พบผลลัพธ์ทั้งหมด 643 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6005/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนเช็คที่ถูกลักไป ผู้รับโอนต้องแสดงว่าได้รับโอนมาโดยสุจริตและไม่ประมาทเลินเล่อ
จำเลยให้การเพียงว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้จ.ต่อมาจ.ทำเช็คพิพาทหายไปจึงไปแจ้งความไว้ที่สถานีตำรวจและจำเลยได้แจ้งอายัดเช็คต่อธนาคารไว้ต่อมาจ.ทราบว่าเช็คพิพาทถูกลักไปและอยู่ที่โจทก์จ.แจ้งให้โจทก์ทราบโจทก์รับว่าจะคืนเช็คให้แต่กลับนำเช็คมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ซึ่งโจทก์ทราบดีอยู่แล้วว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงโดยสุจริตและชอบด้วยกฎหมายเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตดังนี้คำให้การของจำเลยดังกล่าวไม่ได้ระบุโดยชัดแจ้งว่าขณะที่โจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทมานั้นโจทก์รู้ว่าเป็นเช็คที่ถูกลักมาหรือโจทก์ได้มาโดยทุจริตหรือด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงอย่างไรเป็นคำให้การที่มิได้ปฏิเสธโดยชัดแจ้งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสองไม่ก่อให้เกิดประเด็นที่จะวินิจฉัยว่าโจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทมาโดยทุจริตหรือด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงที่จะต้องสละเช็คพิพาทนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา905วรรคสองและวรรคสามจึงไม่มีเหตุที่จะให้รับฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยไม่สุจริตหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6005/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนเช็คที่ถูกลักไป: สิทธิของผู้ทรงเช็คและการปฏิเสธการจ่ายเงิน
จำเลยให้การเพียงว่า จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้ จ.ต่อมาจ.ทำเช็คพิพาทหายไป จึงไปแจ้งความไว้ที่สถานีตำรวจและจำเลยได้แจ้งอายัดเช็คต่อธนาคารไว้ ต่อมา จ.ทราบว่าเช็คพิพาทถูกลักไปและอยู่ที่โจทก์ จ.แจ้งให้โจทก์ทราบ โจทก์รับว่าจะคืนเช็คให้ แต่กลับนำเช็คมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ ซึ่งโจทก์ทราบดีอยู่แล้วว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงโดยสุจริตและชอบด้วยกฎหมาย เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ดังนี้ คำให้การของจำเลยดังกล่าวไม่ได้ระบุโดยชัดแจ้งว่าขณะที่โจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทมานั้นโจทก์รู้ว่าเป็นเช็คที่ถูกลักมาหรือโจทก์ได้มาโดยทุจริตหรือด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงอย่างไร เป็นคำให้การที่มิได้ปฏิเสธโดยชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง ไม่ก่อให้เกิดประเด็นที่จะวินิจฉัยว่าโจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทมาโดยทุจริตหรือด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงที่จะต้องสละเช็คพิพาทนั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 905 วรรคสองและวรรคสาม จึงไม่มีเหตุที่จะให้รับฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยไม่สุจริตหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5839/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นเนื่องจากไม่ส่งงบดุลก่อนการประชุม
ที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า ในการประชุมใหญ่ประธานที่ประชุมไม่ได้เสนอเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมเพื่อให้โจทก์และผู้ถือหุ้นคนอื่นพิจารณาและไม่มีการลงมติในเรื่องที่ประชุมและไม่มีการอ่านข้อความที่เลขานุการที่ประชุมได้บันทึกไว้คงมีเพียงผู้ถือหุ้นชาวต่างประเทศซึ่งทำหน้าที่ประธานที่ประชุมและเลขานุการที่ประชุมสนทนากันเพียงเบา ๆและบันทึกข้อความเป็นภาษาต่างประเทศซึ่งโจทก์และผู้ถือหุ้นคนอื่นได้โต้แย้งคัดค้านและขอสำเนาบันทึกการประชุม แต่ประธานที่ประชุมปฏิเสธและกล่าวปิดประชุมทันที เท่ากับโจทก์ยอมรับว่ามีการลงมติกัน ไปตามบันทึกการประชุมดังกล่าว เป็นเพียงการบรรยายฟ้องกล่าวถึงวิธีการประชุมที่ไม่ชอบทั้งตอนท้ายของคำฟ้องยังกล่าวยืนยันว่าการประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2533และมติของที่ประชุมฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และมีคำขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2533 เสียจึงไม่มีประเด็นว่า การประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2533ที่ประชุมได้มีการลงมติหรือไม่ตามที่ศาลอุทธรณ์กำหนดการกำหนดประเด็นของศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1197 วรรคสองกำหนดให้บริษัทมีหน้าที่ส่งสำเนางบดุลให้แก่ผู้ถือหุ้นทุกคนของบริษัทก่อนรับนัดประชุมไม่น้อยกว่าสามวัน หากบริษัทใดฝ่าฝืนต้องรับโทษตาม พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิฯ มาตรา 18(2) ฉะนั้นโจทก์กับจำเลย จะตกลงปฏิบัติต่อกันให้แตกต่างไปจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1197 วรรคสองไม่ได้ เมื่อจำเลยมิได้ส่งสำเนางบดุลไปยังผู้ถือหุ้นของบริษัททุกคนรวมทั้งโจทก์ก่อนรับนัดประชุมล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามวัน การลงมติในการประชุมในระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองงบการเงินจึงไม่ชอบโจทก์ย่อมขอให้เพิกถอนเสียได้ โจทก์ขอให้เพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่หลายเหตุและได้ยกเหตุดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ แต่โจทก์ถอนอุทธรณ์ดังกล่าวและศาลอุทธรณ์อนุญาตให้โจทก์ถอนอุทธรณ์นั้นแล้วทั้งโจทก์มิได้ยกเหตุดังกล่าวขึ้นกล่าวไว้ในคำแก้อุทธรณ์เหตุดังกล่าวจึงมิใช่ข้อที่ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5633/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำเตือนเจ้าพนักงานตรวจแรงงานไม่ใช่คำสั่งทางกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอน
จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนครราชสีมา อยู่ในบังคับบัญชาของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้สอบสวนตามที่ ป. ร้องเรียนว่าโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างไม่ยอมจ่ายค่าจ้างตามข้อตกลง ผลการสอบสวนของจำเลยที่ 2 และที่ 3ปรากฏว่าโจทก์ฝ่าฝืนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฉบับลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 29 จึงออกคำเตือนแก่โจทก์โดยอาศัยอำนาจตามข้อ 77 แห่งประกาศดังกล่าวให้โจทก์จ่ายค่าจ้างแก่ ป. ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคำเตือนนั้น คำเตือนดังกล่าวมีผลเพียงเป็นการชี้แนะของเจ้าหน้าที่เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างนายจ้างลูกจ้าง มิใช่เป็นคำสั่งหรือคำวินิจฉัยชี้ขาดที่กฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องปฏิบัติตาม ถ้าโจทก์เห็นว่าคำเตือนนั้นไม่ถูกต้องจะไม่ปฏิบัติตามก็ได้ คำเตือนดังกล่าวจึงไม่เป็นการกระทบกระเทือนต่อสิทธิหน้าที่ของโจทก์ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ออกคำเตือนแก่โจทก์จึงไม่เป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำเตือนของพนักงานตรวจแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5633/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำเตือนพนักงานตรวจแรงงานมีผลเพียงชี้แนะ ไม่ใช่คำสั่ง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอเพิกถอน
คำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานที่ออกตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ77มีผลเพียงเป็นการชี้แนะของเจ้าหน้าที่เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างนายจ้างลูกจ้างมิใช่คำสั่งหรือคำวินิจฉัยชี้ขาดที่กฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องปฏิบัติตามถ้าโจทก์เห็นว่าคำเตือนนั้นไม่ถูกต้องจะไม่ปฏิบัติตามก็ได้การที่จำเลยที่2และที่3ในฐานะพนักงานตรวจแรงงานออกคำเตือนแก่โจทก์ย่อมไม่เป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำเตือนนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5396/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนมรดก การครอบครองปรปักษ์ และอายุความฟ้องเรียกคืนทรัพย์มรดก
จำเลยที่2รับโอนที่ดินมาจากจำเลยที่1ซึ่งเป็นมารดาและผู้จัดการมรดกของม. ซึ่งเป็นบิดายังถือไม่ได้ว่าเป็นการยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกอันจะถูกกำจัดมิให้รับมรดก จำเลยที่1รับโอนที่พิพาทมาในฐานะเป็นมรดกของม.โดยยังไม่ได้มีการแบ่งให้แก่ทายาทอื่นและต่อมาก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของม. ถือว่าจำเลยที่1ครอบครองที่พิพาทไว้แทนทายาทอื่นด้วยทั้งจำเลยที่1ก็ไม่ได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการครอบครองไปยังทายาทอื่นแม้จะครอบครองนานเพียงใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ โจทก์ทั้งหกซึ่งเป็นทายาทของม. ฟ้องขอแบ่งมรดกที่ยังไม่ได้แบ่งกันจากจำเลยที่1แม้พ้นกำหนด1ปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตายหรือเมื่อโจทก์ทั้งหกรู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกคดีก็ไม่ขาดอายุความส่วนที่ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินระหว่างจำเลยที่1และที่2นั้นมิใช่การฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลแต่เป็นการฟ้องเรียกทรัพย์มรดกคืนจากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้จึงไม่ขาดอายุความเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5376/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้คดีเรื่องการซื้อขายบ้านที่เพิ่มเติมในสัญญาซื้อขายที่ดิน ศาลต้องเปิดโอกาสให้สืบพยาน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยขายที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยให้การว่า จำเลยตกลงขายเฉพาะที่ดินให้โจทก์ ไม่ได้ขายบ้านพิพาทให้ด้วย จำเลยเคยไปตรวจสอบสัญญาซื้อขายแล้ว เดิมมีข้อความระบุไว้เพียงว่าขายเฉพาะที่ดิน แต่ภายหลังกลับมีข้อความเพิ่มเติมขึ้นมาว่าจำเลยขายบ้านพิพาทด้วย ศาลชั้นต้นสอบถามโจทก์จำเลยแล้วต่างแถลงรับตรงกันว่า วันทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท บ้านพิพาทได้ปลูกสร้างอยู่ในที่ดินพิพาทแล้ว และนอกจากทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทแล้ว ทั้งสองฝ่ายไม่ได้ตกลงเพิ่มเติมเกี่ยวกับการซื้อขายบ้านพิพาทอีก ดังนี้ คำแถลงรับของคู่ความดังกล่าว เมื่อพิจารณาประกอบกับสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทที่มีการระบุว่า ขายบ้านพิพาทด้วย ก็แสดงว่ามีการเพิ่มเติมข้อความส่วนนี้เข้าไปในสัญญาดังกล่าวตามข้อต่อสู้ของจำเลย ซึ่งเท่ากับจำเลยต่อสู้ว่ามีการปลอมข้อความของสัญญาขึ้นบางส่วนนั่นเอง จำเลยย่อมมีสิทธิจะนำพยานบุคคลมาสืบหักล้างได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 วรรคท้าย ข้ออ้างตามคำฟ้องของโจทก์กับข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลย จำเป็นต้องฟังข้อเท็จจริงให้แน่ชัดต่อไปแม้ว่าศาลชั้นต้นได้สอบถามคู่ความแล้วก็ตาม จึงไม่ชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งงดสืบพยานโจทก์พยานจำเลยและพิพากษาขับไล่จำเลยตามฟ้องโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5376/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาซื้อขาย และสิทธิในการนำสืบพยานหักล้างข้อกล่าวอ้างเรื่องการปลอมแปลงสัญญา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขายที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์จำเลยให้การว่าจำเลยตกลงขายเฉพาะที่ดินให้โจทก์ไม่ได้ขายบ้านพิพาทให้ด้วยจำเลยเคยไปตรวจสอบสัญญาซื้อขายแล้วเดิมมีข้อความระบุไว้เพียงว่าขายเฉพาะที่ดินแต่ภายหลังกลับมีข้อความเพิ่มเติมขึ้นมาว่าจำเลยขายบ้านพิพาทด้วยศาลชั้นต้นสอบถามโจทก์จำเลยแล้วต่างแถลงรับตรงกันว่าวันทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทบ้านพิพาทได้ปลูกสร้างอยู่ในที่ดินพิพาทแล้วและนอกจากทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทแล้วทั้งสองฝ่ายไม่ได้ตกลงเพิ่มเติมเกี่ยวกับการซื้อขายบ้านพิพาทอีกดังนี้คำแถลงรับของคู่ความดังกล่าวเมื่อพิจารณาประกอบกับสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทที่มีการระบุว่าขายบ้านพิพาทด้วยก็แสดงว่ามีการเพิ่มเติมข้อความส่วนนี้เข้าไปในสัญญาดังกล่าวตามข้อต่อสู้ของจำเลยซึ่งเท่ากับจำเลยต่อสู้ว่ามีการปลอมข้อความของสัญญาขึ้นบางส่วนนั่นเองจำเลยย่อมมีสิทธิจะนำพยานบุคคลมาสืบหักล้างได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94วรรคท้ายข้ออ้างตามคำฟ้องของโจทก์กับข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลยจำเป็นต้องฟังข้อเท็จจริงให้แน่ชัดต่อไปแม้ว่าศาลชั้นต้นได้สอบถามคู่ความแล้วก็ตามจึงไม่ชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งงดสืบพยานโจทก์พยานจำเลยและพิพากษาขับไล่จำเลยตามฟ้องโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5321/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ้างงานโดยองค์กรระหว่างประเทศที่ไม่แสวงหากำไร: ข้อยกเว้นกฎหมายแรงงาน
การดำเนินการอพยพชาวเวียดนามขององค์การไอซีเอ็มซีผู้อพยพจะต้องลงนามในสัญญาใช้เงินว่าจะต้องจ่ายเงินคืนให้แก่องค์การระหว่างประเทศสำหรับผู้อพยพถ้าผู้อพยพที่ไม่ถือว่าเป็นผู้ลี้ภัยตามกฎหมายสหรัฐอเมริกาจะต้องให้ญาติพี่น้องของผู้อพยพไปจ่ายเงินให้แก่องค์การระหว่างประเทศสำหรับผู้อพยพเสียก่อนเงินที่องค์การระหว่างประเทศสำหรับผู้อพยพได้รับจากผู้อพยพนั้นจะนำไปใช้ในการดำเนินการเพื่ออพยพคนอื่นต่อไปจำเลยรับค่าใช้จ่ายทั้งหมดจากกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาดังนั้นองค์การไอซีเอ็มซีจึงมิได้กำไรจากการอพยพชาวเวียดนามเลยการจ้างโจทก์จึงเป็นการจ้างที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจได้รับยกเว้นมิต้องอยู่ภายใต้บังคับประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่16เมษายน2515ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่103ลงวันที่16มีนาคม2515ข้อ14และประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดกิจการที่มิให้ใช้บังคับตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่16เมษายน2515
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5297/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลาเพื่อร่วมกิจกรรมสหภาพแรงงาน: ขอบเขตการลาเพื่อร่วมประชุมที่ทางราชการกำหนด
พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 102 เป็นการให้สิทธิลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานลาเพื่อไปดำเนินกิจการสหภาพแรงงาน และไปร่วมประชุมตามที่ทางราชการกำหนดได้ จึงต้องหมายถึงการไปร่วมประชุมในเรื่องที่เกี่ยวกับสหภาพแรงงานที่ทางราชการกำหนดขึ้นและต้องเป็นสหภาพแรงงานที่ลูกจ้างดังกล่าวสังกัดอยู่เท่านั้น มิใช่สหภาพแรงงานใดก็ได้โดยไม่มีขอบเขตจำกัด มิฉะนั้นลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานก็จะอ้างสิทธิไปร่วมประชุมในเรื่องที่ทางราชการกำหนดได้ทุกเรื่อง หากกฎหมายประสงค์จะให้สิทธิลูกจ้างไปประชุมในเรื่องอื่นก็จะต้องบัญญัติไว้ ดังนั้น การที่ ส.ไปร่วมประชุมในฐานะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์เกี่ยวกับกรณีลูกจ้างบริษัท ว.ยื่นคำร้องกล่าวหาว่าถูกนายจ้างกระทำการอันไม่เป็นธรรม ซึ่งไม่เกี่ยวกับสหภาพแรงงานโจทก์ที่ส.สังกัดอยู่ ถือได้ว่าเป็นการดำเนินการเป็นส่วนตัว หาใช่เป็นการร่วมประชุมตามที่ทางราชการกำหนดไม่ จึงไม่ก่อให้ ส.เกิดสิทธิลาไปร่วมประชุมตามนัยมาตรา 102 จึงถือไม่ได้ว่าวันที่ ส.ลาไปร่วมประชุมคณะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์ดังกรณีข้างต้นรวม 8 วัน เป็นวันทำงาน เมื่อ ส.เป็นลูกจ้างรายวันและไม่ได้ทำงานในวันดังกล่าว จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันลาทั้ง 8 วันนั้น