พบผลลัพธ์ทั้งหมด 643 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4469-4476/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ้างงานต่อเนื่องเกินสองปี สัญญาจ้างเป็นสัญญาจ้างแรงงาน ต้องจ่ายค่าชดเชย
จำเลยที่2ถึงที่9เป็นคณะกรรมการผู้ชำระบัญชีของจำเลยที่1มีคำสั่งแต่งตั้งโจทก์ทั้งแปดเป็นผู้ช่วยชำระบัญชีทำหน้าที่ต่างๆในการชำระบัญชีตามคำสั่งของจำเลยแล้วแต่จะให้ทำงานอะไรและเป็นอำนาจของคณะกรรมการผู้ชำระบัญชีที่จะเลิกจ้างโจทก์ทั้งแปดได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้ามีกำหนดเวลาจ้างครั้งละ1เดือนติดต่อกันเป็นเวลา9ปีเศษเห็นได้ว่าการจ้างโจทก์ทั้งแปดจำเลยมิได้มุ่งถึงผลสำเร็จของงานหากแต่โจทก์ทั้งแปดจะต้องทำงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการชำระบัญชีตามที่ได้รับคำสั่งจากจำเลยที่2ถึงที่9ตลอดเวลาการจ้างดังนั้นสัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยจึงเป็นสัญญาจ้างแรงงาน การที่จำเลยต่อสัญญาจ้างโจทก์ทั้งแปดติดต่อกันครั้งละ1เดือนเป็นเวลานานถึง9ปีเศษโดยจำเลยมีคำสั่งจ้างโจทก์ทั้งแปดตามสัญญาจ้างแต่ละฉบับมีเงื่อนไขว่าหากพนักงานผู้ใดหมดหน้าที่หรือหมดความจำเป็นที่จะปฏิบัติงานต่อไปคณะกรรมการผู้ชำระบัญชีจะเลิกจ้างเป็นรายบุคคลก่อนกำหนดสิ้นเดือนโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้ากรณีจึงถือไม่ได้ว่าสัญญาจ้างโจทก์ทั้งแปดมีลักษณะการจ้างเป็นครั้งคราวโดยมีกำหนดเวลาสิ้นสุดหรือความสำเร็จของงานไว้แน่นอนดังนั้นเมื่อจำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ทั้งแปดติดต่อกันทุกเดือนและงานนั้นยังไม่แล้วเสร็จภายในเวลาสองปีจึงเป็นการจ้างแรงงานที่ไม่เข้าข้อยกเว้นที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4381/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสหลังหย่า: หลักเกณฑ์การพิสูจน์การมีส่วนร่วมในการซื้อทรัพย์สิน และผลของการโอนทรัพย์สินหลังหย่า
คดีมีประเด็นเพียงว่าทรัพย์สินที่ได้มาก่อนโจทก์จำเลยจดทะเบียนหย่าเป็น สินสมรสหรือไม่และทรัพย์สินที่จำเลยได้มาหลังโจทก์จำเลยจดทะเบียนหย่าโจทก์เป็น เจ้าของรวมด้วยหรือไม่ฉะนั้นปัญหาเรื่องการจดทะเบียนหย่าสมบูรณ์หรือไม่แม้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ให้ศาลมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้โดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ก็ตามแต่จะต้องเป็นข้อกฎหมายที่ได้มาจากข้อเท็จจริงในการ ดำเนินกระบวนพิจารณา โดยชอบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา87ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากพยานนอกประเด็นไม่เกี่ยวกับที่คู่ความจะต้องนำสืบหรือมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดงศาลจะรับฟังมาวินิจฉัยเป็นข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)หาได้ไม่การที่ศาลอุทธรณ์ยกเรื่องการจดทะเบียนหย่าไม่สมบูรณ์และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าว โจทก์จำเลยจดทะเบียนหย่ากันแล้วแต่ยังคงอยู่กินฉันสามีภริยาตลอดมาโดยยังมิได้แบ่งสินสมรสกันหลังจากนั้นจำเลยนำที่ดินสินสมรสไปจำนองและซื้อที่ดิน3แปลงและร่วมกันทำประโยชน์จนกระทั่งตกลงเลิกอยู่กินฉันสามีภริยากันโจทก์จำเลยจึงร่วมกันเป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวต่อมาจำเลยขายที่ดินทั้งสามแปลงแล้วนำเงินไปซื้อที่ดินใหม่2แปลงและรถยนต์2คันพร้อมด้วยสิทธิการเดินรถดังนี้โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอ แบ่งทรัพย์สินดังกล่าวพร้อมสินสมรสที่ยังมิได้แบ่งด้วยกึ่งหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4339/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าช่วงที่ดินขัดต่อสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลสั่งบังคับคดีได้
ศาลพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้วแม้สัญญาประนีประนอมยอมความจะมิได้ระบุชัดแจ้งว่าห้ามจำเลยนำที่ดินพิพาทไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงแต่ก็ระบุว่าโจทก์ยอมให้จำเลยในฐานะผู้เช่าเดิมใช้ที่ดินพิพาทต่อไปได้อีกจนถึงวันที่1มีนาคม2539ซึ่งหมายความว่าให้จำเลยเป็นผู้ใช้และส่งมอบที่ดินพิพาทคืนโจทก์เมื่อครบกำหนดแต่จำเลยกลับนำที่ดินพิพาทไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงอันเป็นเหตุให้โจทก์รับภาระเพิ่มขึ้นจากสัญญาประนีประนอมยอมความเมื่อจำเลยกระทำการดังกล่าวภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมจึงเป็นปฎิปักษ์ต่อการปฎิบัติตามคำพิพากษาตามยอมโจทก์ชอบที่จะขอให้บังคับจำเลยออกจากที่ดินพิพาทได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4339/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ กรณีจำเลยให้เช่าช่วงที่ดินขัดต่อเจตนารมณ์ของสัญญา
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ศาลพิพากษาตามยอม แม้สัญญาประนีประนอมยอมความจะมิได้ระบุโดยแจ้งชัดว่าห้ามจำเลยนำที่ดินพิพาทไปให้ผู้อื่นเช่าช่วง แต่ก็ระบุว่าโจทก์ยอมให้จำเลยในฐานะผู้เช่าเดิมใช้ที่ดินพิพาทต่อไปได้อีกจนถึงวันที่ 1 มีนาคม 2539 ซึ่งหมายความว่าให้จำเลยเป็นผู้ใช้และจะส่งมอบที่ดินพิพาทคืนโจทก์ในวันที่ 2 มีนาคม2539 แต่ก่อนครบกำหนดจำเลยกลับนำไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงใช้ที่ดินพิพาทแทน เป็นการประกอบกรรมอันเป็นเหตุให้โจทก์ต้องรับภาระเพิ่มขึ้นจากสัญญาประนีประนอมยอมความและเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่จะต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมโจทก์จึงขอให้บังคับจำเลยออกจากที่ดินพิพาทนั้นได้ทันทีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4339/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความกับการเช่าช่วงที่ดิน: การบังคับคดีและการปฏิบัติตามสัญญา
แม้สัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมจะมิได้ระบุโดยแจ้งชัดว่าห้ามจำเลยนำที่ดินพิพาทไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงก็ตามแต่ก็ระบุว่าโจทก์ยอมให้จำเลยในฐานะผู้เช่าเดิมใช้ที่ดินพิพาทต่อไปได้อีกจนถึงวันที่1มีนาคม2539ซึ่งหมายความว่าให้จำเลยเป็นผู้ใช้และจะส่งมอบที่ดินพิพาทคืนโจทก์ในวันที่2มีนาคม2539แต่จำเลยมิได้ใช้ที่ดินพิพาทตามสัญญาประนีประนอมยอมความอีกต่อไปกลับนำไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงใช้ที่ดินพิพาทแทนจำเลยเป็นการประกอบกรรมอันเป็นเหตุให้โจทก์ต้องรับภาระเพิ่มขึ้นจากสัญญาประนีประนอมยอมความเมื่อจำเลยกระทำการดังกล่าวหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมจึงเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่จะต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมโจทก์ชอบที่จะขอให้บังคับจำเลยออกจากที่ดินพิพาทนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4339/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าช่วงที่ดินหลังสัญญาประนีประนอมยอมความ: การบังคับคดีออกจากที่ดิน
แม้สัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมจะมิได้ระบุโดยแจ้งชัดว่าห้ามจำเลยนำที่ดินพิพาทไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงก็ตาม แต่ก็ระบุว่าโจทก์ยอมให้จำเลยในฐานะผู้เช่าเดิมใช้ที่ดินพิพาทต่อไปได้อีกจนถึงวันที่ 1 มีนาคม2539 ซึ่งหมายความว่าให้จำเลยเป็นผู้ใช้และจะส่งมอบที่ดินพิพาทคืนโจทก์ในวันที่ 2มีนาคม 2539 แต่จำเลยมิได้ใช้ที่ดินพิพาทตามสัญญาประนีประนอมยอมความอีกต่อไปกลับนำไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงใช้ที่ดินพิพาทแทนจำเลย เป็นการประกอบกรรมอันเป็นเหตุให้โจทก์ต้องรับภาระเพิ่มขึ้นจากสัญญาประนีประนอมยอมความ เมื่อจำเลยกระทำการดังกล่าวหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอม จึงเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่จะต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอม โจทก์ชอบที่จะขอให้บังคับจำเลยออกจากที่ดินพิพาทนั้นได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 271
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4212/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์ในการฎีกาและการเกินขอบเขตการวินิจฉัยของศาล
ผู้ร้องร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่โจทก์นำยึดลำดับที่2ถึง37ซึ่งมีราคาประเมินรวมกัน78,150บาทแต่มิได้คัดค้านการอายัดเงินจำนวน70,000บาทที่เทศบาลเมืองพะเยาจะต้องจ่ายให้แก่ร้านของผู้ร้องการที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยถึงจำนวนเงินที่อายัดด้วยนั้นจึงเป็นการเกินไปกว่าที่ปรากฎในคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดอันเป็นการมิชอบแม้ผู้ร้องจะได้เสียค่าขึ้นศาลในจำนวนเงินที่อายัดมาด้วยในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาทั้งได้อุทธรณ์ฎีกาโต้เถียงขึ้นมาก็ต้องถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองจึงต้องถือว่าคดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาเพียงจำนวน78,150บาทต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง ผู้ร้องฎีกาว่าผู้ร้องกับจำเลยได้จดทะเบียนหย่าขาดจากการเป็นสามีภรรยาก่อนที่โจทก์จะฟ้องคดีนี้การที่จำเลยยังคงอยู่อาศัยกับผู้ร้องก็เนื่องจากเพื่อมิให้มารดาของผู้ร้องผิดสังเกตทั้งมีข้อตกลงกันว่าจำเลยเคยมาพักอาศัยอยู่กับผู้ร้องอย่างใดก็ให้เป็นไปเช่นนั้นและจำเลยเคยออกใบเสร็จรับเงินแทนผู้ร้องอย่างใดก็ให้คงทำเช่นนั้นต่อไปโจทก์จึงไม่มีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดทรัพย์นั้นฎีกาของผู้ร้องดังกล่าวเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่ฟังว่าผู้ร้องกับจำเลยได้จดทะเบียนหย่าขาดจากกันโดยเจตนาลวงซึ่งแท้จริงแล้วผู้ร้องกับจำเลยยังอยู่กินฉันสามีภรรยากันทรัพย์พิพาทเป็นทรัพย์ของผู้ร้องกับจำเลยที่ได้มาในระหว่างเป็นสามีภรรยาจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4212/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์หลังหย่าและการโต้แย้งดุลพินิจศาลเกี่ยวกับสถานะการสมรสและทรัพย์สิน
ผู้ร้อง ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่โจทก์นำยึดลำดับที่ 2 ถึง 37ซึ่งมีราคาประเมินรวมกัน 78,150 บาท แต่มิได้คัดค้านการอายัดเงินจำนวน70,000 บาท ที่เทศบาลเมืองพะเยาจะต้องจ่ายให้แก่ร้านพิสิษฐ์การไฟฟ้าของผู้ร้อง การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยถึงจำนวนเงินที่อายัดด้วยนั้น จึงเป็นการเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด อันเป็นการมิชอบ แม้ผู้ร้องจะได้เสียค่าขึ้นศาลในจำนวนเงินที่อายัดมาด้วยในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกา ทั้งได้อุทธรณ์ฎีกาโต้เถียงขึ้นมา ก็ต้องถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองจึงต้องถือว่าคดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาเพียงจำนวน78,150 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248วรรคหนึ่ง
ผู้ร้องฎีกาว่า ผู้ร้องกับจำเลยได้จดทะเบียนหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยาก่อนที่โจทก์จะฟ้องคดีนี้ การที่จำเลยยังคงอยู่อาศัยกับผู้ร้อง ก็เนื่องจากเพื่อมิให้มารดาของผู้ร้องผิดสังเกต ทั้งมีข้อตกลงกันว่าจำเลยเคยมาพักอาศัยอยู่กับผู้ร้องอย่างใดก็ให้เป็นไปเช่นนั้น และจำเลยเคยออกใบเสร็จรับเงินแทนผู้ร้องอย่างใดก็ให้คงทำเช่นนั้นต่อไป โจทก์จึงไม่มีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดทรัพย์นั้น ฎีกาของผู้ร้องดังกล่าวเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ภาค 2ที่ฟังว่าผู้ร้องกับจำเลยได้จดทะเบียนหย่าขาดจากกันโดยเจตนาลวง ซึ่งแท้จริงแล้วผู้ร้องกับจำเลยยังอยู่กินฉันสามีภริยากัน ทรัพย์พิพาทเป็นทรัพย์ของผู้ร้องกับจำเลยที่ได้มาในระหว่างเป็นสามีภริยา จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
ผู้ร้องฎีกาว่า ผู้ร้องกับจำเลยได้จดทะเบียนหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยาก่อนที่โจทก์จะฟ้องคดีนี้ การที่จำเลยยังคงอยู่อาศัยกับผู้ร้อง ก็เนื่องจากเพื่อมิให้มารดาของผู้ร้องผิดสังเกต ทั้งมีข้อตกลงกันว่าจำเลยเคยมาพักอาศัยอยู่กับผู้ร้องอย่างใดก็ให้เป็นไปเช่นนั้น และจำเลยเคยออกใบเสร็จรับเงินแทนผู้ร้องอย่างใดก็ให้คงทำเช่นนั้นต่อไป โจทก์จึงไม่มีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดทรัพย์นั้น ฎีกาของผู้ร้องดังกล่าวเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ภาค 2ที่ฟังว่าผู้ร้องกับจำเลยได้จดทะเบียนหย่าขาดจากกันโดยเจตนาลวง ซึ่งแท้จริงแล้วผู้ร้องกับจำเลยยังอยู่กินฉันสามีภริยากัน ทรัพย์พิพาทเป็นทรัพย์ของผู้ร้องกับจำเลยที่ได้มาในระหว่างเป็นสามีภริยา จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4146-4147/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ชอบธรรมเนื่องจากผู้บริหารฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับทางการเงินและอนุมัติการเบิกจ่ายโดยมิชอบ
ระเบียบข้อบังคับเรื่องการอนุมัติค่าใช้จ่ายของจำเลยกำหนดว่าในการเบิกค่าใช้จ่ายระหว่างที่ทำงานให้บริษัทห้ามพนักงานอนุมัติค่าใช้จ่ายที่ตนเสนอเองเป็นอันขาดและบรรดาค่าใช้จ่ายทั้งหมดนั้นต้องให้ผู้ควบคุมดูแลงานที่ใกล้ชิดที่สุดของพนักงานนั้นพิจารณาตรวจสอบเสียก่อนและต้องได้รับอนุมัติจากบุคคลซึ่งได้รับมอบอำนาจให้อนุมัติรายงานค่าใช้จ่ายได้ตามรายชื่อผู้มีสิทธิอำนาจทางการเงินหมายความว่าการอนุมัติค่าใช้จ่ายห้ามมิให้อนุมัติข้ามสายงานทั้งจำเลยไม่เคยอนุมัติให้โจทก์ทั้งสองนำทรัพย์สินส่วนตัวมาใช้ในกิจการของจำเลยโดยให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายและไม่เคยมอบอำนาจให้โจทก์ที่1มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยได้ดังนั้นการที่โจทก์ที่1อนุมัติให้โจทก์ที่2นำรถยนต์และวิทยุติดตามตัวซึ่งเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของโจทก์ที่2ใช้ในกิจการของจำเลยและให้เบิกจ่ายค่าน้ำมันและค่าบริการสำหรับวิทยุติดตามตัวก่อให้เกิดความผูกพันต่อบุคคลภายนอกโดยไม่มีอำนาจเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเมื่อโจทก์ที่2อยู่ในสายงานบังคับบัญชาของผู้อื่นที่โจทก์ที่1อนุมัติให้โจทก์ที่2เบิกจ่ายค่าน้ำมันและค่าบริการวิทยุติดตามตัวจึงเป็นการอนุมัตินอกสายงานเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่จำเลยได้วางไว้แม้โจทก์ที่2มาช่วยทำงานในสายงานของโจทก์ที่1ก็เป็นอำนาจบังคับบัญชาในการปฏิบัติงานเท่านั้นส่วนอำนาจการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆโจทก์ที่2ยังต้องปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานการที่โจทก์ที่1มีตำแหน่งหน้าที่ระดับผู้บริหารเป็นผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงินควรที่จะต้องเคร่งครัดระมัดระวังต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานแต่โจทก์ที่1กลับฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเสียเองถือได้ว่าเป็นการจงใจทำให้จำเลยเสียหายทั้งฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงจำเลยมีเหตุอันสมควรที่จะเลิกจ้างโจทก์ที่1ได้จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจำเลยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการเบิกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ที่1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4115/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อที่ดินคืนของผู้เช่าตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กรณีผู้รับโอนซื้อมาในราคาตลาด
โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินพิพาททำนาจากส. ต่อมาศาลมีคำสั่งให้ยึดที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดจำเลยที่1เป็นผู้ประมูลได้ถือเป็นการซื้อจากเจ้าของเดิมเป็นการรับโอนที่ดินพิพาทตามมาตรา28แห่งพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524ที่ผู้รับโอนต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนที่มีต่อผู้เช่าศาลเป็นเพียงดำเนินการขายทอดตลาดเท่านั้นหากจำเลยที่1จะขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่3จะต้องแจ้งให้โจทก์ทราบก่อนถ้าโจทก์ไม่ซื้อจำเลยที่1จึงจะขายให้จำเลยที่3ได้ตามมาตรา53เมื่อจำเลยที่1ไม่ปฎิบัติตามกฎหมายโจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทก่อนจากจำเลยที่3ตามมาตรา54การที่โจทก์ยังคงชำระค่าเช่าที่ดินพิพาทให้จำเลยที่3ไม่เป็นการตัดสิทธิโจทก์ว่าเป็นการสละสิทธิที่จะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่3และการที่คชก.ตำบลมีมติให้โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่3ในราคา1,500,000บาทโดยฝ่ายจำเลยมิได้อุทธรณ์มติดังกล่าวถือว่าโจทก์ได้ปฎิบัติขั้นตอนครบถ้วนตามกฎหมายแล้วมติคชก.ตำบลจึงชอบตามมาตรา54เพราะเป็นราคาตลาดที่จำเลยที่3ซื้อจากจำเลยที่1โดยไม่ปรากฏว่าที่ดินพิพาทมีราคาตลาดสูงกว่านั้นอีก