พบผลลัพธ์ทั้งหมด 633 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9733/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ต้องเริ่มนับจากวันที่โฆษณาในราชกิจจานุเบกษาฉบับหลัง
คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดได้ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันก่อนแล้วจึงลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา การนับวันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจึงต้องถือเอาวันที่โฆษณาในราชกิจจานุเบกษาซึ่งเป็นวันโฆษณาฉบับหลังเป็นเกณฑ์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ลงโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในราชกิจจานุเบกษาฉบับวันที่ 24 พฤษภาคม 2537 พร้อมทั้งในคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ได้แจ้งกำหนดให้เจ้าหนี้เสนอ คำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา 2 เดือนนับแต่วันโฆษณาดังกล่าวและได้มีการจัดส่งเล่มแรก ให้แก่สมาชิกที่ไปรับด้วยตนเองเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2537 แต่ในหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเอกสารหมาย ร.2 นอกจากจะมีข้อความว่าได้จัดส่งราชกิจจานุเบกษาเล่มแรกให้แก่สมาชิกที่มารับด้วยตนเองเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2537 แล้วยังมีข้อความระบุไว้ด้วยว่า สำนักงานราชกิจจานุเบกษาไม่อาจตรวจสอบได้ว่าราชกิจจานุเบกษาเล่มดังกล่าวพิมพ์เสร็จเมื่อใดส่วนการส่งให้แก่สมาชิกโดยทางไปรษณีย์นั้น น่าจะดำเนินการในเวลาก่อนหรือหลังจากวันที่ 23 มิถุนายน 2537 ในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ดังนี้ จึงยังไม่อาจรับฟังเป็นยุติว่าได้มีการเผยแพร่ ราชกิจจานุเบกษาเล่มดังกล่าวแก่บุคคลทั่วไปเป็นครั้งแรกเมื่อ วันที่ 23 มิถุนายน 2537 เมื่อหนังสือที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีถึงกรมบังคับคดีลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2537 มีข้อความว่า สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ดำเนินการประกาศเรื่องคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 111 ตอนที่ 41 ลง วันที่ 24 พฤษภาคม 2537 แล้วจึงฟังได้ว่า ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2537 ได้มีการโฆษณาเผยแพร่คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดคดีนี้โดยราชกิจจานุเบกษาเล่มดังกล่าวแก่บุคคลทั่วไปแล้ว การนับระยะเวลา 2 เดือนตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา91 จึงต้องเริ่มนับแต่วันที่30 พฤษภาคม 2537 ไม่ใช่เริ่มนับแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2537อันเป็นวันที่จัดส่งราชกิจจานุเบกษาเล่มแรกให้แก่ สมาชิกประเภทที่ไปรับด้วยตนเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9692/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบราคาซื้อขายที่แท้จริง แม้ไม่ระบุในสัญญาจดทะเบียน ย่อมฟังได้หากมีหลักฐานสนับสนุนและแสดงเจตนาสุจริต
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94บัญญัติห้ามเฉพาะการนำพยานบุคคลเข้าสืบแทนพยานเอกสารหรือประกอบข้ออ้างว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมหรือแก้ไขข้อความในเอกสารในเมื่อมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงเท่านั้นแต่การที่ผู้คัดค้านร่วมนำสืบว่าผู้คัดค้านร่วมได้ชำระค่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ซื้อขายให้แก่จำเลยที่2เป็นจำนวนเงิน17,200,000บาทโดยนำพ.กับป.ซึ่งรู้เห็นในการซื้อขายมาเบิกความยืนยันประกอบเอกสารมิใช่นำสืบเพื่อให้บังคับตามสัญญาซื้อขายแต่เป็นการนำสืบถึงความเป็นจริงว่าผู้คัดค้านร่วมซื้อทรัพย์พิพาทจากจำเลยที่2มาในราคาเท่าใดเพื่อให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านและศาลจะได้วินิจฉัยต่อไปว่าผู้คัดค้านร่วมได้กระทำโดยสุจริตหรือไม่ย่อมนำสืบได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94และการที่ผู้คัดค้านร่วมกับจำเลยที่2ไม่ได้ระบุราคาที่ซื้อขายอันแท้จริงจำนวนลงในสัญญาซื้อขายที่ดินที่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้นก็หาตกเป็นโมฆะไม่และรับฟังได้เพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา456มีบทบังคับเพียงให้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้นซึ่งกรณีของจำเลยที่2กับผู้คัดค้านร่วมก็ได้มีการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ระบุราคาที่ซื้อขายครบถ้วนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9692/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบราคาซื้อขายที่แท้จริง แม้เอกสารจดทะเบียนระบุราคาไม่ตรง ย่อมทำได้ ไม่ขัด ป.วิ.พ. มาตรา 94
ป.วิ.พ.มาตรา 94 บัญญัติห้ามเฉพาะการนำพยานบุคคลเข้าสืบแทนพยานเอกสาร หรือประกอบข้ออ้างว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมหรือแก้ไขข้อความในเอกสาร ในเมื่อมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงเท่านั้น แต่การที่ผู้คัดค้านร่วมนำสืบว่าผู้คัดค้านร่วมได้ชำระค่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ซื้อขายให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นจำนวนเงิน 17,200,000 บาท โดยนำ พ.กับ ป.ซึ่งรู้เห็นในการซื้อขายมาเบิกความยืนยันประกอบเอกสาร มิใช่นำสืบเพื่อให้บังคับตามสัญญาซื้อขายแต่เป็นการนำสืบถึงความเป็นจริงว่าผู้คัดค้านร่วมซื้อทรัพย์พิพาทจากจำเลยที่ 2 มาในราคาเท่าใด เพื่อให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านและศาลจะได้วินิจฉัยต่อไปว่าผู้คัดค้านร่วมได้กระทำโดยสุจริตหรือไม่ ย่อมนำสืบได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 และการที่ผู้คัดค้านร่วมกับจำเลยที่ 2 ไม่ได้ระบุราคาที่ซื้อขายอันแท้จริงจำนวนลงในสัญญาซื้อขายที่ดินที่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้นก็หาตกเป็นโมฆะไม่และรับฟังได้เพราะตาม ป.พ.พ.มาตรา 456 มีบทบังคับเพียงให้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้น ซึ่งกรณีของจำเลยที่ 2 กับผู้คัดค้านร่วมก็ได้มีการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ระบุราคาที่ซื้อขายครบถ้วนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9539/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาปฏิบัติราชการเพื่อชดใช้ทุน: ทุนการศึกษาต่างประเทศไม่นับรวม
คดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายนั้น ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาจะต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238 ประกอบมาตรา 247 การที่จำเลยที่ 1 ได้รับทุนการศึกษาจากส่วนราชการให้ไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศ แม้ขณะนั้นยังคงสถานะเป็นข้าราชการแต่ก็มิใช่เป็นการอยู่รับราชการหรือปฎิบัติหน้าที่ราชการตามความหมายของสัญญาการรับทุน จึงไม่อาจนำระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 ไปศึกษาต่อนับรวมเข้าเป็นระยะเวลาปฎิบัติหน้าที่ราชการใช้ทุนตามสัญญาฉบับก่อนที่ทำไว้ต่อโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9270/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในคดีล้มละลาย: เพิกถอนการโอนทรัพย์สินของผู้เยาว์ ไม่เข้าข่ายคดีครอบครัว
คดีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้เพิกถอนการโอนทรัพย์สินของผู้ล้มละลายกับผู้คัดค้านซึ่งต้องบังคับตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 อันเป็นกฎหมายพิเศษ มิใช่คดีแพ่งที่ฟ้องต่อศาลเกี่ยวกับผู้เยาว์ซึ่งต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แม้ผู้คัดค้านเป็นผู้เยาว์ก็ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลที่พิจารณาคดีล้มละลายจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9269/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย: อำนาจศาลและดอกเบี้ย
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องยื่นคำร้องอ้างว่า จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทแต่จดทะเบียนใส่ชื่อผู้คัดค้านทั้งสามถือกรรมสิทธิ์แทน ซึ่งเป็นการกระทำภายในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนมีการขอให้จำเลยที่ 2ล้มละลายโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน ขอให้สั่งเพิกถอนการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ยินยอมให้ผู้คัดค้านทั้งสามเข้าถือกรรมสิทธิ์แทนในโฉนดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาท เท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่าการที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนใส่ชื่อผู้คัดค้านทั้งสามดังกล่าวเป็นการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ตามความในมาตรา114 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการกระทำของจำเลยที่ 2 ในคดีนี้ได้ ส่วนที่ผู้คัดค้านทั้งสามยื่นคำคัดค้านว่า จำเลยที่ 2 ไม่ใช่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทก็เป็นเพียงคำให้การที่ปฏิเสธคำร้องของผู้ร้องและทำให้เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทซึ่งคู่ความมีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานเข้ามาสืบในชั้นพิจารณาต่อไป หาทำให้ผู้ร้องไม่อาจยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการโอนในคดีนี้ไม่
เมื่อในชั้นพิจารณาผู้ร้องและผู้คัดค้านได้นำพยานหลักฐานของตนเข้ามาสืบจนสิ้นกระแสความแล้ว ผู้ร้องจะได้นำสืบข้อเท็จจริงใด ๆ อันเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทที่ว่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 หรือไม่จึงเป็นเรื่องของการใช้ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาล
คดีที่จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัวนั้น ต้องเกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัวหรือเป็นคดีที่มีบทบัญญัติใน ป.พ.พ.ที่ให้ความคุ้มครองผู้เยาว์เท่านั้น แต่คดีนี้เป็นคดีร้องขอให้เพิกถอนการโอนหรือการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ผู้ล้มละลายซึ่งต้องบังคับตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 อันเป็นกฎหมายพิเศษ มิใช่คดีแพ่งที่ฟ้องต่อศาลเกี่ยวกับผู้เยาว์ซึ่งต้องบังคับตาม ป.พ.พ. แม้ผู้คัดค้านทั้งสามเป็นผู้เยาว์ คดีนี้ก็ไม่อยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว
การเพิกถอนการโอนหรือการกระทำเป็นไปโดยผลของคำสั่งหรือคำพิพากษา ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนก็ยังถือเป็นการโอนหรือการกระทำโดยชอบอยู่ จึงถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้อง อันจะเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านทั้งสามต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ย ผู้ร้องคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนหรือการกระทำเป็นต้นไป ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
ผู้ร้องว่าความเองในศาลชั้นต้น จึงไม่มีเหตุที่จะกำหนดค่าทนายความให้ ที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความให้ผู้คัดค้านทั้งสามใช้แทนผู้ร้องจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
เมื่อในชั้นพิจารณาผู้ร้องและผู้คัดค้านได้นำพยานหลักฐานของตนเข้ามาสืบจนสิ้นกระแสความแล้ว ผู้ร้องจะได้นำสืบข้อเท็จจริงใด ๆ อันเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทที่ว่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 หรือไม่จึงเป็นเรื่องของการใช้ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาล
คดีที่จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัวนั้น ต้องเกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัวหรือเป็นคดีที่มีบทบัญญัติใน ป.พ.พ.ที่ให้ความคุ้มครองผู้เยาว์เท่านั้น แต่คดีนี้เป็นคดีร้องขอให้เพิกถอนการโอนหรือการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ผู้ล้มละลายซึ่งต้องบังคับตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 อันเป็นกฎหมายพิเศษ มิใช่คดีแพ่งที่ฟ้องต่อศาลเกี่ยวกับผู้เยาว์ซึ่งต้องบังคับตาม ป.พ.พ. แม้ผู้คัดค้านทั้งสามเป็นผู้เยาว์ คดีนี้ก็ไม่อยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว
การเพิกถอนการโอนหรือการกระทำเป็นไปโดยผลของคำสั่งหรือคำพิพากษา ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนก็ยังถือเป็นการโอนหรือการกระทำโดยชอบอยู่ จึงถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้อง อันจะเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านทั้งสามต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ย ผู้ร้องคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนหรือการกระทำเป็นต้นไป ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
ผู้ร้องว่าความเองในศาลชั้นต้น จึงไม่มีเหตุที่จะกำหนดค่าทนายความให้ ที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความให้ผู้คัดค้านทั้งสามใช้แทนผู้ร้องจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9269/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย, อำนาจศาล, และดอกเบี้ย
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องยื่นคำร้องอ้างว่าจำเลยที่2เป็นเจ้าของที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทแต่จดทะเบียนใส่ชื่อผู้คัดค้านทั้งสามถือกรรมสิทธิ์แทนซึ่งเป็นการกระทำภายในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนมีการขอให้จำเลยที่2ล้มละลายโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทนขอให้สั่งเพิกถอนการกระทำของจำเลยที่2ที่ยินยอมให้ผู้คัดค้านทั้งสามเข้าถือกรรมสิทธิ์แทนในโฉนดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทเท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่าการที่จำเลยที่2จดทะเบียนใส่ชื่อผู้คัดค้านทั้งสามดังกล่าวเป็นการกระทำใดๆเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่2ตามความในมาตรา114แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการกระทำของจำเลยที่2ในคดีนี้ได้ส่วนที่ผู้คัดค้านทั้งสามยื่นคำคัดค้านว่าจำเลยที่2ไม่ใช่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทก็เป็นเพียงคำให้การที่ปฏิเสธคำร้องของผู้ร้องและทำให้เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทซึ่งคู่ความมีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานเข้ามาสืบในชั้นพิจารณาต่อไปหาทำให้ผู้ร้องไม่อาจยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการโอนในคดีนี้ไม่ เมื่อในชั้นพิจารณาผู้ร้องและผู้คัดค้านได้นำพยานหลักฐานของตนเข้ามาสืบจนสิ้นกระแสความแล้วผู้ร้องจะได้นำสืบข้อเท็จจริงใดๆอันเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทที่ว่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทเป็นของจำเลยที่2หรือไม่จึงเป็นเรื่องของการใช้ดุลพินิจในการรับฟังพยานของศาล คดีที่จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัวนั้นต้องเกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัวหรือเป็นคดีที่มีบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ให้ความคุ้มครองผู้เยาว์เท่านั้นแต่คดีนี้เป็นคดีร้องขอให้เพิกถอนการโอนหรือการกระทำใดๆเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่2ผู้ล้มละลายซึ่งต้องบังคับตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483อันเป็นกฎหมายพิเศษมิใช่คดีแพ่งที่ฟ้องต่อศาลเกี่ยวกับผู้เยาว์ซึ่งต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แม้ผู้คัดค้านทั้งสามเป็นผู้เยาว์คดีนี้ก็ไม่อยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว การเพิกถอนการโอนหรือการกระทำเป็นไปโดยผลของคำสั่งหรือคำพิพากษาตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนก็ยังถือเป็นการโอนหรือการกระทำโดยชอบอยู่จึงถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้องอันจะเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านทั้งสามต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยผู้ร้องคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนหรือการกระทำเป็นต้นไปปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ผู้ร้องว่าความเองในศาลชั้นต้นจึงไม่มีเหตุที่จะกำหนดค่าทนายความให้ที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความให้ผู้คัดค้านทั้งสามใช้แทนผู้ร้องจึงไม่ชอบศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9237/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ข้อเท็จจริงในคดีล้มละลาย: การนำสืบพยานเพื่อหักล้างข้อตกลงกู้เงินที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยทั้งสองให้การว่าโจทก์มอบเงินให้จำเลยที่1นำไปให้บุคคลภายนอกกู้โดยคิดดอกเบี้ยอัตราระหว่างร้อยละ7ถึง25ต่อเดือนแล้วแบ่งผลประโยชน์กันสัญญากู้เงินตามฟ้องโจทก์นำเงินมาให้จำเลยที่1ปล่อยกู้เพียง375,000บาทแต่โจทก์นำดอกเบี้ยอัตราร้อยละ25ต่อเดือนเป็นเวลา1ปีเป็นเงิน1,125,000บาทมารวมเข้ากับต้นเงินดังกล่าวเป็นเงิน1,500,000บาทแล้วให้จำเลยที่1ทำสัญญากู้เงินโดยมีจำเลยที่2เป็นผู้ค้ำประกันไว้เป็นหลักประกันจำเลยที่1ได้ขายบ้านพร้อมที่ดินของจำเลยที่1ชำระหนี้แทนโจทก์ให้แก่ส.ไปแล้วจำนวน250,000บาทส่วนที่เหลือจำเลยที่1ก็ชำระคืนให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้วคำให้การของจำเลยทั้งสองดังกล่าวจำเลยทั้งสองย่อมนำสืบพยานบุคคลหักล้างได้ว่าสัญญากู้เงินดังกล่าวไม่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งหมดไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94วรรคท้ายนอกจากนี้การที่ห้ามนำสืบพยานบุคคลเพื่อให้มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารอันเป็นการตัดรอนมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวย่อมขัดต่อพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483อันเป็นกฎหมายพิเศษที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งกำหนดให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องพิจารณาเอาความจริงให้ได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวจริงหรือไม่จำเลยทั้งสองชอบที่จะนำสืบพยานดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9237/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานบุคคลหักล้างเอกสารในคดีล้มละลาย ศาลต้องพิจารณาความจริงเพื่อความสงบเรียบร้อย
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14เป็นกฎหมายพิเศษที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งกำหนดให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องพิจารณาเอาความจริงให้ได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวจริงหรือไม่ การที่ห้ามนำสืบพยานบุคคลเพื่อให้มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารอันเป็นการตัดรอน มิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานย่อมขัดต่อ พระราชบัญญัติล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9237/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานหักล้างสัญญากู้เงินและการพิจารณาหนี้สินในคดีล้มละลาย
จำเลยทั้งสองให้การว่า โจทก์มอบเงินให้จำเลยที่ 1 นำไปให้บุคคลภายนอกกู้ โดยคิดดอกเบี้ยอัตราระหว่างร้อยละ 7 ถึง 25 ต่อเดือน แล้วแบ่งผลประโยชน์กัน สัญญากู้เงินตามฟ้องโจทก์นำเงินมาให้จำเลยที่ 1 ปล่อยกู้เพียง375,000 บาท แต่โจทก์นำดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 25 ต่อเดือน เป็นเวลา 1 ปีเป็นเงิน 1,125,000 บาท มารวมเข้ากับต้นเงินดังกล่าวเป็นเงิน 1,500,000บาท แล้วให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันไว้เป็นหลักประกัน จำเลยที่ 1 ได้ขายบ้านพร้อมที่ดินของจำเลยที่ 1 ชำระหนี้แทนโจทก์ให้แก่ ส.ไปแล้วจำนวน 250,000 บาท ส่วนที่เหลือจำเลยที่ 1 ก็ชำระคืนให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว คำให้การของจำเลยทั้งสองดังกล่าว จำเลยทั้งสองย่อมนำสืบพยานบุคคลหักล้างได้ว่า สัญญากู้เงินดังกล่าวไม่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งหมดไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคท้าย นอกจากนี้การที่ห้ามนำสืบพยานบุคคลเพื่อให้มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารอันเป็นการตัดรอนมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวย่อมขัดต่อ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 อันเป็นกฎหมายพิเศษที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งกำหนดให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องพิจารณาเอาความจริงให้ได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวจริงหรือไม่ จำเลยทั้งสองชอบที่จะนำสืบพยานดังกล่าวได้