คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สวรรค์ ศักดารักษ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 643 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2283/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบุริมสิทธิเจ้าหนี้จำนองเหนือเจ้าหนี้สามัญ การขายทอดตลาด และการเพิกถอนการซื้อขาย
ธนาคาร ท.เป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองที่ดินและบ้านพิพาท จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้สามัญ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 702 วรรคสอง แม้โจทก์จะบังคับคดียึดที่ดินและบ้านพิพาทขายทอดตลาด ธนาคาร ท.ก็ยังมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนโจทก์ ส่วนโจทก์จะมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก็ต่อเมื่อมีเงินเหลือจากการชำระหนี้ของธนาคาร ท. ครบถ้วนแล้ว ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ขายที่ดินและบ้านพิพาทให้จำเลยที่ 2 แล้วนำเงินชำระหนี้ธนาคาร ท.ซึ่งเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิก่อน จึงมิได้เป็นการฉ้อฉลทำให้โจทก์เสียเปรียบ ไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการซื้อขายระหว่างจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2283/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้บุริมสิทธิมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้สามัญ แม้มีการบังคับคดียึดทรัพย์ก่อน
ธนาคารท.เป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองที่ดินและบ้านพิพาทจึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้สามัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา702วรรคสองแม้โจทก์จะบังคับคดียึดที่ดินและบ้านพิพาทขายทอดตลาดธนาคารท.ก็ยังมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนโจทก์ส่วนโจทก์จะมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก็ต่อเมื่อมีเงินเหลือจากการชำระหนี้ของธนาคารท.ครบถ้วนแล้วดังนั้นการที่จำเลยที่1ขายที่ดินและบ้านพิพาทให้จำเลยที่2แล้วนำเงินชำระหนี้ธนาคารท.ซึ่งเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิก่อนจึงมิได้เป็นการฉ้อฉลทำให้โจทก์เสียเปรียบไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการซื้อขายระหว่างจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1960/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาวางค่าขึ้นศาลและค่าฤชาธรรมเนียม: จำเลยต้องดำเนินการตรวจสอบและเตรียมเงินด้วยตนเอง
จำเลยที่1และที่3ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ศาลชั้นต้นอนุญาตต่อมาจำเลยที่1และที่3ยื่นอุทธรณ์และยื่นคำร้องขอขยายเวลาวางเงินค่าขึ้นศาลและค่าฤชาธรรมเนียมในวันสุดท้ายที่จำเลยที่1มีสิทธิยื่นอุทธรณ์โดยอ้างเหตุว่าเป็นความบกพร่องของเจ้าหน้าที่ศาลที่คำนวณค่าธรรมเนียมส่วนที่จำเลยที่1และที่3จะต้องใช้แทนโจทก์ได้ไม่ทันและจำเลยที่1และที่3ไม่ได้เตรียมเงินสดเฉพาะค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์มาจึงไม่สามารถวางค่าขึ้นศาลส่วนนี้ได้ข้อกล่าวอ้างดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยที่1และที่3จะต้องขวนขวายดำเนินการทั้งค่าธรรมเนียมใช้แทนโจทก์ก็เป็นเรื่องที่ผู้แพ้คดีซึ่งต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาต้องตรวจสอบกับเจ้าหน้าที่ศาลเองหาใช่เรื่องที่เจ้าหน้าที่ศาลจะต้องแจ้งให้ทราบเพื่อจะได้เตรียมเงินมาวางให้ทันแต่อย่างไรไม่กรณีถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา23จึงไม่เป็นเหตุที่จะขยายระยะเวลาการวางเงินค่าธรรมเนียมใช้แทนโจทก์และค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1931/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงาน, การเลิกจ้าง, ค่าชดเชย, สิทธิของนายจ้าง, เหตุผลการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
จำเลยจ้างโจทก์เป็นไปตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนดโดยเฉพาะเงื่อนไขข้อที่ไม่ให้ช่างฝีมือหรือผู้ชำนาญการซึ่งเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในประเทศไทยไปประกอบอาชีพหรือหน้าที่อื่นใดเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแต่ให้บุคคลดังกล่าวถ่ายทอดความรู้และฝึกสอนช่างภายในประเทศให้สามารถรับช่วงงานได้รวมทั้งการอนุมัติตำแหน่งและกำหนดระยะเวลาการทำงานของคนต่างด้าวต้องผ่านมติของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนด้วยเงื่อนไขและขั้นตอนดังกล่าวเป็นเรื่องที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนดไว้ให้จำเลยปฏิบัติตามในกรณีที่จำเลยรับช่างฝีมือหรือผู้ชำนาญการที่เป็นคนต่างด้าวเช่นโจทก์ไว้ปฏิบัติงานในกิจการของจำเลยซึ่งไม่ปรากฎว่าในการที่จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งหัวหน้าครัวโดยมีหัวหน้าที่จัดการและดำเนินการเกี่ยวกับครัวของโรงแรมจำเลยตลอดมานั้นเป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขหรือมติของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแต่อย่างใดหรือคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีอำนาจหน้าที่เข้าไปบริหารกิจการของจำเลยอย่างไรนิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยและโจทก์คงเป็นไปตามสัญญาซึ่งระบุว่าเป็นสัญญาจ้างแรงงานอันสอดคล้องกับข้อความในสัญญาที่มีการระบุไว้ชัดเจนต้องตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะจ้างแรงงานเช่นว่าโจทก์ต้องปฏิบัติตามคำสั่งและคำแนะนำของคณะกรรมการบริหารของโรงแรมหากโจทก์ทุจริตไม่ประพฤติตามคำบังคับบัญชา ประพฤติตัวต่ำทรามผิดกฎระเบียบตามกฎหมายไทยอย่างร้ายแรงหรือกระทำการขัดแย้งต่อผลประโยชน์และภาพพจน์ต่อสาธารณชนของจำเลยจำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ เป็นต้นโจทก์จึงเป็นลูกจ้างของจำเลย แม้ตามสัญญาเอกสารหมายล.6จะระบุให้คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจบอกเลิกสัญญาได้โดยการแจ้งให้อีกฝ่ายทราบล่วงหน้าก็ตามแต่มิได้ระบุว่าให้สัญญาจ้างสิ้นสุดลงเมื่อใดทั้งการที่โจทก์อยู่ปฏิบัติงานให้แก่จำเลยครบตามกำหนดที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนอนุมัติเป็นคราวๆไปนั้นหาทำให้สัญญาจ้างแรงงานที่โจทก์จำเลยมีต่อกันสิ้นสุดลงไปด้วยไม่สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงไม่มีกำหนดเวลาแน่นอนเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จำเลยยังคงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ ตามสัญญาจ้างให้สิทธิแก่จำเลยที่จะเลิกจ้างโจทก์โดยการบอกกล่าวล่วงหน้าได้โดยเฉพาะสัญญาจ้างข้อ6มีข้อความว่า"ระยะเวลาของสัญญานี้เริ่มตั้งแต่วันที่15มกราคม2533จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาโดยคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดโดยแจ้งให้อีกฝ่ายทราบล่วงหน้า80วัน"สัญญาข้อนี้ให้สิทธิแก่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่จะบอกเลิกสัญญาในเวลาใดเวลาหนึ่งได้ตามที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องการโดยไม่จำต้องแสดงเหตุผลแห่งการเลิกจ้างแต่อย่างใดในเมื่อปฏิบัติครบถ้วนตามสัญญาแล้วการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควรจึงไม่ใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1931/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงานมีกำหนดเวลาหรือไม่? การเลิกจ้างโดยการบอกกล่าวล่วงหน้า และสิทธิการได้รับค่าชดเชย
จำเลยจ้างโจทก์เป็นไปตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนด โดยเฉพาะเงื่อนไขข้อที่ไม่ให้ช่างฝีมือหรือผู้ชำนาญการซึ่งเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในประเทศไทยไปประกอบอาชีพหรือหน้าที่อื่นใดเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน แต่ให้บุคคลดังกล่าวถ่ายทอดความรู้และฝึกสอนช่างภายในประเทศให้สามารถรับช่วงงานได้ รวมทั้งการอนุมัติตำแหน่งและกำหนดระยะเวลาการทำงานของคนต่างด้าวต้องผ่านมติของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนด้วย เงื่อนไขและขั้นตอนดังกล่าวเป็นเรื่องที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนดไว้ให้จำเลยปฏิบัติตามในกรณีที่จำเลยรับช่างฝีมือหรือผู้ชำนาญการที่เป็นคนต่างด้าวเช่นโจทก์ไว้ปฏิบัติงานในกิจการของจำเลย ซึ่งไม่ปรากฏว่าในการที่จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งหัวหน้าครัวโดยมีหน้าที่จัดการและดำเนินการเกี่ยวกับครัวของโรงแรมจำเลยตลอดมานั้น เป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขหรือมติของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแต่อย่างใด หรือคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีอำนาจหน้าที่เข้าไปบริหารกิจการของจำเลยอย่างไร นิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยและโจทก์คงเป็นไปตามสัญญา ซึ่งระบุว่าเป็นสัญญาจ้างแรงงาน อันสอดคล้องกับข้อความในสัญญาที่มีการระบุไว้ชัดเจนต้องตามบทบัญญัติ ป.พ.พ.ลักษณะจ้างแรงงาน เช่นว่า โจทก์ต้องปฏิบัติตามคำสั่งและคำแนะนำของคณะกรรมการบริหารของโรงแรม หากโจทก์ทุจริต ไม่ประพฤติตามคำบังคับบัญชา ประพฤติตัวต่ำทรามผิดกฎระเบียบตามกฎหมายไทยอย่างร้ายแรงหรือกระทำการขัดแย้งต่อผลประโยชน์และภาพพจน์ต่อสาธารณชนของจำเลยจำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ เป็นต้น โจทก์จึงเป็นลูกจ้างของจำเลย
แม้ตามสัญญาเอกสารหมาย ล.6 จะระบุให้คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจบอกเลิกสัญญาได้โดยการแจ้งให้อีกฝ่ายทราบล่วงหน้าก็ตาม แต่มิได้ระบุว่าให้สัญญาจ้างสิ้นสุดลงเมื่อใด ทั้งการที่โจทก์อยู่ปฏิบัติงานให้แก่จำเลยครบตามกำหนดที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนอนุมัติเป็นคราว ๆ ไปนั้น หาทำให้สัญญาจ้างแรงงานที่โจทก์จำเลยมีต่อกันสิ้นสุดลงไปด้วยไม่ สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงไม่มีกำหนดเวลาแน่นอน เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยยังคงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์
ตามสัญญาจ้างให้สิทธิแก่จำเลยที่จะเลิกจ้างโจทก์โดยการบอกกล่าวล่วงหน้าได้ โดยเฉพาะสัญญาจ้าง ข้อ 6 มีข้อความว่า "ระยะเวลาของสัญญานี้เริ่มตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2533 จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาโดยคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด โดยแจ้งให้อีกฝ่ายทราบล่วงหน้า 80 วัน" สัญญาข้อนี้ให้สิทธิแก่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่จะบอกเลิกสัญญาในเวลาใดเวลาหนึ่งได้ตามที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องการ โดยไม่จำต้องแสดงเหตุผลแห่งการเลิกจ้างแต่อย่างใดในเมื่อปฏิบัติครบถ้วนตามสัญญาแล้ว การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควร จึงไม่ใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1878/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทุนรัฐบาลมาเลเซียเพื่อการศึกษา: ความรับผิดสัญญาและการค้ำประกัน
เงินทุนของรัฐบาลมาเลเซียซึ่งจำเลยที่1ได้รับโอนตรงจากประเทศมาเลเซียเป็นเงินทุนของการให้ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาลและถูกควบคุมดำเนินการโดยทางราชการตามระเบียบมิใช่เป็นเรื่องจำเลยที่1ได้รับทุนเป็นส่วนตัวและทุนดังกล่าวเป็นทุนที่รัฐบาลต่างประเทศมอบให้รัฐบาลไทยเพื่อส่งข้าราชการไปศึกษาฝึกอบรมทั้งนี้ไม่ว่าทุนนั้นจะจ่ายผ่านกระทรวงหรือจ่ายให้ผู้รับทุนโดยตรง กรณีที่จำเลยที่1ผิดสัญญาเกี่ยวกับการใช้ทุนความเสียหายดังกล่าวเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างจำเลยที่1ปฏิบัติราชการอยู่และอยู่ในขอบเขตความรับผิดชอบตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่3จะต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1878/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในสัญญาค้ำประกันทุนรัฐบาลต่างประเทศ – ความเสียหายระหว่างปฏิบัติราชการ
เงินทุนของรัฐบาลมาเลเซียซึ่งจำเลยที่ 1 ได้รับโดยตรงจากประเทศมาเลเซีย เป็นเงินทุนของการให้ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล และถูกควบคุมดำเนินการโดยทางราชการตามระเบียบ มิใช่เป็นเรื่องจำเลยที่ 1 ได้รับทุนเป็นส่วนตัวและทุนดังกล่าวเป็นทุนที่รัฐบาลต่างประเทศมอบให้รัฐบาลไทยเพื่อส่งข้าราชการไปศึกษา ฝึกอบรม ทั้งนี้ไม่ว่าทุนนั้นจะจ่ายผ่านกระทรวงหรือจ่ายให้ผู้รับทุนโดยตรง
กรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเกี่ยวกับการใช้ทุน ความเสียหายดังกล่าวเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างจำเลยที่ 1 ปฏิบัติราชการอยู่และอยู่ในขอบเขตความรับผิดชอบตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1672/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทิ้งอุทธรณ์จากความประมาทเลล่า: การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลและการเพิกเฉยต่อการดำเนินคดี
จำเลยทั้งสองยื่นอุทธรณ์ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับสำเนาให้โจทก์แก้ให้จำเลยนำส่งภายใน5วันมิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน15วันนับแต่วันส่งไม่ได้จำเลยทั้งสองทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วเมื่อส่งหมายและสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ไม่ได้จำเลยทั้งสองยังมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นอยู่เช่นเดิมเมื่อจำเลยทั้งสองไม่แถลงต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดว่าจะจัดการอย่างไรต่อไปแม้ศาลชั้นต้นจะมิได้แจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบว่าส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ไม่ได้ก็ตามแต่การที่จำเลยทั้งสองมิได้แถลงต่อศาลชั้นต้นคงปล่อยระยะเวลาล่วงเลยมาเป็นเวลาประมาณ2เดือนถือว่าจำเลยทั้งสองเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนดไว้เป็นการทิ้งอุทธรณ์การที่ศาลอุทธรณ์สั่งจำหน่ายคดีนั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1396/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: เงื่อนไขบังคับก่อน, สิทธิเจ้าของรวม, ค่าเสียหายจากการผิดสัญญา
สัญญาจะซื้อขายดินที่ระบุว่า ผู้ขายจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่สำนักงานที่ดินหลังจากผู้ขายได้ทำการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินเรียบร้อยแล้วไม่เกิน 18 เดือนนั้น ไม่ใช่เงื่อนไขบังคับก่อน แต่เป็นข้อตกลงในการไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ผู้ซื้อว่า ผู้ขายจะต้องแบ่งแยกที่ดินและจดทะเบียนโอนให้แก่ผู้ซื้อภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวซึ่งไม่พ้นวิสัย ไม่ตกเป็นโมฆะ
โจทก์รู้อยู่แล้วว่าที่ดินพิพาทตรงตำแหน่งที่โจทก์ตกลงซื้อจากจำเลยมีผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยแต่ผู้เดียวให้แบ่งแยกโฉนดที่ดินตรงตำแหน่งดังกล่าวโอนให้แก่โจทก์ตามข้อตกลง จึงอาจมีผลกระทบถึงสิทธิของเจ้าของรวมคนอื่นซึ่งไม่ได้เข้ามาในคดีและไม่มีส่วนรู้เห็นตกลงในการแบ่งแยกโฉนดด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 วรรคสอง คำขอของโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่อาจบังคับได้ ศาลต้องยกคำขอ แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายโดยไม่สามารถแบ่งแยกโฉนดที่ดินและจดทะเบียนโอนให้แก่โจทก์ภายในระยะเวลาที่กำหนด จำเลยจึงต้องใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามสัญญา และแม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบแสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งว่าโจทก์เสียหายเท่ากับจำนวนที่ระบุในสัญญา ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามที่เห็นสมควรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1396/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: เงื่อนไขบังคับก่อน, ผลกระทบต่อเจ้าของรวม, และค่าเสียหายจากผิดสัญญา
สัญญาจะซื้อขายดินที่ระบุว่าผู้ขายจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่สำนักงานที่ดินหลังจากผู้ขายได้ทำการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินเรียบร้อยแล้วไม่เกิน18เดือนนั้นไม่ใช่เงื่อนไขบังคับก่อนแต่เป็นข้อตกลงในการไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ผู้ซื้อว่าผู้ขายจะต้องแบ่งแยกที่ดินและจดทะเบียนโอนให้แก่ผู้ซื้อภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวซึ่งไม่พ้นวิสัยไม่ตกเป็นโมฆะ โจทก์รู้อยู่แล้วว่าที่ดินพิพาทตรงตำแหน่งที่โจทก์ตกลงซื้อจากจำเลยมีผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยเมื่อโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยแต่ผู้เดียวให้แบ่งแยกโฉนดที่ดินตรงตำแหน่งดังกล่าวโอนให้แก่โจทก์ตามข้อตกลงจึงอาจมีผลกระทบถึงสิทธิของเจ้าของรวมคนอื่นซึ่งไม่ได้เข้ามาในคดีและไม่มีส่วนรู้เห็นตกลงในการแบ่งแยกโฉนดด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1364วรรคสองคำขอของโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่อาจบังคับได้ศาลต้องยกคำขอแต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายโดยไม่สามารถแบ่งแยกโฉนดที่ดินและจดทะเบียนโอนให้แก่โจทก์ภายในระยะเวลาที่กำหนดจำเลยจึงต้องใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามสัญญาและแม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบแสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งว่าโจทก์เสียหายเท่ากับจำนวนที่ระบุในสัญญาศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามที่เห็นสมควรได้
of 65