พบผลลัพธ์ทั้งหมด 643 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5291/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้, ดอกเบี้ยทบต้น, สิทธิเรียกดอกเบี้ยเกิน 15%, และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
โจทก์เป็นสถาบันการเงิน มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดได้ไม่เกินร้อยละ 21ต่อปี ตามประกาศกระทรวงการคลัง เมื่อสัญญากู้เงินได้มีการตกลงกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้เกินกว่าอัตราร้อยละ 15 และยินยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกินกว่า 1 ปีทบเข้ากับต้นเงินและให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราที่ตกลงในสัญญากู้เงินต่อไปด้วย โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยในอัตราตามที่ตกลงในสัญญาและคิดดอกเบี้ยค้างชำระเกินกว่า 1 ปี ทบต้นได้ต่อไปจนกว่าจะชำระต้นเงินและดอกเบี้ยคืนให้แก่โจทก์จนเสร็จสิ้นการที่โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกิน 1 ปี มาทบรวมกับยอดเงินต้นดอกเบี้ยที่ทบนั้นจึงกลายเป็นเงินต้นไม่เป็นดอกเบี้ยที่ค้างอีกต่อไป ข้อตกลงตามสัญญากู้เงินดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคหนึ่งซึ่งไม่อยู่ในบังคับข้อห้ามไม่ให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4570/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยอายุความและการย้ายทาง ฎีกาชี้ว่าการใช้ทางต่อเนื่องโดยสงบ เปิดเผย และเจตนาเป็นเจ้าของสิทธิ ทำให้เกิดภารจำยอมได้ แม้มีการย้ายทาง
ทางที่ตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินแปลงอื่นโดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401ประกอบมาตรา 1382 แล้ว ต่อมามีการย้ายทาง ไปยังส่วนอื่นของที่ดินแปลงนั้น ก็ต้องถือว่าทางนั้นตกเป็นภารจำยอมแทนทางภารจำยอมเดิมตามมาตรา 1392
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4499/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรม, มรดก, การยกทรัพย์สิน, อายุความ, สิทธิทายาท
ที่ดินพิพาทสองแปลงแรกเป็นทรัพย์มรดกของ ด.ผู้ตาย ดังนั้น ข้อกำหนดพินัยกรรมเกี่ยวกับที่ดินพิพาททั้งสองแปลงนี้จึงมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้ตามกฎหมายส่วนที่ดินพิพาทอีก 2 แปลงหลังนั้น แม้ผู้ตายจะมีความประสงค์ยกให้แก่จำเลยในปี 2520 โดยการไปยื่นคำร้องต่อสำนักงานที่ดินขอยกที่ดินสองแปลงหลังที่ขณะนั้นยังเป็นที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ซึ่งการยกที่ดินให้แก่กันต้องมีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ในนามผู้ยกให้ซึ่งเป็นเจ้าของเดิมก่อน หลังจากนั้นจึงจะดำเนินการจดทะเบียนการยกให้แก่ผู้รับในภายหลัง เมื่อยังไม่มีการจดทะเบียนยกให้ ถือว่าการยกให้ยังไม่สมบูรณ์ ตามพฤติการณ์ของผู้ตายดังกล่าวแสดงว่าผู้ตายประสงค์จะยกที่ดินพิพาททั้งสองแปลงหลังนี้ให้แก่จำเลย โดยวิธีขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ผู้ตายจึงได้ไปดำเนินการเช่นนั้น หาใช่ผู้ตายเจตนายกให้แก่จำเลยทันทีโดยวิธีส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทแก่จำเลยไม่ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าที่ดินพิพาททั้งสองแปลงหลังนี้ยังไม่ได้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์จนกระทั่งผู้ตายถึงแก่ความตายในปี 2522ความประสงค์ของผู้ตายที่จะยกที่ดินพิพาทให้จำเลยจึงไม่มีผลตามกฎหมาย ที่ดินพิพาทสองแปลงหลังนี้จึงยังเป็นของผู้ตายในขณะที่ผู้ตายถึงแก่ความตาย ข้อกำหนดพินัยกรรมเกี่ยวกับที่ดินสองแปลงหลังนี้จึงมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้เช่นเดียวกันมิได้เป็นอันเพิกถอนไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1696 วรรคหนึ่ง ผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดรวมทั้งที่ดินพิพาททั้ง 4 แปลง ให้แก่ ด. แต่ผู้เดียว เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาททั้ง 4 แปลง ย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ ด. ผู้รับพินัยกรรมทันที ส่วนจำเลยแม้จะเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายแต่ได้ถูกตัดมิให้ได้รับทรัพย์มรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1608 วรรคท้ายจำเลยจึงไม่อยู่ในฐานะเป็นทายาทของผู้ตายที่มีสิทธิรับทรัพย์มรดก ส่วนจำเลยร่วมเป็นบุตรของ ผ. มิใช่ทายาทโดยธรรมของผู้ตาย ดังนั้น จำเลยและจำเลยร่วมจึงไม่มีสิทธิยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1755 ขึ้นต่อสู้ ด. ผู้รับพินัยกรรมรวมทั้งไม่มีสิทธิยกอายุความดังกล่าวขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทและเป็นผู้รับมรดกจาก ด. เช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4499/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินให้ผู้อื่น & ผลของการทำพินัยกรรม: ที่ดินที่ยังไม่ได้จดทะเบียนยกให้ยังเป็นมรดก
ที่ดินพิพาทสองแปลงแรกเป็นทรัพย์มรดกของ ด.ผู้ตาย ดังนั้นข้อกำหนดพินัยกรรมเกี่ยวกับที่ดินพิพาททั้งสองแปลงนี้จึงมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ส่วนที่ดินพิพาทอีก 2 แปลงหลังนั้น แม้ผู้ตายจะมีความประสงค์ยกให้แก่จำเลยในปี 2520 โดยการไปยื่นคำร้องต่อสำนักงานที่ดินขอยกที่ดินสองแปลงหลังที่ขณะนั้นยังเป็นที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ซึ่งการยกที่ดินให้แก่กันต้องมีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ในนามผู้ยกให้ซึ่งเป็นเจ้าของเดิมก่อน หลังจากนั้นจึงจะดำเนินการจดทะเบียนการยกให้แก่ผู้รับในภายหลัง เมื่อยังไม่มีการจดทะเบียนยกให้ ถือว่าการยกให้ยังไม่สมบูรณ์ ตามพฤติการณ์ของผู้ตายดังกล่าวแสดงว่าผู้ตายประสงค์จะยกที่ดินพิพาทสองแปลงหลังนี้ให้แก่จำเลย โดยวิธีขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ผู้ตายจึงได้ไปดำเนินการเช่นนั้น หาใช่ผู้ตายเจตนายกให้แก่จำเลยทันทีโดยวิธีส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทแก่จำเลยไม่ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าที่ดินพิพาทสองแปลงหลังนี้ยังไม่ได้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์จนกระทั่งผู้ตายถึงแก่ความตายในปี 2522 ความประสงค์ของผู้ตายที่จะยกที่ดินพิพาทให้จำเลยจึงไม่มีผลตามกฎหมาย ที่ดินพิพาทสองแปลงหลังนี้จึงยังเป็นของผู้ตายในขณะที่ผู้ตายถึงแก่ความตาย ข้อกำหนดพินัยกรรมเกี่ยวกับที่ดินสองแปลงหลังนี้จึงมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้เช่นเดียวกัน มิได้เป็นอันเพิกถอนไปตามป.พ.พ.มาตรา 1696 วรรคหนึ่ง
ผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดรวมทั้งที่ดินพิพาททั้ง 4 แปลงให้แก่ ด.แต่ผู้เดียว เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาททั้ง 4 แปลง ย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ ด.ผู้รับพินัยกรรมทันที ส่วนจำเลยแม้จะเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายแต่ได้ถูกตัดมิให้ได้รับทรัพย์มรดกตาม ป.พ.พ.มาตรา 1608 วรรคท้าย จำเลยจึงไม่อยู่ในฐานะเป็นทายาทของผู้ตายที่มีสิทธิรับทรัพย์มรดก ส่วนจำเลยร่วมเป็นบุตรของ ผ. มิใช่ทายาทโดยธรรมของผู้ตาย ดังนั้น จำเลยและจำเลยร่วมจึงไม่มีสิทธิยกอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1755 ขึ้นต่อสู้ ด.ผู้รับพินัยกรรมรวมทั้งไม่มีสิทธิยกอายุความดังกล่าวขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทและเป็นผู้รับมรดกจาก ด.เช่นเดียวกัน
ผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดรวมทั้งที่ดินพิพาททั้ง 4 แปลงให้แก่ ด.แต่ผู้เดียว เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาททั้ง 4 แปลง ย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ ด.ผู้รับพินัยกรรมทันที ส่วนจำเลยแม้จะเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายแต่ได้ถูกตัดมิให้ได้รับทรัพย์มรดกตาม ป.พ.พ.มาตรา 1608 วรรคท้าย จำเลยจึงไม่อยู่ในฐานะเป็นทายาทของผู้ตายที่มีสิทธิรับทรัพย์มรดก ส่วนจำเลยร่วมเป็นบุตรของ ผ. มิใช่ทายาทโดยธรรมของผู้ตาย ดังนั้น จำเลยและจำเลยร่วมจึงไม่มีสิทธิยกอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1755 ขึ้นต่อสู้ ด.ผู้รับพินัยกรรมรวมทั้งไม่มีสิทธิยกอายุความดังกล่าวขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทและเป็นผู้รับมรดกจาก ด.เช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3796/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อมีผลผูกพันเมื่อเจ้าของรถจดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย การไม่จดทะเบียนทำให้สัญญาเป็นโมฆะ
ทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อเป็นรถยนต์บรรทุกสิบล้อ (รถดั๊ม)ใช้บรรทุกของหนัก โจทก์เป็นเจ้าของรถดั๊มที่ให้เช่าซื้อจึงมีหนี้ที่จะต้องให้จำเลยได้ใช้หรือรับประโยชน์จากรถนั้นเมื่อโดยสภาพรถนั้นไม่เหมาะแก่การที่จะใช้เพื่อประโยชน์ที่เช่ามา ผู้เช่าก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเสียได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 ประกอบมาตรา 537และมาตรา 548 เมื่อรถดั๊มที่ให้จำเลยเช่าซื้อเป็นรถที่โจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนจึงต้องห้ามตามมาตรา 7แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ที่ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถที่ยังไม่ได้จดทะเบียน ที่จำเลยอ้างว่า ได้นำรถไปใช้บรรทุกดินแล้วถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุม จึงมีเหตุผลสนับสนุนเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรถไม่ได้ดำเนินการจดทะเบียนรถดั๊มที่ให้จำเลยเช่าซื้อให้ถูกต้องตามกฎหมายเพื่อจำเลยจะได้นำรถดั๊มที่เช่าซื้อออกวิ่งได้ ถือได้ว่าโจทก์ได้ส่งมอบรถโดยสภาพไม่เหมาะสมที่จะใช้เพื่อประโยชน์ที่เช่า จำเลยจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้ แต่เมื่อจำเลยไม่ได้บอกเลิกสัญญาและต่อมาโจทก์ได้ยึดรถคืนจากจำเลยโดยจำเลยไม่ได้โต้แย้งจึงต้องถือว่าสัญญาเช่าซื้อได้เลิกกันโดยปริยาย โดยโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อและผลแห่งการเลิกสัญญาย่อมทำให้คู่ความแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับสู่ฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 เมื่อจำเลยได้คืนรถดั๊มแก่โจทก์แล้ว โจทก์ก็ต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อที่รับไปแล้วแก่จำเลย ปรากฎว่าจำเลยออกเช็คพิพาท 9 ฉบับผ่อนชำระค่าเช่าซื้อล่วงหน้าแก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3796/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ที่ยังไม่ได้จดทะเบียน การเลิกสัญญาโดยปริยาย และสิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อ
คดีนี้จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยได้ลงชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทชำระหนี้ค่าเช่าซื้อแก่โจทก์โดยไม่ได้กรอกข้อความ แต่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงข้อเดียวว่า จำเลยต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์หรือไม่จำเลยไม่ได้คัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของศาลชั้นต้น จึงต้องถือว่าจำเลยได้สละประเด็นแห่งคดีตามข้อต่อสู้ดังกล่าวแล้ว ที่จำเลยแก้ฎีกาว่าจำเลยได้ลงชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทแก่โจทก์โดยไม่ได้กรอกข้อความโจทก์ได้กรอกข้อความลงในเช็คพิพาทเป็นการชำระหนี้เงินดาวน์และเงินค่างวดแก่โจทก์ในภายหลังเป็นการไม่ชอบ จึงไม่เป็นประเด็นที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัย รถดั๊มที่จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อจากโจทก์เป็นรถใหม่ที่ยังไม่ได้จดทะเบียน จำเลยยังผ่อนชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ไม่ครบถ้วนรถดั๊มจึงยังไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย ตามมาตรา 10 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522ที่บัญญัติว่า ผู้ใดประสงค์จะขอจดทะเบียนรถ ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่ตนมีภูมิลำเนา เว้นแต่เจ้าของรถมีความประสงค์จะนำรถไปใช้ในท้องถิ่นอื่น ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องถิ่นนั้นได้ แสดงว่าเจ้าของรถมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนรถและตามสัญญาเช่าซื้อไม่ได้ระบุว่าค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนรถฝ่ายใดจะต้องรับผิดชอบ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้รับเงินค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนรถจากจำเลยแล้วทั้งข้อความในใบสั่ง>ขายที่ระบุในช่องค่าทะเบียนว่า "จดเอง" ดังนี้โจทก์ผู้เป็นเจ้าของรถจะต้องเป็นผู้จดทะเบียนรถเองโดยยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องที่ที่โจทก์มีภูมิลำเนา ทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อเป็นรถยนต์บรรทุกสิบล้อ (รถดั๊ม)ใช้บรรทุกเทของหนัก โจทก์เป็นเจ้าของรถดั๊มที่ให้เช่าซื้อจึงมีหนี้ที่จะต้องให้จำเลยได้ใช้หรือรับประโยชน์จากรถนั้น แต่เมื่อโดยสภาพรถนั้นไม่เหมาะแก่การที่จะใช้เพื่อประโยชน์ที่เช่ามาผู้เช่าซื้อก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเสียได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 ประกอบ มาตรา 537และมาตรา 548 เมื่อรถดั๊มที่ให้จำเลยเช่าซื้อเป็นรถที่โจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนจึงต้องห้ามตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์พ.ศ. 2522 ที่ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถที่ยังไม่ได้จดทะเบียน การที่จำเลยได้นำรถที่เช่าซื้อไปใช้บรรทุกดินแล้วถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมและโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรถไม่ได้ดำเนินการจดทะเบียนรถดั๊มที่ให้จำเลยเช่าซื้อให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อจำเลยจะได้นำรถดั๊มที่เช่าซื้อออกวิ่งได้ ถือได้ว่าโจทก์ได้ส่งมอบรถโดยสภาพไม่เหมาะสมที่จะใช้เพื่อประโยชน์ที่เช่า จำเลยจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้ แต่เมื่อจำเลยไม่ได้บอกเลิกสัญญาและต่อมาโจทก์ได้ยึดรถคืนจากจำเลย โดยจำเลยไม่ได้โต้แย้งจึงต้องถือว่าสัญญาเช่าซื้อได้เลิกกันโดยปริยายโดยโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อและผลแห่งการเลิกสัญญาย่อมทำให้คู่ความแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับสู่ฐานะเดิม เมื่อจำเลยได้คืนรถดั๊มแก่โจทก์แล้ว และโจทก์ต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อที่รับไปแล้วแก่จำเลยการที่จำเลยออกเช็คพิพาทผ่อนชำระค่าเช่าซื้อล่วงหน้าแก่โจทก์แม้ต่อมาเช็คพิพาทขึ้นเงินไม่ได้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากจำเลย ส่วนการที่โจทก์ยอมให้ใช้รถดั๊มที่เช่าซื้อซึ่งจำเลยต้องใช้เงินตามมูลค่าแห่งการนั้น เมื่อคดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็คเท่านั้น จึงไม่มีปัญหาดังกล่าวที่จะต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3796/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อรถยนต์: สภาพรถไม่เหมาะสม, การจดทะเบียน, การเลิกสัญญา, และผลกระทบต่อเช็ค
คดีนี้จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยได้ลงชี่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทชำระหนี้ค่าเช่าซื้อแก่โจทก์โดยไม่ได้กรอกข้อความ แต่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงข้อเดียวว่า จำเลยต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์หรือไม่จำเลยไม่ได้คัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของศาลชั้นต้น จึงต้องถือว่าจำเลยได้สละประเด็นแห่งคดีตามข้อต่อสู้ดังกล่าวแล้ว ที่จำเลยแก้ฎีกาว่าจำเลยได้ลงชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทแก่โจทก์โดยไม่ได้กรอกข้อความ โจทก์ได้กรอกข้อความลงในเช็คพิพาทเป็นการชำระหนี้เงินดาวน์และเงินค่างวดแก่โจทก์ในภายหลังเป็นการไม่ชอบ จึงไม่เป็นประเด็นที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัย
รถดั๊มที่จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อจากโจทก์เป็นรถใหม่ที่ยังไม่ได้จดทะเบียน จำเลยยังผ่อนชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ไม่ครบถ้วน รถดั๊มจึงยังไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย
ตามมาตรา 10 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522ที่บัญญัติว่า ผู้ใดประสงค์จะขอจดทะเบียนรถ ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่ตนมีภูมิลำเนา เว้นแต่เจ้าของรถมีความประสงค์จะนำรถไปใช้ในท้องถิ่นอื่น ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องถิ่นนั้นได้ แสดงว่าเจ้าของรถมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนรถและตามสัญญาเช่าซื้อไม่ได้ระบุว่าค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนรถฝ่ายใดจะต้องรับผิดชอบ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้รับเงินค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนรถจากจำเลยแล้วทั้งข้อความในใบสั่งขายที่ระบุในช่องค่าทะเบียนว่า "จดเอง" ดังนี้โจทก์ผู้เป็นเจ้าของรถจะต้องเป็นผู้จดทะเบียนรถเองโดยยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องที่ที่โจทก์มีภูมิลำเนา
ทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อเป็นรถยนต์บรรทุกสิบล้อ (รถดั๊ม) ใช้บรรทุกเทของหนัก โจทก์เป็นเจ้าของรถดั๊มที่ให้เช่าซื้อจึงมีหนี้ที่จะต้องให้จำเลยได้ใช้หรือรับประโยชน์จากรถนั้น แต่เมื่อโดยสภาพรถนั้นไม่เหมาะแก่การที่จะใช้เพื่อประโยชน์ที่เช่ามา ผู้เช่าซื้อก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเสียได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 572 ประกอบมาตรา 537 และมาตรา 548 เมื่อรถดั๊มที่ให้จำเลยเช่าซื้อเป็นรถที่โจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนจึงต้องห้ามตามมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 ที่ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถที่ยังไม่ได้จดทะเบียน การที่จำเลยได้นำรถที่เช่าซื้อไปใช้บรรทุกดินแล้วถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุม และโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรถไม่ได้ดำเนินการจดทะเบียนรถดั๊มที่ให้จำเลยเช่าซื้อให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อจำเลยจะได้นำรถดั๊มที่เช่าซื้อออกวิ่งได้ ถือได้ว่าโจทก์ได้ส่งมอบรถโดยสภาพไม่เหมาะสมที่จะใช้เพื่อประโยชน์ที่เช่า จำเลยจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้ แต่เมื่อจำเลยไม่ได้บอกเลิกสัญญาและต่อมาโจทก์ได้ยึดรถคืนจากจำเลย โดยจำเลยไม่ได้โต้แย้งจึงต้องถือว่าสัญญาเช่าซื้อได้เลิกกันโดยปริยายโดยโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อ และผลแห่งการเลิกสัญญาย่อมทำให้คู่ความแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับสู่ฐานะเดิม เมื่อจำเลยได้คืนรถดั๊มแก่โจทก์แล้ว และโจทก์ต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อที่รับไปแล้วแก่จำเลย การที่จำเลยออกเช็คพิพาทผ่อนชำระค่าเช่าซื้อล่วงหน้าแก่โจทก์ แม้ต่อมาเช็คพิพาทขึ้นเงินไม่ได้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากจำเลย ส่วนการที่โจทก์ยอมให้ใช้รถดั๊มที่เช่าซื้อซึ่งจำเลยต้องใช้เงินตามมูลค่าแห่งการนั้น เมื่อคดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็คเท่านั้น จึงไม่มีปัญหาดังกล่าวที่จะต้องวินิจฉัย
รถดั๊มที่จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อจากโจทก์เป็นรถใหม่ที่ยังไม่ได้จดทะเบียน จำเลยยังผ่อนชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ไม่ครบถ้วน รถดั๊มจึงยังไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย
ตามมาตรา 10 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522ที่บัญญัติว่า ผู้ใดประสงค์จะขอจดทะเบียนรถ ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่ตนมีภูมิลำเนา เว้นแต่เจ้าของรถมีความประสงค์จะนำรถไปใช้ในท้องถิ่นอื่น ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องถิ่นนั้นได้ แสดงว่าเจ้าของรถมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนรถและตามสัญญาเช่าซื้อไม่ได้ระบุว่าค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนรถฝ่ายใดจะต้องรับผิดชอบ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้รับเงินค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนรถจากจำเลยแล้วทั้งข้อความในใบสั่งขายที่ระบุในช่องค่าทะเบียนว่า "จดเอง" ดังนี้โจทก์ผู้เป็นเจ้าของรถจะต้องเป็นผู้จดทะเบียนรถเองโดยยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องที่ที่โจทก์มีภูมิลำเนา
ทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อเป็นรถยนต์บรรทุกสิบล้อ (รถดั๊ม) ใช้บรรทุกเทของหนัก โจทก์เป็นเจ้าของรถดั๊มที่ให้เช่าซื้อจึงมีหนี้ที่จะต้องให้จำเลยได้ใช้หรือรับประโยชน์จากรถนั้น แต่เมื่อโดยสภาพรถนั้นไม่เหมาะแก่การที่จะใช้เพื่อประโยชน์ที่เช่ามา ผู้เช่าซื้อก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเสียได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 572 ประกอบมาตรา 537 และมาตรา 548 เมื่อรถดั๊มที่ให้จำเลยเช่าซื้อเป็นรถที่โจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนจึงต้องห้ามตามมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 ที่ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถที่ยังไม่ได้จดทะเบียน การที่จำเลยได้นำรถที่เช่าซื้อไปใช้บรรทุกดินแล้วถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุม และโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรถไม่ได้ดำเนินการจดทะเบียนรถดั๊มที่ให้จำเลยเช่าซื้อให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อจำเลยจะได้นำรถดั๊มที่เช่าซื้อออกวิ่งได้ ถือได้ว่าโจทก์ได้ส่งมอบรถโดยสภาพไม่เหมาะสมที่จะใช้เพื่อประโยชน์ที่เช่า จำเลยจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้ แต่เมื่อจำเลยไม่ได้บอกเลิกสัญญาและต่อมาโจทก์ได้ยึดรถคืนจากจำเลย โดยจำเลยไม่ได้โต้แย้งจึงต้องถือว่าสัญญาเช่าซื้อได้เลิกกันโดยปริยายโดยโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อ และผลแห่งการเลิกสัญญาย่อมทำให้คู่ความแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับสู่ฐานะเดิม เมื่อจำเลยได้คืนรถดั๊มแก่โจทก์แล้ว และโจทก์ต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อที่รับไปแล้วแก่จำเลย การที่จำเลยออกเช็คพิพาทผ่อนชำระค่าเช่าซื้อล่วงหน้าแก่โจทก์ แม้ต่อมาเช็คพิพาทขึ้นเงินไม่ได้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากจำเลย ส่วนการที่โจทก์ยอมให้ใช้รถดั๊มที่เช่าซื้อซึ่งจำเลยต้องใช้เงินตามมูลค่าแห่งการนั้น เมื่อคดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็คเท่านั้น จึงไม่มีปัญหาดังกล่าวที่จะต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3229/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษาจำกัดเฉพาะที่ศาลตัดสิน ผู้ซื้อไม่สามารถดำเนินการแทนจำเลยนอกเหนือจากคำพิพากษาได้
แม้ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์จำเลยได้มีข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยกำหนดให้จำเลยมีหน้าที่เป็นผู้เสียค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและค่าอากรแสตมป์ก็ตาม แต่โจทก์ก็มิได้บรรยายฟ้องและมีคำขอบังคับให้จำเลยรับผิดในส่วนนี้มาด้วย การที่ศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์เกี่ยวกับเงินส่วนนี้ จึงเป็นการพิพากษาที่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 142แล้ว และการบังคับคดีก็ต้องดำเนินการไปตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 271 ดังนี้การที่โจทก์ไปโอนที่ดินและได้ออกเงินค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและค่าอากรแสตมป์ไปก่อนโดยโจทก์ถือว่ากระทำแทนจำเลยนั้น เป็นเรื่องโจทก์ดำเนินการไปเอง และเป็นการบังคับที่นอกเหนือไปจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งไม่อาจกระทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3229/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษา: โจทก์หักค่าธรรมเนียมการโอนมิได้ แม้ตกลงในสัญญา
แม้ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์จำเลยได้มีข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยกำหนดให้จำเลยมีหน้าที่เป็นผู้เสียค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและค่าอากรแสตมป์ก็ตามแต่โจทก์ก็มิได้บรรยายฟ้องและมีคำขอบังคับให้จำเลยรับผิดในส่วนนี้มาด้วยการที่ศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์เกี่ยวกับเงินส่วนนี้จึงเป็นการพิพากษาที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142แล้วและการบังคับคดีก็ต้องดำเนินการไปตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271ดังนี้การที่โจทก์ไปโอนที่ดินและได้ออกเงินค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและค่าอากรแสตมป์ไปก่อนโดยโจทก์ถือว่ากระทำแทนจำเลยนั้นเป็นเรื่องโจทก์ดำเนินการไปเองและเป็นการบังคับที่นอกเหนือไปจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งไม่อาจกระทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3229/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษา: โจทก์หักค่าธรรมเนียมการโอนไม่ได้ แม้มีข้อตกลงในสัญญา
แม้ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์จำเลยได้มีข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยกำหนดให้จำเลยมีหน้าที่เป็นผู้เสียค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและค่าอากรแสตมป์ก็ตามแต่โจทก์ก็มิได้บรรยายฟ้องและมีคำขอบังคับให้จำเลยรับผิดในส่วนนี้มาด้วย การที่ศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์เกี่ยวกับเงินส่วนนี้ จึงเป็นการพิพากษาที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 แล้ว และการบังคับคดีก็ต้องดำเนินการไปตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ดังนี้การที่โจทก์ไปโอนที่ดินและได้ออกเงินค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและค่าอากรแสตมป์ไปก่อนโดยโจทก์ถือว่ากระทำแทนจำเลยนั้น เป็นเรื่องโจทก์ดำเนินการไปเอง และเป็นการบังคับที่นอกเหนือไปจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งไม่อาจกระทำได้