คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สวรรค์ ศักดารักษ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 643 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1306/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมกันครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย: พยานเจ้าหน้าที่เชื่อถือได้, การต่อสู้เรื่องสถานที่จับกุมไม่มีน้ำหนัก
พยานโจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติการไปตามหน้าที่ไม่มีเหตุที่จะเบิกความเพื่อกลั่นแกล้งจำเลยที่1เชื่อได้ว่าเบิกความไปตามที่รู้เห็นจริงที่จำเลยที่1ต่อสู้คดีว่าจำเลยที่1ถูกจับที่บ้าน พ. และไม่ทราบว่าเจ้าพนักงานตำรวจนำเฮโรอีนของกลางมาจากไหนนั้นง่ายแก่การกล่าวอ้างจึงไม่มีน้ำหนักพอที่จะรับฟังหักล้างคำเบิกความพยานโจทก์ได้ ขณะจับกุมจำเลยที่1ได้ร่วมนั่งอยู่กับจำเลยที่2และที่3ในรถยนต์เก๋งที่มีเฮโรอีนของกลางซุกซ่อนอยู่แสดงให้เห็นได้โดยแจ้งชัดว่าจำเลยที่1ร่วมกับจำเลยที่2และที่3มีเฮโรอีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1284/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการแสดงอำนาจพิเศษ: ข้อจำกัดในการฎีกาคดีครอบครัวและที่อยู่อาศัย
คดีของผู้ร้องเป็นคดีเกี่ยวกับการบังคับวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจำเลยผู้ถูกฟ้องขับไล่ซึ่งอยู่บนอสังหาริมทรัพย์และคดีระหว่างโจทก์จำเลยเป็นคดีที่ฟ้องขับไล่บุคคลใดๆออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาทซึ่งคู่ความในคดีฟ้องขับไล่นั้นต้องห้ามฎีกาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคสองเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ว่าศาลจะฟังว่าบุคคลดังกล่าวสามารถแสดงอำนาจวิเศษให้ศาลเห็นได้หรือไม่คดีเกี่ยวกับการบังคับวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจำเลยจึงห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคสาม ฎีกาผู้ร้องที่ว่าแม้ผู้ร้องจะเข้ามาอยู่ในบ้านพิพาทในฐานะบุตรสะใภ้จำเลยแต่จากการนำสืบผู้ร้องได้หย่าขาดกับบุตรจำเลยและอาศัยในบ้านพิพาทในลักษณะแยกครอบครัวจากครอบครัวจำเลยไม่เกี่ยวข้องกันมาเป็นเวลา20ปีแล้วโดยผู้ร้องไม่ได้แยกทะเบียนบ้านใหม่สำเนาทะเบียนบ้านไม่อาจนำมาวินิจฉัยว่าผู้ร้องเป็นบริวารจำเลยได้เมื่อผู้ร้องได้รับสิทธิให้เข้าอยู่ในแฟลตก็เป็นการยืนยันว่าผู้ร้องมีครอบครัวแยกต่างหากมิได้อยู่อาศัยสิทธิของจำเลยและฎีกาผู้ร้องต่อมาที่ว่าเมื่อโจทก์หรือทางราชการยังมิได้ปฎิบัติตามเงื่อนไขของข้อตกลงโดยหาที่อยู่ชั่วคราวให้แก่ผู้ร้องก่อนซึ่งเป็นการต่างตอบแทนตามข้อตกลงและผู้ร้องยังไม่ถูกตัดสิทธิและมีสิทธิได้รับการพิจารณาถึงสิทธิตามบัตรสิทธิผู้ร้องจึงมีอำนาจพิเศษที่จะอยู่อาศัยในบ้านพิพาทต่อไปได้ล้วนเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาที่ว่าผู้ร้องสามารถแสดงอำนาจพิเศษให้ศาลเห็นได้นั่นเองจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1284/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่และการห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อเกี่ยวข้องกับสิทธิครอบครัวและเงื่อนไขพิเศษในการอยู่อาศัย
คดีของผู้ร้องเป็นคดีเกี่ยวกับการบังคับวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจำเลยผู้ถูกฟ้องขับไล่ซึ่งอยู่บนอสังหาริมทรัพย์และคดีระหว่างโจทก์จำเลยเป็นคดีที่ฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท ซึ่งคู่ความในคดีฟ้องขับไล่นั้นต้องห้ามฎีกาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ว่าศาลจะฟังว่าบุคคลดังกล่าวสามารถแสดงอำนาจพิเศษให้ศาลเห็นได้หรือไม่ คดีเกี่ยวกับการบังคับวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจำเลยจึงห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสาม
ฎีกาผู้ร้องที่ว่า แม้ผู้ร้องจะเข้ามาอยู่ในบ้านพิพาทในฐานะบุตรสะใภ้จำเลย แต่จากการนำสืบผู้ร้องได้หย่าขาดกับบุตรจำเลยและอาศัยในบ้านพิพาทในลักษณะแยกครอบครัวจากครอบครัวจำเลยไม่เกี่ยวข้องกันมาเป็นเวลา20 ปีแล้ว โดยผู้ร้องไม่ได้แยกทะเบียนบ้านใหม่ สำเนาทะเบียนบ้านไม่อาจนำมาวินิจฉัยว่าผู้ร้องเป็นบริวารจำเลยได้ เมื่อผู้ร้องได้รับสิทธิให้เข้าอยู่ในแฟลตก็เป็นการยืนยันว่าผู้ร้องมีครอบครัวแยกต่างหากมิได้อยู่โดยอาศัยสิทธิของจำเลย และฎีกาผู้ร้องต่อมาที่ว่าเมื่อโจทก์หรือทางราชการยังมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของข้อตกลงโดยหาที่อยู่ชั่วคราวให้แก่ผู้ร้องก่อน ซึ่งเป็นการต่างตอบแทนตามข้อตกลงและผู้ร้องยังไม่ถูกตัดสิทธิและมีสิทธิได้รับการพิจารณาถึงสิทธิตามบัตรสิทธิ ผู้ร้องจึงมีอำนาจพิเศษที่จะอยู่อาศัยในบ้านพิพาทต่อไปได้ ล้วนเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาที่ว่าผู้ร้องสามารถแสดงอำนาจพิเศษให้ศาลเห็นได้นั่นเอง จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามฎีกาตามป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1225/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: ทายาทผู้สืบสิทธิฟ้องคดีซ้ำในประเด็นเดียวกัน ศาลยกฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
โจทก์คดีก่อนและโจทก์คดีนี้ แม้จะเป็นบุคคลคนละคน แต่ต่างก็เป็นทายาทของ ถ.และต่างก็ฟ้องคดีเรียกคืนที่ดินพิพาท โดยอ้างสิทธิในฐานะทายาทผู้สืบสิทธิจาก ถ.ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินพิพาทคนเดียวกันจึงถือได้ว่าโจทก์คดีก่อนและโจทก์คดีนี้เป็นคู่ความเดียวกัน และการที่ศาลชั้นต้นได้พิพากษายกฟ้องในคดีก่อนโดยอ้างเหตุว่า โจทก์ไม่มีพยานมาสืบตามฟ้อง ถือได้ว่าเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีแล้ว ฉะนั้นการที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยมีคำขออย่างเดียวกับคดีก่อน จึงเป็นการฟ้องคดีที่ให้มีการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1225/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: ทายาทฟ้องแย่งคืนที่ดินพิพาทโดยอ้างสิทธิเดียวกัน ศาลพิจารณาถึงคู่ความและประเด็นที่วินิจฉัยแล้ว
โจทก์คดีก่อนและโจทก์คดีนี้แม้จะเป็นบุคคลคนละคนแต่ต่างก็เป็นทายาทของถ. และต่างก็ฟ้องคดีเรียกคืนที่ดินพิพาทโดยอ้างสิทธิในฐานะทายาทผู้สืบสิทธิจากถ. ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินพิพาทคนเดียวกันจึงถือได้ว่าโจทก์คดีก่อนและโจทก์ในคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกันและการที่ศาลชั้นต้นได้พิพากษายกฟ้องในคดีก่อนโดยอ้างเหตุว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบตามฟ้องถือได้ว่าเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีแล้วฉะนั้นการที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยมีคำขออย่างเดียวกับคดีก่อนจึงเป็นการฟ้องคดีที่ให้มีการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1178/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยายามฆ่าจากการขว้างปาสิ่งของใส่รถยนต์ ผู้กระทำมีเจตนาทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต
จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ก้อนหินขนาดโน เท่ากำปั้นขว้างกระจกหน้ารถยนต์บรรทุกและรถยนต์โดยสารที่ผู้เสียหายทั้งสองกำลังขับอยู่คันละสองก้อนโดยไม่มีสาเหตุกันมาก่อน โดยประสงค์จะให้ผู้เสียหายทั้งสองเสียหลักในการขับรถและอาจขับรถยนต์พลิกคว่ำลงข้างทางหรือถูกรถยนต์คันอื่นที่ตามมาชนจนพลิกคว่ำหรือตกข้างทางซึ่งเมื่อเกิดเหตุดังกล่าวขึ้นแล้วย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าผู้เสียหายทั้งสองหรือผู้โดยสารในรถยนต์โดยสารอาจได้รับบาดเจ็บและถึงแก่ความตายได้ จำเลยทั้งสามจึงมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายทั้งสองและผู้อื่น เมื่อไม่ถึงแก่ความตายจึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่า โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,80,83,358 แม้ตามฟ้องมิได้ขอให้ลงโทษจำเลยเรียงกระทงความผิดหรือมิได้อ้างมาตรา 91 มาในคำขอท้ายฟ้องก็ตาม เมื่อตามฟ้องโจทก์บรรยายแล้วว่าจำเลยทั้งสามกระทำผิดหลายกรรมและข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสามได้กระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยทั้งสามทุกกรรมเป็นกระทงความผิดตามมาตรา 91 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1109/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องขับไล่ - ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวเนื่อง: การฟ้องแย้งที่เกี่ยวข้องกับที่ดินแปลงอื่นไม่ใช่ฟ้องแย้งที่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองให้ออกจากที่ดินแปลงหมายเลข337ซึ่งโจทก์เช่ามาจากโจทก์ร่วมจำเลยทั้งสองฟ้องแย้งว่าอาคารที่จำเลยทั้งสองครอบครองอยู่ปลูกอยู่บนที่ดินแปลงหมายเลข338ซึ่งเป็นที่ดินคนละแปลงกันจึงเป็นฟ้องแย้งที่ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1109/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย้งที่ไม่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมและขอบเขตการพิจารณาของศาล
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองให้ออกจากที่ดินแปลงหมายเลข337 ซึ่งโจทก์เช่ามาจากโจทก์ร่วม จำเลยทั้งสองฟ้องแย้งว่า อาคารที่จำเลยทั้งสองครอบครองอยู่ปลูกอยู่บนที่ดินแปลงหมายเลข 338 ซึ่งเป็นที่ดินคนละแปลงกัน จึงเป็นฟ้องแย้งที่ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 983/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับหนี้โดยปริยายจากคำให้การที่ไม่ชัดเจนและการฟ้องร้องเช็คของผู้ถือ
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทชำระหนี้ให้โจทก์ แต่จำเลยให้การแต่เพียงว่าจำเลยไม่เคยเป็นหนี้โจทก์ ไม่เคยรู้จักและไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับโจทก์มาก่อน โจทก์ฟ้องจำเลยโดยไม่สุจริต โดยไม่ได้อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธไว้ว่าเป็นเพราะเหตุใด รวมทั้งไม่ได้ปฏิเสธว่าเช็คพิพาทไม่ใช่เป็นเช็คของจำเลยหรือจำเลยไม่ได้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาท คำให้การจำเลยจึงเป็นคำให้การที่มิได้ปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์โดยชัดแจ้ง รวมทั้งไม่ได้อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธไว้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง จึงต้องถือว่าจำเลยยอมรับว่า จำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทและธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายเงินแก่ผู้ถือ เมื่อโจทก์เป็นผู้ถือจึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมายมีอำนาจฟ้องและจำเลยต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็ค

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 983/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับหนี้โดยปริยายจากคำให้การที่ไม่ชัดเจน และผลของการเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบ
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทชำระหนี้ให้โจทก์แต่จำเลยให้การแต่เพียงว่าจำเลยไม่เคยเป็นหนี้โจทก์ไม่เคยรู้จักและไม่มีนิติสัมพันธ์ใดๆกับโจทก์มาก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยโดยไม่สุจริตโดยไม่ได้อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธไว้ว่าเป็นเพราะเหตุใดรวมทั้งไม่ได้ปฏิเสธว่าเช็คพิพาทไม่ใช่เป็นเช็คของจำเลยหรือจำเลยไม่ได้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทคำให้การจำเลยจึงเป็นคำให้การที่มิได้ปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์โดยชัดแจ้งรวมทั้งไม่ได้อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสองจึงต้องถือว่าจำเลยยอมรับว่าจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทและธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงินเช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายเงินแก่ผู้ถือเมื่อโจทก์เป็นผู้ถือจึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมายมีอำนาจฟ้องและจำเลยต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็ค
of 65