พบผลลัพธ์ทั้งหมด 633 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6745/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์ในการทุเลาการบังคับคดีและการห้ามฎีกาในเรื่องเดียวกัน
ตามคำร้องของจำเลยทั้งสองที่ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้งดการบังคับคดีและรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองไว้ก่อนจนกว่าศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งเกี่ยวกับการขอให้พิจารณาใหม่นั้น แท้จริงแล้วเนื้อหาของคำร้องเป็นเรื่องการขอทุเลาการบังคับในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ไม่ใช่เป็นเรื่องงดการบังคับคดี แม้ศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งมาในเรื่องงดการบังคับคดีก็ถือได้ว่าเป็นคำสั่งอันเกี่ยวกับการทุเลาการบังคับของศาลอุทธรณ์นั่นเอง กรณีเช่นนี้เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งประการใดแล้วก็เป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจของศาลอุทธรณ์ ซึ่งกฎหมายไม่ประสงค์จะให้ศาลฎีกาไปเกี่ยวข้องกับการขอทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์ การขอทุเลาการบังคับตาม ป.วิ.พ.มาตรา 231ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 จึงเป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนดวิธีการไว้เป็นพิเศษ ไม่อยู่ในบังคับแห่งการอุทธรณ์และฎีกาอย่างเรื่องอื่น ๆดังนั้น ฎีกาจำเลยทั้งสองที่ว่า หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการบังคับคดีและรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองไปก่อนแล้ว และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งกลับคำสั่งศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยทั้งสองดำเนินกระบวนพิจารณาคดีใหม่ จำเลยทั้งสองจะได้รับความเสียหาย ทั้งหนี้ที่โจทก์นำมาเป็นมูลฟ้องคดีนี้ยังไม่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอน และเป็นหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ ซึ่งเป็นฎีกาโต้แย้งคำสั่งของศาลอุทธรณ์ในเรื่องทุเลาการบังคับ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6745/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอทุเลาการบังคับคดีระหว่างอุทธรณ์ในคดีล้มละลาย ไม่อยู่ในอำนาจฎีกา
ตามคำร้องของจำเลยทั้งสองที่ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้งดการบังคับคดีและรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองไว้ก่อนจนกว่าศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งเกี่ยวกับการขอให้พิจารณาใหม่นั้นแท้จริงแล้วเนื้อหาของคำร้องเป็นเรื่องการขอทุเลาการบังคับในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ไม่ใช่เป็นเรื่องงดการบังคับคดีแม้ศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งมาในเรื่องงดการบังคับคดีก็ถือได้ว่าเป็นคำสั่งอันเกี่ยวกับการทุเลาการบังคับของศาลอุทธรณ์นั่นเองกรณีเช่นนี้เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งประการใดแล้วก็เป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจของศาลอุทธรณ์ซึ่งกฎหมายไม่ประสงค์จะให้ศาลฎีกาไปเกี่ยวข้องกับการขอทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์การขอทุเลาการบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา231ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153จึงเป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนดวิธีการไว้เป็นพิเศษไม่อยู่ในบังคับแห่งการอุทธรณ์และฎีกาอย่างเรื่องอื่นๆดังนั้นฎีกาจำเลยทั้งสองที่ว่าหากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการบังคับคดีและรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองไปก่อนแล้วและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งกลับคำสั่งศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยทั้งสองดำเนินกระบวนพิจารณาคดีใหม่จำเลยทั้งสองจะได้รับความเสียหายทั้งหนี้ที่โจทก์นำมาเป็นมูลฟ้องคดีนี้ยังไม่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนและเป็นหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ซึ่งเป็นฎีกาโต้แย้งคำสั่งของศาลอุทธรณ์ในเรื่องทุเลาการบังคับจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6605/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาบังคับคดีและการฟ้องล้มละลาย: เมื่อโจทก์ไม่ดำเนินการบังคับคดีภายใน 10 ปี ย่อมหมดสิทธิฟ้องล้มละลาย
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 แม้ว่าโจทก์ได้ร้องขอให้บังคับคดีและยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 ออกขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้บางส่วนแล้วก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงขั้นตอนของการดำเนินการบังคับคดี เมื่อทรัพย์ดังกล่าวไม่พอชำระหนี้และหนี้ที่เหลืออยู่โจทก์ก็มิได้ดำเนินการบังคับคดีเสียภายใน 10 ปี นับแต่ศาลมีคำพิพากษา โจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 แล้ว จึงไม่อาจนำหนี้ที่พ้นกำหนดเวลาบังคับคดีดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 2 ให้ล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6588/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาทชำระค่าเช่าซื้อ แม้มีการบอกเลิกสัญญาและยึดรถ ก็ยังถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยออกเช็คพิพาท2ฉบับให้ผู้เสียหายเพื่อชำระค่าเช่าซื้อรถเกรดแต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะจำเลยมีเงินในบัญชีไม่พอจ่ายต่อมาผู้เสียหายบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อและยึดรถเกรดคืนไปจากจำเลยแม้มีผลทำให้จำเลยไม่ต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างให้แก่ผู้เสียหายอีกต่อไปก็หาทำให้ความผิดอาญาที่เกิดขึ้นสำเร็จแล้วระงับไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6377/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาเรื่องการริบของกลาง ศาลฎีกาไม่รับฎีกาเนื่องจากเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 1 เดือน และปรับ 1,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปีให้พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยมีกำหนด 1 เดือนและไม่ริบรถจักรยานยนต์ของกลาง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลาง เป็นการแก้ไขเล็กน้อยต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่งที่จำเลยฎีกาว่า รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นของผู้อื่นซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดขอให้มีคำสั่งคืนรถจักรยานยนต์ของกลางนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6348/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือน: นิติบุคคล-ส่วนราชการ, การประเมินค่ารายปีตามกฎหมาย, และความรับผิดของผู้เกี่ยวข้อง
ผู้ที่จะเป็นคู่ความในคดีได้นั้นจะต้องเป็นบุคคลดังกล่าวไว้ในป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) และคำว่าบุคคลนั้นตาม ป.พ.พ.ได้แก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล สำหรับการจะมีขึ้นได้ซึ่งนิติบุคคลนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 65 ให้มีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่ง ป.พ.พ.หรือกฎหมายอื่น เมื่อไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายกำหนดให้จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล ส่วนอำเภอเมืองชลบุรีจำเลยที่ 1 จึงเป็นเพียงส่วนราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี มิใช่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลโจทก์จึงไม่สามารถฟ้องจำเลยที่ 1 ได้
ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้ตัวแทนเชิดของนิติบุคคลเป็นนิติบุคคลตามนิติบุคคลตัวการไปด้วย ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนเชิดขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีซึ่งเป็นนิติบุคคลก็ตาม จำเลยที่ 1 การหาใช่เป็นนิติบุคคลตามตัวการด้วยไม่
โจทก์บรรยายฟ้องไปตามใบแจ้งรายการประเมินและใบแจ้งคำชี้ขาดที่โจทก์ได้รับมา ยอดเงินภาษีโรงเรือนพิพาทที่โจทก์จะต้องชำระตามใบแจ้งคำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 ก็ลดลงจากเดิม 2,608,121 บาท เหลือ 1,593,190 บาทส่วนค่ารายปีที่จำเลยที่ 2 แจ้งมาจะมีจำนวน 509,823,175 บาท ตามสำเนาใบแจ้งคำชี้ขาดเอกสารท้ายฟ้องหรือไม่ เป็นแต่เพียงรายละเอียดที่คู่ความสามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
การกำหนดค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 และการพิจารณาชี้ขาดของจำเลยที่ 2 มิได้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 วรรคสองแห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 อีกทั้งไม่เป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินค่ารายปีของทรัพย์สินลงวันที่ 30 มีนาคม 2535 ที่ว่า กรณีที่หาค่าเช่าไม่ได้เนื่องจากเจ้าของทรัพย์สินดำเนินการเองหรือด้วยเหตุประการอื่นให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินค่ารายปีโดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ แต่ได้นำหลักเกณฑ์มูลค่าทรัพย์สินมาเป็นเกณฑ์ประเมิน การกำหนดค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 และคำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 จึงมิได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของบทกฎหมายดังกล่าวเป็นการไม่ชอบ
กองดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ มีหน้าที่โดยตรงในการจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภค ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อนำไปใช้วัดภาวะเงินเฟ้อและภาวะค่าครองชีพของประชาชนในประเทศและมีหน่วยงานทางราชการหลายแห่งได้นำไปใช้ประมาณการในการจัดเก็บภาษี โดยนำไปประเมินรายได้ของรัฐบาลวิธีการหาข้อมูลเพื่อนำมาทำดัชนีราคาผู้บริโภค จะมีการส่งเจ้าหน้าที่ออกไปสำรวจจัดเก็บข้อมูลเมื่อได้ข้อมูลมาแล้วก็เอาข้อมูลมาคำนวณเพื่อทำดัชนีราคาผู้บริโภคเป็นรายเดือนและรายปี และมีการเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงของดัชนีที่คำนวณได้นั้นในปีปัจจุบันและปีที่แล้วมา โดยเปรียบเทียบออกมาเป็นอัตราส่วนร้อยละด้วย ดังนั้น การที่โจทก์นำเอาดัชนีราคาผู้บริโภคซึ่งเป็นข้อมูลของทางราชการมาเป็นหลักในการคำนวณค่ารายปีที่เพิ่มขึ้นจากปีที่ล่วงแล้วนั้นย่อมเป็นวิธีการที่ถือว่าเหมาะสมและมีเหตุอันสมควร
จำเลยที่ 1 เป็นเพียงส่วนราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1ศาลจึงไม่อาจบังคับตามคำขอของโจทก์ให้จำเลยที่ 1 คืนเงินภาษีโรงเรือนพิพาทพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ได้ ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีนั้นจำเลยที่ 2 เข้ามาเกี่ยวข้องกับคดีในฐานะเป็นผู้ชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ของโจทก์ตามกฎหมาย ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 รับชำระภาษีไว้จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีคืนภาษีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 หรือองค์การ-บริหารส่วนจังหวัดชลบุรีรับไว้พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์
ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้ตัวแทนเชิดของนิติบุคคลเป็นนิติบุคคลตามนิติบุคคลตัวการไปด้วย ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนเชิดขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีซึ่งเป็นนิติบุคคลก็ตาม จำเลยที่ 1 การหาใช่เป็นนิติบุคคลตามตัวการด้วยไม่
โจทก์บรรยายฟ้องไปตามใบแจ้งรายการประเมินและใบแจ้งคำชี้ขาดที่โจทก์ได้รับมา ยอดเงินภาษีโรงเรือนพิพาทที่โจทก์จะต้องชำระตามใบแจ้งคำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 ก็ลดลงจากเดิม 2,608,121 บาท เหลือ 1,593,190 บาทส่วนค่ารายปีที่จำเลยที่ 2 แจ้งมาจะมีจำนวน 509,823,175 บาท ตามสำเนาใบแจ้งคำชี้ขาดเอกสารท้ายฟ้องหรือไม่ เป็นแต่เพียงรายละเอียดที่คู่ความสามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
การกำหนดค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 และการพิจารณาชี้ขาดของจำเลยที่ 2 มิได้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 วรรคสองแห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 อีกทั้งไม่เป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินค่ารายปีของทรัพย์สินลงวันที่ 30 มีนาคม 2535 ที่ว่า กรณีที่หาค่าเช่าไม่ได้เนื่องจากเจ้าของทรัพย์สินดำเนินการเองหรือด้วยเหตุประการอื่นให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินค่ารายปีโดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ แต่ได้นำหลักเกณฑ์มูลค่าทรัพย์สินมาเป็นเกณฑ์ประเมิน การกำหนดค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 และคำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 จึงมิได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของบทกฎหมายดังกล่าวเป็นการไม่ชอบ
กองดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ มีหน้าที่โดยตรงในการจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภค ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อนำไปใช้วัดภาวะเงินเฟ้อและภาวะค่าครองชีพของประชาชนในประเทศและมีหน่วยงานทางราชการหลายแห่งได้นำไปใช้ประมาณการในการจัดเก็บภาษี โดยนำไปประเมินรายได้ของรัฐบาลวิธีการหาข้อมูลเพื่อนำมาทำดัชนีราคาผู้บริโภค จะมีการส่งเจ้าหน้าที่ออกไปสำรวจจัดเก็บข้อมูลเมื่อได้ข้อมูลมาแล้วก็เอาข้อมูลมาคำนวณเพื่อทำดัชนีราคาผู้บริโภคเป็นรายเดือนและรายปี และมีการเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงของดัชนีที่คำนวณได้นั้นในปีปัจจุบันและปีที่แล้วมา โดยเปรียบเทียบออกมาเป็นอัตราส่วนร้อยละด้วย ดังนั้น การที่โจทก์นำเอาดัชนีราคาผู้บริโภคซึ่งเป็นข้อมูลของทางราชการมาเป็นหลักในการคำนวณค่ารายปีที่เพิ่มขึ้นจากปีที่ล่วงแล้วนั้นย่อมเป็นวิธีการที่ถือว่าเหมาะสมและมีเหตุอันสมควร
จำเลยที่ 1 เป็นเพียงส่วนราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1ศาลจึงไม่อาจบังคับตามคำขอของโจทก์ให้จำเลยที่ 1 คืนเงินภาษีโรงเรือนพิพาทพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ได้ ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีนั้นจำเลยที่ 2 เข้ามาเกี่ยวข้องกับคดีในฐานะเป็นผู้ชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ของโจทก์ตามกฎหมาย ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 รับชำระภาษีไว้จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีคืนภาษีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 หรือองค์การ-บริหารส่วนจังหวัดชลบุรีรับไว้พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6348/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนที่มิชอบตามมูลค่าทรัพย์สินแทนหลักเกณฑ์ตามกฎหมาย และการคืนเงินภาษีที่เรียกเก็บเกิน
ผู้ที่จะเป็นคู่ความในคดีได้นั้นจะต้องเป็นบุคคลดังกล่าวไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา1(11)และคำว่าบุคคลนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้แก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลสำหรับการจะมีขึ้นได้ซึ่งนิติบุคคลนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา65ให้มีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่นเมื่อไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายกำหนดให้จำเลยที่1เป็นนิติบุคคลส่วนอำเภอเมืองชลบุรีจำเลยที่1จึงเป็นเพียงส่วนราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีมิใช่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลโจทก์จึงไม่สามารถฟ้องจำเลยที่1ได้ ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้ตัวแทนเชิดของนิติบุคคลเป็นนิติบุคคลตามนิติบุคคลตัวการไปด้วยดังนั้นแม้จำเลยที่1เป็นตัวแทนเชิดขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีซึ่งเป็นนิติบุคคลก็ตามจำเลยที่1การหาใช่เป็นนิติบุคคลตามตัวการด้วยไม่ โจทก์บรรยายฟ้องไปตามใบแจ้งรายการประเมินและใบแจ้งคำชี้ขาดที่โจทก์ได้รับมายอดเงินภาษีโรงเรือนพิพาทที่โจทก์จะต้องชำระตามใบแจ้งคำชี้ขาดของจำเลยที่2ก็ลดลงจากเดิม2,608,121บาทเหลือ1,593,190บาทส่วนค่ารายปีที่จำเลยที่2แจ้งมาจะมีจำนวน509,823,175บาทตามสำเนาใบแจ้งคำชี้ขาดเอกสารท้ายฟ้องหรือไม่เป็นแต่เพียงรายละเอียดที่คู่ความสามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม การกำหนดค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1และการพิจารณาชี้ขาดของจำเลยที่2มิได้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา8วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ.2475อีกทั้งไม่เป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินค่ารายปีของทรัพย์สินลงวันที่30มีนาคม2535ที่ว่ากรณีที่หาค่าเช่าไม่ได้เนื่องจากเจ้าของทรัพย์สินดำเนินการเองหรือด้วยเหตุประการอื่นให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินค่ารายปีโดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สินขนาดพื้นที่ทำเลที่ตั้งและบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์แต่ได้นำหลักเกณฑ์มูลค่าทรัพย์สินมาเป็นเกณฑ์ประเมินการกำหนดค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1และคำชี้ขาดของจำเลยที่2จึงมิได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของบทกฎหมายดังกล่าวเป็นการไม่ชอบ กองดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์มีหน้าที่โดยตรงในการจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภคซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อนำไปใช้วัดภาวะเงินเฟ้อและภาวะค่าครองชีพของประชาชนในประเทศและมีหน่วยงานทางราชการหลายแห่งได้นำไปใช้ประมาณการในการจัดเก็บภาษีโดยนำไปประเมินรายได้ของรัฐบาลวิธีการหาข้อมูลเพื่อนำมาทำดัชนีราคาผู้บริโภคจะมีการส่งเจ้าหน้าที่ออกไปสำรวจจัดเก็บข้อมูลเมื่อได้ข้อมูลมาแล้วก็เอาข้อมูลมาคำนวณเพื่อทำดัชนีราคาผู้บริโภคเป็นรายเดือนและรายปีและมีการเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงของดัชนีที่คำนวณได้นั้นในปีปัจจุบันและปีที่แล้วมาโดยเปรียบเทียบออกมาเป็นอัตราส่วนร้อยละด้วยดังนั้นการที่โจทก์นำเอาดัชนีราคาผู้บริโภคซึ่งเป็นข้อมูลของทางราชการมาเป็นหลักในการคำนวณค่ารายปีที่เพิ่มขึ้นจากปีที่ล่วงแล้วนั้นย่อมเป็นวิธีการที่ถือว่าเหมาะสมและมีเหตุอันสมควร จำเลยที่1เป็นเพียงส่วนราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคลโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่1ศาลจึงไม่อาจบังคับตามคำขอของโจทก์ให้จำเลยที่1คืนเงินภาษีโรงเรือนพิพาทพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ได้ส่วนจำเลยที่2ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีนั้นจำเลยที่2เข้ามาเกี่ยวข้องกับคดีในฐานะเป็นผู้ชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ของโจทก์ตามกฎหมายไม่ปรากฏว่าจำเลยที่2รับชำระภาษีไว้จำเลยที่2จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีคืนภาษีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีรับไว้พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5986/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจรองผู้จัดการทั่วไปลงนามแทนผู้จัดการทั่วไป และผลผูกพันสัญญาเช่า แม้มีการฟ้องขับไล่
จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดตามหลักทั่วไปเมื่อผู้จัดการทั่วไปไม่อยู่รองผู้จัดการทั่วไปก็จะลงชื่อแทนได้การที่ย. ซึ่งเป็นรองผู้จัดการทั่วไปของจำเลยลงชื่อในเอกสารหมายจ.4ในขณะที่ผู้จัดการทั่วไปไม่อยู่ไปต่างประเทศนั้นถือว่าเป็นการลงชื่อในฐานะผู้แทนของจำเลย จำเลยเป็นบริษัทย่อมมีระบบและขั้นตอนในการทำงานหากมีสัญญาเช่าใหม่กับโจทก์ไว้จริงทางจำเลยก็ไม่จำเป็นต้องทำหนังสือเอกสารหมายจ.4เสนอให้โจทก์เช่าต่ออีกแต่ปรากฎว่าตามข้อตกลงที่จะให้โจทก์เช่าต่อไปนั้นโจทก์จะต้องเสียค่าเช่าเพิ่มอีกร้อยละ15เมื่อได้รับค่าเช่าเพิ่มขึ้นเป็นที่พอใจแล้วจำเลยย่อมจะให้โจทก์เช่าต่อไปโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าได้มีการฟ้องขับไล่กันไว้หรือไม่จึงไม่น่าเชื่อว่าจำเลยได้ตกลงให้โจทก์เช่าห้องพิพาทโดยสำคัญผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5893/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายจากหนี้ตามคำพิพากษา ไม่ใช่การบังคับคดี อายุความ 10 ปี
การที่โจทก์นำหนี้ตามคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดแล้วมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายมิใช่เรื่องการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับระยะเวลาการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 มาบังคับได้ เมื่อขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องยังไม่เลยกำหนดเวลาสิบปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษา โจทก์จึงมีสิทธินำหนี้ที่เหลือจากการบังคับคดีตามคำพิพากษามาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5815/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกที่ไม่ถูกต้องตามที่อยู่จริง และผลกระทบต่อกระบวนการพิจารณาคดีล้มละลาย
จำเลยอ้างในคำร้องว่าบ้านเลขที่ตามคำฟ้องไม่มีตัวบ้านหรืออาคารที่พักอาศัยและพนักงานเดินหมายนำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องกับหมายเรียกของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไปปิดไว้ณหอพักระพีพร ซึ่งไม่ใช่บ้านเลขที่ตามคำฟ้องหากเป็นจริงตามคำร้องของจำเลยดังกล่าวการส่งหมายดังกล่าวก็เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา79และไม่มีผลตามกฎหมายจำเลยจึงยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา27วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153ดังนั้นศาลชั้นต้นชอบที่จะรับคำร้องของจำเลยไว้ไต่สวนต่อไปว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยชอบหรือไม่