้างของจำเลยขับรถโดยประมาทฝ่ายเดียวเป็นเหตุให้รถชนกันเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 59/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง เนื่องจากจำนวนทุนทรัพย์เกินกำหนด
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายฐานละเมิด142,900 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเกินไปกว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้อง โจทก์ทั้งสองฎีกาขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย 283,218 บาท (คิดถึงวันฟ้อง) แก่โจทก์ทั้งสอง พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2531 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ จึงเป็นคดีที่มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามมิให้โจทก์ทั้งสองฎีกาในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
โจทก์ทั้งสองฎีกาเพื่อให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงแตกต่างไปจากที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาเป็นว่า ลูกจ้างของโจทก์ทั้งสองมิได้ขับรถโดยประมาท หากแต่ลูกจ้างของจำเลยขับรถโดยประมาทฝ่ายเดียวเป็นเหตุให้รถชนกัน เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
of 64