พบผลลัพธ์ทั้งหมด 643 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7795/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานและการตีความอำนาจปกครองในคดีอาญา
โจทก์ไม่ได้ตัวผู้เสียหายซึ่งเป็นประจักษ์พยานมาเบิกความคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายเป็นพยานบอกเล่าจะรับฟังดังเช่นคำเบิกความของพยานในชั้นพิจารณาหาได้ไม่ แต่อาจรับฟังว่าผู้เสียหายได้ให้การเช่นนั้นไว้ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อวิเคราะห์สอดส่องถึงข้อเท็จจริงในคดีได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าพนักงานสอบสวนบันทึกคำให้การของผู้เสียหายไว้โดยไม่ถูกต้อง และคำให้การของผู้รู้เห็นเหตุการณ์ในชั้นสอบสวนก็ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้รับฟังประกอบพยานอื่นดังนั้น ศาลพิจารณาคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายซึ่งเป็นประจักษ์พยานประกอบพยานหลักฐานอื่นลงโทษจำเลยได้
คำว่า "ผู้อยู่ในความปกครอง" ตาม ป.อ. มาตรา 285ต้องตีความโดยเคร่งครัด จำเลยมิใช่บิดาของผู้เสียหาย ผู้เสียหายเป็นเพียงบุตรติดนาง ป.มา แล้วนาง ป.อยู่กินเป็นสามีภริยากับจำเลย อำนาจปกครองของผู้เสียหายจึงตกแก่นาง ป. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1568 จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษหนักขึ้นตาม ป.อ. มาตรา 285
คำว่า "ผู้อยู่ในความปกครอง" ตาม ป.อ. มาตรา 285ต้องตีความโดยเคร่งครัด จำเลยมิใช่บิดาของผู้เสียหาย ผู้เสียหายเป็นเพียงบุตรติดนาง ป.มา แล้วนาง ป.อยู่กินเป็นสามีภริยากับจำเลย อำนาจปกครองของผู้เสียหายจึงตกแก่นาง ป. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1568 จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษหนักขึ้นตาม ป.อ. มาตรา 285
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7795/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองเด็กและการข่มขืนโดยบิดาเลี้ยง: การตีความ 'ผู้อยู่ในความปกครอง' ตามมาตรา 285
จำเลยมิใช่บิดาเด็กหญิง ม. โดยเด็กหญิง ม. เป็นบุตรติด ป. มาแล้ว ป. อยู่กินเป็นสามีภริยากับจำเลยฉะนั้น อำนาจปกครองเด็กหญิง ม. จึงตกอยู่แก่ ป.มารดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1568 หาใช่อยู่ในความปกครองของจำเลยซึ่งเป็นบิดาเลี้ยงไม่ และคำว่า"ผู้อยู่ในความปกครอง" ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 285 หมายถึงความปกครองตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ มิใช่เป็นความปกครองโดยพฤตินัย จำเลยกระทำชำเราเด็กหญิง ม.จึงไม่ต้องรับโทษหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 285
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7795/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนเด็กหญิงโดยบิดาเลี้ยง: อำนาจปกครองทางกฎหมายและบทบัญญัติอาญามาตรา 285
จำเลยมิใช่บิดาเด็กหญิงม. โดยเด็กหญิงม. เป็นบุตรติดป. มาแล้วป. อยู่กินเป็นสามีภริยากับจำเลยฉะนั้นอำนาจปกครองเด็กหญิงม. จึงตกอยู่แก่ป. มารดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1568หาใช่อยู่ในความปกครองของจำเลยซึ่งเป็นบิดาเลี้ยงไม่และคำว่า"ผู้อยู่ในความปกครอง"ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา285หมายถึงความปกครองตามที่กฎหมายบัญญัติไว้มิใช่เป็นความปกครองโดยพฤตินัยจำเลยกระทำชำเราเด็กหญิงม.จึงไม่ต้องรับโทษหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา285
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7704/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำหน่ายเฮโรอีนของกลางทั้งหมดในคราวเดียว เป็นความผิดฐานมีไว้เพื่อจำหน่ายและจำหน่าย
จำเลยนำเฮโรอีนของกลางทั้งหมดไปจำหน่ายให้แก่สายลับในคราวเดียวกันไม่มีเฮโรอีนจำนวนอื่นเหลืออยู่ที่จำเลยอีกการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อ จำหน่ายและจำหน่ายเฮโรอีนอันเป็น กรรมเดียวเป็น ความผิดต่อกฎหมายหลายบท แต่ละบทมีโทษเท่ากันให้ลงโทษฐานจำหน่ายเฮโรอีน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7704/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานครอบครองและจำหน่ายยาเสพติด (เฮโรอีน) เป็นกรรมเดียว ศาลพิพากษาลงโทษฐานจำหน่าย
จำเลยนำเฮโรอีนของกลางทั้งหมดไปจำหน่ายให้แก่สายลับใน คราวเดียวกัน ไม่มีเฮโรอีนจำนวนอื่นเหลืออยู่ที่จำเลยอีก การกระทำของจำเลย จึงเป็นความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเฮโรอีนอันเป็นกรรมเดียวเป็น ความผิดต่อกฎหมายหลายบท แต่ละบทมีโทษเท่ากัน ให้ลงโทษฐาน จำหน่ายเฮโรอีน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7697/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายห้องชุด: การเปลี่ยนแปลงพื้นที่และผลกระทบต่อสัญญา
การให้งดสืบพยานเป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจสั่งตามสมควรแก่กรณีเป็นเรื่อง ๆ ไป ถ้าข้อเท็จจริงเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้วก็ไม่จำต้องนำสืบพยานหลักฐานใดอีกกรณีคดีนี้ ศาลชั้นต้นพิจารณาคำฟ้อง คำให้การเอกสาร และคำเบิกความรับรองเอกสารของโจทก์ เห็นว่าเป็นการเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้ว จึงมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์ต่อไปเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลยพินิจทั้งนี้ก็เพื่อให้คดี ดำเนินไปโดยรวดเร็วและยุติธรรม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 86 วรรคสอง คำสั่งงดสืบพยานของศาลชั้นต้น จึงชอบแล้ว โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด เนื้อที่ประมาณ 157 ตารางเมตร เมื่อจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารชุดเสร็จปรากฏว่าห้องชุดมีเนื้อที่ 206 ตารางเมตรเศษ ซึ่งเกินกว่าร้อยละ 5 ของพื้นที่ที่กำหนดไว้ในสัญญา โจทก์จึงบอกปัดไม่ยอมรับมอบและชำระราคาห้องชุดดังกล่าว แต่จะขอรับมอบในพื้นที่ 157 ตารางเมตร พร้อมกับชำระราคาส่วนที่เหลือตามพื้นที่เดิม แต่เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายระบุว่า ผู้จะขายตกลงกับผู้จะซื้อห้องชุดเลขที่ 205 ชั้นที่ 2 คิดเป็นพื้นที่อันเป็นทรัพย์ส่วนบุคคลจำนวนประมาณ 157 ตารางเมตร ตามที่ปรากฏในแผนผังของอาคารชุดที่ทำเครื่องหมายเส้นสีแดงที่แนบท้ายสัญญาและหากพื้นที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง คู่สัญญาตกลงให้เพิ่มหรือลดราคาลงตามอัตราส่วนของราคาซื้อขายดังกล่าวข้างต้นเห็นได้ว่า คู่กรณีคือโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีเจตนาจะซื้อจะขายห้องชุดกัน โดยมิได้ถือเป็นสาระสำคัญว่าพื้นที่ของห้องชุดจะต้องมีเนื้อที่เพียงประมาณ 157 ตารางเมตร เท่านั้นหากพื้นที่เพิ่มหรือลดลง คู่สัญญาตกลงกันให้เพิ่มหรือลดราคาลงตามอัตราส่วนของราคาที่ตกลงซื้อขายกัน ข้อสัญญาดังกล่าวจึงใช้บังคับได้ บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 466 วรรคสอง มิใช่ข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อปรากฏชัดว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงสัญญาอันเป็นข้อยกเว้นมิให้ใช้ข้อกฎหมายดังกล่าวข้างต้นบังคับ โจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันกันตามข้อสัญญาที่ตกลงกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกปัดไม่รับพื้นที่ห้องชุดที่เพิ่มขึ้นและเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 มอบห้องชุดในพื้นที่ที่ประมาณไว้ตามสัญญา ส่วนจำเลยที่ 1 เมื่อสร้างห้องชุดเสร็จพร้อมส่งมอบแก่โจทก์ แต่โจทก์เพิกเฉยไม่ยอมชำระราคาห้องชุดดังกล่าวภายในกำหนดเวลาที่จำเลยที่ 1 แจ้งให้ทราบโดยไม่มีเหตุจะอ้างได้ตามกฎหมาย โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7697/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายห้องชุด: การเปลี่ยนแปลงพื้นที่และผลผูกพันตามสัญญา
การให้งดสืบพยานเป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลยพินิจสั่งตามสมควรแก่กรณีเป็นเรื่อง ๆ ไป ถ้าข้อเท็จจริงเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้วก็ไม่จำต้องนำสืบพยานหลักฐานใดอีก กรณีคดีนี้ ศาลชั้นต้นพิจารณาคำฟ้อง คำให้การเอกสาร และคำเบิกความรับรองเอกสารของโจทก์ เห็นว่าเป็นการเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้ว จึงมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์ต่อไป เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลยพินิจทั้งนี้ก็เพื่อให้คดีดำเนินไปโดยรวดเร็วและยุติธรรม ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 86วรรคสอง คำสั่งงดสืบพยานของศาลชั้นต้น จึงชอบแล้ว
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด เนื้อที่ประมาณ157 ตารางเมตร เมื่อจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารชุดเสร็จปรากฏว่าห้องชุดมีเนื้อที่206 ตารางเมตรเศษ ซึ่งเกินกว่าร้อยละ 5 ของพื้นที่ที่กำหนดไว้ในสัญญา โจทก์จึงบอกปัดไม่ยอมรับมอบและชำระราคาห้องชุดดังกล่าว แต่จะขอรับมอบในพื้นที่ 157ตารางเมตร พร้อมกับชำระราคาส่วนที่เหลือตามพื้นที่เดิม แต่เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายระบุว่า ผู้จะขายตกลงกับผู้จะซื้อห้องชุดเลขที่ 205 ชั้นที่ 2 คิดเป็นพื้นที่อันเป็นทรัพย์ส่วนบุคคลจำนวนประมาณ 157 ตารางเมตร ตามที่ปรากฏในแผนผังของอาคารชุดที่ทำเครื่องหมายเส้นสีแดงที่แนบท้ายสัญญาและหากพื้นที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง คู่สัญญาตกลงให้เพิ่มหรือลดราคาลงตามอัตราส่วนของราคาซื้อขายดังกล่าวข้างต้น เห็นได้ว่าคู่กรณีคือโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีเจตนาจะซื้อจะขายห้องชุดกัน โดยมิได้ถือเป็นสาระ-สำคัญว่าพื้นที่ของห้องชุดจะต้องมีเนื้อที่เพียงประมาณ 157 ตารางเมตร เท่านั้นหากพื้นที่เพิ่มหรือลดลง คู่สัญญาตกลงกันให้เพิ่มหรือลดราคาลงตามอัตราส่วนของราคาที่ตกลงซื้อขายกัน ข้อสัญญาดังกล่าวจึงใช้บังคับได้ บทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 466 วรรคสอง มิใช่ข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อปรากฏชัดว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงสัญญาอันเป็นข้อยกเว้นมิให้ใช้ข้อกฎหมายดังกล่าวข้างต้นบังคับ โจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันกันตามข้อสัญญาที่ตกลงกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกปัดไม่รับพื้นที่ห้องชุดที่เพิ่มขึ้นและเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 มอบห้องชุดในพื้นที่ที่ประมาณไว้ตามสัญญา ส่วนจำเลยที่ 1 เมื่อสร้างห้องชุดเสร็จพร้อมส่งมอบแก่โจทก์ แต่โจทก์เพิกเฉยไม่ยอมชำระราคาห้องชุดดังกล่าวภายในกำหนดเวลาที่จำเลยที่ 1 แจ้งให้ทราบโดยไม่มีเหตุจะอ้างได้ตามกฎหมาย โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด เนื้อที่ประมาณ157 ตารางเมตร เมื่อจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารชุดเสร็จปรากฏว่าห้องชุดมีเนื้อที่206 ตารางเมตรเศษ ซึ่งเกินกว่าร้อยละ 5 ของพื้นที่ที่กำหนดไว้ในสัญญา โจทก์จึงบอกปัดไม่ยอมรับมอบและชำระราคาห้องชุดดังกล่าว แต่จะขอรับมอบในพื้นที่ 157ตารางเมตร พร้อมกับชำระราคาส่วนที่เหลือตามพื้นที่เดิม แต่เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายระบุว่า ผู้จะขายตกลงกับผู้จะซื้อห้องชุดเลขที่ 205 ชั้นที่ 2 คิดเป็นพื้นที่อันเป็นทรัพย์ส่วนบุคคลจำนวนประมาณ 157 ตารางเมตร ตามที่ปรากฏในแผนผังของอาคารชุดที่ทำเครื่องหมายเส้นสีแดงที่แนบท้ายสัญญาและหากพื้นที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง คู่สัญญาตกลงให้เพิ่มหรือลดราคาลงตามอัตราส่วนของราคาซื้อขายดังกล่าวข้างต้น เห็นได้ว่าคู่กรณีคือโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีเจตนาจะซื้อจะขายห้องชุดกัน โดยมิได้ถือเป็นสาระ-สำคัญว่าพื้นที่ของห้องชุดจะต้องมีเนื้อที่เพียงประมาณ 157 ตารางเมตร เท่านั้นหากพื้นที่เพิ่มหรือลดลง คู่สัญญาตกลงกันให้เพิ่มหรือลดราคาลงตามอัตราส่วนของราคาที่ตกลงซื้อขายกัน ข้อสัญญาดังกล่าวจึงใช้บังคับได้ บทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 466 วรรคสอง มิใช่ข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อปรากฏชัดว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงสัญญาอันเป็นข้อยกเว้นมิให้ใช้ข้อกฎหมายดังกล่าวข้างต้นบังคับ โจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันกันตามข้อสัญญาที่ตกลงกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกปัดไม่รับพื้นที่ห้องชุดที่เพิ่มขึ้นและเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 มอบห้องชุดในพื้นที่ที่ประมาณไว้ตามสัญญา ส่วนจำเลยที่ 1 เมื่อสร้างห้องชุดเสร็จพร้อมส่งมอบแก่โจทก์ แต่โจทก์เพิกเฉยไม่ยอมชำระราคาห้องชุดดังกล่าวภายในกำหนดเวลาที่จำเลยที่ 1 แจ้งให้ทราบโดยไม่มีเหตุจะอ้างได้ตามกฎหมาย โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7636/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิติดตามทรัพย์สินคืน - เพิกถอน น.ส.3ก. และการซื้อขาย - ไม่ขาดอายุความ
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของโจทก์จำเลยที่1เป็นผู้ครอบครองดูแลแทนโจทก์การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์และเพิกถอนการโอนที่ดินระหว่างจำเลยที่1ที่2และที่3ถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิติดตามเรียกเอาทรัพย์สินของโจทก์คืนไม่อยู่ในบังคับอายุความเพิกถอนการฉ้อฉล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7581/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาตามยอมมีผลผูกพัน หากไม่อุทธรณ์ภายในกำหนด โจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้
สัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยตกลงทำไว้กับโจทก์และที่ศาลพิพากษาตามยอมนั้น หากจำเลยเห็นว่าคำพิพากษาตามยอมมิได้เป็นไปตามข้อตกลงหรือการประนีประนอมยอมความแล้ว จำเลยชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมนั้นนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 วรรคสอง(1)(3)และการอุทธรณ์นั้นจำเลยต้องอุทธรณ์ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาตามมาตรา 229 เมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมภายในกำหนดดังกล่าวย่อมเป็นอันถึงที่สุดและมีผลผูกพันจำเลยที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติโจทก์ชอบที่จะขอให้บังคับคดีและนำยึดทรัพย์สินของจำเลยออกขายทอดตลาดชำระหนี้ได้ จำเลยไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์โดยอ้างเหตุว่าสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยตกลงทำกับโจทก์และที่ศาลพิพากษาตามยอม เป็นนิติกรรมอำพรางที่โจทก์ใช้กลอุบายหลอกลวงให้จำเลยหลงทำขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7544/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณา: จำเลยไม่ทราบล่วงหน้าวันนัดสืบพยาน ทำให้คำสั่งขาดนัดไม่ชอบ
จำเลยไม่ไปศาลในวันที่ศาลชั้นต้นกำหนดนัดชี้สองสถานหรือนัดสืบพยานโจทก์ วันดังกล่าวมิใช่วันนัดสืบพยานโจทก์แต่เพียงอย่างเดียว การที่ศาลชั้นต้นงดชี้สองสถานและถือให้เป็นวันนัดสืบพยานโจทก์ทันทีในวันนั้นจำเลยย่อมไม่มีโอกาสทราบล่วงหน้า ฉะนั้นการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยขาดนัดพิจารณาจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 197 วรรคสอง