พบผลลัพธ์ทั้งหมด 643 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5563/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเรื่องค่าจ้างจากการจัดทำโครงการบ้านจัดสรร และความถูกต้องของคำพิพากษาเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม
คดีนี้จำเลยที่2อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้โจทก์ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนจำเลยทั้งสอง6,000บาทโดยไม่ได้พิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา141(5)และ167วรรคหนึ่งศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5563/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทนายความในชั้นอุทธรณ์ - การพิพากษาค่าฤชาธรรมเนียมที่ไม่ถูกต้อง
คดีนี้จำเลยที่ 2 อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้โจทก์ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนจำเลยทั้งสอง 6,000 บาท โดยไม่ได้พิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 141(5) และ 167 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5559/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยศาลอุทธรณ์นอกประเด็นเรื่องการรุกล้ำที่ดิน และสิทธิในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเสารั้วพร้อมลวดหนามซึ่งรุกล้ำที่ดินโจทก์ออกไปจากที่ดินโจทก์ จำเลยที่ 3 ให้การสู้คดีไว้แต่เพียงว่า จำเลยที่ 3 ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยสุจริต ไม่ได้ให้การว่าจำเลยที่ 3 ปลูกสร้างทาวน์เฮาส์รุกล้ำที่ดินโจทก์โดยสุจริต การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า การก่อสร้างรุกล้ำของจำเลยเป็นการก่อสร้างโดยสุจริตและพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 แต่ไม่ตัดสิทธิคู่ความที่จะไปว่ากล่าวกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 1312 นั้น จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำขอของโจทก์ที่ว่าให้จำเลยที่ 3 รื้อถอนส่วนที่รุกล้ำออกไปจากแนวเขตที่ดินโจทก์ หากจำเลยที่ 3 ไม่ยอมรื้อถอนให้โจทก์เป็นผู้รื้อถอนโดยจำเลยที่ 3 เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายนั้น หากจำเลยที่ 3 ไม่ปฏิบัติตามคำบังคับของศาลโจทก์อาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการให้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 ทวิ ได้อยู่แล้ว โจทก์จะขอรื้อถอนกำแพงทาวน์เฮาส์ส่วนที่รุกล้ำของจำเลยที่ 3 เองโดยให้ศาลบังคับให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายหาได้ไม่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำขอของโจทก์ที่ว่าให้จำเลยที่ 3 รื้อถอนส่วนที่รุกล้ำออกไปจากแนวเขตที่ดินโจทก์ หากจำเลยที่ 3 ไม่ยอมรื้อถอนให้โจทก์เป็นผู้รื้อถอนโดยจำเลยที่ 3 เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายนั้น หากจำเลยที่ 3 ไม่ปฏิบัติตามคำบังคับของศาลโจทก์อาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการให้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 ทวิ ได้อยู่แล้ว โจทก์จะขอรื้อถอนกำแพงทาวน์เฮาส์ส่วนที่รุกล้ำของจำเลยที่ 3 เองโดยให้ศาลบังคับให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายหาได้ไม่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5559/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดิน: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นนอกฟ้องและบังคับรื้อถอนได้ แม้จำเลยให้การว่าซื้อโดยสุจริต
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเสารั้วพร้อมลวดหนามซึ่งรุกล้ำที่ดินโจทก์ออกไปจากที่ดินโจทก์จำเลยที่3ให้การสู้คดีไว้แต่เพียงว่าจำเลยที่3ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยสุจริตไม่ได้ให้การว่าจำเลยที่3ปลูกสร้างทาวน์เฮาสส์รุกล้ำที่ดินโจทก์โดยสุจริตการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าการก่อสร้างรุกล้ำของจำเลยเป็นการก่อสร้างโดยสุจริตและพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่3แต่ไม่ตัดสิทธิคู่ความที่จะไปว่ากล่าวกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1312นั้นจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา คำขอของโจทก์ที่ว่าให้จำเลยที่3รื้อถอนส่วนที่รุกล้ำออกไปจากแนวเขตที่ดินโจทก์หากจำเลยที่3ไม่ยอมรื้อถอนให้โจทก์เป็นผู้รื้อถอนโดยจำเลยที่3เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายนั้นหากจำเลยที่3ไม่ปฏิบัติตามคำบังคับของศาลโจทก์อาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296ทวิได้อยู่แล้วโจทก์จะขอรื้อถอนกำแพงทาวน์เฮาส์ส่วนที่รุกล้ำของจำเลยที่3เองโดยให้ศาลบังคับให้จำเลยที่3เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายหาได้ไม่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5419/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับช่วงสิทธิในคดีทำละเมิด: ผู้รับประกันต้องชำระค่าซ่อมก่อนจึงจะมีสิทธิฟ้อง
โจทก์ผู้รับประกันไม่ได้ชำระค่าซ่อมรถยนต์คันเกิดเหตุแก่ผู้เอาประกันภัย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยมาฟ้องจำเลยผู้ทำละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 880 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5268/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดและข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 176 กรณีศาลยกฟ้องเนื่องจากไม่มีอำนาจพิจารณา
โจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสามในมูลหนี้เดียวกับคดีนี้ที่ศาลจังหวัดสมุทรปราการแต่ศาลจังหวัดสมุทรปราการมีคำสั่งจำหน่ายคดีเมื่อวันที่22ธันวาคม2532เนื่องจากจำเลยที่1ไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจศาลเมื่อไม่มีข้อเท็จจริงใดที่แสดงให้เห็นว่าขณะที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามครั้งแรกที่ศาลจังหวัดสมุทรปราการนั้นโจทก์ได้ฟ้องภายในกำหนดอายุความ1ปีตามมูลละเมิดแล้วจะนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา176มาปรับแก่คดีของโจทก์ในกรณีนี้หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5268/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิดและการจำหน่ายคดีเนื่องจากไม่มีภูมิลำเนา
โจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสามในมูลหนี้เดียวกับคดีนี้ที่ศาลจังหวัดสมุทรปราการ แต่ศาลจังหวัดสมุทรปราการมีคำสั่งจำหน่ายคดีเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม2532 เนื่องจากจำเลยที่ 1 ไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจศาล เมื่อไม่มีข้อเท็จจริงใดที่แสดงให้เห็นว่าขณะที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามครั้งแรกที่ศาลจังหวัดสมุทรปราการ นั้น โจทก์ได้ฟ้องภายในกำหนดอายุความ 1 ปี ตามมูลละเมิดแล้ว จะนำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 176 มาปรับแก่คดีของโจทก์ในกรณีนี้หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5183/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์ภาคหลังกฎหมายมีผลบังคับใช้ และการรับฟ้องแย้งที่เกี่ยวข้อง/ไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม
ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดจำนวน ที่ตั้ง เขตศาลและวันเปิดทำการของศาลอุทธรณ์ภาค (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2536 มาตรา 4 บัญญัติว่าบรรดาคดีที่ได้อุทธรณ์ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคแล้วแต่กรณี ซึ่งคดีนั้นค้างพิจารณาอยู่ คงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไป พระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2536คดีนี้ปรากฏว่า จำเลยยื่นอุทธรณ์และศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยเมื่อวันที่26 พฤษภาคม 2536 ก่อนพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับ คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลอุทธรณ์เท่านั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินโจทก์ เพราะจำเลยประพฤติผิดสัญญาเช่า แต่จำเลยฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาว่า คำสั่งแต่งตั้งประธานกรรมการและผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นโมฆะ เพราะขัดต่อมาตรา 26แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 จึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมศาลล่างทั้งสองไม่รับฟ้องแย้งของจำเลยส่วนนี้ชอบแล้ว ส่วนฟ้องแย้งที่จำเลยขอให้ศาลบังคับโจทก์ทำสัญญาให้จำเลยเช่าที่ดินโจทก์ต่อมีกำหนด 3 ปี นับแต่คำพิพากษาคดีนี้ถึงที่สุด และให้จำเลยมีสิทธิต่อสัญญาเช่าได้คราวละ 3 ปี ตลอดไปนั้น เป็นฟ้องแย้งที่กล่าวอ้างสัญญาเช่าเดิมที่โจทก์ฟ้อง ฟ้องแย้งของจำเลยส่วนนี้จึงเกี่ยวกับฟ้องเดิม แต่ตามฟ้องแย้งของจำเลยนั้นแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามฟ้องแย้ง ศาลก็ไม่สามารถบังคับโจทก์ให้ทำสัญญาเช่าให้แก่จำเลยตามคำขอท้ายฟ้องแย้งได้ศาลชั้นต้นชอบที่จะยกฟ้องแย้งส่วนนี้เสียได้ในชั้นตรวจคำฟ้องแย้งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 131 (2)
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินโจทก์ เพราะจำเลยประพฤติผิดสัญญาเช่า แต่จำเลยฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาว่า คำสั่งแต่งตั้งประธานกรรมการและผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นโมฆะ เพราะขัดต่อมาตรา 26แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 จึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมศาลล่างทั้งสองไม่รับฟ้องแย้งของจำเลยส่วนนี้ชอบแล้ว ส่วนฟ้องแย้งที่จำเลยขอให้ศาลบังคับโจทก์ทำสัญญาให้จำเลยเช่าที่ดินโจทก์ต่อมีกำหนด 3 ปี นับแต่คำพิพากษาคดีนี้ถึงที่สุด และให้จำเลยมีสิทธิต่อสัญญาเช่าได้คราวละ 3 ปี ตลอดไปนั้น เป็นฟ้องแย้งที่กล่าวอ้างสัญญาเช่าเดิมที่โจทก์ฟ้อง ฟ้องแย้งของจำเลยส่วนนี้จึงเกี่ยวกับฟ้องเดิม แต่ตามฟ้องแย้งของจำเลยนั้นแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามฟ้องแย้ง ศาลก็ไม่สามารถบังคับโจทก์ให้ทำสัญญาเช่าให้แก่จำเลยตามคำขอท้ายฟ้องแย้งได้ศาลชั้นต้นชอบที่จะยกฟ้องแย้งส่วนนี้เสียได้ในชั้นตรวจคำฟ้องแย้งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 131 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5183/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์ภาคหลังพ.ร.ก.กำหนดเขตศาล และการรับฟ้องแย้งที่เกี่ยวข้องกับสัญญาเช่า
ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดจำนวนที่ตั้งเขตศาลและวันเปิดทำการของศาลอุทธรณ์ภาค(ฉบับที่2)พ.ศ.2536มาตรา4บัญญัติว่าบรรดาคดีทีได้อุทธรณ์ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคแล้วแต่กรณีซึ่งคดีนั้นค้างพิจารณาอยู่คงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไปพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่29กรกฎาคม2536คดีนี้ปรากฎว่าจำเลยยื่นอุทธรณ์และศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยเมื่อวันที่26พฤษภาคม2536ก่อนพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับคดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลอุทธรณ์เท่านั้นศาลอุทธรณ์ภาค1ยังไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินโจทก์เพราะจำเลยประพฤติผิดสัญญาเช่าแต่จำเลยฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาว่าคำสั่งแต่งตั้งประธานกรรมการและผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นโมฆะเพราะขัดต่อมาตรา26แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทยพ.ศ.2494จึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมศาลล่างทั้งสองไม่รับฟ้องแย้งของจำเลยส่วนนี้ชอบแล้วส่วนฟ้องแย้งที่จำเลยขอให้ศาลบังคับโจทก์ทำสัญญาให้จำเลยเช่าที่ดินโจทก์ต่อมีกำหนด3ปีนับแต่คำพิพากษาคดีนี้ถึงที่สุดและให้จำเลยมีสิทธิต่อสัญญาเช่าได้คราวละ3ปีตลอดไปนั้นเห็นพ้องแย้งที่กล่าวอ้างสัญญาเช่าเดิมที่่โจทก์ฟ้องฟ้องแย้งของจำเลยส่วนนี้จึงเกี่ยวกับฟ้องเดิมแต่ตามฟ้องแย้งของจำเลยนั้นแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามฟ้องแย้งศาลก็ไม่สามารถบังคับโจทก์ให้ทำสัญญาเช่าให้แก่จำเลยตามคำขอท้ายฟ้องแย้งได้ศาลชั้นต้นชอบที่จะยกฟ้องแย้งส่วนนี้เสียได้ในชั้นตรวจคำฟ้องแย้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา131(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5183/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่และฟ้องแย้งเรื่องคำสั่งแต่งตั้งกรรมการ/ผู้ว่าการรถไฟฯ ศาลพิจารณาความเกี่ยวพันกับฟ้องเดิมและอำนาจบังคับสัญญา
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์เพราะจำเลยผิดสัญญาเช่าจำเลยฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาว่าคำสั่งแต่งตั้งประธานกรรมการและผู้ว่าการของโจทก์เป็นโมฆะจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมส่วนฟ้องแย้งที่ขอให้บังคับโจทก์ทำสัญญาให้จำเลยเช่าที่ดินต่อมีกำหนด3ปีและมีสิทธิต่อสัญญาได้คราวละ3ปีตลอดไปเป็นฟ้องแย้งที่กล่าวอ้างสัญญาเช่าเดิมจึงเกี่ยวกับฟ้องเดิมแต่แม้ฟังได้ตามฟ้องแย้งศาลก็ไม่สามารถบังคับโจทก์ให้ทำสัญญาเช่าให้แก่จำเลยได้โดยชอบที่จะยกฟ้องแย้งส่วนนี้ในชั้นตรวจคำฟ้องแย้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา131(2)การที่ศาลมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งและคืนค่าขึ้นศาลส่วนนี้แก่จำเลยจึงไม่ชอบ