คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สวรรค์ ศักดารักษ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 643 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4115/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อที่ดินคืนของผู้เช่าตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กรณีผู้รับโอนซื้อมาในราคาตลาด
โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินพิพาททำนาจากส. ต่อมาศาลมีคำสั่งให้ยึดที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดจำเลยที่1เป็นผู้ประมูลได้ถือเป็นการซื้อจากเจ้าของเดิมเป็นการรับโอนที่ดินพิพาทตามมาตรา28แห่งพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524ที่ผู้รับโอนต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนที่มีต่อผู้เช่าศาลเป็นเพียงดำเนินการขายทอดตลาดเท่านั้นหากจำเลยที่1จะขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่3จะต้องแจ้งให้โจทก์ทราบก่อนถ้าโจทก์ไม่ซื้อจำเลยที่1จึงจะขายให้จำเลยที่3ได้ตามมาตรา53เมื่อจำเลยที่1ไม่ปฎิบัติตามกฎหมายโจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทก่อนจากจำเลยที่3ตามมาตรา54การที่โจทก์ยังคงชำระค่าเช่าที่ดินพิพาทให้จำเลยที่3ไม่เป็นการตัดสิทธิโจทก์ว่าเป็นการสละสิทธิที่จะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่3และการที่คชก.ตำบลมีมติให้โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่3ในราคา1,500,000บาทโดยฝ่ายจำเลยมิได้อุทธรณ์มติดังกล่าวถือว่าโจทก์ได้ปฎิบัติขั้นตอนครบถ้วนตามกฎหมายแล้วมติคชก.ตำบลจึงชอบตามมาตรา54เพราะเป็นราคาตลาดที่จำเลยที่3ซื้อจากจำเลยที่1โดยไม่ปรากฏว่าที่ดินพิพาทมีราคาตลาดสูงกว่านั้นอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4115/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อที่ดินคืนของผู้เช่าตามกฎหมายเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ผู้เช่ามีสิทธิซื้อที่ดินจากผู้รับโอนในราคาเดิม
โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินพิพาทใช้ทำนาโดยเช่าจากส.เจ้าของเดิมมานานโจทก์ทำนาในที่ดินพิพาทตลอดมาจำเลยที่1ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดของศาลซึ่งในขณะนั้นปรากฎว่าโจทก์ยังเป็นผู้เช่าที่ดินพิพาทและทำนาอยู่ดังนั้นการที่จำเลยที่1รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทมาจากเจ้าของเดิมผู้ให้เช่าแม้จำเลยที่1ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดของศาลก็ตามจำเลยที่1ก็ย่อมอยู่ในฐานะเป็นผู้รับโอนที่ดินพิพาทจากเจ้าของเดิมเพราะผู้ขายที่ดินพิพาทที่แท้จริงก็คือเจ้าของเดิมศาลเป็นแต่เพียงดำเนินการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทตามบทบัญญัติของกฎหมายเท่านั้นมิได้มีผลไปลบล้างบทบัญญัติพิเศษในกฎหมายอื่นนอกเหนือจากที่ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะไม่การรับโอนของจำเลยที่1จึงเป็นการรับโอนที่ดินพิพาทตามความในมาตรา28แห่งพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524กล่าวคือการเช่านาย่อมไม่ระงับไปเพราะเหตุโอนกรรมสิทธิ์นาที่เช่าผู้รับโอนต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนที่มีต่อผู้เช่านาตามพระราชบัญญัติดังกล่าวจำเลยที่1ผู้รับโอนต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ที่เจ้าของเดิมซึ่งเป็นผู้ให้เช่าที่ต่อโจทก์ผู้เช่าดังนั้นโจทก์จึงได้รับความคุ้มครองตามมาตรา53แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว กล่าวคือจำเลยที่1ซึ่งมีฐานะเป็นผู้ให้เช่านาเมื่อประสงค์จะขายนาคือที่ดินพิพาทก็มีหน้าที่ต้องแจ้งให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่านาทราบโดยทำเป็นหนังสือแสดงความจำนงจะขายนาพร้อมทั้งระบุราคาที่จะขายและวิธีการชำระเงินยื่นต่อประธานคชก.ตำบลเพื่อแจ้งให้โจทก์ผู้เช่านาทราบภายในสิบห้าวันเสียก่อนถ้าโจทก์ผู้เช่านาไม่ซื้อตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา53วรรคสามจำเลยที่1จึงจะขายให้จำเลยที่3ได้ต่อไปเมื่อจำเลยที่1ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวโจทก์จึงอยู่ในฐานะเป็นผู้มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทก่อนตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา54เมื่อโจทก์ได้ร้องต่อคชก.ตำบลเพื่อขอซื้อที่ดินพิพาทตามสิทธิในกฎหมายดังกล่าวและคชก.ตำบลก็ได้มีมติให้โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่3โดยฝ่ายจำเลยทั้งสามมิได้อุทธรณ์มติของคชก.ตำบลแต่อย่างใดนับว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนครบถ้วนตามมาตรา54ดังกล่าวแล้วโจทก์จึงมีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่3ได้ การที่จำเลยที่3อ้างว่า โจทก์ได้ชำระค่าเช่าที่ดินพิพาทให้จำเลยที่3โดยการชำระผ่านย. แสดงว่าโจทก์สละสิทธิในการที่จะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่3และเป็นการแสดงเจตนาเช่าที่ดินพิพาทจากจำเลยที่3ใหม่นั้นการชำระค่าเช่านั้นเป็นหน้าที่ของผู้เช่าต้องปฏิบัติตามกฎหมายคือตราบใดที่โจทก์ยังเป็นผู้เช่ายังไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโจทก์ก็มีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่านาคือค่าเช่าที่ดินพิพาทเป็นคนละส่วนกันกับสิทธิกันกับสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามบทบัญญัติของมาตรา54แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวการที่พระราชบัญญัติชำระค่าเช่านาคือค่าเช่าที่ดินพิพาทจึงมิใช่ข้อที่จะตัดสิทธิของโจทก์ว่าเป็นการสละสิทธิที่จะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่3และการที่โจทก์ยื่นคำร้องต่อคชก.ตำบลเพื่อขอซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่3นั้นก็เป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายหาใช่เป็นการใช่สิทธิโดยไม่สุจริตไม่ทั้งเป็นการแสดงให้เห็นชัดเจนอยู่ในตัวว่าโจทก์มิได้มีความประสงค์ที่จะสละสิทธิในการซื้อที่ดินพิพาทด้วย ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา54ได้กำหนดให้ผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาจากผู้รับโอนนั้นตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ผู้รับโอนซื้อไว้หรือตามราคาตลาดในขณะนั้นแล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากันเมื่อปรากฎว่าจำเลยที่1ประมูลซื้อที่ดินพิพาทมาจากการขายทอดตลาดในราคา900,000บาทและในวันเดียวกันนั้นได้โอนขายให้จำเลยที่3จำเลยที่3ซื้อที่ดินพิพาทไว้จากจำเลยที่1ในราคา1,500,000บาทแต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าในขณะที่จำเลยที่3รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่1นั้นที่ดินพิพาทมีราคาตลาดเท่ากับราคาที่จำเลยที่3ซื้อมาจากจำเลยที่1คือราคา1,500,000บาทดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่3ในราคาดังกล่าวตามมติของคชก.ตำบลจึงชอบแล้วแต่ที่ศาลอุทธรณ์ไม่กำหนดเวลาให้โจทก์ชำระราคาไว้นั้นไม่ถูกต้องสมบูรณ์ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขโดยกำหนดเวลาให้โจทก์ชำระราคาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4102/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนำเงินฝากประจำเพื่อประกันหนี้: สิทธิบุริมสิทธิจำนำไม่เกิดขึ้นหากกรรมสิทธิ์เงินฝากยังเป็นของผู้ฝาก
จำเลยฝากเงินไว้กับผู้ร้องเงินที่ฝากจึงตกเป็นของผู้ร้องผู้ร้องคงมีแต่หน้าที่คืนเงินให้ครบจำนวนการที่จำเลยทำสัญญาจำนำและมอบสมุดคู่ฝากเงินประจำไว้แก่ผู้ร้องก็เพียงเพื่อประกันหนี้ที่มีต่อผู้ร้องแม้จะยินยอมให้ผู้ร้องนำเงินจากบัญชีดังกล่าวมาชำระหนี้ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวก็เป็นเรื่องความตกลงในการฝากเงินเพื่อเป็นประกันไม่เป็นการจำนำเงินฝากอีกทั้งสมุดคู่ฝากเงินประจำก็เป็นเพียงหลักฐานการรับฝากและถอนเงินที่ผู้ร้องออกให้จำเลยยึดถือไว้เพื่อสะดวกในการฝากและถอนเงินในบัญชีของจำเลยเท่านั้นไม่อยู่ในลักษณะของสิทธิซึ่งมีตราสารผู้ร้องจึงไม่เป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิจำนำไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4101/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนำเงินฝาก: สิทธิบุริมสิทธิของเจ้าหนี้และลักษณะการจำนำสิทธิในตราสาร
จำเลยฝากเงินไว้กับธนาคารผู้ร้อง เงินที่ฝากจึงตกเป็นของผู้ร้อง การที่จำเลยทำสัญญาจำนำและมอบสมุดคู่ฝากเงินประจำไว้แก่ผู้ร้องก็เพียงเพื่อประกันหนี้ที่ลูกหนี้มีต่อผู้ร้อง แม้จำเลยจะตกลงยินยอมให้ผู้ร้องนำเงินจากบัญชีดังกล่าวมาชำระหนี้ของจำเลยที่มีต่อผู้ร้องโดยไม่ต้องบอกกล่าวก็เป็นเรื่องความตกลงในการฝากเงินเพื่อเป็นประกันนั้นเอง ไม่ทำให้ตัวเงินตามจำนวนในบัญชีเงินฝากยังคงเป็นของจำเลยอันผู้ร้องได้ยึดไว้เป็นประกันการชำระหนี้ จึงไม่เป็นการจำนำเงินฝากและการที่จำเลยมอบสมุดคู่ฝากเงินประจำให้ผู้ร้องยึดถือไว้ ก็มิใช่เป็นการจำนำสิทธิซึ่งมีตราสารตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 750 อีกเช่นกันผู้ร้องจึงไม่เป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิจำนำ ไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2827/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับเรือและการกำหนดระยะเวลายื่นคำให้การตาม พ.ร.บ.การกักเรือ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายฐานปฏิบัติผิดสัญญารับขนซึ่งเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องอันเกิดจากสัญญาการให้บริการบรรทุกจึงเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับเรือตามนัยแห่งพระราชบัญญัติการกักเรือพ.ศ.2534มาตรา3เมื่อจำเลยผู้ถูกฟ้องมิได้มีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรการส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่นใดให้แก่จำเลยจึงต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติการกักเรือพ.ศ.2534มาตรา29วรรคหนึ่งกล่าวคือการส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่นนั้นจะมีผลต่อเมื่อกำหนดเวลาสิบห้าวันได้ล่วงพ้นไปแล้วนับแต่วันที่ได้ส่งหรือปิดคำคู่ความหรือเอกสารนั้นคดีนี้ปรากฏว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวแต่จำเลยแต่งตั้งให้บ.เป็นตัวแทนในการรับเอกสารต่างๆและเจ้าพนักงานปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องณที่ภูมิลำเนาของบ.ตัวแทนของจำเลยเมื่อวันที่7มกราคม2537จึงต้องเริ่มนับระยะเวลาตั้งแต่วันที่8มกราคม2537ครบกำหนด15วันซึ่งพระราชบัญญัติการกักเรือพ.ศ.2534มาตรา29วรรคสองบัญญัติให้ถือว่าจำเลยที่1ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องในวันที่22มกราคม2537จึงต้องเริ่มนับกำหนดเวลายื่นคำให้การภายใน15วันตั้งแต่วันที่23มกราคม2537ครบกำหนดที่จำเลยจะยื่นคำให้การได้ภายในวันที่6กุมภาพันธ์2537เป็นอย่างช้าดังนั้นการที่จำเลยยื่นคำให้การในวันที่7มีนาคม2537จึงพ้นกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้ว ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยมีสิทธิยื่นคำให้การภายในกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา83ทวิและมาตรา83ฉนั้นเมื่อบทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติที่ใช้สำหรับกรณีการส่งหมายเรียกและคำฟ้องแก่จำเลยที่ไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรในกรณีทั่วๆไปแต่คดีนี้เป็นการฟ้องคดีตามสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับเรือซึ่งพระราชบัญญัติกักเรือพ.ศ.2534มาตรา29บัญญัติถึงวิธีการส่งคำคู่ความให้แก่จำเลยซึ่งมิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรไว้เป็นพิเศษโดยเฉพาะแล้วจึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา83ทวิและมาตรา83ฉอันเป็นบททั่วไปมาใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2827/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกักเรือและการส่งคำคู่ความแก่จำเลยต่างชาติ การใช้บทบัญญัติพิเศษของ พ.ร.บ. การกักเรือ
โจทก์ขอให้กักเรือของจำเลยที่1ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติการกักเรือพ.ศ.2534ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้กักเรือของจำเลยที่1ไว้ตามขอต่อมาโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่1ร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเนื่องจากจำเลยที่1ปฎิบัติผิดสัญญารับขนเป็นคดีนี้ดังนี้การส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่นใดให้แก่จำเลยจึงต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติการกักเรือฯมาตรา29วรรคหนึ่ง(1)ซึ่งบัญญัติว่าถ้ามีตัวแทนให้ส่งแก่ตัวแทนและวรรคสามซึ่งบัญญัติว่าให้ถือว่าจำเลยได้รับคำคู่ความหรือเอกสารนั้นเมื่อระยะเวลาสิบห้าวันได้ล่วงพ้นไปแล้วนับแต่วันที่ได้ส่งหรือปิดคำคู่ความหรือเอกสารนั้น เมื่อพระราชบัญญัติการกักเรือฯบัญญัติถึงวิธีการส่งคำคู่ความให้แก่จำเลยซึ่งมิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรไว้เป็นพิเศษโดยเฉพาะแล้วจึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา83ทวิและมาตรา83ฉอันเป็นบททั่วไปมาใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2776/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ไม่ชัดแจ้ง – สิทธิฎีกา – ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่าไม่ชอบอย่างไร หรือเพราะเหตุใด จึงเป็นอุทธรณ์ไม่ชัดแจ้งอันต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้แล้วพิพากษายืน จึงเป็นการไม่ชอบและไม่เป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิฎีกา เมื่อโจทก์ฎีกาทำนองเดียวกับที่อุทธรณ์ขึ้นมาอีก โจทก์จึงไม่มีสิทธิฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2776/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ไม่ชัดแจ้งและการไม่มีสิทธิฎีกา กรณีศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น
โจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่าไม่ชอบอย่างไรหรือเพราะเหตุใดจึงเป็นอุทธรณ์ไม่ชัดแจ้งอันต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้แล้วพิพากษายืนจึงเป็นการไม่ชอบและไม่เป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิฎีกาเมื่อโจทก์ฎีกาทำนองเดียวกับที่อุทธรณ์ขึ้นมาอีกโจทก์จึงไม่มีสิทธิฎีกาศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2772/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวเข้าสถานพินิจฯ ถือมิใช่การลงโทษจำคุก จึงห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลย25ปีแต่เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลางมีกำหนดระยะเวลาขั้นต่ำ3ปีและชั้นสูง4ปีการเปลี่ยนโทษจำคุกดังกล่าวมิใช่เป็นการลงโทษจำคุกเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค2พิพากษายืนจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2621/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีหนี้สินหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต: ไม่ตกตามมาตรา 1754 หากกองมรดกเป็นเจ้าหนี้
อายุความตามมาตรา1754ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นอายุความห้ามฟ้องคดีมรดกหรือคดีที่เจ้าหนี้ขอบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกส่วนคดีที่เจ้ามรดกเป็นเจ้าหนี้มิได้กำหนดอายุความไว้เป็นพิเศษในมาตรา1754เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นทายาทและเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายฟ้องเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้เงินกู้ที่จำเลยทั้งสองกู้ยืมผู้ตายไปแม้โจทก์จะฟ้องเมื่อพ้นกำหนด1ปีนับแต่เจ้ามรดกตายคดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความเพราะคดีนี้ไม่ได้เป็นคดีมรดกหรือเป็นคดีที่เจ้าหนี้ขอบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกไม่ตกอยู่ในบังคับมาตรา1754
of 65