คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมภพ โชติกวณิชย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 461 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7597/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนที่ดินพิพาท โดยไม่ฟ้องเจ้าพนักงานที่ดิน ศาลมีอำนาจพิจารณาได้
จำเลยที่1จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้จำเลยที่2อันเป็นการฉ้อฉลโจทก์ผู้ที่โต้แย้งสิทธิของโจทก์ก็คือจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ขอให้เจ้าพนักงานที่ดินกระทำการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมส่วนเจ้าพนักงานที่ดินกระทำการไปตามอำนาจหน้าที่นอกจากนี้การที่ป. ที่ดินมาตรา61และมาตรา71บัญญัติให้เจ้าพนักงานที่ดินมีหน้าที่ดำเนินการตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลดังนั้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่2ได้โดยมิต้องฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินผู้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเข้ามาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7433/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาซื้อขายที่ดินเนื่องจากไม่สามารถโอนพร้อมทางเข้าออกได้ แม้จะมีการนัดหมายโอนภายหลังก็ถือเป็นการประวิง
โจทก์กับจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกันเป็นหนังสือ แม้โจทก์ได้วางมัดจำด้วยก็ถือว่าการวางมัดจำเป็นเพียงข้อสัญญาข้อหนึ่งเท่านั้นหาใช่ทำสัญญากันด้วยการวางมัดจำไม่ เมื่อตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินไม่มีข้อความตอนใดระบุให้จำเลยจะต้องจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทหรือทางเข้าออกแก่โจทก์ ณสำนักงานที่ดินอำเภอเมืองลพบุรีในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2534 ดังนั้น การที่โจทก์นำสืบถึงข้อความเพิ่มเติมนอกจากที่ระบุไว้ในสัญญา โดยอ้างว่าโจทก์จำเลยตกลงโอนที่ดินกันภายใน 3 เดือน ซึ่งตรงกับวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2534 แต่ผู้เขียนสัญญาลืมเขียนข้อความระบุวันนัดโอนนั้น เป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมข้อความในเอกสารสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข) ดังนั้นแม้ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2534 จำเลยไม่ไปสำนักงานที่ดินเพื่อจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทพร้อมทางเข้าออกให้โจทก์ ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญา
ก่อนที่โจทก์จะบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน โจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยสองครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2534 เร่งรัดให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาและขอคำยืนยันจากจำเลยภายในวันที่ 29 มีนาคม 2534 ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้มีหนังสือชี้แจงให้โจทก์ทราบว่าสามารถโอนที่ดินตามสัญญาให้โจทก์ได้หรือไม่ครั้งที่สองเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2534 โจทก์ขอให้จำเลยโอนที่ดินในวันที่ 19กันยายน 2534 เวลา 13.30 นาฬิกา จำเลยได้รับหนังสือของโจทก์แล้ว แม้ว่าหนังสือของโจทก์ครั้งที่สองแจ้งให้จำเลยโอนที่ดินในระยะกระชั้นชิด แต่หนังสือของโจทก์ครั้งแรกที่เร่งรัดให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาจนถึงวันที่โจทก์บอกกล่าวในครั้งที่สองเป็นเวลาห่างกันถึง 6 เดือน จำเลยกลับเพิกเฉยไม่ได้ดำเนินการอย่างใดเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินสำหรับเป็นทางเข้าออกจากที่ดินพิพาทเชื่อมถนนสาธารณะ ซึ่งได้ความว่าเจ้าของที่ดินได้ขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินแล้วเสร็จ และเจ้าของที่ดินข้างเคียงได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ใช้ทำเป็นทางเข้าออกเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2534 การที่จำเลยกลับมีหนังสือถึงโจทก์ลงวันที่ 26กันยายน 2534 อ้างว่า จำเลยพร้อมที่จะโอนที่ดินตามสัญญาให้โจทก์ และให้โจทก์ชำระราคาที่ดินที่เหลือ ณ สำนักงานที่ดินในวันที่ 11 ตุลาคม 2534เวลา 10 นาฬิกา นั้นปรากฏว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รังวัดแบ่งแยกที่ดินเสร็จและออกหนังสือ น.ส.3 เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2534 ถ้าหากโจทก์ไปสำนักงานที่ดินอำเภอเมืองลพบุรีในวันที่ 11 ตุลาคม 2534 ตามที่จำเลยนัดหมาย โจทก์ก็ไม่สามารถรับโอนที่ดินตามสัญญาจากจำเลยได้ และการที่จำเลยไม่สามารถจัดซื้อที่ดินสำหรับเป็นทางเข้าออกตามสัญญาได้ แต่จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ลงวันที่ 26กันยายน 2534 นัดโอนที่ดินกันจึงเป็นการประวิงการปฏิบัติตามสัญญาโดยไม่ได้คำนึงว่าจำเลยไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทพร้อมทางเข้าออกให้โจทก์ตามสัญญาได้จำเลยย่อมเป็นฝ่ายผิดสัญญาอยู่นั่นเอง ดังนั้นการที่โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยให้จำเลยโอนที่ดินในวันที่ 19 กันยายน 2534 เป็นการกำหนดระยะเวลาให้จำเลยชำระหนี้ภายในเวลาพอสมควรแล้ว จำเลยไม่ชำระหนี้จึงถือได้ว่าจำเลยผิดสัญญาและต่อมาโจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยแจ้งว่า จำเลยผิดสัญญาขอให้คืนเงินมัดจำ480,000 บาท และชำระเบี้ยปรับ 960,000 บาท ภายในกำหนด 7 วัน หากพ้นกำหนดจะดำเนินคดีต่อไป ซึ่งจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว จึงเป็นกรณีที่ถือว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาต่อจำเลยแล้ว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 387

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7433/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน-ทางเข้าออก จำเลยไม่สามารถจัดหาได้ โจทก์บอกเลิกสัญญาได้
โจทก์กับจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกันเป็นหนังสือแม้โจทก์ได้วางมัดจำด้วยก็ถือว่าการวางมัดจำเป็นเพียงข้อสัญญาข้อหนึ่งเท่านั้นหาใช่ทำสัญญากันด้วยการวางมัดจำไม่เมื่อตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินไม่มีข้อความตอนใดระบุให้จำเลยจะต้องจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทหรือทางเข้าออกแก่โจทก์ ณ สำนักงานที่ดินอำเภอเมืองลพบุรีในวันที่ 1กุมภาพันธ์ 2534 ดังนั้น การที่โจทก์นำสืบถึงข้อความเพิ่มเติมนอกจากที่ระบุไว้ในสัญญา โดยอ้างว่าโจทก์จำเลยตกลงโอนที่ดินกันภายใน 3 เดือน ซึ่งตรงกับวันที่ 1กุมภาพันธ์ 2534 แต่ผู้เขียนสัญญาลืมเขียนข้อความระบุวันนัดโอนนั้น เป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมข้อความในเอกสารสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ดังนั้นแม้ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2534 จำเลยไม่ไปสำนักงานที่ดินเพื่อจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทพร้อมทางเข้าออกให้โจทก์ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญา ก่อนที่โจทก์จะบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยสองครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2534 เร่งรัดให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาและ ขอคำยืนยันจากจำเลยภายในวันที่ 29 มีนาคม 2534 ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้มีหนังสือชี้แจงให้โจทก์ทราบว่าสามารถโอนที่ดินตามสัญญาให้โจทก์ได้หรือไม่ ครั้งที่สองเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2534 โจทก์ขอให้จำเลยโอนที่ดินในวันที่ 19 กันยายน 2534 เวลา 13.30 นาฬิกา จำเลยได้รับหนังสือ ของโจทก์แล้ว แม้ว่าหนังสือของโจทก์ครั้งที่สองแจ้งให้จำเลย โอนที่ดินในระยะกระชั้นชิด แต่หนังสือของโจทก์ครั้งแรก ที่เร่งรัดให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาจนถึงวันที่โจทก์บอกกล่าวในครั้งที่สองเป็นเวลาห่างกันถึง 6 เดือน จำเลยกลับเพิกเฉยไม่ได้ดำเนินการอย่างใดเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินสำหรับเป็นทางเข้าออกจากที่ดินพิพาทเชื่อมถนนสาธารณะ ซึ่งได้ความว่าเจ้าของที่ดินได้ขอรับวัดแบ่งแยกที่ดินแล้วเสร็จ และเจ้าของที่ดินข้างเคียงได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ใช้ทำเป็นทางเข้าออกเมื่อวันที่15 ตุลาคม 2534 การที่จำเลยกลับมีหนังสือถึงโจทก์ลงวันที่ 26 กันยายน 2534 อ้างว่า จำเลยพร้อมที่จะโอนที่ดินตามสัญญาให้โจทก์ และให้โจทก์ชำระราคาที่ดินที่เหลือณ สำนักงานที่ดินในวันที่ 11 ตุลาคม 2534 เวลา 10 นาฬิกานั้นปรากฏว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รังวัดแบ่งแยกที่ดินเสร็จและออกหนังสือ น.ส.3 เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2534ถ้าหากโจทก์ไปสำนักงานที่ดินอำเภอเมืองลพบุรีในวันที่ 11 ตุลาคม 2534 ตามที่จำเลยนัดหมาย โจทก์ก็ไม่สามารถ รับโอนที่ดินตามสัญญาจากจำเลยได้ และการที่จำเลยไม่สามารถจัดซื้อที่ดินสำหรับเป็นทางเข้าออกตามสัญญาได้ แต่จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ลงวันที่ 26 กันยายน 2534 นัดโอนที่ดินกันจึงเป็นการประวิงการปฏิบัติตามสัญญาโดยไม่ได้คำนึงว่าจำเลยไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทพร้อมทางเข้าออกให้โจทก์ตามสัญญาได้ จำเลยย่อมเป็นฝ่ายผิดสัญญาอยู่นั่นเองดังนั้นการที่โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยให้จำเลยโอนที่ดินในวันที่ 19 กันยายน 2534 เป็นการกำหนดระยะเวลาให้จำเลยชำระหนี้ภายในเวลาพอสมควรแล้ว จำเลยไม่ชำระหนี้จึงถือได้ว่าจำเลยผิดสัญญาและต่อมาโจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยแจ้งว่าจำเลยผิดสัญญาขอให้คืนเงินมัดจำ 480,000 บาท และชำระเบี้ยปรับ 960,000 บาท ภายในกำหนด 7 วัน หากพ้นกำหนดจะดำเนินคดีต่อไป ซึ่งจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วจึงเป็นกรณีที่ถือว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาต่อจำเลยแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7314/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีขยายเมื่อศาลสั่งไม่รับฟ้องเนื่องจากคดีไม่อยู่ในอำนาจ
ศาลจังหวัดราชบุรีมีคำสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้คดีจึงอยู่ในระหว่างพิจารณา เมื่อต่อมาศาลจังหวัดราชบุรีเห็นวาคดีไม่อยู่ในอำนาจได้สั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบเกี่ยวกับคำฟ้องใหม่ว่าไม่รับคำฟ้องกรณีเช่นนี้ถือได้ว่ามีการพิจารณาคดีแล้ว หาใช่เป็นการตรวจคำฟ้องแล้วมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาไม่และคำสั่งดังกล่าวมีความหมายเป็นอย่างเดียวกันกับคำว่าศาลยกคดีเสียเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 176 เดิม นั่นเองฉะนั้น เมื่อกำหนดอายุความในคดีของโจทก์สิ้นไปแล้วก่อนที่ศาลจังหวัดราชบุรีจะสั่งเพิกถอนคำสั่งรับคำฟ้องเป็นคำสั่งไม่รับคำฟ้องเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลอายุความฟ้องคดีของโจทก์จึงขยายออกไปถึงหกเดือนนับแต่ศาลจังหวัดราชบุรีมีคำสั่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7242/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินจากการขายทอดตลาด: สิทธิในการโอน และข้อจำกัดในการฟ้องเพิกถอนนิติกรรม
เมื่อจำเลยที่ 1 ซื้อที่พิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลแล้ว ต่อมาจำเลยที่ 1 ไม่ได้ขายที่พิพาทให้โจทก์ ตามที่โจทก์อ้างว่าผู้แทนของจำเลยที่ 1 รับรองว่าจะขายให้โจทก์ในภายหลัง แต่ได้ขายให้จำเลยที่ 2และที่ 3 กรณีหาใช่ตัวแทนของจำเลยที่ 1 ใช้อุบายหลอกลวงให้โจทก์หลงเชื่อเข้าแสดงเจตนาทำนิติกรรมกับจำเลยที่ 1 ไม่ เพราะไม่มีนิติกรรมใดที่ตัวแทนของจำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้หลอกลวงโจทก์ให้แสดงเจตนาอันได้มาเพราะกลฉ้อฉลที่จะทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆียะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 121 เดิม และมาตรา 124 (เดิม)
ที่โจทก์อ้างว่าโจทก์ไม่ได้เข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาดที่พิพาท ทำให้จำเลยที่ 1 ซื้อที่พิพาทในราคาต่ำกว่าราคาเป็นจริงหลายเท่าตัวนั้นหากโจทก์เห็นว่า การขายทอดตลาดที่พิพาทของเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ชอบโจทก์ต้องไปว่ากล่าวในคดีก่อนเมื่อจำเลยที่ 1 ได้ซื้อที่พิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยชอบ จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิโอนขายที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2และที่ 3 ต่อไปได้ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมในคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7242/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินจากการขายทอดตลาด: สิทธิในการโอนขาย และการไม่มีผลของการหลอกลวงตามคำรับรอง
เมื่อจำเลยที่1ซื้อที่พิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลแล้วต่อมาจำเลยที่1ไม่ได้ขายที่พิพาทให้โจทก์ตามที่โจทก์อ้างว่าผู้แทนของจำเลยที่1รับรองว่าจะขายให้โจทก์ในภายหลังแต่ได้ขายให้จำเลยที่2และที่3กรณีหาใช่ตัวแทนของจำเลยที่1ใช้อุบายหลอกลวงให้โจทก์หลงเชื่อเข้าแสดงเจตนาทำนิติกรรมกับจำเลยที่1ไม่เพราะไม่มีนิติกรรมใดที่ตัวแทนของจำเลยที่1ร่วมกับจำเลยที่2และที่3ได้หลอกลวงโจทก์ให้แสดงเจตนาอันได้มาเพราะกลฉ้อฉลที่จะทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา121เดิมและมาตรา124(เดิม) ที่โจทก์อ้างว่าโจทก์ไม่ได้เข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาดที่พิพาททำให้จำเลยที่1ซื้อที่พิพาทในราคาต่ำกว่าราคาเป็นจริงหลายเท่าตัวนั้นหากโจทก์เห็นว่าการขายทอดตลาดที่พิพาทของเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ชอบโจทก์ต้องไปว่ากล่าวในคดีก่อนเมื่อจำเลยที่1ได้ซื้อที่พิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยชอบจำเลยที่1ย่อมมีสิทธิโอนขายที่พิพาทให้แก่จำเลยที่2และที่3ต่อไปได้โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมในคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7037/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ชื่อบุคคลต่อท้ายเครื่องหมายการค้าที่ไม่ทำให้สาธารณชนสับสน ไม่ถือเป็นการละเมิดสิทธิ
จำเลยเอาคำว่า"เซพตี้แก๊ส" ชื่อของโจทก์ซึ่งมีความหมายธรรมดาถึงความปลอดภัยของการใช้แก๊สมาต่อท้ายเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่กรมทะเบียนการค้าได้จดทะเบียนไว้แล้วมาใช้กับสินค้าหัวปรับแรงดันแก๊สที่จำเลยเป็นผู้ผลิตซึ่งสาธารณชนย่อมเข้าใจได้ว่าหัวปรับแรงดันแก๊สภายใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นของจำเลยมิใช่ของโจทก์กรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายคุ้มครองโจทก์ที่จะเรียกให้จำเลยระงับหรือสั่งห้ามมิให้ใช้ชื่อโจทก์ได้เพราะชื่อของบุคคลกับเครื่องหมายการค้าเป็นคนละเรื่องกันจำเลยมิได้ทำผิดกฎหมายอันเป็นการล่วงสิทธิของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7037/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ชื่อบุคคลต่อท้ายเครื่องหมายการค้า ไม่ถือเป็นการล่วงสิทธิหากไม่ทำให้สับสน
จำเลยเอาคำว่า "เซฟตี้แก๊ส" ชื่อของโจทก์ซึ่งมีความหมายธรรมดาถึงความปลอดภัยของการใช้แก๊สมาต่อท้ายเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่กรมทะเบียนการค้าได้รับจดทะเบียนไว้แล้วมาใช้กับสินค้าหัวปรับแรงดันแก๊สที่จำเลยเป็นผู้ผลิต ซึ่งสาธารณชนย่อมเข้าใจได้ว่าหัวปรับแรงดันแก๊สภายใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นของจำเลย มิใช่ของโจทก์ กรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายคุ้มครองโจทก์ที่จะเรียกให้จำเลยระงับหรือสั่งห้ามมิให้ใช้ชื่อโจทก์ได้ เพราะชื่อของบุคคลกับเครื่องหมายการค้าเป็นคนละเรื่องกัน จำเลยมิได้ทำผิดกฎหมายอันเป็นการล่วงสิทธิของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6988/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผ่อนผันค่าชดใช้สัญญาการศึกษาและการกลับเข้ารับราชการ: หลักเกณฑ์การตีความ 'ส่วนราชการเดิม'
มติคณะรัฐมนตรี ข้อ 1.4 ที่ผ่อนผันให้ผู้ผิดสัญญาไม่ต้องชดใช้เงินฐานผิดสัญญาซึ่งระบุว่า ผู้ผิดสัญญาตามข้อ 1.1 พ้นจากการเป็นข้าราชการการเมืองแต่ยังไม่พ้นระยะเวลาที่ผู้นั้นจะต้องรับราชการชดใช้ทุนตามสัญญาแล้ว ส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดเดิมรับกลับเข้ารับราชการภายใน 6 เดือน นับจากวันพ้นจากสมาชิกภาพดังกล่าวนั้น เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาเรื่องผิดสัญญาเกี่ยวกับการศึกษาหรือฝึกอบรม ณ ต่างประเทศ และการศึกษาภายในประเทศ หลักเกณฑ์นี้ใช้สำหรับผู้ผิดสัญญาการศึกษาวิชาหรือฝึกอบรม ณ ต่างประเทศ และการศึกษาภายในประเทศ คำว่าส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดเดิมรับกลับเข้ารับราชการภายใน6 เดือน นับจากวันพ้นจากสมาชิกภาพดังกล่าวตามข้อ 1.4 จึงหมายถึงส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดที่เป็นคู่สัญญาหรือที่ผู้ผิดสัญญารับราชการอยู่เดิม คือ มหาวิทยาลัยโจทก์ หาใช่หมายถึงส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดที่ผู้ผิดสัญญาไปรับราชการในภายหลังไม่ เพราะส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดที่ผู้ผิดสัญญาไปรับราชการภายหลังมิใช่ส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดที่ผู้ผิดสัญญาต้องรับราชการชดใช้ทุนตามสัญญาเมื่อจำเลยที่ 1 มิได้กลับเข้ารับราชการที่มหาวิทยาลัยโจทก์ภายใน 6 เดือนนับจากวันพ้นสมาชิกภาพการเป็นข้าราชการการเมืองครั้งที่สอง จำเลยที่ 1จึงไม่ได้รับการผ่อนผันให้ชดใช้เงินฐานผิดสัญญาตามมติคณะรัฐมนตรีข้อ 1.4การที่จำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการการเมืองครั้งที่สามตั้งแต่วันที่11 กุมภาพันธ์ 2530 จึงมิใช่กรณีที่ส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดเดิมรับกลับเข้ารับราชการภายใน 6 เดือน นับจากวันพ้นจากสมาชิกภาพดังกล่าว
ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ถ้าคำว่าส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดเดิมคือมหาวิทยาลัยโจทก์แล้ว การที่จำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการการเมืองครั้งที่สองเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2526 ก็จะขัดกับมติคณะรัฐมนตรีข้อ 1.4 นั้น ช่วงเวลาระหว่างวันที่ 6 มิถุนายน 2526 ถึงวันที่ 13 สิงหาคม 2529นั้นโจทก์ให้นับเป็นเวลารับราชการชดใช้ทุนตามมติคณะรัฐมนตรี ข้อ 1 วรรคท้ายแล้วอีกทั้งศาลล่างทั้งสองก็มิได้พิพากษาว่าช่วงระหว่างวันดังกล่าวไม่ให้นับเป็นเวลารับราชการชดใช้ทุน กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าการที่จำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการการเมืองครั้งที่สองเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2526 จะขัดกับมติคณะรัฐมนตรีข้อ 1.4 หรือไม่
คดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาตามฟ้องแย้งไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาต้องรับผิดชดใช้ทุนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมทั้งค่าปรับตามสัญญา โจทก์มีสิทธิหักบำเหน็จของจำเลยที่ 1 และไม่มีบำเหน็จของจำเลยที่ 1เหลืออยู่อีก จำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้ง จำเลยที่ 1 ฎีกาโต้แย้งว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้ผิดสัญญา ขอให้บังคับโจทก์ชดใช้เงินตามฟ้องแย้ง จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6988/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดสัญญาชดใช้ทุนการศึกษาและการพิจารณาการรับราชการชดใช้ทุนหลังพ้นจากสมาชิกภาพข้าราชการ
มติคณะรัฐมนตรีข้อ1.4ที่ผ่อนผันให้ผู้ผิดสัญญาไม่ต้องชดใช้เงินฐานผิดสัญญาซึ่งระบุว่าผู้ผิดสัญญาตามข้อ1.1พ้นจากการเป็นข้าราชการการเมืองแต่ยังไม่พ้นระยะเวลาที่ผู้นั้นจะต้องรับราชการชดใช้ทุนตามสัญญาแล้วส่วนราชการหรือกรมเข้าท่าสังกัดเดิมรับกลับเข้ารับราชการภายใน6เดือนนับจากวันพ้นจากสมาชิกภาพดังกล่าวนั้นเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาเรื่องผิดสัญญาเกี่ยวกับการศึกษาหรือฝึกอบรมณต่างประเทศและการศึกษาภายในประเทศหลักเกณฑ์นี้ใช้สำหรับผู้ผิดสัญญาการศึกษาวิชาหรือฝึกอบรมณต่างประเทศและการศึกษาภายในประเทศคำว่าส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดเดิมรับกลับเข้ารับราชการภายใน6เดือนนับจากวันพ้นจากสมาชิกภาพดังกล่าวตามข้อ1.4จึงหมายถึงส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดที่เป็นคู่สัญญาหรือที่ผู้ผิดสัญญารับราชการอยู่เดิมคือมหาวิทยาลัยโจทก์หาใช่หมายถึงส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดที่ผู้ผิดสัญญาไปรับราชการในภายหลังไม่เพราะส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดที่ผู้ผิดสัญญาไปรับราชการภายหลังมิใช่ส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดที่ผู้ผิดสัญญาต้องรับราชการชดใช้ทุนตามสัญญาเมื่อจำเลยที่1มิได้กลับเข้ารับราชการที่มหาวิทยาลัยโจทก์ภายใน6เดือนนับจากวันพ้นสมาชิกภาพการเป็นข้าราชการการเมืองครั้งที่สองจำเลยที่1จึงไม่ได้รับการผ่อนผันให้ชดใช้เงินฐานผิดสัญญาตามมติคณะรัฐมนตรีข้อ1.4การที่จำเลยที่1ได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการการเมืองครั้งที่สามตั้งแต่วันที่11กุมภาพันธ์2530จึงมิใช่กรณีที่ส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดเดิมรับกลับเข้ารับราชการภายใน6เดือนนับจากวันพ้นจากสมาชิกภาพดังกล่าว ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าถ้าคำว่าส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดเดิมคือมหาวิทยาลัยโจทก์แล้วการที่จำเลยที่1ได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการเมืองครั้งที่สองเมื่อวันที่6มิถุนายน2526ก็จะขัดกับมติคณะรัฐมนตรีข้อ1.4นั้นช่วงเวลาระหว่างวันที่6มิถุนายน2526ถึงวันที่13สิงหาคม2529นั้นโจทก์ให้นับเป็นเวลารับราชการชดใช้ทุนตามมติคณะรัฐมนตรีข้อ1วรรคท้ายแล้วอีกทั้งศาลล่างทั้งสองก็มิได้พิพากษาว่าช่วงระหว่างวันดังกล่าวไม่ให้นับเป็นเวลารับราชการชดใช้ทุนกรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าการที่จำเลยที่1ได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการการเมืองครั้งที่สองเมื่อวันที่6มิถุนายน2526จะขัดกับมติคณะรัฐมนตรีข้อ1.4หรือไม่ คดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาตามฟ้องแย้งไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยที่1ผิดสัญญาต้องรับผิดชดใช้ทุนและค่าใช้จ่ายต่างๆรวมทั้งค่าปรับตามสัญญาโจทก์มีสิทธิหักบำเหน็จของจำเลยที่1และไม่มีบำเหน็จของจำเลยที่1เหลืออยู่อีกจำเลยที่1จึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งจำเลยที่1ฎีกาโต้แย้งว่าจำเลยที่1ไม่ได้ผิดสัญญาขอให้บังคับโจทก์ชดใช้เงินตามฟ้องแย้งจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 47