พบผลลัพธ์ทั้งหมด 461 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2616/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งไม่ชัดเจน, เลิกจ้างโดยชอบธรรมตามสัญญา, เหตุเลิกจ้างต้องระบุในหนังสือเลิกจ้าง
ฟ้องแย้งของจำเลยบรรยายเพียงว่า ผู้ที่สั่งจองห้องพักของจำเลยไว้ ได้ยกเลิกการจองห้องพักในภายหลังเพราะไม่พอใจการกระทำของโจทก์ ค่าห้องพักที่ถูกยกเลิกการสั่งจองคิดเป็นเงินจำนวน 10,936,655.50 บาทโดยไม่มีรายละเอียดเพียงพอที่จะให้เข้าใจได้ว่า ผู้จองห้องพักและได้ยกเลิกการสั่งจองในภายหลังนั้น ได้จองห้องพักเมื่อใด จองห้องพักจำนวนมากน้อยและมีกำหนดระยะเวลาที่จองนานเท่าใด กับได้ยกเลิกการสั่งจองห้องพักเมื่อใด เป็นฟ้องแย้งที่ไม่แจ้งชัดซี่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น เป็นฟ้องแย้งที่เคลือบคลุม
ตามสัญญาจ้างกำหนดว่าจำเลยจ้างโจทก์มีกำหนดระยะเวลา3 ปี โดยจำเลยหรือโจทก์ต่างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างก่อนครบกำหนดระยะเวลา3 ปีดังกล่าวได้ การที่จำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์ก่อนครบกำหนดระยะเวลา 3 ปีเป็นการใช้สิทธิเลิกสัญญาจ้างตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้างดังกล่าว ถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม
จำเลยจะมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายหรือเงินจำนวนใด ๆ ให้โจทก์ดังคำให้การต่อสู้คดีของจำเลยทั้งสองเพียงใดหรือไม่จะต้องพิจารณาถึงเหตุของการเลิกจ้างในขณะที่เลิกจ้างเป็นสำคัญ ซึ่งตามหนังสือเลิกจ้างโจทก์ของจำเลยไม่ได้ระบุเหตุของการเลิกจ้างว่าเพราะโจทก์กระทำผิดตามประเด็นข้อพิพาทข้อ 3 ถึงข้อ 6 การที่จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กระทำผิดตามประเด็นข้อพิพาทข้อ 3 ถึงข้อ 6 จึงเป็นการยกข้อต่อสู้นอกเหนือหนังสือเลิกจ้างซึ่งจำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไม่ได้
ตามสัญญาจ้างกำหนดว่าจำเลยจ้างโจทก์มีกำหนดระยะเวลา3 ปี โดยจำเลยหรือโจทก์ต่างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างก่อนครบกำหนดระยะเวลา3 ปีดังกล่าวได้ การที่จำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์ก่อนครบกำหนดระยะเวลา 3 ปีเป็นการใช้สิทธิเลิกสัญญาจ้างตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้างดังกล่าว ถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม
จำเลยจะมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายหรือเงินจำนวนใด ๆ ให้โจทก์ดังคำให้การต่อสู้คดีของจำเลยทั้งสองเพียงใดหรือไม่จะต้องพิจารณาถึงเหตุของการเลิกจ้างในขณะที่เลิกจ้างเป็นสำคัญ ซึ่งตามหนังสือเลิกจ้างโจทก์ของจำเลยไม่ได้ระบุเหตุของการเลิกจ้างว่าเพราะโจทก์กระทำผิดตามประเด็นข้อพิพาทข้อ 3 ถึงข้อ 6 การที่จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กระทำผิดตามประเด็นข้อพิพาทข้อ 3 ถึงข้อ 6 จึงเป็นการยกข้อต่อสู้นอกเหนือหนังสือเลิกจ้างซึ่งจำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2597/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีส่วนร่วมในการพิจารณาคดีขององค์คณะศาลที่ขัดแย้งตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การที่บ. ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมาแล้วมาเป็นองค์คณะลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อีกเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา11(5)ศาลฎีกาเห็นว่ามีเหตุอันสมควรให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสียแล้วส่งสำนวนคืนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อให้พิพากษาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา247ประกอบด้วยมาตรา243(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2597/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์คณะผู้พิพากษาไม่เป็นไปตามกฎหมาย ความชอบธรรมในการพิจารณาคดี
การที่ บ.ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมาแล้วมาเป็นองค์คณะลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อีก เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 11 (5)ศาลฎีกาเห็นว่ามีเหตุอันสมควรให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสียแล้วส่งสำนวนคืนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อให้พิพากษาใหม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบด้วยมาตรา 243 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2405/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท-ดอกเบี้ยเกินอัตรา: แม้เช็คไม่ได้เป็นโมฆะทั้งหมด แต่ดอกเบี้ยที่เกินกว่ากฎหมายกำหนดเป็นโมฆะ โจทก์มีสิทธิเรียกร้องแต่ต้นเงิน
แม้จำเลยมิได้ให้การว่าเช็คพิพาทมีการรวมดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายทบต้นไว้ด้วยเช็คพิพาทจึงเป็นโมฆะทั้งฉบับ แต่ท้ายคำให้การก็มีคำขอให้ยกฟ้องโจทก์ในส่วนดอกเบี้ยนี้ด้วย ทั้งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์หรือชั้นฎีกาได้และศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาต้องวินิจฉัยให้ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้จึงไม่ชอบและศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยคดีไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ จำเลยออกเช็คพิพาทให้เพื่อชำระหนี้เงินกู้จากโจทก์โดยมีการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อเดือนรวมอยู่ด้วย ดอกเบี้ยทั้งหมดจึงตกเป็นโมฆะ แต่โจทก์ยังมีสิทธิเรียกร้องต้นเงินอันเป็นหนี้ประธานที่สมบูรณ์แยกออกจากดอกเบี้ยซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์ได้ ส่วนเช็คพิพาทเป็นนิติกรรมคนละอันกับนิติกรรมการกู้ยืมเป็นเช็คที่สมบูรณ์มิใช่เช็คพิพาทตกเป็นโมฆะทั้งหมด โจทก์มีสิทธิอาศัยเช็คดังกล่าวฟ้องจำเลยได้ แต่จำเลยคงต้องรับผิดเพียงต้นเงินเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2405/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: ดอกเบี้ยเกินอัตราไม่ทำให้เช็คเป็นโมฆะ, สิทธิเรียกร้องต้นเงินยังคงอยู่
แม้จำเลยมิได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การว่าเช็คพิพาทมีการรวมดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายทบต้นไว้ในเช็คนั้นด้วยจึงเป็นโมฆะทั้งฉบับ ทั้งท้ายคำให้การยังมีคำขอให้ยกฟ้องโจทก์ในส่วนของเงินที่เป็นดอกเบี้ยที่เป็นโมฆะ แต่กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์หรือชั้นฎีกาได้ และศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาต้องวินิจฉัยให้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง และมาตรา 249 วรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้ไม่ชอบ
เช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยออกให้เพื่อชำระหนี้เดิมซึ่งจำเลยกู้ยืมจากโจทก์จำนวน 100,000 บาทโดยมีการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อเดือนรวมอยู่ด้วย ดอกเบี้ยทั้งหมดจึงตกเป็นโมฆะเพราะวัตถุประสงค์ในการเรียกดอกเบี้ยเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 แต่โจทก์ยังมีสิทธิเรียกร้องต้นเงิน เพราะส่วนของนิติกรรมที่เป็นโมฆะคือการคิดดอกเบี้ยอันเป็นหนี้อุปกรณ์ในนิติกรรมกู้ยืมเงินเท่านั้น ส่วนต้นเงินที่กู้ยืมอันเป็นหนี้ประธานยังสมบูรณ์อยู่แยกออกจากกันได้ สำหรับเช็คพิพาทเป็นนิติกรรมคนละอันกับนิติกรรมการกู้ยืม เมื่อจำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้กู้ยืมและโจทก์ยอมรับเอาเช็คนั้นแทนการชำระหนี้โดยใช้เงิน หนี้กู้ยืมจะระงับไปก็ต่อเมื่อเช็คได้ใช้เงินแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 โจทก์จึงมีสิทธิอาศัยเช็คพิพาทเป็นมูลหนี้ฟ้องจำเลยได้ แต่จำเลยคงต้องรับผิดเพียงต้นเงิน เพราะส่วนดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะแล้วจำเลยจะไม่ยอม รับผิดตามเช็คเสียเลยไม่ได้ กรณีไม่ใช่เช็คพิพาทตกเป็นโมฆะทั้งหมด
เช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยออกให้เพื่อชำระหนี้เดิมซึ่งจำเลยกู้ยืมจากโจทก์จำนวน 100,000 บาทโดยมีการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อเดือนรวมอยู่ด้วย ดอกเบี้ยทั้งหมดจึงตกเป็นโมฆะเพราะวัตถุประสงค์ในการเรียกดอกเบี้ยเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 แต่โจทก์ยังมีสิทธิเรียกร้องต้นเงิน เพราะส่วนของนิติกรรมที่เป็นโมฆะคือการคิดดอกเบี้ยอันเป็นหนี้อุปกรณ์ในนิติกรรมกู้ยืมเงินเท่านั้น ส่วนต้นเงินที่กู้ยืมอันเป็นหนี้ประธานยังสมบูรณ์อยู่แยกออกจากกันได้ สำหรับเช็คพิพาทเป็นนิติกรรมคนละอันกับนิติกรรมการกู้ยืม เมื่อจำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้กู้ยืมและโจทก์ยอมรับเอาเช็คนั้นแทนการชำระหนี้โดยใช้เงิน หนี้กู้ยืมจะระงับไปก็ต่อเมื่อเช็คได้ใช้เงินแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 โจทก์จึงมีสิทธิอาศัยเช็คพิพาทเป็นมูลหนี้ฟ้องจำเลยได้ แต่จำเลยคงต้องรับผิดเพียงต้นเงิน เพราะส่วนดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะแล้วจำเลยจะไม่ยอม รับผิดตามเช็คเสียเลยไม่ได้ กรณีไม่ใช่เช็คพิพาทตกเป็นโมฆะทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2302/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลลดค่าปรับในสัญญาประกันตัวผู้ต้องหา: เบี้ยปรับเป็นดุลพินิจศาลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์ฟ้องเรียกค่าปรับจากจำเลยที่ทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาในชั้นสอบสวนแม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ว่าค่าปรับสูงเกินไปเมื่อศาลเห็นว่ามีเหตุสมควรลดค่าปรับก็ย่อมทำได้เพราะค่าปรับตามสัญญาประกันชั้นสอบสวนเป็นเบี้ยปรับจึงเป็นดุลพินิจของศาลที่มีอำนาจจะลดค่าปรับให้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2221/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะสัญชาติของผู้เกิดในไทยจากบิดามารดาต่างด้าวที่เข้ามาโดยไม่ได้รับอนุญาต
แม้โจทก์ทั้งสิบสองจะเป็นผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย แต่บิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าว ทั้งในขณะเกิดนายยุงบิดาซึ่งมิได้มีการสมรสกับนางเวียงมารดาเป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ดังนี้ แม้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 8 และโจทก์ที่ 9 ถึงที่ 12 จะมิได้ถูกถอนสัญชาติไทยและมิได้ถูกจำกัดมิให้ได้รับสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่337 แต่โจทก์ทั้งสิบสองก็เป็นผู้ไม่ได้รับสัญชาติไทย ตามมาตรา 7 ทวิ วรรคหนึ่ง(3) แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 มาตรา 5 และ พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535มาตรา 11 บัญญัติว่า บทบัญญัติมาตรา 7 ทวิ แห่งพ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.นี้ให้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2221/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทยของบุตรผู้เกิดจากบิดามารดาต่างด้าวที่เข้ามาในไทยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้โจทก์ทั้งสิบสองจะเกิดในราชอาณาจักรไทยแต่ก็เป็นบุตรนายย. ซึ่งเป็นคนญวนอพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยมิชอบแล้วได้อยู่กินเป็นสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสกับนาง ว.ซึ่งเกิดที่จังหวัดสกลนครและมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวแม้โจทก์ที่1ถึงที่8และโจทก์ที่9ถึงที่12จะมิได้ถูกถอนสัญชาติไทยและมิได้ถูกจำกัดมิให้ได้รับสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่337แต่โจทก์ทั้งสิบสองก็เป็นผู้ไม่ได้รับสัญชาติไทยตามมาตรา7ทวิวรรคหนึ่ง(3)แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติพ.ศ.2508ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญชาติ(ฉบับที่2)พ.ศ.2535มาตรา5เพราะพระราชบัญญัติสัญชาติ(ฉบับที่2)พ.ศ.2535มาตรา11บัญญัติให้การแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวมีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2167/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยมีผลบังคับใช้เมื่อผู้ทำสัญญามีส่วนได้เสียในทรัพย์สินที่เอาประกันภัย
จำเลยให้การว่าขณะที่ อ. ขอเอาประกันภัยและขณะที่จำเลยได้ออกกรมธรรม์ประกันภัย อ.มิได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียในรถยนต์ที่นำมาประกันภัยแต่มิได้กล่าวว่า อ. มิใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียอย่างไรเท่ากับไม่มีเหตุแห่งการปฏิเสธไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสองจึงไม่มีสิทธินำสืบตามคำให้การ อ. เป็นผู้วางเงินมัดจำและครอบครองรถยนต์พิพาทในฐานะผู้ซื้อจากบุคคลภายนอกจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียนับตั้งแต่วางมัดจำและเข้าครอบครองรถยนต์พิพาทสัญญาประกันภัยย่อมมีผลใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาซื้อขายตามเนื้อที่จริงหลังรังวัด: สัญญาจะซื้อขายต้องเป็นไปตามเนื้อที่ที่กรมที่ดินรังวัด ไม่ใช่เนื้อที่ตามเอกสารเดิม
เดิมโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งมีเนื้อที่4ไร่1งาน69ตารางวาในราคาตารางวาละ3,100บาทต่อมาโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินดังกล่าวใหม่โดยระบุว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายตกลงจะซื้อขายกันในราคาตารางวาละ3,100บาทเหมือนเดิมตามจำนวนเนื้อที่ที่ระบุในเอกสารของกรมที่ดินต่อมาจำเลยจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามจำเลยเนื้อที่ที่เจ้าพนักงานรังวัดใหม่คือ4ไร่2งาน424/10ตารางวาแต่โจทก์จะยอมรับซื้อและชำระราคาที่ดินเฉพาะจำเลยเนื้อที่4ไร่67ตารางวาเท่านั้นดังนั้นเมื่อปรากฎว่าโจทก์และจำเลยเคยตกลงเลื่อนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินออกไปเพราะเจ้าพนักงานที่ดินยังทำการรังวัดไม่แล้วเสร็จย่อมแสดงให้เห็นว่าคู่กรณีมีเจตนาที่จะซื้อขายที่ดินพิพาทกันตามจำนวนเนื้อที่ที่ระบุในเอกสารของกรมที่ดินในวันที่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์และชำระราคากล่าวคือเมื่อเจ้าพนักงานที่ดินรังวัดที่ดินพิพาทได้จำนวนเนื้อที่ที่แน่นอนแล้วมิใช่ให้คิดตามจำนวนเนื้อที่ที่ระบุไว้ในเอกสารของกรมที่ดินในวันที่ทำหน้งสือสัญญาจะซื้อขายดังนั้นการที่จำเลยไม่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามจำนวนเนื้อที่ที่โจทก์ประสงค์จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการผิดสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวอย่างไรก็ตามที่โจทก์จำเลยไปสำนักงานที่ดินเพื่อทำการโอนที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื่อขายแต่มีปัญหาเกี่ยวกับการตีความในสัญญาซึ่งไม่อาจตกลงกันได้และทั้งสองฝ่ายต้องการให้ศาลเป็นผู้ตัดสินแสดงว่าโจทก์ปฏิเสธที่จะรับโอนที่ดินเฉพาะส่วนที่โจทก์เข้าใจว่าไม่ถูกต้องตามสัญญาจะซื้อขายเท่านั้นเห็นได้ว่ากรณีเป็นเรื่องที่โต้แย้งกันเกี่ยวกับการตีความในข้อตกลงตามสัญญายังถือไม่ได้ว่าโจทก์มีเจตนาไม่ปฏิบัติตามสัญญาจำเลยจะอ้างข้อโต้แย้งดังกล่าวมาบอกเลิกสัญญาและริบเงินมัดจำหาได้ไม่