พบผลลัพธ์ทั้งหมด 633 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5815/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้การพิจารณาคดีไม่ถูกต้อง
จำเลยอ้างในคำร้องว่า บ้านเลขที่ตามคำฟ้อง ไม่มีตัวบ้านหรืออาคารที่พักอาศัย และพนักงานเดินหมายนำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องกับหมายเรียกของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไปปิดไว้ ณ หอพักระพีพร ซึ่งไม่ใช่บ้านเลขที่ตามคำฟ้อง หากเป็นจริงตามคำร้องของจำเลยดังกล่าว การส่งหมายดังกล่าวก็เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 79 และไม่มีผลตามกฎหมาย จำเลยจึงยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 ดังนั้นศาลชั้นต้นชอบที่จะรับคำร้องของจำเลยไว้ไต่สวนต่อไปว่า การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยชอบหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5616/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความผิดบุกรุกที่ดินสาธารณะ และการลงโทษความผิดหลายกรรม
จำเลยบุกรุกเข้าครอบครองที่ดินโดยรู้ว่าเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน มีความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9,108 ทวิ วรรคสอง ส่วนความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ. มาตรา 362, 365 ที่โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยมาด้วยนั้น กฎหมายมุ่งประสงค์จะลงโทษผู้ที่บุกรุกอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเท่านั้น ไม่ใช่บทบัญญัติที่จะลงโทษผู้ที่บุกรุกที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน จึงลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 362, 365 ไม่ได้ แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225
ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันกับความผิดฐานบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9เพราะความผิดแต่ละฐานดังกล่าวต่างมีสภาพและลักษณะของการกระทำที่แตกต่างกันสามารถแยกเป็นคนละส่วนต่างหากจากกันได้ ดังนั้น จึงนำความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตมาลงโทษจำเลยได้
ป.อ.มาตรา 29, 30 การยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับและการกักขังแทนค่าปรับเป็นวิธีที่จะกระทำเพื่อเป็นการชดใช้ค่าปรับเป็นการบังคับคดี ไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องกล่าวไว้ในคำพิพากษา
ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันกับความผิดฐานบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9เพราะความผิดแต่ละฐานดังกล่าวต่างมีสภาพและลักษณะของการกระทำที่แตกต่างกันสามารถแยกเป็นคนละส่วนต่างหากจากกันได้ ดังนั้น จึงนำความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตมาลงโทษจำเลยได้
ป.อ.มาตรา 29, 30 การยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับและการกักขังแทนค่าปรับเป็นวิธีที่จะกระทำเพื่อเป็นการชดใช้ค่าปรับเป็นการบังคับคดี ไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องกล่าวไว้ในคำพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5616/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกที่สาธารณะ, ความผิดหลายกรรมต่างกัน, การปรับบทกฎหมาย, และการบังคับคดีค่าปรับ
ความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา362,365กฎหมายมุ่งประสงค์ลงโทษผู้บุกรุกอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเท่านั้นไม่ใช่บทบัญญัติที่จะลงโทษผู้บุกรุกที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งมีบัญญัติไว้โดยเฉพาะตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา9,108ทวิวรรคสองและแม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดต่างกรรมกับความผิดฐานบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐเพราะต่างมีสภาพและลักษณะของการกระทำที่แตกต่างกันสามารถแยกเป็นคนละส่วนต่างหากจากกันได้ การยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับและการกักขังแทนค่าปรับตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา29,30เป็นวิธีที่จะกระทำเพื่อเป็นการชดใช้ค่าปรับเป็นการบังคับคดีไม่จำที่ศาลจะต้องกล่าวไว้ในคำพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5444/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีและการจำหน่ายหนี้สูญ: ข้อโต้แย้งเรื่องอำนาจเจ้าพนักงานประเมินและการยกข้ออุทธรณ์ใหม่ในชั้นฎีกา
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า เจ้าพนักงานกองตรวจสอบภาษีอากรของจำเลย ทบทวนประเด็นการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของโจทก์โดยมิได้รับอนุมัติจากผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาษีอากรเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบและขั้นตอนของทางราชการ จำเลยจึงไม่มีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีอากรจากโจทก์นั้นอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวมิได้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5444/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทบทวนประเด็นภาษีโดยไม่ได้รับอนุมัติ ทำให้การประเมินภาษีเป็นโมฆะ – ข้ออุทธรณ์ที่ไม่ได้ยกขึ้นในศาลภาษีอากรกลาง
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า เจ้าพนักงานกองตรวจสอบภาษีอากรของจำเลย ทบทวนประเด็นการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของโจทก์โดยมิได้รับอนุมัติจากผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาษีอากรเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบและขั้นตอนของทางราชการ จำเลยจึงไม่มีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีอากรจากโจทก์นั้นอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวมิได้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5269/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นบัญชีระบุพยาน เกินกำหนด – ศาลไม่รับ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคหนึ่งกำหนดให้คู่ความยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานหลังวันชี้สองสถานถึงแปดวัน ทั้งไม่ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตอ้างพยานหลักฐานโดยแสดงให้เป็นที่พอใจต่อศาลว่ามีเหตุอันสมควรที่ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดเวลาดังกล่าวได้ตามวรรคสี่ของมาตราเดียวกัน จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะไม่รับบัญชีระบุพยานของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5269/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นบัญชีระบุพยานไม่ตรงตามกำหนดเวลา และการไม่อนุญาตให้แก้ไขโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา88วรรคหนึ่งกำหนดให้คู่ความยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่าสิบห้าวันโจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานหลังวันชี้สองสถานถึงแปดวันทั้งไม่ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตอ้างพยานหลักฐานโดยแสดงให้เป็นที่พอใจต่อศาลว่ามีเหตุอันสมควรที่ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานตากำหนดเวลาดังกล่าวได้ตามวรรคสี่ของมาตราเดียวกันจึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะไม่รับบัญชีระบุพยานของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5137/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: สถานที่ทำการที่เปลี่ยนแปลงและไม่มีหน้าที่ชำระภาษี
แม้จำเลยที่ 1 จะเคยมีสำนักงานอยู่ที่เลขที่ 1745/11 ถนนปิ่นเกล้า - นครชัยศรี แขวงบางบำหรุ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ก็ตามแต่สำนักงานดังกล่าวมิใช่สำนักงานของจำเลยที่ 1 ที่ได้จดทะเบียนไว้ ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร ทั้งปรากฏว่าโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างเลขที่1745/11 ดังกล่าวก็ได้ถูกเพลิงไหม้ตั้งแต่ต้นปี 2536 ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะได้ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2536 ต่อโจทก์ และในการยื่นแบบแจ้งรายการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2536 นั้นจำเลยที่ 1 ระบุว่า อยู่บ้านเลขที่ 19/1 ถนนพญาไท แขวงพญาไท เขตพญาไทกรุงเทพมหานคร อันเป็นการที่จำเลยที่ 1 แจ้งให้โจทก์ทราบถึงบ้านเรือนหรือสำนักการค้าของตนที่โจทก์จะติดต่อกับจำเลยที่ 1 ได้หลังจากที่ได้เกิดเพลิงไหม้โรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างเลขที่ 1745/11 สำหรับสำนักงานชั่วคราวซึ่งอยู่ด้านหลังอาคารห้างสรรพสินค้า ว. พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ได้นำใบแจ้งรายการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินไปส่งและปิดไว้นั้น ก็ได้ความว่าไม่มีป้ายชื่อแต่อย่างใด ทั้งจำเลยที่ 1 เป็นเพียงผู้ให้เช่าโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างเลขที่ 1745/11 และไม่ปรากฏว่ามีธุรกิจอย่างอื่นในสถานที่ดังกล่าวอีก เมื่อโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างที่ให้เช่าได้ถูกเพลิงไหม้ไปแล้ว จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องมีสำนักงานไว้ณ สถานที่นั้นอีก นอกจากนั้นสำนักงานชั่วคราวที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์นำแบบภ.ร.ด.8 (ใบแจ้งรายการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน) ไปปิดประกาศไว้นั้นเป็นสำนักงานของห้างสรรพสินค้า ว.ผู้เช่าซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากจำเลยที่ 1จึงฟังไม่ได้ว่า สำนักงานชั่วคราวที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์นำใบแจ้งการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินไปปิดไว้ เป็นบ้านเรือนหรือสำนักการค้าของจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินไปให้จำเลยที่ 1 ผู้รับประเมินทรัพย์สินได้ทราบโดยชอบ ตามมาตรา 24 วรรคท้าย แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวจำเลยทั้งสี่จึงยังไม่มีหน้าที่ต้องชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินตามประเมินและค่าเพิ่มแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4871/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญาซื้อขาย/จ้างงานโดยความตกลง: การคืนเงินพร้อมดอกเบี้ย
โจทก์มิได้ชำระเงินค่างวดตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ แม้โจทก์ชำระค่างวดล่วงเลยเวลาที่กำหนด จำเลยก็ยอมรับเงินนั้นตลอดมา ไม่ได้มีการทักท้วงหรือให้จ่ายเบี้ยปรับตามสัญญาแต่อย่างใด แสดงว่าคู่สัญญามิได้มีเจตนาถือเอากำหนดเวลาการชำระค่างวดเป็นสาระสำคัญ ดังนั้น แม้โจทก์จะผิดสัญญาในข้อนี้จำเลยก็จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญายังมิได้ แต่จะต้องบอกกล่าวกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้ปฏิบัติตาม ป.พ.พ.มาตรา 387 เสียก่อน การที่จำเลยได้บอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ตามหนังสือแจ้งริบเงินมัดจำและบอกเลิกสัญญานั้น เป็นการแสดงเจตนาเลิกสัญญาแก่โจทก์ เมื่อโจทก์มีหนังสือแจ้งจำเลยเพื่อขอให้ยืนยันว่าจะปฏิบัติตามสัญญาหรือจะเลิกสัญญาแก่โจทก์ หากจำเลยไม่ตอบแจ้งมาภายใน 10 วัน จะถือว่าจำเลยประสงค์เลิกสัญญา และจำเลยไม่ตอบไปให้โจทก์ทราบ แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาจะเลิกสัญญาอยู่ การที่โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยว่า เมื่อจำเลยไม่ประสงค์ที่จะปฏิบัติตามสัญญาต่อไป จำเลยจึงต้องคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยรวมทั้งค่าเสียหายตามหนังสือชดใช้ค่าเสียหาย คืนสู่สภาพเดิมเอกสารหมาย จ.9 นั้น ถือได้ว่าโจทก์แสดงเจตนาสนองตอบตกลงเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้ว สัญญาว่าจ้างงานสถาปัตยกรรมห้องชุดและควบคุมงาน และสัญญาจะซื้อขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดอาคารชุดระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นอันเลิกกันโดยความตกลงของคู่สัญญา ผลของการเลิกสัญญาโดยความตกลงของคู่สัญญาเช่นนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่าคู่สัญญาได้มีการตกลงกันไว้ประการใดก็ต้องให้คู่สัญญาได้กลับคืนสู่ฐานะเดิมโดยอนุโลม ตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 โดยที่คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม จำเลยจึงต้องคืนเงินที่ได้รับไว้พร้อมด้วยดอกเบี้ยคิดตั้งแต่เวลาที่ได้รับไว้
อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ตามสัญญาจะซื้อขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดอาคารชุดนั้นใช้บังคับสำหรับกรณีที่มีการผิดสัญญาและคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งใช้สิทธิเลิกสัญญา แต่การเลิกสัญญาโดยความตกลงของคู่สัญญาโดยไม่ได้มีการผิดสัญญา และคู่สัญญามิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยประการใด เงินที่ได้ชำระกันตามสัญญาผู้รับเงินจึงต้องคืนเงินนั้นพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่เวลาที่ได้รับไว้
อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ตามสัญญาจะซื้อขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดอาคารชุดนั้นใช้บังคับสำหรับกรณีที่มีการผิดสัญญาและคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งใช้สิทธิเลิกสัญญา แต่การเลิกสัญญาโดยความตกลงของคู่สัญญาโดยไม่ได้มีการผิดสัญญา และคู่สัญญามิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยประการใด เงินที่ได้ชำระกันตามสัญญาผู้รับเงินจึงต้องคืนเงินนั้นพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่เวลาที่ได้รับไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4871/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญาก่อสร้าง: การชำระเงินไม่ตรงตามกำหนด, ยอมรับชำระช้า, และเจตนาเลิกสัญญาโดยความตกลง
โจทก์มิได้ชำระเงินค่างวดตามระยะเวลาที่กำหนดไว้แม้โจทก์ชำระค่างวดล่วงเลยเวลาที่กำหนดจำเลยก็ยอมรับเงินนั้นตลอดมาไม่ได้มีการทักท้วงหรือให้จ่ายเบี้ยปรับตามสัญญาแต่อย่างใดแสดงว่าคู่สัญญามิได้มีเจตนาถือเอากำหนดเวลาการชำระค่างวดเป็นสาระสำคัญดังนั้นแม้โจทก์จะผิดสัญญาในข้อนี้จำเลยก็จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญายังมิได้แต่จะต้องบอกกล่าวกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา387เสียก่อนการที่จำเลยได้บอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ตามหนังสือแจ้งริบเงินมัดจำและบอกเลิกสัญญานั้นเป็นการแสดงเจตนาเลิกสัญญาแก่โจทก์เมื่อโจทก์มีหนังสือแจ้งจำเลยเพื่อขอให้ยืนยันว่าจะปฏิบัติตามสัญญาหรือจะเลิกสัญญาแก่โจทก์หากจำเลยไม่ตอบแจ้งมาภายใน10วันจะถือว่าจำเลยประสงค์เลิกสัญญาและจำเลยไม่ตอบไปให้โจทก์ทราบแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาจะเลิกสัญญาอยู่การที่โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยวาเมื่อจำเลยไม่ประสงค์ที่จะปฏิบัติตามสัญญาต่อไปจำเลยจึงต้องคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยรวมทั้งค่าเสียหายตามหนังสือชดใช้ค่าเสียหายคืนสู่สภาพเดิมเอกสารหมายจ.9นั้นถือได้ว่าโจทก์แสดงเจตนาสนองตอบตกลงเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้วสัญญาว่าจ้างงานสถาปัตยกรรมห้องชุดและควบคุมงานและสัญญาจะซื้อขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดอาคารชุดระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นอันเลิกกันโดยความตกลงของคู่สัญญาผลของการเลิกสัญญาโดยความตกลงของคู่สัญญาเช่นนี้เมื่อไม่ปรากฏว่าคู่สัญญาได้มีการตกลงกันไว้ประการใดก็ต้องให้คู่สัญญาได้กลับคืนสู่ฐานะเดิมโดยอนุโลมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391โดยที่คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมจำเลยจึงต้องคืนเงินที่ได้รับไว้พร้อมด้วยดอกเบี้ยคิดตั้งแต่เวลาที่ได้รับไว้ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ15ต่อปีตามสัญญาจะซื้อขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดอาคารชุดนั้นใช้บังคับสำหรับกรณีที่มีการผิดสัญญาและคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งใช้สิทธิเลิกสัญญาแต่การเลิกสัญญาโดยความตกลงของคู่สัญญาโดยไม่ได้มีการผิดสัญญาและคู่สัญญามิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยประการใดเงินที่ได้ชำระกันตามสัญญาผู้รับเงินจึงต้องคืนเงินนั้นพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5ต่อปีนับแต่เวลาที่ได้รับไว้