พบผลลัพธ์ทั้งหมด 643 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 86/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องหลังเลิกบริษัท ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจกระทำการแทนได้ และเช็คเป็นหลักฐานการชำระหนี้
แม้โจทก์ได้จดทะเบียนเลิกบริษัทแล้วโดยมีส. และพ.เป็นผู้ชำระบัญชีก็ตามแต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1249บัญญัติให้ถือว่าบริษัทโจทก์ยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีและตามมาตรา1252บัญญัติให้กรรมการบริษัทมีอำนาจโดยตำแหน่งเดิมเมื่อเป็นผู้ชำระบัญชีก็ยังคงมีอำนาจอยู่ดังนั้นบุคคลทั้งสองซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัทโจทก์และเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ด้วยจึงยังคงมีอำนาจในตำแหน่งกรรมการของบริษัทโจทก์อยู่และมาตรา1259(1)บัญญัติให้ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจแก้ต่างว่าต่างในนามของบริษัทในอรรถคดีพิพาทอันเป็นแพ่งหรืออาญาทั้งปวงเมื่อผู้ชำระบัญชีและกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์เป็นบุคคลคนเดียวกันดังนั้นที่บุคคลทั้งสองได้มอบอำนาจให้ก. ฟ้องคดีแทนโจทก์ผู้รับมอบอำนาจจากบุคคลทั้งสองจึงมีสิทธิฟ้องคดีแทนโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 86/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของบริษัทเลิกแล้ว: ผู้ชำระบัญชีและกรรมการ
แม้โจทก์ได้จดทะเบียนเลิกบริษัทแล้ว โดยมี ส.และ พ.เป็นผู้ชำระบัญชีก็ตาม แต่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1249 บัญญัติให้ถือว่าบริษัทโจทก์ยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี และตามมาตรา 1252บัญญัติให้กรรมการบริษัทมีอำนาจโดยตำแหน่งเดิม เมื่อเป็นผู้ชำระบัญชีก็ยังคงมีอำนาจอยู่ ดังนั้นบุคคลทั้งสองซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัทโจทก์และเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ด้วย จึงยังคงมีอำนาจในตำแหน่งกรรมการของบริษัทโจทก์อยู่ และมาตรา 1259 (1) บัญญัติให้ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจแก้ต่างว่าต่างในนามของบริษัทในอรรถคดีพิพาทอันเป็นแพ่งหรืออาญาทั้งปวง เมื่อผู้ชำระบัญชีและกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์เป็นบุคคลคนเดียวกัน ดังนั้นที่บุคคลทั้งสองได้มอบอำนาจให้ ก.ฟ้องคดีแทนโจทก์ ผู้รับมอบอำนาจจากบุคคลทั้งสองจึงมีสิทธิฟ้องคดีแทนโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9686/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์/ฎีกาในคดีขับไล่และค่าเสียหาย: มูลค่าเช่า/ความเสียหายที่แท้จริงเป็นข้อจำกัด
เมื่อได้ความว่าขณะยื่นคำฟ้องที่ดินและตึกแถวพิพาทตามสัญญาเช่า ให้จำเลยเช่าเดือนละ 1,000 บาท ดังนั้นที่ดินและตึกแถวพิพาทที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยจึงมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท จึงเป็นคดีที่ต้องห้ามคู่ความมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสอง ที่จำเลยฎีกาว่าสัญญาเช่าตึกแถวเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าธรรมดา และโจทก์ได้รับความเสียหายเพียงเดือนละ 1,000 บาทนั้น ล้วนเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงแม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ก็เป็นการไม่ชอบถือว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 ต้องห้ามมิให้ฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 คดีฟ้องขับไล่โจทก์ฎีกาว่าได้รับความเสียหายเดือนละ50,000 บาท เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9650-9651/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางสัญญาจ้าง กรณีลูกจ้างปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และการสั่งพักงาน/ลงโทษทางวินัยชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่1เป็นผู้อำนวยการของโจทก์ซึ่งมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ในขณะเดียวกันจำเลยที่1ก็ยังมีฐานะเป็นลูกจ้างของโจทก์ด้วยและยังต้องปฏิบัติหน้าที่การงานภายใต้ระเบียบข้อบังคับของโจทก์ส่วนจำเลยที่2ที่3และที่4เป็นลูกจ้างโจทก์และได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการตรวจรับสินค้ามีหน้าที่ไปตรวจรับสินค้าว่ามีการซื้อขายตามจำนวนประเภทและราคาสินค้านั้นถูกต้องตรงตามสัญญาซื้อขายกันหรือไม่การที่จำเลยที่1มีคำสั่งให้คณะกรรมการตรวจรับที่โจทก์ตั้งขึ้นตรวจรับสินค้าตามหลักฐานเอกสารที่มีเพียงลายมือชื่อของผู้ซื้อว่าได้รับสินค้าไปถูกต้องแล้วพิจารณาจ่ายเงินให้ผู้ขายสินค้าไปและวิธีปฏิบัติตามที่จำเลยที่1กำหนดขึ้นก็ขัดต่อข้อบังคับว่าด้วยการรับเงินการจ่ายเงินและการเก็บรักษาเงินพ.ศ.2528ของโจทก์เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยละเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวเป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จำเลยที่2ที่3และที่4เป็นคณะกรรมการตรวจรับไม่เคยไปตรวจรับสินค้าคงตรวจแต่เอกสารการรับมอบแม้จะเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่1จำเลยที่2ที่3และที4ก็ทราบดีอยู่แล้วว่าคำสั่งดังกล่าวขัดต่อข้อบังคับของโจทก์ซึ่งเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบแต่จำเลยที่2ที่3และที่4ยังปฏิบัติตามจึงเป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อไม่รักษาประโยชน์ของโจทก์เป็นการผิดวินัยอย่างร้ายแรงและต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ด้วย จำเลยที่2และที่3มิได้ปฏิบัติตามข้อบังคับของโจทก์เมื่อมีการสอบสวนทางวินัยก็ปรากฏว่าจำเลยที่2และที่3กระทำผิดทางวินัยคำสั่งของโจทก์ให้พักงานจำเลยที่2และที่3จึงมิใช่เป็นการกลั่นแกล้งจำเลยที่2และที่3การที่โจทก์มีคำสั่งลงโทษจำเลยที่2ด้วยการพักงานและลดขั้นเงินเดือนจึงชอบด้วยกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของโจทก์แล้ว จำเลยที่3ทำผิดวินัยโดยปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายการที่จำเลยที่3ต้องเกษียณอายุหรือถูกเลิกจ้างโดยมีความผิดโจทก์จึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้จำเลยที่3 ฟ้องของโจทก์เป็นคำฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยทั้งแปดผิดสัญญาจ้างแรงงานซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้เป็นการเฉพาะจึงต้องบังคับใช้ตามอายุความทั่วไปมีกำหนด10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/30จำเลยที1ถึงที่4ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบอันเป็นการผิดสัญญาในระหว่างปี2532ถึง2533แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่6สิงหาคม2536ยังไม่เกิน10ปีฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ จำเลยที่2ที่3และที่4อุทธรณ์ว่าจำเลยที่1ประนีประนอมยอมความหนี้กับโจทก์แล้วจำเลยที่2ที่3ที่4จึงไม่มีหนี้ที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์นั้นเป็นอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานวินิจฉัยมาว่าไม่มีการประนีประนอมยอมความในหนี้แต่อย่างใดต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา54ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย เมื่อในคำให้การจำเลยที่1มิได้ให้การต่อสู้ในเรื่องที่อุทธรณ์ขึ้นมาอุทธรณ์ของจำเลยที่1จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา31ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9610-9623/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนัดหยุดงานโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและการเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์ทั้งสิบสี่และคนงานอื่นรวม190คนผละงานประท้วงเมื่อวันที่21กรกฎาคม2538เวลาประมาณ8นาฬิกาซึ่งเป็นวันทำงานโดยไม่แจ้งข้อเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเป็นหนังสือและไม่มีรายชื่อและลายมือชื่อของลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องจึงไม่เป็นการแจ้งข้อเรียกร้องเป็นหนังสือตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา13พฤติการณ์เป็นการร่วมกันนัดหยุดงานโดยไม่ชอบแม้ต่อมาตัวแทนลูกจ้างและนายจ้างจะตกลงกันได้โดยนายจ้างไม่ถือว่าการผละงานประท้วงของลูกจ้างเป็นความผิดก็ตามแต่ตามบันทึกที่ทำขึ้นมีข้อความชัดเจนว่านายจ้างไม่ถือว่าการผละงานประท้วงเป็นความผิดเฉพาะลูกจ้างที่ลงชื่อขอโทษและรับว่าจะไม่ผละงานอีกเท่านั้นข้อตกลงดังกล่าวจะเห็นได้ว่าจำเลยยอมยกเว้นไม่ถือว่าการหยุดงานเป็นความผิดต่อเมื่อลูกจ้างลงชื่อขอโทษและยอมรับว่าจะไม่ผละงานประท้วงอีกเสียก่อนจึงเป็นข้อตกลงที่มีเงื่อนไขว่าลูกจ้างต้องลงชื่อขอโทษและยอมรับว่าจะไม่ผละงานประท้วงอีกเสียก่อนจึงจะถือว่าการผละงานประท้วงของลูกจ้างไม่เป็นความผิดหาใช่เป็นเรื่องบังคับให้ลูกจ้างต้องลงลายมือชื่อขอโทษแต่ประการใดไม่ดังนั้นเมื่อโจทก์ทั้งสิบสี่ได้ร่วมกันนัดหยุดงานโดยไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่ได้ลงลายมือชื่อยอมรับผิดและรับว่าจะไม่กระทำเช่นนั้นอีกจึงไม่เป็นการปฏิบัติตามเงื่อนไขในบันทึกข้อตกลงและการหยุดงานของโจทก์ทั้งสิบสี่เป็นการละเมิดต่อจำเลยจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายและเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยข้อ10.4เมื่อโจทก์ทั้งสิบสี่นัดหยุดงานโดยไม่ชอบและจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีคำสั่งให้โจทก์ทั้งสิบสี่กลับเข้าทำงานแต่โจทก์ทั้งสิบสี่ไม่กลับเข้าทำงานตามคำสั่งจำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบสี่ได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา583และโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(3)(4)โจทก์ทั้งสิบสี่จึงไม่มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย โจทก์ทั้งสิบสี่อุทธรณ์ว่าการเลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบสี่ในวันที่21กรกฎาคม2538เวลา18นาฬิกาเป็นการเลิกจ้างเมื่อโจทก์ทั้งสิบสี่กลับบ้านไปแล้วจึงเป็นการประกาศเลิกจ้างนอกเวลาทำงานเป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา54วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9514/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตประเด็นข้อพิพาท: การกำหนดประเด็นครอบคลุมข้อโต้แย้งทั้งหมด
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงข้อเดียวว่าโจทก์ผิดสัญญาจ้างทำของตามฟ้องเป็นเหตุให้จำเลยทั้งสองเสียหายตามฟ้องแย้งหรือไม่ ซึ่งมีความหมายครอบคลุมถึงข้อความที่ว่า 1.โจทก์หรือจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา 2.จำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้องหรือไม่ เพียงใด และ 3.โจทก์จะต้องรับผิดต่อจำเลยทั้งสองตามฟ้องแย้งหรือไม่ เพียงใด อันเป็นข้อความที่จำเลยทั้งสองประสงค์ให้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมแล้ว จึงไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงแก้ไขประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9514/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นข้อพิพาทครอบคลุมความรับผิดทั้งโจทก์และจำเลย ศาลไม่เปลี่ยนแปลงประเด็นเดิม
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงข้อเดียวว่าโจทก์ผิดสัญญาจ้างทำของตามฟ้องเป็นเหตุให้จำเลยทั้งสองเสียหายตามฟ้องแย้งหรือไม่ซึ่งมีความหมายครอบคลุมถึงข้อความที่ว่า1.โจทก์หรือจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา2.จำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้องหรือไม่เพียงใดและ3.โจทก์จะต้องรับผิดต่อจำเลยทั้งสองตามฟ้องแย้งหรือไม่เพียงใดอันเป็นข้อความที่จำเลยทั้งสองประสงค์ให้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมแล้วจึงไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงแก้ไขประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9215/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: ความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยและผู้ทรงคนปัจจุบันมีผลต่อความรับผิด
เมื่อวินิจฉัยว่าโจทก์ได้รับเช็คพิพาทจากจำเลยที่ 2 โดยมิได้คบคิดกันฉ้อฉลจำเลยที่ 1 แล้ว คดีก็ไม่จำต้องวินิจฉัยว่ามีหนี้ที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระแก่จำเลยที่ 2 ตามเช็คพิพาทหรือไม่ เพราะเป็นข้อต่อสู้ที่อาศัยความเกี่ยวพันกันระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ทรงคนก่อน จำเลยที่ 1 หาอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงคนปัจจุบันได้ไม่ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 916ประกอบด้วยมาตรา 989 จำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9215/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับโอนเช็คโดยมิได้สมคบกันฉ้อฉล และความรับผิดของผู้สั่งจ่ายต่อผู้ทรงคนปัจจุบัน
เมื่อวินิจฉัยว่าโจทก์ได้รับเช็คพิพาทจากจำเลยที่2โดยมิได้คบคิดกันฉ้อฉลจำเลยที่1แล้วคดีก็ไม่จำต้องวินิจฉัยว่ามีหนี้ที่จำเลยที่1จะต้องชำระแก่จำเลยที่2ตามเช็คพิพาทหรือไม่เพราะเป็นข้อต่อสู้ที่อาศัยความเกี่ยวพันกันระหว่างจำเลยที่1ผู้สั่งจ่ายกับจำเลยที่2ซึ่งเป็นผู้ทรงคนก่อนจำเลยที่1หาอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงคนปัจจุบันได้ไม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา916ประกอบด้วยมาตรา989จำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9088-9089/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กระบวนการพิจารณาคดีไม่ชอบ ศาลไม่ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้คู่ความ ทำให้สิทธิในการโต้แย้งถูกละเมิด การฎีกาจึงยังไม่สมบูรณ์
คดีนี้จำเลยที่3ได้เป็นโจทก์สำนวนหลังฟ้องขอให้บังคับโจทก์ทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่3เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้จำเลยที่3แพ้คดีในสำนวนแรกและพิพากษายกฟ้องของจำเลยที่3ในสำนวนหลังจำเลยที่3ได้ยื่นอุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นทั้งสองสำนวนโดยขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในสำนวนหลังให้โจทก์ที่2ซึ่งเป็นจำเลยที่2ในสำนวนหลังร่วมกับโจทก์ที่1รับผิดต่อจำเลยที่3ด้วยดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่3และจัดส่งสำเนาอุทธรณ์ให้เฉพาะโจทก์ที่1โดยไม่ได้มีการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ที่2ซึ่งเป็นจำเลยอุทธรณ์ด้วยเพื่อแก้จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา235และการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งอุทธรณ์ของจำเลยที่3พร้อมสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาและที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาไปโดยมิได้มีคำสั่งให้แก้ไขเกี่ยวกับกระบวนพิจารณาพิจารณาดังกล่าวเสียก่อนกับที่ศาลชั้นต้นไม่นัดให้โจทก์ที่2มาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาคดีไปโดยมิชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา243(2)ประกอบด้วยมาตรา247และต้องถือว่าข้อเท็จจริงที่จำเลยที่3ฎีกาต่อมายังมิได้ผ่านการพิจารณาและพิพากษาของศาลอุทธรณ์จำเลยที่3จึงยังไม่มีสิทธิที่จะฎีกา