พบผลลัพธ์ทั้งหมด 643 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2594/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีประกันสังคมต้องวางเงินตามประกาศกระทรวงมหาดไทย หากไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนศาลยกฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของเลขาธิการสำนักงานประกันสังคมที่มีคำสั่งยืนตามคำสั่งพนักงานเงินทดแทนซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ60แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างเป็นฝ่ายนำคดีมาสู่ศาลโจทก์ก็ต้องปฏิบัติตามวรรคสี่ของข้อ60แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวโดยจะต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดชำระตามคำสั่งของเลขาธิการสำนักงานประกันสังคมจึงจะฟ้องคดีได้ โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์มีลูกจ้างไม่ถึงสิบคนจึงไม่อยู่ในบังคับของสำนักงานประกันสังคมตามพระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ.2533เป็นการยกกฎหมายคนละเรื่องคนละฉบับไม่อาจนำมาปรับกับคดีที่โจทก์ฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2459/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังเอกสารแทนต้นฉบับ: จำเลยต้องโต้แย้งการไม่มีอยู่จริงหรือความไม่ถูกต้องของเอกสาร
จำเลยเพียงแต่โต้แย้งไว้ในคำให้การว่าเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข5(เอกสารหมายจ.6)เป็นเอกสารที่โจทก์ทำขึ้นฝ่ายเดียวจำเลยไม่ขอรับรองจำเลยหาได้โต้แย้งคัดค้านว่าเอกสารดังกล่าวไม่มีต้นฉบับหรือต้นฉบับนั้นปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วนหรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับอย่างหนึ่งอย่างใดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา125เดิมจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้คัดค้านเอกสารหมายจ.6ไว้แล้วศาลย่อมมีอำนาจรับฟังเอกสารหมายจ.6แทนต้นฉบับได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา93
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2459/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังเอกสารแทนต้นฉบับ: จำเลยต้องโต้แย้งความไม่ถูกต้องของเอกสารอย่างชัดเจนจึงจะคัดค้านได้
จำเลยเพียงแต่โต้แย้งไว้ในคำให้การว่าเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข5(เอกสารหมายจ.6)เป็นเอกสารที่โจทก์ทำขึ้นฝ่ายเดียวจำเลยไม่ขอรับรองจำเลยหาได้โต้แย้งคัดค้านว่าเอกสารดังกล่าวไม่มีต้นฉบับหรือต้นฉบับนั้นปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วนหรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับอย่างหนึ่งอย่างใดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา125เดิมจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้คัดค้านเอกสารหมายจ.6ไว้แล้วศาลย่อมมีอำนาจรับฟังเอกสารหมายจ.6แทนต้นฉบับได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา93
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2459/2539 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านเอกสารในศาล: การไม่โต้แย้งความถูกต้องของต้นฉบับ ทำให้ศาลรับฟังเอกสารสำเนาได้
จำเลยเพียงแต่โต้แย้งไว้ในคำให้การว่า เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 5 (เอกสารหมาย จ.6) เป็นเอกสารที่โจทก์ทำขึ้นฝ่ายเดียว จำเลยไม่ขอรับรอง จำเลยหาได้โต้แย้งคัดค้านว่า เอกสารดังกล่าวไม่มีต้นฉบับหรือต้นฉบับนั้นปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วน หรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับอย่างหนึ่งอย่างใด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 125 เดิม จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้คัดค้านเอกสารหมาย จ.6 ไว้แล้ว ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังเอกสารหมาย จ.6 แทนต้นฉบับได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2459/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังเอกสารสำเนาแทนต้นฉบับ: จำเลยต้องโต้แย้งการไม่มีอยู่จริง หรือความไม่ถูกต้องของเอกสาร เพื่อให้ศาลไม่รับฟัง
จำเลยเพียงแต่โต้แย้งไว้ในคำให้การว่าเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข5(ซึ่งต่อมาในชั้นพิจารณาศาลหมายจ.6)เป็นเอกสารที่โจทก์ทำขึ้นฝ่ายเดียวจำเลยไม่ขอรับรองโดยจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านว่าเอกสารดังกล่าวไม่มีต้นฉบับหรือว่าต้นฉบับนั้นปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วนหรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา125(เดิม)จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้คัดค้านเอกสารหมายจ.6ไว้แล้วศาลย่อมมีอำนาจรับฟังเอกสารดังกล่าวซึ่งเป็นสำเนาแทนต้นฉบับได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตามมาตรา93
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2459/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังเอกสารแทนต้นฉบับเมื่อจำเลยไม่ได้โต้แย้งการปลอมแปลงหรือความไม่ถูกต้อง
จำเลยเพียงแต่โต้แย้งไว้ในคำให้การว่า เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 5(เอกสารหมาย จ.6) เป็นเอกสารที่โจทก์ทำขึ้นฝ่ายเดียว จำเลยไม่ขอรับรอง จำเลยหาได้โต้แย้งคัดค้านว่าเอกสารดังกล่าวไม่มีต้นฉบับหรือต้นฉบับนั้นปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วนหรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับอย่างหนึ่งอย่างใด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 125 เดิม จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้คัดค้านเอกสารหมาย จ.6 ไว้แล้ว ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังเอกสารหมาย จ.6 แทนต้นฉบับได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2404/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมา: การคิดค่าเสียหายจากความผิดสัญญา, เบี้ยปรับ, และการเรียกร้องค่าเสียหายจากบุคคลภายนอก
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่โจทก์ทั้งสองและจำเลยนำสืบมานั้นมีข้อเท็จจริงที่ถูกต้องตรงกันรับฟังได้ว่างานในงวดที่4โจทก์ทั้งสองยังไม่ได้ทำถนนงานไฟฟ้ายังไม่เรียบร้อยส่วนงานในงวดที่5ซึ่งเป็นงวดสุดท้ายยังไม่ได้ติดตั้งสุขภัณฑ์ติดตั้งดวงโคมไฟแล้ววินิจฉัยข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองได้ทำงานสีแล้วและสรุปว่างานในงวดที่4และงวดที่5ที่โจทก์ทั้งสองยังไม่ได้ทำได้แก่ถนนทาสีงานสุขภัณฑ์และงานไฟฟ้าบางส่วนซึ่งจะเห็นได้ว่าเหตุผลสำคัญแห่งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์นั้นศาลอุทธรณ์ถือเอาพยานหลักฐานที่โจทก์ทั้งสองและจำเลยนำสืบข้อเท็จจริงถูกต้องตรงกันมารับฟังเป็นข้อยุติว่าแต่จำเลยกลับฎีกาโต้เถียงว่ารายการค่าใช้จ่ายการสร้างบ้านเอกสารหมายจ.7โจทก์ที่2จัดทำขึ้นภายหลังจากที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้แล้วและมีรายการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์การก่อสร้างรวม6รายการคำนวณเป็นเงินมากถึง248,620บาทแต่โจทก์ทั้งสองไม่มีหลักฐานใบส่งของหรือใบเสร็จรับเงินมานำสืบประกอบจึงรับฟังไม่ได้นั้นย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าฎีกาของจำเลยข้อนี้จำเลยหาได้กล่าวโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องอย่างไรเพราะเหตุใดไม่จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วยป.วิ.พ.มาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ค่าเสียหายเนื่องจากโจทก์ผิดสัญญาและจำเลยถูกบุคคลภายนอกเรียกร้องค่าเสียหายเพราะจำเลยผิดสัญญาจะขายทาวน์เฮาส์ให้คนอื่นเป็นเงิน150,000บาทนั้นค่าเสียหายในส่วนนี้มิใช่เป็นค่าเสียหายที่จำเลยต้องเสียไปเนื่องจากการที่โจทก์ผิดสัญญาอันเป็นผลโดยตรงและเกี่ยวเนื่องจากเหตุที่โจทก์ผิดสัญญาตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างบ้านหากแต่เป็นค่าเสียหายอันเนื่องมาจากพฤติการณ์พิเศษเมื่อจำเลยมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบก่อนหรือขณะทำสัญญาว่าจำเลยมีข้อผูกพันต่อบุคคลภายนอกที่จะต้องขายบ้านทาวน์เฮาส์เพื่อย้ายเข้ามาอยู่บ้านที่จ้างเหมาให้โจทก์ก่อสร้างแต่อย่างใดโจทก์จึงไม่อาจคาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าจำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายดังกล่าวจากโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา222วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2382/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับขนส่งสินค้าทางทะเลที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการขนส่ง
จำเลยมีวัตถุประสงค์รับขนส่งสินค้าทางทะเลและลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ว่าจำเลยเป็นตัวแทนเรือของบริษัท ซ. ซึ่งเป็นบริษัทขนส่งสินค้าต่างประเทศที่ไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย เป็นผู้แจ้งต่อกรมเจ้าท่าให้จัดส่งเรือนำร่องลากจูงเรือเดินทะเลเข้ามายังท่าเรือคลองเตย ติดต่อกับกองตรวจคนเข้าเมืองให้จัดส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบรายชื่อของลูกเรือ ติดต่อกับการท่าเรือแห่งประเทศไทยให้ขนถ่ายสินค้าขึ้นจากเรือ ติดต่อกับกรมศุลกากรเพื่อขออนุญาตเปิดระวางเรือ แจ้งให้โจทก์ผู้ขายสินค้าจัดส่งสินค้ามามอบให้กัปตันเรือเดินทะเล และออกใบตราส่งให้โจทก์ในนามของบริษัท ซ. จำเลยได้ค่าตอบแทน 1 เปอร์เซ็นต์ของค่าระวางขนส่ง พฤติการณ์แสดงให้เห็นว่าจำเลยได้เข้าไปเกี่ยวข้องโดยตรงกับการขนส่งสินค้าดังกล่าว การเกี่ยวข้องของจำเลยหาใช่เพียงเป็นตัวแทนของบริษัท ซ.ไม่ แต่เป็นผู้ร่วมขนส่งสินค้าหรือผู้ขนส่งหลายทอดตาม ป.พ.พ. มาตรา618 อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งที่จะยกมาปรับแก่คดีรับขนของทางทะเลในขณะเกิดข้อพิพาทนี้ซึ่งยังไม่มีบทกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการนั้น
ป.พ.พ. มาตรา 615 บัญญัติว่า "ถ้าได้ทำใบตราส่งให้แก่กันท่านว่าของนั้นจะรับมอบเอาไปได้ต่อเมื่อเวนคืนใบตราส่งหรือเมื่อผู้รับตราส่งให้ประกันตามควร" การที่ผู้ขนส่งมอบสินค้ารายพิพาทให้แก่ผู้ที่มิใช่ผู้รับตราส่งหรือผู้ทรงใบตราส่ง จึงเป็นการส่งโดยมิชอบ
ป.พ.พ. มาตรา 615 บัญญัติว่า "ถ้าได้ทำใบตราส่งให้แก่กันท่านว่าของนั้นจะรับมอบเอาไปได้ต่อเมื่อเวนคืนใบตราส่งหรือเมื่อผู้รับตราส่งให้ประกันตามควร" การที่ผู้ขนส่งมอบสินค้ารายพิพาทให้แก่ผู้ที่มิใช่ผู้รับตราส่งหรือผู้ทรงใบตราส่ง จึงเป็นการส่งโดยมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2355/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษซ้ำซ้อนในคดีอาญาที่เกี่ยวพันกัน และอำนาจแก้ไขคำสั่งบังคับคดี
คดีนี้กับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 5750/2529 ของศาลชั้นต้นมีลักษณะแห่งคดีและความผิดเป็นอย่างเดียวกับที่จำเลยถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีดังกล่าว คดีทั้งสองสำนวนมีความเกี่ยวพันโดยอาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ เมื่อโจทก์แยกฟ้องคดีนี้กับคดีที่ขอให้นับโทษต่อโดยศาลมิได้สั่งรวมการพิจารณาคดีทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกัน หากศาลลงโทษจำคุกจำเลยทุกกรรมเต็มตามที่กำหนดไว้ใน ป.อ.มาตรา 91 (2) ในสำนวนใดสำนวนหนึ่งแล้ว ก็ไม่อาจนับโทษต่อในอีกสำนวนหนึ่งได้เพราะจะทำให้จำเลยต้องรับโทษเกินกว่าที่ ป.อ.มาตรา 91 (2) กำหนดไว้
ศาลชั้นต้นออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุดแก่จำเลยแล้ว หากปรากฏว่าการนับโทษขัดต่อกฎหมาย ศาลชั้นต้นย่อมมีคำสั่งแก้ไขได้ เพราะไม่เป็นการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงคำพิพากษา แต่เป็นเรื่องการบังคับคดีซึ่งศาลชั้นต้นต้องออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุดให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุดแก่จำเลยแล้ว หากปรากฏว่าการนับโทษขัดต่อกฎหมาย ศาลชั้นต้นย่อมมีคำสั่งแก้ไขได้ เพราะไม่เป็นการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงคำพิพากษา แต่เป็นเรื่องการบังคับคดีซึ่งศาลชั้นต้นต้องออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุดให้ถูกต้องตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2355/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อเมื่อศาลพิพากษาลงโทษเต็มตามกฎหมายแล้ว และการแก้ไขหมายจำคุกให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ลักษณะแห่งคดีและความผิดเป็นอย่างเดียวกับที่จำเลยที่1ถูกฟ้องเป็นจำเลยที่5ในคดีก่อนคดีทั้งสองมีความเกี่ยวพันโดยอาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้เมื่อโจทก์แยกฟ้องคดีนี้กับคดีที่ขอให้นับโทษต่อโดยศาลมิได้สั่งรวมการพิจารณาคดีหากศาลพิพากษาลงโทษจำเลยทุกกรรมโดยจำคุกจำเลยเต็มตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา91(2)ในสำนวนใดสำนวนหนึ่งแล้วก็ไม่อาจนับโทษต่อในอีกสำนวนหนึ่งได้เพราะจะทำให้จำเลยต้องรับโทษเกินกำหนด แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาจำคุกจำเลยและออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุดแล้วก็ตามหากปรากฎว่าการนับโทษจำเลยต่อรวมแล้วเกิน20ปีขัดต่อประมวลกฎหมายอาญามาตรา91(2)ศาลชั้นต้นก็ย่อมจะมีคำสั่งแก้ไขหมายจำคุกคดีถึงที่สุดใหม่เป็นไม่นับโทษต่อได้ไม่เป็นการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาแต่อย่างใดเพราะเป็นเรื่องการบังคับคดีที่ศาลชั้นต้นจะต้องออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุดให้ถูกต้องตามกฎหมาย