คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมภพ โชติกวณิชย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 461 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9217/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาคดีอาญาในคดีแพ่ง & ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง
เมื่อศาลจังหวัดระยองได้มีหนังสือแจ้งให้ศาลชั้นต้นทราบว่าจัดการส่งหมายนัดและสำเนาฎีกาให้แก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ ศาลชั้นต้นให้หมายแจ้งให้โจทก์ทั้งสองทราบว่าโจทก์ทั้งสองจะดำเนินการอย่างไรให้แถลงภายใน15 วัน โจทก์ทั้งสองทราบคำสั่งแล้วไม่มาแถลงภายในเวลาที่กำหนด ถือว่าโจทก์ทั้งสองทิ้งฎีกาสำหรับจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2)ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247
คดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การที่ศาลพิพากษาคดีอาญาว่า พยานหลักฐานของโจทก์ไม่อาจรับฟังได้จึงพิพากษายกฟ้องนั้น เป็นกรณีที่คำพิพากษาคดีอาญาได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงอันเป็นประเด็นแห่งคดีแล้วว่าพยานหลักฐานของโจทก์ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ถือได้ว่าศาลได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 1 กระทำการโดยประมาทหรือไม่ไว้แน่นอนแล้ว เมื่อโจทก์ที่ 1 เป็นผู้เสียหายในคดีอาญาข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญาจึงผูกพันโจทก์ที่ 1 ในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีแพ่งในการพิพากษาคดีนี้ศาลจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้ขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46
โจทก์ที่ 2 ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 เป็นจำนวนเงิน 174,338 บาท ดังนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่โจทก์ที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของรถยนต์หมายเลขทะเบียน 2 จ - 3838 กรุงเทพมหานคร และมีอำนาจฟ้องหรือไม่จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 หรือไม่ เหตุละเมิดเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 หรือไม่ และค่าเสียหายมีเพียงใดนั้นล้วนเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
เมื่อการพิพากษาคดีนี้ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้ขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อโจทก์ที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ของโจทก์ที่ 1 ซึ่งได้ชดใช้ค่าสินไหมแทนแก่โจทก์ที่ 1 ตามสัญญาประกันภัยแล้วรับช่วงสิทธิมาเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 2ที่ 3 และที่ 4 จึงได้รับผลของบทบัญญัติดังกล่าวเช่นเดียวกับโจทก์ที่ 1 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9217/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งหมายนัด และการผูกพันตามคำพิพากษาคดีอาญาในคดีแพ่ง
เมื่อศาลจังหวัดระยองได้มีหนังสือแจ้งให้ศาลชั้นต้นทราบว่าจัดการส่งหมายนัดและสำเนาฎีกาให้แก่จำเลยที่1ไม่ได้ศาลชั้นต้นให้หมายแจ้งให้โจทก์ทั้งสองทราบว่าโจทก์ทั้งสองจะดำเนินการอย่างไรให้แถลงภายใน15วันโจทก์ทั้งสองทราบคำสั่งแล้วไม่มาแถลงภายในเวลาที่กำหนดถือว่าโจทก์ทั้งสองทิ้งฎีกาสำหรับจำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา174(2)ประกอบด้วยมาตรา246และ247 คดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาการที่ศาลศาลอุทธรณ์คดีอาญาว่าพยานหลักฐานของโจทก์ไม่อาจรับฟังได้จึงพิพากษายกฟ้องนั้นเป็นกรณีที่คำพิพากษาคดีอาญาได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงอันเป็นประเด็นแห่งคดีแล้วว่าพยานหลักฐานของโจทก์ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยที่1กระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้องถือได้ว่าศาลได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในประเด็นที่ว่าจำเลยที่1กระทำการโดยประมาทหรือไม่ไว้แน่นอนแล้วเมื่อโจทก์ที่1เป็นผู้เสียหายในคดีอาญาข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญาจึงผูกพันโจทก์ที่1ในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีแพ่งในการพิพากษาคดีนี้ศาลจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาว่าจำเลยที่1ไม่ได้ขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา46 โจทก์ที่2ฟ้องขอให้จำเลยที่2ที่3และที่4ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ที่2เป็นจำนวนเงิน174,338บาทดังนั้นทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งที่โจทก์ที่2ฎีกาว่าโจทก์ที่1เป็นเจ้าของรถยนต์หมายเลขทะเบียน2จ-3838กรุงเทพมหานครและมีอำนาจฟ้องหรือไม่จำเลยที่1เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่2และที่3หรือไม่เหตุละเมิดเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่1หรือไม่และค่าเสียหายมีเพียงใดนั้นล้วนเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ เมื่อการพิพากษาคดีนี้ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาว่าจำเลยที่1ไม่ได้ขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อโจทก์ที่2เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ของโจทก์ที่1ซึ่งได้ชดใช้ค่าสินไหมแทนแก่โจทก์ที่1ตามสัญญาประกันภัยแล้วรับช่วงสิทธิมาเรียกร้องเอาจากจำเลยที่2ที่3และที่4จึงได้รับผลของบทบัญญัติดังกล่าวเช่นเดียวกับโจทก์ที่1ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9204/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าฉางและสัญญาฝากทรัพย์: ความรับผิดชอบต่อความเสียหายของทรัพย์ที่รับฝากและอายุความ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ทำสัญญาเช่าฉางตามฟ้องจากจำเลยเพื่อเก็บข้าวเปลือกของโจทก์ โดยจำเลยรับรองว่าจะเก็บรักษาข้าวเปลือกที่โจทก์นำมาเก็บไว้ในฉางมิให้เปลี่ยนแปลงหรือผิดไปจากสภาพเดิม ถ้าเกิดความเสียหายหรือสูญหายขึ้นจำเลยจะต้องรับผิดชอบและยินยอมใช้ราคาข้าวเปลือกที่ผิดชนิดหรือขาดจำนวนไปไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ยกเว้นข้าวเปลือกที่ยุบตัวตามสภาพไม่เกินร้อยละ 2ของจำนวนข้าวทั้งหมดหรือเกิดจากเหตุสุดวิสัย จำเลยไม่ดูแลรักษาข้าวเปลือกของโจทก์ตามสัญญา เป็นเหตุให้ข้าวเปลือกในฉางสูญหาย ขอให้บังคับจำเลยชำระราคาข้าวเปลือกดังกล่าว เห็นว่า ฟ้องโจทก์แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา172 วรรคสอง แล้ว โจทก์บรรยายข้อเท็จจริงมาในฟ้องโดยละเอียดพร้อมกับแนบสำเนาสัญญาเช่าฉางเอกชนสำเนาบัญชีข้าวเปลือกและราคาข้าวมาท้ายฟ้องด้วยการที่โจทก์มิได้ระบุในฟ้องว่าเป็นเรื่องผิดสัญญาหรือละเมิดก็ไม่ทำให้เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ตาม พ.ร.ฎ.จัดตั้งองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร พ.ศ.2517คณะกรรมการองค์การตลาดเพื่อการเกษตรมีอำนาจหน้าที่ในการวางนโยบายทั่วไปเท่านั้น ส่วนการบริหารกิจการเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการโจทก์ การฟ้องคดีเป็นกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกซึ่งผู้อำนวยการโจทก์เป็นตัวแทนของโจทก์ที่จะมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้
ตามสัญญาเช่าฉางเอกชนนอกจากเป็นสัญญาเช่าทรัพย์แล้วยังมีข้อกำหนดให้จำเลยมีหน้าที่เก็บรักษาข้าวเปลือก และดูแลมิให้เกิดความเสียหายแก่ข้าวเปลือกที่เก็บรักษาไว้ในฉางด้วย หากเกิดความเสียหายหรือสูญหายขึ้น จำเลยต้องรับผิดชอบใช้ราคาข้าวเปลือกที่ขาดจำนวนไปให้แก่โจทก์ ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาฝากทรัพย์รวมอยู่ในตัวด้วย ฉะนั้นจำเลยในฐานะผู้รับฝากทรัพย์ซึ่งจะต้องคืนทรัพย์ที่รับฝากไว้ให้แก่โจทก์ เมื่อทรัพย์ที่รับฝากสูญหายไป จำเลยจึงต้องใช้ราคาทรัพย์ที่รับฝากไว้แทนตัวทรัพย์ การฟ้องให้ใช้ราคาทรัพย์ในกรณีเช่นนี้ไม่ใช่เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวแก่การฝากทรัพย์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 671 และไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนด 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9204/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าและฝากเก็บทรัพย์ - อายุความ 10 ปี - อำนาจฟ้อง - ฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ทำสัญญาเช่าฉาง ตามฟ้องจากจำเลยเพื่อเก็บข้าวเปลือกของโจทก์ โดยจำเลยรับรองว่าจะเก็บรักษาข้าวเปลือกที่โจทก์นำมาเก็บไว้ในฉาง มิให้เปลี่ยนแปลงหรือผิดไปจากสภาพเดิม ถ้าเกิดความเสียหายหรือสูญหายขึ้นจำเลยจะต้องรับผิดชอบและยินยอมใช้ราคาข้าวเปลือกที่ผิดชนิดหรือขาดจำนวนไปไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ยกเว้นข้าวเปลือกที่ยุบตัวตามสภาพไม่เกินร้อยละ 2ของจำนวนข้าวทั้งหมดหรือเกิดจากเหตุสุดวิสัยจำเลยไม่ดูแลรักษาข้าวเปลือกของโจทก์ตามสัญญา เป็นเหตุให้ข้าวเปลือกในฉาง สูญหาย ขอให้บังคับจำเลยชำระราคาข้าวเปลือกดังกล่าว เห็นว่า ฟ้องโจทก์แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองแล้ว โจทก์บรรยายข้อเท็จจริงมาในฟ้องโดยละเอียดพร้อมกับแนบสำเนาสัญญาเช่าฉาง เอกชนสำเนาบัญชีข้าวเปลือกและราคาข้าวมาท้ายฟ้องด้วยการที่โจทก์มิได้ระบุในฟ้องว่าเป็นเรื่องผิดสัญญาหรือละเมิดก็ไม่ทำให้เป็นฟ้องเคลือบคลุม ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การตลาดเพื่อเกษตรกรพ.ศ. 2517 คณะกรรมการองค์การตลาดเพื่อการเกษตรมีอำนาจหน้าที่ในการวางนโยบายทั่วไปเท่านั้น ส่วนการบริหารกิจการเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการโจทก์ การฟ้องคดีเป็นกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกซึ่งผู้อำนวยการโจทก์เป็นตัวแทนของโจทก์ที่จะมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้ ตามสัญญาเช่าฉาง เอกชนนอกจากเป็นสัญญาเช่าทรัพย์แล้วยังมีข้อกำหนดให้จำเลยมีหน้าที่เก็บรักษาข้าวเปลือกและดูแลมิให้เกิดความเสียหายแก่ข้าวเปลือกที่เก็บรักษาไว้ในฉาง ด้วย หากเกิดความเสียหายหรือสูญหายขึ้น จำเลยต้องรับผิดชอบใช้ราคาข้าวเปลือกที่ขาดจำนวนไปให้แก่โจทก์ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาฝากทรัพย์รวมอยู่ในตัวด้วยฉะนั้นจำเลยในฐานะผู้รับฝากทรัพย์ซึ่งจะต้องคืนทรัพย์ที่รับฝากไว้ให้แก่โจทก์ เมื่อทรัพย์ที่รับฝากสูญหายไปจำเลยจึงต้องใช้ราคาทรัพย์ที่รับฝากาไว้แทนตัวทรัพย์การฟ้องให้ใช้ราคาทรัพย์ในกรณีเช่นนี้ไม่ใช่เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวแก่การฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671 และไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนด10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9204/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของผู้อำนวยการ อ.ต.ก. และอายุความสัญญาเช่าที่รวมสัญญาฝากทรัพย์
ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การตลาดเพื่อเกษตรกรพ.ศ. 2517 มาตรา 20 และมาตรา 22 แสดงว่า คณะกรรมการมีอำนาจ หน้าที่ในการวางนโยบายทั่วไปขององค์การตลาดเพื่อเกษตรกร โจทก์เท่านั้น ส่วนการบริหารกิจการเป็นอำนาจหน้าที่ของ ผู้อำนวยการ การฟ้องคดีเป็นกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ซึ่งผู้อำนวยการเป็นตัวแทนของโจทก์ จึงเป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดี แทนโจทก์ได้ ตามสัญญาเช่าฉางเอกชนพิพาท นอกจากเป็นสัญญาเช่าทรัพย์แล้วยังมีข้อกำหนดให้จำเลยมีหน้าที่เก็บรักษาข้าวเปลือกและดูแลมิให้เกิดความเสียหายแก่ข้าวเปลือกที่เก็บรักษาไว้ในฉางด้วยหากเกิดความเสียหายขึ้น จำเลยต้องรับผิดชอบใช้ราคาข้าวเปลือกที่ขาดจำนวนไปให้แก่โจทก์ ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาฝากทรัพย์รวมอยู่ในตัวด้วย ฉะนั้นจำเลยในฐานะผู้รับฝากทรัพย์เมื่อทรัพย์ที่รับฝากสูญหายไป จำเลยจึงต้องใช้ราคาทรัพย์ที่รับฝากไว้แทนตัวทรัพย์ การฟ้องให้ใช้ราคาทรัพย์ในกรณีเช่นนี้ไม่ใช่เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับการฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671และไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนด 10 ปี ตามมาตรา 164(เดิม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8408/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องจำเลยที่ไม่ได้เป็นคู่สัญญา และผลของการไม่ส่งเอกสารต้นฉบับตามคำสั่งศาล
โจทก์ฟ้องบังคับจำเลยทั้งสองตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแต่ปรากฎว่าตามสัญญาจะซื้อจะขาย มีโจทก์และจำเลยที่ 1เป็นคู่สัญญาเท่านั้นแม้โฉนดที่ดินที่จะซื้อขายกันตามสัญญามีชื่อจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมด้วยเมื่อจำเลยที่ 2 มิได้เป็นคู่สัญญา จำเลยที่ 2 หาต้องมีความผูกพันรับผิดตามสัญญาจะซื้อจะขายที่จำเลยที่ 1 ได้ทำไว้ทำกับโจทก์ไม่ แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นภรรยาจำเลยที่ 1ก็ตาม โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยทั้งสองทำสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์แล้วประพฤติผิดสัญญา ดังนั้น สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่โจทก์จำเลยทำไว้จึงเป็นพยานเอกสารที่สำคัญ ซึ่งโจทก์ได้อ้างเอกสารดังกล่าวไว้ด้วย แต่ปรากฎว่าในวันชี้สองสถานโจทก์ขอส่งสำเนาสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโดยไม่มีต้นฉบับมาแสดง อ้างว่าต้นฉบับอยู่ที่จำเลย ซึ่งจำเลยปฎิเสธว่าไม่ได้อยู่ที่จำเลยแต่อยู่ที่โจทก์ และโจทก์มิได้ขอหมายเรียกเอกสารดังกล่าวจากจำเลย ศาลชั้นต้นจึงไม่รับสำเนาสัญญาจะซื้อจะขายของโจทก์ส่วนจำเลยอ้างหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายหรือสัญญาวางมัดจำโดยส่งเป็นสำเนาเอกสารอ้างว่าต้นฉบับเอกสารดังกล่าวจากโจทก์ ดังนี้ เมื่อปรากฎว่า ต้นฉบับเอกสารอยู่ที่โจทก์และโจทก์ไม่ยอมนำมาส่งตามคำสั่งศาล ย่อมถือว่าข้อเท็จจริงแห่งข้ออ้างที่จำเลยจะต้องนำสืบโดยเอกสารนั้นโจทก์ได้ยอมรับแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 123 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8408/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผูกพันตามสัญญาซื้อขายที่ดิน และการนำพยานเอกสารที่ไม่ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องบังคับจำเลยทั้งสองตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแต่ปรากฏว่าตามสัญญาจะซื้อจะขาย มีโจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นคู่สัญญาเท่านั้นแม้โฉนดที่ดินที่จะซื้อขายกันตามสัญญามีชื่อจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมด้วยเมื่อจำเลยที่ 2 มิได้เป็นคู่สัญญา จำเลยที่ 2 หาต้องมีความผูกพันรับผิดตามสัญญาจะซื้อจะขายที่จำเลยที่ 1 ได้ทำไว้กับโจทก์ไม่ แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นภรรยาจำเลยที่ 1 ก็ตาม โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยทั้งสองทำสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์แล้วประพฤติผิดสัญญา ดังนั้น สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่โจทก์จำเลยทำไว้จึงเป็นพยานเอกสารที่สำคัญ ซึ่งโจทก์ได้อ้างเอกสารดังกล่าวไว้ด้วย แต่ปรากฏว่าในวันชี้สองสถานโจทก์ขอส่งสำเนาสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโดยไม่มีต้นฉบับมาแสดง อ้างว่าต้นฉบับอยู่ที่จำเลย ซึ่งจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้อยู่ที่จำเลยแต่อยู่ที่โจทก์ และโจทก์มิได้ขอหมายเรียกเอกสารดังกล่าวจากจำเลย ศาลชั้นต้นจึงไม่รับสำเนาสัญญาจะซื้อจะขายของโจทก์ส่วนจำเลยอ้างหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายหรือสัญญาวางมัดจำโดยส่งเป็นสำเนาเอกสารอ้างว่าต้นฉบับอยู่ที่โจทก์และได้ขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเรียกต้นฉบับเอกสารดังกล่าวจากโจทก์ ดังนี้ เมื่อปรากฏว่า ต้นฉบับเอกสารอยู่ที่โจทก์และโจทก์ไม่ยอมนำมาส่งตามคำสั่งศาล ย่อมถือว่าข้อเท็จจริงแห่งข้ออ้างที่จำเลยจะต้องนำสืบโดยเอกสารนั้นโจทก์ได้ยอมรับแล้วตาม ป.วิ.พ.มาตรา 123 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8401/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันหน้าที่การงาน ตำแหน่งใหม่เพิ่มความเสี่ยง ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในตำแหน่งพนักงานธุรการ แม้จะไม่จำกัดว่าเป็นการค้ำประกันเฉพาะในตำแหน่งดังกล่าวและไม่มีกำหนดเวลาก็ตาม การที่โจทก์มีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งพนักงานรับจ่ายเงิน ให้รับผิดชอบในเรื่องการเงินอันเป็นการเพิ่มความเสี่ยงภัยและความรับผิดให้แก่จำเลยที่ 2 มากขึ้น จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดในหน้าที่การงานตำแหน่งใหม่แม้จะได้ทราบและมิได้คัดค้านการที่โจทก์แต่งตั้งให้จำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งพนักงานรับ-จ่ายเงิน ก็ไม่มีผลทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันเปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8401/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อลูกหนี้เปลี่ยนตำแหน่งงานและเพิ่มความเสี่ยง
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในตำแหน่งพนักงานธุรการ แม้จะไม่จำกัดว่าเป็นการค้ำประกันเฉพาะในตำแหน่งดังกล่าวและไม่มีกำหนดเวลาก็ตาม การที่โจทก์มีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งพนักงานรับ -จ่ายเงิน ให้รับผิดชอบในเรื่องการเงินอันเป็นการเพิ่มความเสี่ยงภัยและความรับผิดให้แก่จำเลยที่ 2 มากขึ้น จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดในหน้าที่การงานตำแหน่งใหม่ แม้จะได้ทราบและมิได้คัดค้านการที่โจทก์แต่งตั้งให้จำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งพนักงานรับ - จ่ายเงิน ก็ไม่มีผลทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันเปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8365/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อเลิกแล้ว: สิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย, ค่าขาดประโยชน์, และอายุความของหนี้
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว ย่อมมีผลทำให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่ไม่มีผลกระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแก่กันตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 391 และมาตรา 392 บัญญัติว่า การชำระหนี้ของคู่สัญญาอันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้นให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งมาตรา369 กล่าวคือให้นำมาตรา 369 ว่าด้วยการชำระหนี้ในสัญญาต่างตอบแทนมาใช้บังคับ ดังนี้โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อจึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยผู้เช่าซื้อชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์หรือค่าใช้ทรัพย์ได้ เมื่อฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์หรือค่าใช้ทรัพย์ของโจทก์ตลอดเวลาที่จำเลยที่ 1 ยังครอบครองทรัพย์ของโจทก์อยู่ ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้ และค่าเสียหายเช่นนี้ศาลอาจกำหนดตามที่เห็นสมควรได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142
การที่จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์ของโจทก์ไปแล้วผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อจนโจทก์บอกเลิกสัญญา แต่จำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยขาดประโยชน์ที่ควรจะได้จากการนำรถยนต์ดังกล่าวออกให้เช่า การฟ้องเรียกค่าเสียหายเช่นนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องได้ภายในอายุความสิบปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30
ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องขอให้ชำระราคาทรัพย์สินที่เช่าซื้อจนครบตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งกำหนดว่า "ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาตามข้อ 7 ข้างต้น หรือเจ้าของบอกเลิกสัญญานี้และกลับเข้าครอบครองรถยนต์ตามข้อ 5 ของสัญญานี้ เงินทั้งปวงที่ผู้เช่าได้ชำระให้แก่เจ้าของก่อนหน้านั้นให้คงเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของ และผู้เช่าจะต้องจ่ายค่าซ่อมรถยนต์พร้อมทั้งค่าอุปกรณ์และอะไหล่ทั้งปวงเพื่อซ่อมรถยนต์ให้กลับคืนสู่สภาพดีตามที่เจ้าของประมาณราคาขึ้นโดยทันที และจะชดใช้ค่าเสื่อมราคาและค่าเสียหายนอกเหนือจากค่าเช่าซื้อทุกงวดที่ค้างชำระอยู่แล้ว ตลอดทั้งเงินจำนวนอื่นใดที่จะต้องจ่ายตามสัญญานี้ กับถ้าหากในขณะบอกเลิกการเช่านั้น ผู้เช่าได้ชำระเงินค่าเช่าซื้อและรวมกับเงินชำระครั้งแรกรวมกันไม่ถึงครึ่งหนึ่งของราคาเช่าซื้อที่ระบุในบัญชีรายการท้ายสัญญา ผู้เช่าซื้อจะต้องจ่ายเงินเพิ่มเติมอีกจำนวนหนึ่งซึ่งเมื่อรวมกับจำนวนที่จ่ายเป็นค่าเช่าซื้อรวมทั้งเงินที่ชำระครั้งแรกแล้วจะเท่ากับครึ่งหนึ่งของราคาเช่าซื้อที่ระบุในบัญชีรายการท้ายสัญญา..." ข้อสัญญาดังกล่าวนี้ใช้บังคับได้ โดยมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ และในกรณีฟ้องเรียกราคารถยนต์เช่าซื้อที่ยังขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อเช่นนี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความสิบปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 190/30มิใช่อายุความหกเดือนตาม ป.พ.พ.มาตรา 563
of 47