พบผลลัพธ์ทั้งหมด 643 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6608/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับประกันภัยค้ำจุนต้องรับผิดแม้ผู้เอาประกันภัยไม่แจ้งอุบัติเหตุ อายุความฟ้องร้องประกันภัย 2 ปี
จำเลยร่วมเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนจำเลยที่ 1 จำเลยร่วมย่อมต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยเพื่อความวินาศภัยอันเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่งและซึ่งจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 ทั้งนี้แม้ จำเลยที่ 1 ไม่ได้แจ้งอุบัติเหตุให้จำเลยร่วมทราบตามเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ประกันภัยก็ตาม ก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยร่วมกับจำเลยที่ 1 เท่านั้น โจทก์เป็นบุคคลภายนอกสัญญา จำเลยร่วมในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะนำเงื่อนไขดังกล่าวในกรมธรรม์ประกันภัยมาใช้บังคับโจทก์ด้วยไม่ได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องตามสัญญาประกันภัยเพื่อเรียกให้จำเลยร่วมผู้รับประกันภัยรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน จึงมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันวินาศภัยตามป.พ.พ. มาตรา 882 วรรคหนึ่ง คดีนี้เกิดวินาศภัยในวันที่ 23 เมษายน 2534แต่โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นจำเลยร่วมวันที่ 27 กรกฎาคม2535 จึงยังไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คดีนี้โจทก์ฟ้องตามสัญญาประกันภัยเพื่อเรียกให้จำเลยร่วมผู้รับประกันภัยรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน จึงมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันวินาศภัยตามป.พ.พ. มาตรา 882 วรรคหนึ่ง คดีนี้เกิดวินาศภัยในวันที่ 23 เมษายน 2534แต่โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นจำเลยร่วมวันที่ 27 กรกฎาคม2535 จึงยังไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6608/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับประกันภัยค้ำจุนต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย แม้ผู้เอาประกันภัยไม่แจ้งอุบัติเหตุ และฟ้องร้องภายในอายุความ
จำเลยร่วมเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนจำเลยที่1จำเลยร่วมย่อมต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของจำเลยที่1ผู้เอาประกันภัยเพื่อความวินาศภัยอันเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่งและซึ่งจำเลยที่1ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา887ทั้งนี้แม้จำเลยที่1ไม่ได้แจ้งอุบัติเหตุให้จำเลยร่วมทราบตามเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ประกันภัยก็ตามก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยร่วมกับจำเลยที่1เท่านั้นโจทก์เป็นบุคคลภายนอกสัญญาจำเลยร่วมในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะนำเงื่อนไขดังกล่าวในกรมธรรม์ประกันภัยมาใช้บังคับโจทก์ด้วยไม่ได้ คดีนี้โจทก์ฟ้องตามสัญญาประกันภัยเพื่อเรียกให้จำเลยร่วมผู้รับประกันภัยรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนจึงมีอายุความ2ปีนับแต่วันวินาศภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา882วรรคหนึ่งคดีนี้เกิดวินาศภัยในวันที่23เมษายน2534แต่โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นจำเลยร่วมวันที่27กรกฎาคม2535จึงยังไม่เกิน2ปีนับแต่วันวินาศภัยคดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6515/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำมั่นจะซื้อขายที่ดินไม่ผูกพันผู้จัดการมรดก หากไม่มีการสนองรับก่อนผู้ทำคำมั่นถึงแก่กรรม
ตามสัญญาที่ให้โจทก์มีสิทธิซื้อที่พิพาทคืนได้โดยไม่มีกำหนดเวลาเป็นเพียงคำมั่นของ ส. มิใช่เป็นสัญญาจะซื้อขายที่พิพาท และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้สนองรับคำมั่นว่าจะทำการซื้อที่พิพาทไปยัง ส.เมื่อ ส.ตาย โจทก์ก็ทราบ แต่โจทก์ยังตอบรับคำมั่นโดยบอกกล่าวให้จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกไปจดทะเบียนโอนที่พิพาทให้แก่โจทก์ กรณีจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 360 ซึ่งบัญญัติมิให้นำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 169 วรรคสอง มาใช้บังคับ คำมั่นจะขายที่พิพาทของ ส.ย่อมไม่มีผลบังคับ จึงไม่ผูกพันจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ส.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6515/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำมั่นสัญญาซื้อคืนที่ดิน: ผลบังคับเมื่อผู้เสนอเสียชีวิตและผู้รับยังไม่สนองรับ
เดิมที่ดินพิพาทเป็นของป. และค. บุคคลทั้งสองขายที่ดินพิพาทให้แก่ส. และส.ได้ทำสัญญาไว้แก่ป. และค. ตกลงให้ป. และค. กับโจทก์ด้วยมีสิทธิซื้อคืนได้โดยไม่มีกำหนดเวลาต่อมาส. ถึงแก่กรรมตามสัญญาดังกล่าวเป็นเพียงคำมั่นของส.และโจทก์ไม่ได้สนองรับคำมั่นยังส. ก่อนที่ส.ถึงแก่กรรมและเมื่อส. ถึงแก่กรรมลงโจทก์ก็ทราบแต่ยังตอบรับคำมั่นไปอีกโดยให้จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของส.ไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์กรณีจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา360ซึ่งมิให้นำบทบัญญัติมาตรา169วรรคสองมาใช้บังคับหากว่าก่อนจะสนองรับนั้นคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้อยู่แล้วว่าผู้เสนอตายดังนี้คำมั่นว่าจะขายที่ดินพิพาทของส. ย่อมไม่มีผลบังคับจำเลยให้ต้องปฏิบัติตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6459/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดโดยไม่สุจริต และผลกระทบต่อสิทธิในทรัพย์สิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 19629,19630,19631 แขวงลาดยาว(บางซื่อฝั่งเหนือ) เขตบางเขน (บางซื่อ) กรุงเทพมหานครพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยประมูลซื้อจากการขายทอดตลาดและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วจำเลยทั้งสองและบริวารอยู่อาศัยในที่ดินและบ้านพิพาทโดยไม่ยอมออก โจทก์ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้ทำให้โจทก์เสียหายไม่น้อยกว่าเดือนละ 30,000 บาท ขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสองและบริวารออกจากที่พิพาทและสิ่งปลูกสร้างและใช้ค่าเสียหาย ดังนี้โจทก์บรรยายฟ้องแจ้งชัดถึงการได้มาของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ความเสียหายที่ไม่อาจหาประโยชน์เดือนละ 30,000 บาท และได้บอกกล่าวให้จำเลยทั้งสองออกจากที่พิพาทและสิ่งปลูกสร้างแล้วเป็นฟ้องที่แสดงแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วจึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง คำว่า โดยสุจริตในมาตรา 1330 หมายความว่าผู้ซื้อไม่รู้ว่ามิใช่ทรัพย์ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลล้มละลาย ในการวินิจฉัยว่าผู้ซื้อสุจริตหรือไม่ย่อมต้องพิจารณาพฤติการณ์ต่าง ๆ ทั้งก่อนและในขณะซื้อประกอบกันว่าผู้ซื้อรู้หรือไม่ว่าทรัพย์ที่ตนซื้อจากการขายทอดตลาด มิใช่ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลล้มละลาย ส. ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ไปประมูลซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดเบิกความรับว่า จำเลยทั้งสองเป็นผู้ขออนุญาตปลูกสร้างบ้านพิพาทได้ปลูกสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2518 ก่อนโจทก์ซื้อที่พิพาท และก่อนไปประมูลซื้อที่ดินได้ไปตรวจดูที่ดินซึ่งรวมทั้งที่พิพาทก่อน พบว่าที่ดินบางแปลงเป็นที่ว่างเปล่าบางแปลงมีสิ่งปลูกสร้างแต่สิ่งปลูกสร้างไม่มีผู้อยู่อาศัย มีสภาพเป็นบ้านร้าง หลังจากโจทก์ซื้อที่พิพาททั้ง 3 แปลงจากการขายทอดตลาดแล้วจึงได้มีคนเข้าไปอยู่อาศัยในบ้านพิพาท ในขณะที่โจทก์ประสงค์จะซื้อที่ดินและบ้านพิพาทโจทก์ได้ตรวจสอบทราบแล้วว่า ที่ดินและบ้านพิพาทมีจำเลยทั้งสองเป็นผู้อาศัยอยู่ บ้านพิพาทมีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของบ้านพิพาทปิดอยู่ที่หน้าประตูบ้านอย่างชัดแจ้ง โจทก์ย่อมทราบว่าที่ดินและบ้านพิพาทมิใช่เป็นของลูกหนี้ในคดีที่มีการขายทอดตลาดกัน โจทก์จึงมิใช่เป็นผู้ซื้อโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330โจทก์จะเอาที่และบ้านพิพาทโดยอาศัยกฎหมายดังกล่าวไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองให้ออกจากที่ดินและบ้านพิพาท ที่จำเลยทั้งสองฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่พิพาททั้ง 3 แปลง ด้วยนั้นเมื่อการขายทอดตลาดดังกล่าวเป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย และประเด็นพิพาทสำหรับโจทก์และจำเลยทั้งสองในคดีนี้คงมีเพียงว่าโจทก์ซื้อที่พิพาทโดยสุจริตหรือไม่เท่านั้น จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการขายทอดตลาด คดีนี้ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทรวม 3 ประการ คือโจทก์ซื้อที่พิพาทโฉนดเลขที่ 1962919630 และ 19631 พร้อมสิ่งปลูกสร้างจากการขายทอดตลาดโดยสุจริตหรือไม่ ฟ้องโจทก์ในส่วนค่าเสียหายเคลือบคลุมหรือไม่ และค่าเสียหายมีเพียงใด โดยมิได้กำหนดประเด็นในเรื่องการครอบครองจนได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทแต่อย่างใดจำเลยมิได้โต้แย้งไว้ ถือได้ว่าจำเลยสละประเด็นข้อนี้แล้ว ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6459/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดโดยไม่สุจริต ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้ครอบครองเดิม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 19629 ,19630, 19631 แขวงลาดยาว (บางซื่อฝั่งเหนือ) เขตบางเขน(บางซื่อ) กรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยประมูลซื้อจากการขายทอดตลาดและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว จำเลยทั้งสองและบริวารอยู่อาศัยในที่ดินและบ้านพิพาทโดยไม่ยอมออก โจทก์ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้ทำให้โจทก์เสียหายไม่น้อยกว่าเดือนละ 30,000 บาท ขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสองและบริวารออกจากที่พิพาทและสิ่งปลูกสร้างและใช้ค่าเสียหาย ดังนี้โจทก์บรรยายฟ้องแจ้งชัดถึงการได้มาของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ความเสียหายที่ไม่อาจหาประโยชน์เดือนละ30,000 บาท และได้บอกกล่าวให้จำเลยทั้งสองออกจากที่พิพาทและสิ่งปลูกสร้างแล้วเป็นฟ้องที่แสดงแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง
คำว่า โดยสุจริตในมาตรา 1330 หมายความว่า ผู้ซื้อไม่รู้ว่ามิใช่ทรัพย์ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลล้มละลาย ในการวินิจฉัยว่าผู้ซื้อสุจริตหรือไม่ย่อมต้องพิจารณาพฤติการณ์ต่าง ๆ ทั้งก่อนและในขณะซื้อประกอบกันว่าผู้ซื้อรู้หรือไม่ว่าทรัพย์ที่ตนซื้อจากการขายทอดตลาด มิใช่ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลล้มละลาย ส.ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ไปประมูลซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดเบิกความรับว่า จำเลยทั้งสองเป็นผู้ขออนุญาตปลูกสร้างบ้านพิพาทได้ปลูกสร้างตั้งแต่ พ.ศ.2518 ก่อนโจทก์ซื้อที่พิพาท และก่อนไปประมูลซื้อที่ดินได้ไปตรวจดูที่ดินซึ่งรวมทั้งที่พิพาทก่อน พบว่าที่ดินบางแปลงเป็นที่ว่างเปล่าบางแปลงมีสิ่งปลูกสร้างแต่สิ่งปลูกสร้างไม่มีผู้อยู่อาศัย มีสภาพเป็นบ้านร้าง หลังจากโจทก์ซื้อที่พิพาททั้ง 3 แปลงจากการขายทอดตลาดแล้ว จึงได้มีคนเข้าไปอยู่อาศัยในบ้านพิพาท ในขณะที่โจทก์ประสงค์จะซื้อที่ดินและบ้านพิพาทโจทก์ได้ตรวจสอบทราบแล้วว่า ที่ดินและบ้านพิพาทมีจำเลยทั้งสองเป็นผู้อาศัยอยู่ บ้านพิพาทมีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของบ้านพิพาทปิดอยู่ที่หน้าประตูบ้านอย่างชัดแจ้ง โจทก์ย่อมทราบว่าที่ดินและบ้านพิพาทมิใช่เป็นของลูกหนี้ในคดีที่มีการขายทอดตลาดกัน โจทก์จึงมิใช่เป็นผู้ซื้อโดยสุจริตตาม ป.พ.พ.มาตรา 1330 โจทก์จะเอาที่และบ้านพิพาทโดยอาศัยกฎหมายดังกล่าวไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองให้ออกจากที่ดินและบ้านพิพาท
ที่จำเลยทั้งสองฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่พิพาททั้ง 3 แปลง ด้วยนั้น เมื่อการขายทอดตลาดดังกล่าวเป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย และประเด็นพิพาทสำหรับโจทก์และจำเลยทั้งสองในคดีนี้คงมีเพียงว่าโจทก์ซื้อที่พิพาทโดยสุจริตหรือไม่เท่านั้น จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการขายทอดตลาด
คดีนี้ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทรวม3 ประการ คือโจทก์ซื้อที่พิพาทโฉนดเลขที่ 19629 19630 และ 19631 พร้อมสิ่งปลูกสร้างจากการขายทอดตลาดโดยสุจริตหรือไม่ ฟ้องโจทก์ในส่วนค่าเสียหายเคลือบคลุมหรือไม่ และค่าเสียหายมีเพียงใด โดยมิได้กำหนดประเด็นในเรื่องการครอบครองจนได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทแต่อย่างใด จำเลยมิได้โต้แย้งไว้ ถือได้ว่าจำเลยสละประเด็นข้อนี้แล้ว ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ได้
คำว่า โดยสุจริตในมาตรา 1330 หมายความว่า ผู้ซื้อไม่รู้ว่ามิใช่ทรัพย์ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลล้มละลาย ในการวินิจฉัยว่าผู้ซื้อสุจริตหรือไม่ย่อมต้องพิจารณาพฤติการณ์ต่าง ๆ ทั้งก่อนและในขณะซื้อประกอบกันว่าผู้ซื้อรู้หรือไม่ว่าทรัพย์ที่ตนซื้อจากการขายทอดตลาด มิใช่ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลล้มละลาย ส.ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ไปประมูลซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดเบิกความรับว่า จำเลยทั้งสองเป็นผู้ขออนุญาตปลูกสร้างบ้านพิพาทได้ปลูกสร้างตั้งแต่ พ.ศ.2518 ก่อนโจทก์ซื้อที่พิพาท และก่อนไปประมูลซื้อที่ดินได้ไปตรวจดูที่ดินซึ่งรวมทั้งที่พิพาทก่อน พบว่าที่ดินบางแปลงเป็นที่ว่างเปล่าบางแปลงมีสิ่งปลูกสร้างแต่สิ่งปลูกสร้างไม่มีผู้อยู่อาศัย มีสภาพเป็นบ้านร้าง หลังจากโจทก์ซื้อที่พิพาททั้ง 3 แปลงจากการขายทอดตลาดแล้ว จึงได้มีคนเข้าไปอยู่อาศัยในบ้านพิพาท ในขณะที่โจทก์ประสงค์จะซื้อที่ดินและบ้านพิพาทโจทก์ได้ตรวจสอบทราบแล้วว่า ที่ดินและบ้านพิพาทมีจำเลยทั้งสองเป็นผู้อาศัยอยู่ บ้านพิพาทมีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของบ้านพิพาทปิดอยู่ที่หน้าประตูบ้านอย่างชัดแจ้ง โจทก์ย่อมทราบว่าที่ดินและบ้านพิพาทมิใช่เป็นของลูกหนี้ในคดีที่มีการขายทอดตลาดกัน โจทก์จึงมิใช่เป็นผู้ซื้อโดยสุจริตตาม ป.พ.พ.มาตรา 1330 โจทก์จะเอาที่และบ้านพิพาทโดยอาศัยกฎหมายดังกล่าวไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองให้ออกจากที่ดินและบ้านพิพาท
ที่จำเลยทั้งสองฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่พิพาททั้ง 3 แปลง ด้วยนั้น เมื่อการขายทอดตลาดดังกล่าวเป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย และประเด็นพิพาทสำหรับโจทก์และจำเลยทั้งสองในคดีนี้คงมีเพียงว่าโจทก์ซื้อที่พิพาทโดยสุจริตหรือไม่เท่านั้น จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการขายทอดตลาด
คดีนี้ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทรวม3 ประการ คือโจทก์ซื้อที่พิพาทโฉนดเลขที่ 19629 19630 และ 19631 พร้อมสิ่งปลูกสร้างจากการขายทอดตลาดโดยสุจริตหรือไม่ ฟ้องโจทก์ในส่วนค่าเสียหายเคลือบคลุมหรือไม่ และค่าเสียหายมีเพียงใด โดยมิได้กำหนดประเด็นในเรื่องการครอบครองจนได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทแต่อย่างใด จำเลยมิได้โต้แย้งไว้ ถือได้ว่าจำเลยสละประเด็นข้อนี้แล้ว ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6321/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดหน่วงทรัพย์สินจากการซ่อมแซมและการผิดนัดชำระหนี้ค่าซ่อม
จำเลยเป็นหนี้ค่าซ่อมรถยนต์จำนวน 233,149 บาท เมื่อโจทก์วางบิลเพื่อเก็บเงินตามข้อตกลงแล้ว จำเลยไม่ยอมรับการวางบิลและไม่ยอมชำระเงินดังกล่าว จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดนัด โจทก์จึงมีสิทธิยึดหน่วงรถยนต์ของจำเลยที่รับซ่อมไว้ได้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้
ข้อที่จำเลยยกขึ้นอุทธรณ์ฎีกาล้วนเป็นประเด็นโดยตรงและเป็นสาระแก่คดี ซึ่งศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาก็ได้รับวินิจฉัยมาตลอด หาได้ส่อความไม่สุจริตในการดำเนินคดีหรือประวิงการชำระหนี้ไม่ จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราที่สูงขึ้นกว่าที่โจทก์มีสิทธิได้รับตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (6)
ข้อที่จำเลยยกขึ้นอุทธรณ์ฎีกาล้วนเป็นประเด็นโดยตรงและเป็นสาระแก่คดี ซึ่งศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาก็ได้รับวินิจฉัยมาตลอด หาได้ส่อความไม่สุจริตในการดำเนินคดีหรือประวิงการชำระหนี้ไม่ จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราที่สูงขึ้นกว่าที่โจทก์มีสิทธิได้รับตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (6)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6321/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดหน่วงรถยนต์เพื่อชำระหนี้ค่าซ่อม และการไม่อุทธรณ์ฎีกาโดยไม่มีเหตุผลสมควร
จำเลยเป็นหนี้ค่าซ่อมรถยนต์จำนวน233,149บาทเมื่อโจทก์วางบิลเพื่อเก็บเงินตามข้อตกลงแล้วจำเลยไม่ยอมรับการวางบิลและไม่ยอมชำระเงินดังกล่าวจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดนัดโจทก์จึงมีสิทธิยึดหน่วงรถยนต์ของจำเลยที่รับซ่อมไว้ได้จนกกว่าจะได้รับชำระหนี้ ข้อที่จำเลยยกขึ้นอุทธรณ์ฎีกาล้วนเป็นประเด็นโดยตรงและเป็นสาระแก่คดีซึ่งศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาก็ได้รับวินิจฉัยมาตลอดหาได้ส่อความไม่สุจริตในการดำเนินคดีหรือประวิงการชำระหนี้ไม่จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราที่สูงขึ้นกว่าที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(6)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6319/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำขอพิจารณาใหม่ล่าช้า – พฤติการณ์นอกเหนือควบคุม – ความบกพร่องของทนาย
ทนายจำเลยได้ยื่นคำแถลงขอตรวจสำนวนคดีก่อนยื่นคำร้องพิจารณาใหม่แล้วถึง2ครั้งซึ่งศาลชั้นต้นก็อนุญาตจึงถือได้ว่าทนายจำเลยได้ทราบถึงข้อเท็จจริงแห่งคดีเพียงพอแล้วข้ออ้างของทนายจำเลยที่ว่าทนายจำเลยเป็นทนายความใหม่ยังไม่มีความชำนาญเพียงพอที่จะดำเนินการได้นั้นเป็นข้อบกพร่องของทนายจำเลยเองในการปฎิบัติหน้าที่กรณีมิใช่เป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา208วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6298/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่สาธารณสมบัติประเภทใช้ร่วมกัน ไม่ต้องมีประกาศ/ทะเบียน อายุความใช้ไม่ได้
ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทที่เป็นทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2) นั้น เกิดขึ้นและเป็นอยู่ตามสภาพของที่ดินและการใช้ร่วมกันของราษฎรโดยไม่จำต้องมีประกาศพระราชกฤษฎีกาสงวนไว้หรือขึ้นทะเบียน หรือมีเอกสารราชการกำหนดให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ ทั้งผู้ใดไม่อาจยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินได้