พบผลลัพธ์ทั้งหมด 461 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3318/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยต้องพิสูจน์ความผิดซ้ำของลูกจ้างหลังการเตือน หากพิสูจน์ไม่ได้ ศาลแรงงานพิพากษาให้จ่ายค่าชดเชยและค่าสินจ้าง
จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ได้ฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลยคำสั่งของจำเลยเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายจำเลยมีสิทธิที่จะบอกเลิกการจ้างต่อโจทก์ได้ซึ่งจำเลยก็ได้บอกกล่าวต่อโจทก์เป็นหนังสือแล้วจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในเงินค่าชดเชยและค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าต่อโจทก์นั้นคดีนี้ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าคำสั่งเลิกจ้างไม่ได้ระบุว่าโจทก์กระทำผิดซ้ำคำเตือนเรื่องใดและจำเลยไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าหลังจากมีหนังสือเตือนแล้วโจทก์ยังได้กระทำผิดซ้ำในเรื่องที่มีหนังสือเตือนอีกข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยซึ่งได้เตือนเป็นหนังสือแล้วและฟังไม่ได้ว่าโจทก์จงใจขัดคำสั่งของจำเลยอันชอบด้วยกฎหมายหรือละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งเช่นว่านั้นเป็นอาจิณดังนี้เมื่ออุทธรณ์ของจำเลยคงกล่าวอ้างเพียงว่าโจทก์ได้ฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยโดยไม่ได้คัดค้านว่าคำวินิจฉัยของศาลแรงงานที่ว่าโจทก์ไม่ได้กระทำผิดซ้ำในเรื่องที่มีหนังสือเตือนแล้วและโจทก์ไม่ได้จงใจขัดคำสั่งของจำเลยหรือละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งเช่นว่านั้นเป็นอาจิณเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้องอันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้โจทก์อย่างไรหรือไม่อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้งเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3309/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดินที่มีข้อจำกัดสิทธิ การไม่มีเจตนาฝ่าฝืนกฎหมาย
ขณะที่โจทก์และนาง ค. ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทนั้นนาง ค. มีเพียงสิทธิครอบครองและกำลังดำเนินการขอออกโฉนด โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์และนาง ค. ได้ทราบหรือคาดคิดว่าเมื่อออกโฉนดแล้วจะมีการห้ามโอนที่ดินพิพาท ครั้นเมื่อออกโฉนดที่ดินแล้วมีข้อกำหนดห้ามโอน 10 ปี จะถือว่ามีเจตนาฝ่าฝืนกฎหมายห้ามโอนหาได้ไม่ ทั้งโจทก์มิได้ฟ้องให้โอนที่ดินพิพาท สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทจึงไม่ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3248/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์และฎีกาในคดีอาญาที่มีอัตราโทษจำกัดตามกฎหมาย
เฉพาะข้อหาความผิดตาม ป.อ.มาตรา 371 ที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษนั้น อัตราโทษอย่างสูงที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 193 ทวิ การที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งหมดรวมถึงอุทธรณ์ดุลพินิจในการกำหนดโทษซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงสำหรับข้อหาความผิดตามมาตรา 371 ด้วย โดยมิได้รับอนุญาตจากผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรืออัยการสูงสุดลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ว่ามีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยตามที่ ป.วิ.อ.มาตรา193 ตรี บัญญัติไว้ จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงในข้อหาความผิดดังกล่าว ความผิดในข้อหาดังกล่าวย่อมยุติเพียงศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 หาได้ไม่ เพราะมิใช่กรณีฎีกาของจำเลยต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 218, 219 และ 220 การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยมาทั้งหมดจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3205/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน - ผู้ผิดนัด - วันหยุดราชการ - การจดทะเบียน
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินโดยตกลงไปทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกันภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2533 แต่ปรากฏว่า วันที่ 31ธันวาคม 2533 เป็นวันหยุดราชการ ก่อนถึงวันนัดโจทก์มีหนังสือถึงจำเลยขอนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ วันที่ 26 ธันวาคม 2533 โดยจำเลยไม่ได้ตกลงด้วย การที่จำเลยไม่ไปจดทะเบียนโอนสิทธิที่ดินพิพาทให้โจทก์ในวันที่ 26 ธันวาคม 2533 จะถือว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดหาได้ไม่ ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3109/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งคำบังคับคดีไปยังภูมิลำเนาตามทะเบียน และการยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นฎีกา
หนังสือรับรองจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนของจำเลยระบุว่าจำเลยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่เลขที่34/5ซอยสุวิทย์ 2ถนนเพชรเกษม แขวงหนองค้างพูล เขตหนองแขม กรุงเทพมหานครเมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงที่ตั้งสำนักงานของจำเลยหรือแจ้งย้ายที่อยู่ใหม่แต่อย่างใดจึงต้องถือว่าจำเลยมีภูมิลำเนาตามหนังสือรับรองจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนของหมายบังคับคดีให้แก่จำเลยณสถานที่ซึ่งได้จดทะเบียนไว้ตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนดังกล่าวโดยวิธีปิดคำบังคับและปิดหมายบังคับคดีไว้ตามคำสั่งของศาลชั้นต้นแม้สถานที่นั้นจะเป็นบ้านร้างไม่มีคนอยู่ก็ตามก็ถือได้ว่ามีการส่งคำบังคับและหมายบังคับคดีให้แก่จำเลยโดยชอบแล้ว จำเลยฎีกาว่าในการส่งคำบังคับหมายบังคับคดีและประกาศต่างๆให้จำเลยเจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้ประกาศหนังสือพิมพ์แต่อย่างใดจึงเป็นการบังคับคดีโดยมิชอบด้วยกฎหมายเพราะไม่ได้ใช้วิธีการโดยสมควรพอที่จะให้จำเลยทราบได้นั้นจำเลยไม่ได้กล่าวอ้างไว้ในคำร้องจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3109/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งคำบังคับและหมายบังคับคดีไปยังที่อยู่จดทะเบียน แม้เป็นบ้านร้าง ก็ถือว่าชอบแล้ว หากจำเลยไม่แจ้งเปลี่ยนแปลงที่อยู่
หนังสือรับรองจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนของจำเลยระบุว่าจำเลยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่เลขที่34/5ซอยสุวิทย์2ถนนเพชรเกษมแขวงหนองค้างพลูเขตหนองแขม กรุงเทพมหานครเมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงที่ตั้งสำนักงานของจำเลยหรือแจ้งย้ายที่อยู่ใหม่แต่อย่างใดจึงต้องถือว่าจำเลยมีภูมิลำเนาตามหนังสือรับรองจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนของจำเลยดังนั้นการที่เจ้าพนักงานศาลได้ส่งคำบังคับและหมายบังคับคดีให้แก่จำเลยณสถานที่ซึ่งได้จดทะเบียนไว้ตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนดังกล่าวโดยวิธีปิดคำบังคับและปิดหมายบังคับคดีไว้ตามคำสั่งของศาลชั้นต้นแม้สถานที่นั้นจะเป็นบ้านร้างไม่มีคนอยู่ก็ตามก็ถือได้ว่ามีการส่งคำบังคับและหมายบังคับคดีให้แก่จำเลยโดยชอบแล้ว จำเลยฎีกาว่าในการส่งคำบังคับหมายบังคับคดีและประกาศต่างๆให้จำเลยเจ้าหนักงานบังคับคดีมิได้ประกาศหนังสือพิมพ์แต่อย่างใดจึงเป็นการบังคับคดีโดยมิชอบด้วยกฎหมายเพราะไม่ได้ใช้วิธีการโดยสมควรพอที่จะให้จำเลยทราบได้นั้นจำเลยไม่ได้กล่าวอ้างไว้ในคำร้องจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3109/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งคำบังคับคดี ณ ที่ตั้งสำนักงานจดทะเบียน แม้เป็นสถานที่ร้าง ถือเป็นการส่งโดยชอบ หากไม่มีข้อโต้แย้งในชั้นศาล
หนังสือรับรองจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนของจำเลยระบุว่าจำเลยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่เลขที่ 34/5 ซอยสุวิทย์ 2 ถนนเพชรเกษม แขวงหนองค้างพลูเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงที่ตั้งสำนักงานของจำเลยหรือแจ้งย้ายที่อยู่ใหม่แต่อย่างใด จึงต้องถือว่าจำเลยมีภูมิลำเนาตามหนังสือรับรองจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนของจำเลย ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานศาลได้ส่งคำบังคับและหมายบังคับคดีให้แก่จำเลย ณ สถานที่ซึ่งได้จดทะเบียนไว้ตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนดังกล่าว โดยวิธีปิดคำบังคับและปิดหมายบังคับคดีไว้ตามคำสั่งของศาลชั้นต้น แม้สถานที่นั้นจะเป็นบ้านร้างไม่มีคนอยู่ก็ตาม ก็ถือได้ว่ามีการส่งคำบังคับและหมายบังคับคดีให้แก่จำเลยโดยชอบแล้ว
จำเลยฎีกาว่า ในการส่งคำบังคับ หมายบังคับคดีและประกาศต่าง ๆ ให้จำเลย เจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้ประกาศหนังสือพิมพ์แต่อย่างใด จึงเป็นการบังคับคดีโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่ได้ใช้วิธีการโดยสมควรพอที่จะให้จำเลยทราบได้นั้น จำเลยไม่ได้กล่าวอ้างไว้ในคำร้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
จำเลยฎีกาว่า ในการส่งคำบังคับ หมายบังคับคดีและประกาศต่าง ๆ ให้จำเลย เจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้ประกาศหนังสือพิมพ์แต่อย่างใด จึงเป็นการบังคับคดีโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่ได้ใช้วิธีการโดยสมควรพอที่จะให้จำเลยทราบได้นั้น จำเลยไม่ได้กล่าวอ้างไว้ในคำร้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3109/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งคำบังคับคดีตามภูมิลำเนาที่จดทะเบียน แม้เป็นบ้านร้างก็ชอบแล้ว การยกเหตุใหม่ในฎีกาต้องเคยยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น
หนังสือรับรองจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนของจำเลยระบุว่าจำเลยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่เลขที่ 34/5 ซอยสุวิทย์ 2ถนนเพชรเกษมแขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม กรุงเทพมหานครเมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงที่ตั้งสำนักงานของจำเลยหรือแจ้งย้ายที่อยู่ใหม่แต่อย่างใดจึงต้องถือว่าจำเลยมีภูมิลำเนาตามหนังสือรับรองจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนของจำเลย ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานศาลได้ส่งคำบังคับและหมายบังคับคดีให้แก่จำเลย ณ สถานที่ซึ่งได้จดทะเบียนไว้ตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนดังกล่าวโดยวิธีปิดคำบังคับและปิดหมายบังคับคดีไว้ตามคำสั่งของศาลชั้นต้น แม้สถานที่นั้นจะเป็นบ้านร้างไม่มีคนอยู่ก็ตาม ก็ถือได้ว่ามีการส่งคำบังคับและหมายบังคับคดีให้แก่จำเลยโดยชอบแล้ว จำเลยฎีกาว่า ในการส่งคำบังคับ หมายบังคับคดีและประกาศต่าง ๆ ให้จำเลย เจ้าหนักงานบังคับคดีมิได้ประกาศหนังสือพิมพ์แต่อย่างใด จึงเป็นการบังคับคดีโดยมิชอบด้วยกฎหมายเพราะไม่ได้ใช้วิธีการโดยสมควรพอที่จะให้จำเลยทราบได้นั้นจำเลยไม่ได้กล่าวอ้างไว้ในคำร้องจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3026/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าชดเชยพนักงานรัฐวิสาหกิจ: การตีความสถานะ 'พนักงาน' และข้อยกเว้นสำหรับฝ่ายบริหาร
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ไม่ใช้บังคับ ซึ่งประกาศ ณ วันที่12 กันยายน 2534 ข้อ 2 ระบุว่า ให้รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เป็นกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวไม่ใช้บังคับทำให้ตำแหน่งงานของโจทก์ไม่อยู่ภายใต้บังคับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 อีกต่อไป ประกอบกับระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ที่ออกตามความในมาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 ได้ระบุในข้อ 45 และข้อ 47 มีความหมายว่าเงินค่าชดเชยที่รัฐวิสาหกิจใดจะพึงจ่ายให้นั้นได้กำหนดเจาะจงจ่ายให้เฉพาะแก่พนักงานของรัฐวิสาหกิจนั้นเท่านั้น โดยข้อ 3 ได้ให้คำนิยามคำว่า พนักงานหมายความว่า พนักงานตาม พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 ซึ่งในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.นี้ได้ให้คำนิยามคำว่า พนักงาน หมายความว่า พนักงานและลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ แต่ไม่หมายความรวมถึงฝ่ายบริหาร และคำว่า ฝ่ายบริหารหมายความว่า พนักงานรัฐวิสาหกิจตั้งแต่ระดับหัวหน้ากองหรือเทียบเท่าขึ้นไป โดยให้หมายความรวมถึงผู้อำนวยการด้วย เมื่อขณะที่โจทก์พ้นจากการทำงานให้แก่จำเลยในปี 2537 ขณะ พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 ใช้บังคับเพราะเหตุเกษียณอายุ โจทก์มีตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการ ถือได้ว่าโจทก์มีฐานะเป็นฝ่ายบริหารไม่ใช่พนักงานของจำเลย โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยตามข้อ 45 และข้อ 47แห่งระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ดังกล่าว
การที่โจทก์เรียกร้องสิทธิประโยชน์ในเงินค่าชดเชยโจทก์จะถือสิทธิความเป็นพนักงานตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2518 หาได้ไม่ เพราะบทบัญญัติแห่งกฎหมายฉบับนี้ใช้สำหรับพิจารณาว่าคุณสมบัติขั้นมาตรฐานและลักษณะต้องห้ามของพนักงานรัฐวิสาหกิจมีอย่างไรเท่านั้น
การที่โจทก์เรียกร้องสิทธิประโยชน์ในเงินค่าชดเชยโจทก์จะถือสิทธิความเป็นพนักงานตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2518 หาได้ไม่ เพราะบทบัญญัติแห่งกฎหมายฉบับนี้ใช้สำหรับพิจารณาว่าคุณสมบัติขั้นมาตรฐานและลักษณะต้องห้ามของพนักงานรัฐวิสาหกิจมีอย่างไรเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3026/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าชดเชยพนักงานรัฐวิสาหกิจ: การพ้นตำแหน่ง ผู้อำนวยการ และระยะเวลาทำงานที่ไม่ต่อเนื่อง
โจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการของจำเลยหลังจากพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ.2534ออกใช้บังคับแล้วและต่อมาได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่103ลงวันที่16มีนาคม2515ไม่ใช้บังคับข้อ2ระบุให้รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เป็นกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่103ฯไม่ใช่บังคับดังนั้นตำแหน่งงานของโจทก์จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่16เมษายน2515อีกต่อไปเมื่อโจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการของจำเลยโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯข้อ46 ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่องมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ.2534ข้อ45และข้อ47ระบุให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าชดเชยให้เฉพาะแก่พนักงานของรัฐวิสาหกิจซึ่งเลิกจ้างเท่านั้นและในข้อ3คำว่าพนักงานหมายความว่าพนักงานตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ.2534ซึ่งตามพระราชบัญญัติ พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯมาตรา4คำว่าพนักงานหมายถึงเฉพาะพนักงานและลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจเท่านั้นไม่รวมถึงฝ่ายบริหารซึ่งมีความหมายรวมถึงผู้อำนวยการด้วยขณะที่โจทก์พ้นจากการทำงานโจทก์มีตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการของจำเลยโจทก์จึงมีฐานะเป็นฝ่ายบริหารจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามข้อ45และข้อ47แห่งระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ การที่โจทก์เรียกร้องสิทธิประโยชน์โจทก์จะถือสิทธิความเป็นพนักงานตามมาตรา4แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ.2581หาได้ไม่เพราะบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวใช้สำหรับพิจารณาว่าคุณสมบัติขั้นมาตรฐานและลักษณะต้องห้ามของพนักงานรัฐวิสาหกิจมีอย่างไรเท่านั้น การที่โจทก์เคยเป็นพนักงานของจำเลยต่อมาจำเลยได้มีคำสั่งให้โจทก์ลาออกพ้นจากการเป็นพนักงานแล้วแต่งตั้งให้โจทก์เป็นผู้อำนวยการนับแต่นั้นจนกระทั่งมีคำสั่งให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งเพราะมีอายุครบ60ปีบริบูรณ์ถือได้ว่าระยะเวลาทำงานของโจทก์สองช่วงดังกล่าวได้ขาดตอนจากกันแล้วไม่อาจนับติดต่อกันเพื่อให้โจทก์มีสถานะเป็นพนักงานของจำเลยได้โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามระเบียบเกี่ยวกับมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจฯและถือไม่ได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยโจทก์มิได้ให้ความยินยอมเพราะสิทธิประโยชน์ของโจทก์นี้จะได้รับหรือไม่เพียงใดย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจนั้นเมื่อพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯออกใช้บังคับในขณะที่โจทก์ออกจากงานของจำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจกรณีจึงมิใช่เป็นกฎหมายย้อนหลังตัดสิทธิประโยชน์ของโจทก์