พบผลลัพธ์ทั้งหมด 643 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4887/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดดอกเบี้ยสัญญาค้ำประกัน และค่าฤชาธรรมเนียมบังคับจำนอง: แก้ไขคำพิพากษาให้ถูกต้องตามสัญญา
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่1ชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันหนี้ขายลดตั๋วเงินจำนวน89,051.47บาทนับแต่วันที่7มิถุนายน2529จนกว่าจะชำระเสร็จโดยไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยว่าจะต้องชำระหนี้แก่โจทก์ในเงินต้นดังกล่าวในอัตราดอกเบี้ยร้อยละเท่าใดในเมื่อจำเลยที่1ต้องรับผิดในดอกเบี้ยอัตราร้อยละ17.5ต่อปีตามสัญญาค้ำประกันแล้วแต่ไม่ได้กำหนดให้ว่าต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราเท่าใดจึงเป็นการไม่ชอบศาลฎีกาจึงแก้ไขให้ถูกต้อง โจทก์ได้ส่งหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยที่2ตามภูมิลำเนาที่อยู่ของจำเลยที่2สองครั้งแต่ไม่สามารถส่งได้โจทก์จึงบอกกล่าวการบังคับจำนองโดยประกาศทางหนังสือพิมพ์เพื่อให้มีผลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา728ฉะนั้นค่าประกาศหนังสือพิมพ์จึงถือได้ว่าเป็นค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับจำนองตามมาตรา715(3)โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าประกาศหนังสือพิมพ์400บาทพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีจากจำเลยที่2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4887/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับจำนอง, ค่าฤชาธรรมเนียม, และอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาค้ำประกัน
โจทก์ส่งหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยที่2ตามภูมิลำเนาสองครั้งแต่ไม่สามารถส่งได้โดยได้รับแจ้งว่าจำเลยที่2ไปทำงานต่างจังหวัดและย้ายไม่ทราบที่อยู่ใหม่โจทก์จึงบอกกล่าวบังคับจำนองโดยประกาศทางหนังสือพิมพ์เพื่อให้มีผลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา728ถือว่าคำประกาศหนังสือพิมพ์เป็นค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับจำนองโจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4805/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทอดสุดท้ายในกรณีสินค้าเสียหายจากการขนส่งหลายทอดทางทะเล
จำเลยที่ 1 เป็นผู้แจ้งการนำเรือเข้าต่อกรมศุลกากรและหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง และจ้างเรือฉลอมไปขนถ่ายสินค้าจากเรือใหญ่มาส่งที่โกดังของบริษัทผู้ซื้อสินค้าที่กรุงเทพมหานคร โดยจำเลยที่ 1 ได้รับบำเหน็จจากการดำเนินการดังกล่าว พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 เห็นได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการขนส่งทอดสุดท้ายเพื่อให้สินค้าถึงมือผู้ซื้อ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเล โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายตาม ป.พ.พ. มาตรา 609 และมาตรา 618 ซึ่งเป็นกฎหมายใกล้เคียงกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนทางทะเล จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายของสินค้าให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิมาจากผู้รับตราส่ง
เมื่อการขนส่งสินค้าเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเล โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย ผู้รับขนส่งต้องรับผิดร่วมกันในการที่สินค้านั้นสูญหายหรือบุบสลาย แม้ความเสียหายจะเกิดขึ้นก่อนที่จำเลยที่ 1จะรับขนเป็นทอดสุดท้ายก็ตาม
ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยให้โจทก์รับช่วงสิทธิและมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีแล้ว แต่ไม่ได้กล่าวไว้ในตอนท้ายของคำพิพากษา ส่วนศาลอุทธรณ์ก็เพียงแต่วงเล็บข้อความไว้เมื่อกล่าวถึงคำพิพากษาของศาลชั้นต้นศาลฎีกาสมควรกำหนดให้จำเลยทั้งสามชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ไว้ในคำพิพากษาให้ครบถ้วนด้วย
เมื่อการขนส่งสินค้าเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเล โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย ผู้รับขนส่งต้องรับผิดร่วมกันในการที่สินค้านั้นสูญหายหรือบุบสลาย แม้ความเสียหายจะเกิดขึ้นก่อนที่จำเลยที่ 1จะรับขนเป็นทอดสุดท้ายก็ตาม
ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยให้โจทก์รับช่วงสิทธิและมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีแล้ว แต่ไม่ได้กล่าวไว้ในตอนท้ายของคำพิพากษา ส่วนศาลอุทธรณ์ก็เพียงแต่วงเล็บข้อความไว้เมื่อกล่าวถึงคำพิพากษาของศาลชั้นต้นศาลฎีกาสมควรกำหนดให้จำเลยทั้งสามชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ไว้ในคำพิพากษาให้ครบถ้วนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4805/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทอดสุดท้ายในกรณีสินค้าเสียหายจากการขนส่งทางทะเล
จำเลยที่1เป็นผู้แจ้งการนำเรือเข้าต่อกรมศุลกากรและหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องและจ้างเรือฉลอมไปขนถ่ายสินค้าจากเรือใหญ่มาส่งที่โกดังของบริษัทผู้ซื้อสินค้าที่กรุงเทพมหานครโดยจำเลยที่1ได้รับบำเหน็จจากการดำเนินการดังกล่าวพฤติการณ์ของจำเลยที่1เห็นได้ว่าจำเลยที่1เป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการขนส่งทอดสุดท้ายเพื่อให้สินค้าถึงมือผู้ซื้อซึ่งถือได้ว่าเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเลโดยจำเลยที่1เป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา609และมาตรา618ซึ่งเป็นกฎหมายใกล้เคียงกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนทางทะเลจำเลยที่1จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายของสินค้าให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิมาจากผู้รับตราส่ง เมื่อการขนส่งสินค้าเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเลโดยจำเลยที่1เป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายผู้รับขนส่งต้องรับผิดร่วมกันในการที่สินค้านั้นสูญหายหรือบุบสลายแม้ความเสียหายจะเกิดขึ้นก่อนที่จำเลยที่1จะรับขนเป็นทอดสุดท้ายก็ตาม ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยให้โจทก์รับช่วงสิทธิและมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีแล้วแต่ไม่ได้กล่าวไว้ในตอนท้ายของคำพิพากษาส่วนศาลอุทธรณ์ก็เพียงแต่วงเล็บข้อความไว้เมื่อกล่าวถึงคำพิพากษาของศาลชั้นต้นศาลฎีกาสมควรกำหนดให้จำเลยทั้งสามชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5ต่อปีไว้ในคำพิพากษาให้ครบถ้วนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4700/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการลาของกรรมการสหภาพแรงงานต้องเกี่ยวข้องกับกิจการสหภาพฯ ไม่สามารถลาไปร่วมกิจกรรมอื่นโดยไม่มีข้อยกเว้น
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 102อยู่ในหมวด 7 ว่าด้วยสหภาพแรงงาน ข้อความตอนต้น ของมาตราดังกล่าวให้สิทธิลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงาน ลาเพื่อไปดำเนินกิจการสหภาพแรงงาน ฉะนั้นข้อความในตอนต่อมาที่ว่า มีสิทธิไปร่วมประชุมตามที่ทางราชการกำหนดได้จึงต้องหมายถึงการไปร่วมประชุมในเรื่องที่เกี่ยวกับสหภาพแรงงานที่ทางราชการกำหนดขึ้นเท่านั้น ไม่หมายถึง การไปร่วมประชุมทางราชการในเรื่องใด ๆ โดยไม่มีขอบเขตจำกัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4700/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลาของกรรมการสหภาพแรงงานต้องเกี่ยวข้องกับกิจการสหภาพฯ โดยตรง การลาเพื่อกิจกรรมอื่นไม่อาจอ้างสิทธิได้
มาตรา102พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518ให้สิทธิลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานลาเพื่อไปดำเนินกิจการสหภาพแรงงานที่ทางราชการกำหนดขึ้นเท่านั้นส่วนการประชุมที่เป็นเพียงกิจกรรมที่ผู้คัดค้านอาจเลือกไปร่วมหรือไม่ก็ได้ผู้ร้องมีสิทธิไม่อนุมัติเมื่อผู้คัดค้านไม่ได้รับอนุมัติใบลาแต่หยุดงานไปถือว่าเป็นการจงใจขัดคำสั่งของผู้ร้องและละทิ้งหน้าที่อีกทั้งก่อนหน้านั้นผู้คัดค้านเคยถูกผู้ร้องเตือนเป็นหนังสือในการลางานลักษณะเดียวกันมาก่อนแสดงว่าผู้ร้องไม่อาจปกครองดูแลผู้คัดค้านในการทำงานตามหน้าที่ได้สมความมุ่งหมายพฤติการณ์ดังกล่าวมีเหตุให้เลิกจ้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4634/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดอุปการะจากผู้ตายกับสิทธิรับเงินทดแทน: กรณีผู้ค้ำประกันรถยนต์
ผู้ตายซึ่งเป็นลูกจ้างถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง ก่อนตาย ผู้ตายเช่าซื้อรถยนต์ให้โจทก์ใช้สอยประกอบอาชีพและให้โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันการเช่าซื้อเมื่อถึงแก่ความตายทำให้ผู้ตายไม่ได้ชำระค่าเช่าซื้อการที่โจทก์ต้องหาเงินไปชำระค่าเช่าซื้อ เป็นการปฏิบัติในฐานะเป็นผู้ค้ำประกัน ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเดือดร้อนเพราะขาดอุปการะจากผู้ตายตามพระราชบัญญัติเงินทดแทนพ.ศ. 2537 มาตรา 20 วรรคท้าย โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4634/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเงินทดแทน: ความเดือดร้อนจากสัญญาค้ำประกัน มิใช่การขาดอุปการะ
การที่โจทก์ถูกทวงถามให้ชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์ที่ผู้ตายเช่าซื้อเป็นกรณีที่ผู้ใช้เช่าซื้อทวงถามโจทก์ให้ปฏิบัติตามสัญญาค้ำประกันในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเดือนร้อนเพราะขาดอุปการะจากผู้ตายจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4634/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเงินทดแทน: ความเดือดร้อนจากสัญญาค้ำประกัน ไม่ใช่การขาดอุปการะ
การที่โจทก์ถูกทวงถามจากผู้ให้เช่าซื้อให้ชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์เป็นกรณีที่ผู้ให้เช่าซื้อทวงถามโจทก์ให้ปฏิบัติตามสัญญาค้ำประกันในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันการเช่าซื้อดังกล่าว ดังนั้น แม้จะถือว่าโจทก์เป็นผู้อยู่ในอุปการะของผู้ตาย และได้รับความเดือดร้อนจากการที่ถูกผู้ให้เช่าซื้อทวงถามจริง ก็เป็นกรณีที่โจทก์ได้รับความเดือดร้อนเพราะโจทก์ถูกบังคับตามสัญญาค้ำประกัน ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเดือดร้อนเพราะขาดอุปการะจากผู้ตายตาม พ.ร.บ.เงินทดแทนพ.ศ.2537 มาตรา 20 วรรคท้าย โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4634/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินทดแทนกรณีผู้ค้ำประกันถูกทวงหนี้หลังผู้ตายประสบอันตราย ไม่ถือเป็นการขาดอุปการะ
การที่โจทก์ถูกทวงถามจากผู้ให้เช่าซื้อให้ชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์เป็นกรณีที่ผู้ให้เช่าซื้อทวงถามโจทก์ให้ปฏิบัติตามสัญญาค้ำประกันในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันการเช่าซื้อดังกล่าวดังนั้นแม้จะถือว่าโจทก์เป็นผู้อยู่ในอุปการะของผู้ตายและได้รับความเดือนร้อนจากการที่ถูกผู้ให้เช่าซื้อทวงถามจริงก็เป็นกรณีที่โจทก์ได้รับความเดือนร้อนเพราะโจทก์ถูกบังคับตามสัญญาค้ำประกันถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเดือนร้อนเพราะขาดอุปการะจากผู้ตายตามพระราชบัญญัติเงินทดแทนพ.ศ.2537มาตรา20วรรคท้ายโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทน