พบผลลัพธ์ทั้งหมด 643 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5297/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลาเพื่อประชุมสหภาพแรงงาน: ต้องเกี่ยวเนื่องกับสหภาพแรงงานที่สังกัดเท่านั้น
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา102เป็นการให้สิทธิลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานลาเพื่อไปดำเนินกิจการสหภาพแรงงานและไปร่วมประชุมตามที่ทางราชการกำหนดได้จึงต้องหมายถึงการไปร่วมประชุมในเรื่องที่เกี่ยวกับสหภาพแรงงานที่ทางราชการกำหนดขึ้นและต้องเป็นสหภาพแรงงานที่ลูกจ้างดังกล่าวสังกัดอยู่เท่านั้นมิใช่สหภาพแรงงานใดก็ได้โดยไม่มีขอบเขตจำกัดมิฉะนั้นลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานก็จะอ้างสิทธิไปร่วมประชุมในเรื่องที่ทางราชการกำหนดได้ทุกเรื่องหากกฎหมายประสงค์จะให้สิทธิลูกจ้างไปประชุมในเรื่องอื่นก็จะต้องบัญญัติไว้ดังนั้นการที่ส. ไปร่วมประชุมในฐานะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์เกี่ยวกับกรณีลูกจ้างบริษัทว.ยื่นคำร้องกล่าวหาว่าถูกนายจ้างกระทำการอันไม่เป็นธรรมซึ่งไม่เกี่ยวกับสหภาพแรงงานโจทก์ที่ส. สังกัดอยู่ถือได้ว่าเป็นการดำเนินการเป็นส่วนตัวหาใช่เป็นการร่วมประชุมตามที่ทางราชการกำหนดไม่จึงไม่ก่อให้ส.เกิดสิทธิลาไปร่วมประชุมตามนัยมาตรา102จึงถือไม่ได้ว่าวันที่ส. ลาไปร่วมประชุมคณะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์ดังกรณีข้างต้นรวม8วันเป็นวันทำงานเมื่อส. เป็นลูกจ้างรายวันและไม่ได้ทำงานในวันดังกล่าวจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันลาทั้ง8วันนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5297/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลาเพื่อร่วมประชุมของกรรมการสหภาพแรงงานต้องเกี่ยวข้องกับสหภาพแรงงานที่ตนสังกัดเท่านั้น
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา102ให้สิทธิลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานลาเพื่อไปดำเนินกิจการสหภาพแรงงานและไปร่วมประชุมตามที่ทางราชการกำหนดได้หมายถึงการไปร่วมประชุมในเรื่องที่เกี่ยวกับสหภาพแรงงานที่ทางราชการกำหนดขึ้นและต้องเป็นสภาพแรงงานที่ลูกจ้างดังกล่าวสังกัดอยู่เท่านั้นมิฉะนั้นลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานก็จะอ้างสิทธิไปร่วมประชุมในเรื่องที่ทางราชการกำหนดได้ทุกเรื่องโดยไม่มีขอบเขตจำกัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5210/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาไม่รับโอนสิทธิเช่า และการคิดค่าเสียหายจากการอยู่อาศัยเกินสัญญา
สัญญาเช่าระบุว่า เมื่อครบกำหนดอายุสัญญาเช่า 1 ปีแรกผู้ให้เช่าให้สิทธิแก่ผู้เช่าพิจารณารับโอนสิทธิการเช่าสถานที่เช่าได้ โดยผู้ให้เช่ายินดีโอนสิทธิการเช่าที่ผู้ให้เช่ามีอยู่กับบริษัท ม.และให้ผู้เช่าผ่อนชำระกับบริษัทม.ต่อไป ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทนโดยโจทก์ผู้ให้เช่าให้คำมั่นว่าเมื่อครบกำหนด 1 ปีแรก หากจำเลยประสงค์จะรับโอนสิทธิการเช่าก็ทำได้แม้ในสัญญาดังกล่าวจะไม่ได้กำหนดระยะเวลาให้จำเลยแสดงเจตนารับโอนสิทธิการเช่าไว้ก็ตาม แต่ตามเจตนารมณ์ของการทำสัญญา โจทก์จำเลยก็พึงคาดหมายได้ว่าจำเลยจะต้องแสดงเจตนารับโอนสิทธิการเช่าในระยะเวลาพอสมควรนับแต่เมื่อครบกำหนดอายุสัญญาเช่า 1 ปีแรก เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า สัญญาเช่าครบกำหนด 1 ปีแรกวันที่ 20 พฤศจิกายน 2531 และครบกำหนดระยะเวลาเช่า3 ปีวันที่ 20 พฤศจิกายน 2533 จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์โอนสิทธิการเช่าเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2533 ซึ่งแม้จะเป็นเวลาก่อนครบกำหนดอายุสัญญาเช่าประมาณ 5 เดือน แต่ก็เป็นเวลาภายหลังครบกำหนดสัญญาเช่า 1 ปีแรก ล่วงพ้นไปแล้วถึง 1 ปี 6 เดือน จะพึงเห็นได้ว่าจำเลยแสดงเจตนาที่จะรับโอนสิทธิการเช่าเป็นระยะเวลาเนิ่นนานเกินสมควรที่จะคาดหมายได้ว่าจำเลยยังคงประสงค์ที่จะขอรับโอนสิทธิการเช่าอยู่อีก ทั้งโจทก์ก็ยืนยันว่าเมื่อครบสัญญา1 ปีแรกแล้ว โจทก์ได้ถาม ส.กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยว่าจะตกลงรับโอนสิทธิการเช่าหรือไม่ ก็ตอบว่าขณะนั้นพื้นที่บริษัท ม.โอนสิทธิการเช่ากันตารางเมตรละ 60,000 บาท จำเลยจะต้องรับโอนสิทธิการเช่าจากโจทก์ตารางเมตรละ 65,000 บาท จึงไม่ต้องการรับโอน ดังนั้นการที่จำเลยปล่อยระยะเวลาให้ล่วงพ้นกำหนดการเช่า 1 ปีแรก ออกไปถึง1 ปี 6 เดือน ประกอบกับจำเลยเคยบอกโจทก์ว่าไม่ต้องการรับโอนสิทธิการเช่าจึงฟังได้ว่าจำเลยไม่มีเจตนาที่จะรับโอนสิทธิการเช่าพื้นที่ตามสัญญาแล้ว คำมั่นของโจทก์ที่จะต้องให้จำเลยรับโอนสิทธิการเช่าจึงสิ้นผลผูกพัน เมื่อการเช่าพื้นที่พิพาทครบกำหนดตามสัญญาเช่าแล้ว จำเลยจึงต้องส่งมอบพื้นที่เช่าคืนโจทก์
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดแล้วจำเลยอยู่ในสถานที่เช่าเป็นการอยู่โดยละเมิดต่อโจทก์ และพื้นที่พิพาทก็ดีขึ้นกว่าระยะแรกที่เปิดศูนย์การค้า สมควรกำหนดค่าเสียหายเดือนละ 300,000 บาท จำเลยอุทธรณ์ว่ายังไม่ตรงกับความจริงและสูงเกินไป อันเป็นการกล่าวอ้างเพื่อให้จำเลยต้องรับผิดค่าเสียหายน้อยลง แต่จำเลยไม่ได้กล่าวโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายไม่ตรงความจริงอย่างไรและเป็นจำนวนสูงเกินไปเพียงใด หรือที่ถูกต้องเหมาะสมควรเป็นอย่างไรเพราะเหตุผลใดจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้นั้นชอบแล้ว แม้ในชั้นฎีกาจำเลยจะฎีกาในปัญหาเดียวกับในชั้นอุทธรณ์โดยเพิ่มเติมข้อโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นเข้ามา ก็ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เงินมัดจำและเงินที่วางต่อสำนักงานวางทรัพย์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าเช่า ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา และค่าโทรศัพท์ที่จำเลยจะต้องรับผิดตามสัญญาเช่า ไม่ใช่เป็นเงินค่าทดแทนความเสียหายที่เกิดจากการทำละเมิดของจำเลยต่อโจทก์ จึงนำเงินจำนวนดังกล่าวมาหักจากค่าเสียหายอันเกิดจากมูลละเมิดที่จำเลยจะต้องรับผิดชดใช้แก่โจทก์ไม่ได้
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดแล้วจำเลยอยู่ในสถานที่เช่าเป็นการอยู่โดยละเมิดต่อโจทก์ และพื้นที่พิพาทก็ดีขึ้นกว่าระยะแรกที่เปิดศูนย์การค้า สมควรกำหนดค่าเสียหายเดือนละ 300,000 บาท จำเลยอุทธรณ์ว่ายังไม่ตรงกับความจริงและสูงเกินไป อันเป็นการกล่าวอ้างเพื่อให้จำเลยต้องรับผิดค่าเสียหายน้อยลง แต่จำเลยไม่ได้กล่าวโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายไม่ตรงความจริงอย่างไรและเป็นจำนวนสูงเกินไปเพียงใด หรือที่ถูกต้องเหมาะสมควรเป็นอย่างไรเพราะเหตุผลใดจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้นั้นชอบแล้ว แม้ในชั้นฎีกาจำเลยจะฎีกาในปัญหาเดียวกับในชั้นอุทธรณ์โดยเพิ่มเติมข้อโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นเข้ามา ก็ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เงินมัดจำและเงินที่วางต่อสำนักงานวางทรัพย์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าเช่า ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา และค่าโทรศัพท์ที่จำเลยจะต้องรับผิดตามสัญญาเช่า ไม่ใช่เป็นเงินค่าทดแทนความเสียหายที่เกิดจากการทำละเมิดของจำเลยต่อโจทก์ จึงนำเงินจำนวนดังกล่าวมาหักจากค่าเสียหายอันเกิดจากมูลละเมิดที่จำเลยจะต้องรับผิดชดใช้แก่โจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5210/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าช่วงพื้นที่ - การแสดงเจตนาขอรับโอนสิทธิ - ค่าเสียหายจากการละเมิด - เงินมัดจำ
สัญญาเช่าระบุว่าเมื่อครบกำหนดอายุสัญญาเช่า1ปีแรกผู้ให้เช่าให้สิทธิแก่ผู้เช่าพิจารณารับโอนสิทธิการเช่าสถานที่เช่าได้โดยผู้ให้เช่ายินดีโอนสิทธิการเช่าที่ผู้ให้เช่ามีอยู่กับบริษัทม. และให้ผู้เช่าผ่อนชำระกับบริษัทม. ต่อไปข้อสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทนโดยโจทก์ผู้ให้เช่าให้คำมั่นว่าเมื่อครบกำหนด1ปีแรกหากจำเลยประสงค์จะรับโอนสิทธิการเช่าก็ทำได้แม้ในสัญญาดังกล่าวจะไม่ได้กำหนดระยะเวลาให้จำเลยแสดงเจตนารับโอนสิทธิการเช่าไว้ก็ตามแต่ตามเจตนารมณ์ของการทำสัญญาโจทก์จำเลยก็พึงคาดหมายได้ว่าจำเลยจะต้องแสดงเจตนารับโอนสิทธิการเช่าในระยะเวลาพอสมควรนับแต่เมื่อครบกำหนดอายุสัญญาเช่า1ปีแรกเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าสัญญาเช่าครบกำหนด1ปีแรกวันที่20พฤศจิกายน2531และครบกำหนดระยะเวลาเช่า3ปีวันที่20พฤศจิกายน2533จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์โอนสิทธิการเช่าเมื่อวันที่7มิถุนายน2533ซึ่งแม้จะเป็นเวลาก่อนครบกำหนดอายุสัญญาเช่าประมาณ5เดือนแต่ก็เป็นเวลาภายหลังครบกำหนดสัญญาเช่า1ปีแรกล่วงพ้นไปแล้วถึง1ปี6เดือนจะพึงเห็นได้ว่าจำเลยแสดงเจตนาที่จะรับโอนสิทธิการเช่าเป็นระยะเวลาเนิ่นนานเกินสมควรที่จะคาดหมายได้ว่าจำเลยยังคงประสงค์ที่จะขอรับโอนสิทธิการเช่าอยู่อีกทั้งโจทก์ก็ยืนยันว่าเมื่อครบสัญญา1ปีแรกแล้วโจทก์ได้ถามส. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยว่าจะตกลงรับโอนสิทธิการเช่าหรือไม่ก็ตอบว่าขณะนั้นพื้นที่บริษัทม.โอนสิทธิการเช่ากันตารางเมตรละ60,000บาทจำเลยจะต้องรับโอนสิทธิการเช่าจากโจทก์ตารางเมตรละ65,000บาทจึงไม่ต้องการรับโอนดังนั้นการที่จำเลยปล่อยระยะเวลาให้ล่วงพ้นกำหนดการเช่า1ปีแรกออกไปถึง1ปี6เดือนประกอบกับจำเลยเคยบอกโจทก์ว่าไม่ต้องการรับโอนสิทธิการเช่าจึงฟังได้ว่าจำเลยไม่มีเจตนาที่จะรับโอนสิทธิการเช่าพื้นที่ตามสัญญาแล้วคำมั่นของโจทก์ที่จะต้องให้จำเลยรับโอนสิทธิการเช่าจึงสิ้นผลผูกพันเมื่อการเช่าพื้นที่พิพาทครบกำหนดตามสัญญาเช่าแล้วจำเลยจึงต้องส่งมอบพื้นที่เช่าคืนโจทก์ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดแล้วจำเลยอยู่ในสถานที่เช่าเป็นการอยู่โดยละเมิดต่อโจทก์และพื้นที่พิพาทก็ดีขึ้นกว่าระยะแรกที่เปิดศูนย์การค้าสมควรกำหนดค่าเสียหายเดือนละ300,000บาทจำเลยอุทธรณ์ว่ายังไม่ตรงกับความจริงและสูงเกินไปอันเป็นการกล่าวอ้างเพื่อให้จำเลยต้องรับผิดค่าเสียหายน้อยลงแต่จำเลยไม่ได้กล่าวโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายไม่ตรงความจริงอย่างไรและเป็นจำนวนสูงเกินไปเพียงใดหรือที่ถูกต้องเหมาะสมควรเป็นอย่างไรเพราะเหตุผลใดจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคหนึ่งการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้นั้นชอบแล้วแม้ในชั้นฎีกาจำเลยจะฎีกาในปัญหาเดียวกับในชั้นอุทธรณ์โดยเพิ่มเติมข้อโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นเข้ามาก็ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย เงินมัดจำและเงินที่วางต่อสำนักงานวางทรัพย์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าเช่าค่าไฟฟ้าค่าน้ำประปาและค่าโทรศัพท์ที่จำเลยจะต้องรับผิดตามสัญญาเช่าไม่ใช่เป็นเงินค่าทดแทนความเสียหายที่เกิดจากการทำละเมิดของจำเลยต่อโจทก์จึงนำเงินจำนวนดังกล่าวมาหักจากค่าเสียหายอันเกิดจากมูลละเมิดที่จำเลยจะต้องรับผิดชดใช้แก่โจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5095-5099/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการคำนวณเงินตอบแทนพิเศษ: ค่าจ้าง, ค่าตำแหน่ง, ค่าครองชีพ, ระยะเวลาทดลองงาน และเงินสวัสดิการ
ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยมิได้กำหนดคำนิยามของคำว่า "ค่าจ้าง"และ"ค่าแรง" ไว้ นอกจากนี้ในข้อบังคับดังกล่าวใช้คำว่าค่าจ้างและค่าแรง ปะปนกันไม่แน่นอน เป็นต้นว่า ข้อ 4.3 การเข้าทำงานสายจะถูกตัดค่าแรงลงตามส่วน แต่ในข้อ 4.4 ในวันหยุดตามประเพณีพนักงานมีสิทธิได้รับค่าจ้างเท่ากับวันทำงานตามปกติและในข้อ 5 เกี่ยวกับเรื่อง การทำงานล่วงเวลา ทำงานในวันหยุด และการจ่ายค่าแรง ก็ระบุไว้ในข้อ 5.1 ว่า พนักงานทำงานเกินเวลาปกติจะได้รับค่าล่วงเวลาหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในการทำงานตามปกติสำหรับเวลาที่ทำงานเกิน ดังนี้ค่าแรงก็คือค่าจ้างที่เอามาเฉลี่ยคิดให้เป็นวันหรือชั่วโมงนั่นเอง การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าค่าแรง ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย หมายถึงค่าจ้างจึงชอบแล้ว
เงินค่าตำแหน่งและค่าครองชีพที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างทุกคนที่อยู่ในเกณฑ์มีสิทธิได้รับเป็นการประจำและมีจำนวนแน่นอนจึงเป็นเงินที่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน เงินทั้ง 2 ประเภทดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2
เงินค่าที่พักที่จำเลยจ่ายช่วยเหลือลูกจ้างที่ไม่มีที่พักเป็นของตนเอง ลูกจ้างที่มีที่พักแล้วจะไม่มีสิทธิได้รับเงินประเภทนี้ เงินค่าที่พักดังกล่าวจึงเป็นเพียงเงินสวัสดิการที่จำเลยจ่ายให้แก่ลูกจ้าง หาใช่เงินที่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานไม่
เมื่อตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยไม่มีข้อยกเว้นมิให้นับระยะเวลาการทดลองงานรวมเข้ากับระยะเวลาทำงานหลังจากได้รับการบรรจุเป็นพนักงานประจำเพื่อเป็นเกณฑ์ในการคำนวณเงินตอบแทนพิเศษ หากจำเลยไม่ต้องการให้นับระยะเวลาทดลองงานดังกล่าวรวมเข้าด้วย จำเลยก็น่าจะระบุไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวให้ชัดแจ้ง ซึ่งจำเลยสามารถจะทำได้อีกประการหนึ่งเมื่อจำเลยออกใบผ่านงานให้โจทก์ที่ 3 จำเลยก็ระบุว่าโจทก์ที่ 3 ทำงานกับจำเลยตั้งแต่วันแรกที่โจทก์ที่ 3 เข้าทำงานทดลองงานกับจำเลย ด้วยเหตุนี้จึงต้องถือว่าระยะเวลาทดลองงานเป็นส่วนหนึ่งของระยะเวลาทำงานที่ต้องนำมารวมคำนวณเงินตอบแทนพิเศษสำหรับโจทก์ที่ 3 ด้วย
เงินค่าตำแหน่งและค่าครองชีพที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างทุกคนที่อยู่ในเกณฑ์มีสิทธิได้รับเป็นการประจำและมีจำนวนแน่นอนจึงเป็นเงินที่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน เงินทั้ง 2 ประเภทดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2
เงินค่าที่พักที่จำเลยจ่ายช่วยเหลือลูกจ้างที่ไม่มีที่พักเป็นของตนเอง ลูกจ้างที่มีที่พักแล้วจะไม่มีสิทธิได้รับเงินประเภทนี้ เงินค่าที่พักดังกล่าวจึงเป็นเพียงเงินสวัสดิการที่จำเลยจ่ายให้แก่ลูกจ้าง หาใช่เงินที่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานไม่
เมื่อตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยไม่มีข้อยกเว้นมิให้นับระยะเวลาการทดลองงานรวมเข้ากับระยะเวลาทำงานหลังจากได้รับการบรรจุเป็นพนักงานประจำเพื่อเป็นเกณฑ์ในการคำนวณเงินตอบแทนพิเศษ หากจำเลยไม่ต้องการให้นับระยะเวลาทดลองงานดังกล่าวรวมเข้าด้วย จำเลยก็น่าจะระบุไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวให้ชัดแจ้ง ซึ่งจำเลยสามารถจะทำได้อีกประการหนึ่งเมื่อจำเลยออกใบผ่านงานให้โจทก์ที่ 3 จำเลยก็ระบุว่าโจทก์ที่ 3 ทำงานกับจำเลยตั้งแต่วันแรกที่โจทก์ที่ 3 เข้าทำงานทดลองงานกับจำเลย ด้วยเหตุนี้จึงต้องถือว่าระยะเวลาทดลองงานเป็นส่วนหนึ่งของระยะเวลาทำงานที่ต้องนำมารวมคำนวณเงินตอบแทนพิเศษสำหรับโจทก์ที่ 3 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5095-5099/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานคำนวณเงินตอบแทนพิเศษ, ค่าจ้าง, ค่าตำแหน่ง, ค่าครองชีพ, ระยะเวลาทำงาน
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยตกลงจ่ายค่าตอบแทนพิเศษให้แก่พนักงานของจำเลยที่ทำงานเกิน5ปีหรือเกิน10ปีขึ้นไปเท่ากับ50วันหรือ300วันของค่าแรงอัตราสุดท้ายในขณะลาออกแต่ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานมิได้กำหนดนิยามคำว่า"ค่าจ้าง"และ"ค่าแรง"ไว้ดังนั้นค่าแรงก็คือค่าจ้างที่เอามาเฉลี่ยคิดให้เป็นวันหรือชั่วโมงและต้องนำเงินทั้งหมดที่ถือว่าเป็นค่าจ้างมาเป็นฐานคำนวณเงินตอบแทนพิเศษส่วนเงินค่าตำแหน่งและค่าครองชีพเป็นเงินที่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของการทำงานเงินทั้ง2ประเภทถือได้ว่าเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยจึงต้องนำมาเป็นฐานคำนวณเงินตอบแทนพิเศษด้วยส่วนเงินค่าที่พักเป็นเงินช่วยเหลือลูกจ้างที่ไม่มีที่พักเป็นของตนเองลูกจ้างที่มีที่พักแล้วไม่มีสิทธิได้รับจึงเป็นเพียงเงินสวัสดิการหาใช่เงินที่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติไม่จึงไม่ใช่ค่าจ้างไม่อาจนำมาเป็นฐานคำนวณเงินตอบแทนพิเศษได้และตามข้อบังคับการทำงานของจำเลยไม่มีข้อยกเว้นมิให้นับระยะเวลาการทดลองงานรวมเข้ากับระยะเวลาทำงานหลังจากได้รับการบรรจุหากไม่ต้องการให้นับระยะเวลาทดลองงานรวมเข้าด้วยจำเลยน่าจะระบุไว้ให้ชัดแจ้งเมื่อไม่ระบุจึงถือว่าระยะเวลาทดลองงานเป็นส่วนหนึ่งของระยะเวลาทำงานที่ต้องนำมารวมคำนวณเงินตอบแทนพิเศษด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5094/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนขายหลักทรัพย์: ความรับผิดของตัวการต่อการชดใช้หุ้นที่ถูกลัก
สัญญานายหน้าตัวแทนระหว่างจำเลยกับโจทก์กำหนดให้โจทก์ซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แทนจำเลย โจทก์จึงเป็นตัวแทนของจำเลยมีอำนาจขายหุ้นแทนจำเลยได้โดยชอบและมีสิทธิได้รับค่านายหน้าและค่าใช้จ่ายในการขายได้ตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญา เมื่อหุ้นที่โจทก์ขายแทนจำเลยไปนั้น เป็นหุ้นที่จำเลยร่วมที่ 2 ลักมาและได้มีการอายัดหุ้นส่วนหนึ่งไว้แล้วทำให้มีการโอนหุ้นให้แก่ผู้ซื้อไม่ได้ โจทก์ในฐานะผู้ขายจะต้องรับผิดชอบใช้หุ้นอื่นแทนให้แก่ผู้ซื้อตามกฎระเบียบของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อโจทก์ได้ชดใช้หุ้นอื่นแทนแก่ผู้ซื้อ การกระทำของโจทก์จึงเป็นการกระทำที่จำเป็นและสมควรต้องกระทำในขอบอำนาจของการเป็นตัวแทน โจทก์ในฐานะตัวแทนจึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยในฐานะตัวการชดใช้หุ้นหรือเงินค่าหุ้นที่โจทก์ออกแทนจำเลยไปได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 816
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4965/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์สินจากการสมรสและมรดก: การแบ่งกรรมสิทธิ์ในสินสมรสและผลกระทบต่อการรับมรดก
คดีก่อน จำเลยฟ้องโจทก์ว่า จำเลยเป็นบุตรคนเดียวของ ห.มีสิทธิรับมรดกคือทรัพย์พิพาทแต่ผู้เดียว ประเด็นจึงมีว่า จำเลยเป็นบุตรของ ห.แต่เพียงคนเดียวและมีสิทธิรับมรดกแต่เพียงผู้เดียวหรือไม่ แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าทรัพย์พิพาทเป็นทรัพย์ที่ ห. และมารดาโจทก์ทำมาหาได้ร่วมกันจึงเป็นสินสมรสประเด็นจึงมีว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมหรือไม่ ประเด็นแห่งคดีนี้กับคดีก่อน จึงเป็นคนละประเด็นกัน ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
โจทก์ฟ้องว่า ทรัพย์พิพาทเป็นสินสมรสระหว่าง ห.และมารดาโจทก์ เมื่อมารดาโจทก์ถึงแก่กรรม ทรัพย์พิพาทกึ่งหนึ่งของมารดาโจทก์ย่อมตกเป็นมรดกแก่โจทก์และ ห.คนละส่วน ต่อมา ห.ได้ยกทรัพย์มรดกส่วนที่ตกได้แก่ ห.ให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธ จึงถือว่าจำเลยรับตามข้อกล่าวอ้าง โจทก์จึงมีสิทธิในทรัพย์พิพาทกึ่งหนึ่ง
โจทก์ฟ้องว่า ทรัพย์พิพาทเป็นสินสมรสระหว่าง ห.และมารดาโจทก์ เมื่อมารดาโจทก์ถึงแก่กรรม ทรัพย์พิพาทกึ่งหนึ่งของมารดาโจทก์ย่อมตกเป็นมรดกแก่โจทก์และ ห.คนละส่วน ต่อมา ห.ได้ยกทรัพย์มรดกส่วนที่ตกได้แก่ ห.ให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธ จึงถือว่าจำเลยรับตามข้อกล่าวอ้าง โจทก์จึงมีสิทธิในทรัพย์พิพาทกึ่งหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4965/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสและสิทธิในทรัพย์มรดก: การแบ่งทรัพย์สินระหว่างบุตรและผู้รับยกมรดก
คดีก่อนจำเลยฟ้องโจทก์ว่าจำเลยเป็นบุตรคนเดียวของห.มีสิทธิรับมรดกคือทรัพย์พิพาทแต่ผู้เดียวประเด็นจึงมีว่าจำเลยเป็นบุตรของห.แต่เพียงคนเดียวและมีสิทธิรับมรดกแต่เพียงผู้เดียวหรือไม่แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าทรัพย์พิพาทเป็นทรัพย์ที่ห.และมารดาโจทก์ทำมาหาได้ร่วมกันจึงเป็นสินสมรสประเด็นจึงมีว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมหรือไม่ประเด็นแห่งคดีนี้กับคดีก่อนจึงเป็นคนละประเด็นกันไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ โจทก์ฟ้องว่าทรัพย์พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างห. และมารดาโจทก์เมื่อมารดาโจทก์ถึงแก่กรรมทรัพย์พิพาทกึ่งหนึ่งของมารดาโจทก์ย่อมตกเป็นมรดกแก่โจทก์และห. คนละส่วนต่อมาห. ได้ยกทรัพย์มรดกส่วนที่ตกได้แก่ห. ให้แก่โจทก์เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธจึงถือว่าจำเลยรับตามข้อกล่าวอ้างโจทก์จึงมีสิทธิในทรัพย์พิพาทกึ่งหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4887/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยค้ำประกันและค่าใช้จ่ายบังคับจำนอง: ศาลแก้ไขอัตราดอกเบี้ยและรับรองค่าประกาศ
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันหนี้ขายลดตั๋วเงินจำนวน 89,051.47 บาท นับแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2529จนกว่าจะชำระเสร็จ โดยไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยว่าจะต้องชำระหนี้แก่โจทก์ในเงินต้นดังกล่าวในอัตราดอกเบี้ยร้อยละเท่าใด ในเมื่อจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปีตามสัญญาค้ำประกันแล้ว แต่ไม่ได้กำหนดให้ว่าต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราเท่าใด จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงแก้ไขให้ถูกต้อง
โจทก์ได้ส่งหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยที่ 2ตามภูมิลำเนาที่อยู่ของจำเลยที่ 2 สองครั้ง แต่ไม่สามารถส่งได้ โจทก์จึงบอกกล่าวการบังคับจำนองโดยประกาศทางหนังสือพิมพ์ เพื่อให้มีผลตาม ป.พ.พ. มาตรา 728ฉะนั้น ค่าประกาศหนังสือพิมพ์จึงถือได้ว่าเป็นค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับจำนองตามมาตรา 715 (3) โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าประกาศหนังสือพิมพ์ 400 บาทพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากจำเลยที่ 2
โจทก์ได้ส่งหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยที่ 2ตามภูมิลำเนาที่อยู่ของจำเลยที่ 2 สองครั้ง แต่ไม่สามารถส่งได้ โจทก์จึงบอกกล่าวการบังคับจำนองโดยประกาศทางหนังสือพิมพ์ เพื่อให้มีผลตาม ป.พ.พ. มาตรา 728ฉะนั้น ค่าประกาศหนังสือพิมพ์จึงถือได้ว่าเป็นค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับจำนองตามมาตรา 715 (3) โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าประกาศหนังสือพิมพ์ 400 บาทพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากจำเลยที่ 2