พบผลลัพธ์ทั้งหมด 461 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4871/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญาก่อสร้าง: การชำระเงินไม่ตรงตามกำหนด, ยอมรับชำระช้า, และเจตนาเลิกสัญญาโดยความตกลง
โจทก์มิได้ชำระเงินค่างวดตามระยะเวลาที่กำหนดไว้แม้โจทก์ชำระค่างวดล่วงเลยเวลาที่กำหนดจำเลยก็ยอมรับเงินนั้นตลอดมาไม่ได้มีการทักท้วงหรือให้จ่ายเบี้ยปรับตามสัญญาแต่อย่างใดแสดงว่าคู่สัญญามิได้มีเจตนาถือเอากำหนดเวลาการชำระค่างวดเป็นสาระสำคัญดังนั้นแม้โจทก์จะผิดสัญญาในข้อนี้จำเลยก็จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญายังมิได้แต่จะต้องบอกกล่าวกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา387เสียก่อนการที่จำเลยได้บอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ตามหนังสือแจ้งริบเงินมัดจำและบอกเลิกสัญญานั้นเป็นการแสดงเจตนาเลิกสัญญาแก่โจทก์เมื่อโจทก์มีหนังสือแจ้งจำเลยเพื่อขอให้ยืนยันว่าจะปฏิบัติตามสัญญาหรือจะเลิกสัญญาแก่โจทก์หากจำเลยไม่ตอบแจ้งมาภายใน10วันจะถือว่าจำเลยประสงค์เลิกสัญญาและจำเลยไม่ตอบไปให้โจทก์ทราบแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาจะเลิกสัญญาอยู่การที่โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยวาเมื่อจำเลยไม่ประสงค์ที่จะปฏิบัติตามสัญญาต่อไปจำเลยจึงต้องคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยรวมทั้งค่าเสียหายตามหนังสือชดใช้ค่าเสียหายคืนสู่สภาพเดิมเอกสารหมายจ.9นั้นถือได้ว่าโจทก์แสดงเจตนาสนองตอบตกลงเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้วสัญญาว่าจ้างงานสถาปัตยกรรมห้องชุดและควบคุมงานและสัญญาจะซื้อขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดอาคารชุดระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นอันเลิกกันโดยความตกลงของคู่สัญญาผลของการเลิกสัญญาโดยความตกลงของคู่สัญญาเช่นนี้เมื่อไม่ปรากฏว่าคู่สัญญาได้มีการตกลงกันไว้ประการใดก็ต้องให้คู่สัญญาได้กลับคืนสู่ฐานะเดิมโดยอนุโลมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391โดยที่คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมจำเลยจึงต้องคืนเงินที่ได้รับไว้พร้อมด้วยดอกเบี้ยคิดตั้งแต่เวลาที่ได้รับไว้ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ15ต่อปีตามสัญญาจะซื้อขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดอาคารชุดนั้นใช้บังคับสำหรับกรณีที่มีการผิดสัญญาและคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งใช้สิทธิเลิกสัญญาแต่การเลิกสัญญาโดยความตกลงของคู่สัญญาโดยไม่ได้มีการผิดสัญญาและคู่สัญญามิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยประการใดเงินที่ได้ชำระกันตามสัญญาผู้รับเงินจึงต้องคืนเงินนั้นพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5ต่อปีนับแต่เวลาที่ได้รับไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4827/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจดทะเบียนที่ดินและการต่อสู้สิทธิครอบครอง เกิน 1 ปี ศาลฎีกาพิพากษาให้ส่งสำนวนคืนเพื่อพิพากษาใหม่
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนและนิติกรรมแบ่งขาย โอนขายที่ดินระหว่างโจทก์ผู้ขายกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ผู้ซื้อเป็นการฟ้องเรียกคืนที่ดินให้กลับคืนมาเป็นของโจทก์เป็นคดีมีทุนทรัพย์ แม้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จะขาดนัดยื่นคำให้การ แต่จำเลยที่ 5 ให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์ก็ต้องถือว่าเป็นคดีมีทุนทรัพย์ทั้งคดี เมื่อที่ดินมีราคา50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 จำเลยที่ 5 ให้การแต่เพียงว่า จำเลยที่ 5 แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทมาเกิน 1 ปีแล้ว ฟ้องโจทก์ขาดอายุความการที่ศาลชั้นต้นหยิบยกบันทึกข้อตกลงที่ทำขึ้นภายหลังแล้ววินิจฉัยว่า โจทก์สละสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 5 และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น และมิใช่ข้อที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนอันศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนอกประเด็นถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์และเป็นข้อกฎหมายซึ่งเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4734/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีอาญา, สิทธิเรียกร้องทางแพ่ง, การไม่เป็นการดำเนินกระบวนการซ้ำ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 บัญญัติให้อำนาจพนักงานอัยการที่จะเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายเท่านั้น ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์จากสัญญาเช่าซื้อที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องมาในคดีนี้ไม่ใช่ทรัพย์สินหรือราคาที่ผู้เสียหายสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิด พนักงานอัยการจึงฟ้องเรียกค่าเสียหายดังกล่าวในคดีเดิมแทนผู้เสียหายไม่ได้ โจทก์ในคดีนี้ซึ่งคือผู้เสียหายในคดีก่อนมิได้เข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญาเรื่องก่อนนั้นด้วย และการกระทำของจำเลยผู้เช่าซื้อซึ่งทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้ออาจเป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ที่จะใช้สิทธิเรียกร้องได้ทั้งสองทางคือในมูลละเมิดและในมูลหนี้แห่งสัญญาเช่าซื้อเมื่อในคดีอาญาเรื่องก่อนศาลมิได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์ของโจทก์ กรณีจึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
การที่ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วเห็นว่าโจทก์ไม่สามารถนำประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยไว้แล้วในคดีอาญาเรื่องก่อนมาฟ้องร้องบังคับจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 50, 249 มีคำสั่งให้ยกฟ้องค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ ดังนี้เป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีตามประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131 (2) มีผลเป็นการพิพากษาแล้ว มิใช่เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นไม่รับคำคู่ความตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 จึงไม่มีเหตุที่จะคืนค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้นให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151
การที่ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วเห็นว่าโจทก์ไม่สามารถนำประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยไว้แล้วในคดีอาญาเรื่องก่อนมาฟ้องร้องบังคับจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 50, 249 มีคำสั่งให้ยกฟ้องค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ ดังนี้เป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีตามประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131 (2) มีผลเป็นการพิพากษาแล้ว มิใช่เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นไม่รับคำคู่ความตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 จึงไม่มีเหตุที่จะคืนค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้นให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4734/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อ: ศาลอนุญาตฟ้องค่าขาดประโยชน์ได้ แม้คดีอาญาไม่ครอบคลุม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา43บัญญัติให้อำนาจพนักงานอัยการที่จะเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายเท่านั้นค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์จากสัญญาเช่าซื้อที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องมาในคดีนี้ไม่ใช่ทรัพย์สินหรือราคาที่ผู้เสียหายสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิดพนักงานอัยการจึงฟ้องเรียกค่าเสียหายดังกล่าวในคดีเดิมแทนผู้เสียหายไม่ได้โจทก์ในคดีนี้ซึ่งคือผู้เสียหายในคดีก่อนมิได้เข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญาเรื่องก่อนนั้นด้วยและการกระทำของจำเลยผู้เช่าซื้อซึ่งทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้ออาจเป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ที่จะใช้สิทธิเรียกร้องได้ทั้งสองทางคือในมูลละเมิดและในมูลหนี้แห่งสัญญาเช่าซื้อเมื่อในคดีอาญาเรื่องก่อนศาลมิได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์ของโจทก์กรณีจึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา144 การที่ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วเห็นว่าโจทก์ไม่สามารถนำประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยไว้แล้วในคดีอาญาเรื่องก่อนมาฟ้องร้องบังคับจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา50,249มีคำสั่งให้ยกฟ้องค่าฤชาธรรมให้เป็นพับดังนี้เป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา131(2)มีผลเป็นการพิพากษาแล้วมิใช่เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นไม่รับคำคู่ความตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา18จึงไม่มีเหตุที่จะคืนค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้นให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา151
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4599/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย: ผู้ขับขี่ไม่มีใบอนุญาต
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมายล.3ว่าจำเลยที่3ผู้รับประกันภัยไม่อาจนำข้อยกเว้นในเรื่องความไม่สมบูรณ์ของผู้ขับรถยนต์คันที่จำเลยที่3รับประกันภัยมาเป็นเงื่อนไขเพื่อปัดความรับผิดได้จำเลยที่3จึงต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยจึงเป็นการวินิจฉัยแปลความหมายเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยหมายล.3อันเป็นการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามอุทธรณ์ของโจทก์และมิใช่การวินิจฉัยรับฟังข้อเท็จจริงใหม่ตามที่จำเลยที่3ฎีกา ตามกรมธรรม์ประกันภัยมีข้อยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัยตามข้อ2.13.6ว่าการประกันภัยตามข้อ2.3ไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจากการขับขี่โดยบุคคลที่ไม่เคยได้รับอนุญาตขับรถยนต์ใดๆหรือเคยได้รับแต่ขาดต่ออายุเกินกว่า180วันหรือเคยได้รับแต่ถูกตัดสิทธิตามกฎหมายในการขับรถยนต์ในเวลาเกิดอุบัติเหตุดังนี้ความรับผิดของจำเลยที่3จึงต้องเป็นไปตามกรมธรรม์ประกันภัยและข้อยกเว้นความรับผิดต่อบุคคลภายนอกตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าขณะเกิดเหตุจำเลยที่1ผู้ขับรถยนต์คันที่จำเลยที่3รับประกันภัยเป็นผู้ไม่ได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์ใดๆกรณีจึงเข้าข้อยกเว้นที่จำเลยที่3ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกในเหตุคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4599/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นกรมธรรม์ประกันภัย: ผู้ขับขี่ไม่มีใบอนุญาต
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย ล.3 ว่า จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยไม่อาจนำข้อยกเว้นในเรื่องความไม่สมบูรณ์ของผู้ขับรถยนต์คันที่จำเลยที่ 3 รับประกันภัยมาเป็นเงื่อนไขเพื่อปัดความรับผิดได้ จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัย จึงเป็นการวินิจฉัยแปลความหมายเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยหมาย ล.3 อันเป็นการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามอุทธรณ์ของโจทก์และมิใช่การวินิจฉัยรับฟังข้อเท็จจริงใหม่ตามที่จำเลยที่ 3 ฎีกา
ตามกรมธรรม์ประกันภัยมีข้อยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัยตามข้อ 2.13.6 ว่า การประกันภัยตามข้อ 2.3 ไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจากการขับขี่โดยบุคคลที่ไม่เคยได้รับอนุญาตขับรถยนต์ใด ๆ หรือเคยได้รับแต่ขาดต่ออายุเกินกว่า 180 วัน หรือเคยได้รับแต่ถูกตัดสิทธิตามกฎหมายในการขับรถยนต์ในเวลาเกิดอุบัติเหตุ ดังนี้ความรับผิดของจำเลยที่ 3 จึงต้องเป็นไปตามกรมธรรม์ประกันภัย และข้อยกเว้นความรับผิดต่อบุคคลภายนอกตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ผู้ขับรถยนต์คันที่จำเลยที่ 3 รับประกันภัยเป็นผู้ไม่ได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์ใด ๆ กรณีจึงเข้าข้อยกเว้นที่จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกในเหตุคดีนี้
ตามกรมธรรม์ประกันภัยมีข้อยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัยตามข้อ 2.13.6 ว่า การประกันภัยตามข้อ 2.3 ไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจากการขับขี่โดยบุคคลที่ไม่เคยได้รับอนุญาตขับรถยนต์ใด ๆ หรือเคยได้รับแต่ขาดต่ออายุเกินกว่า 180 วัน หรือเคยได้รับแต่ถูกตัดสิทธิตามกฎหมายในการขับรถยนต์ในเวลาเกิดอุบัติเหตุ ดังนี้ความรับผิดของจำเลยที่ 3 จึงต้องเป็นไปตามกรมธรรม์ประกันภัย และข้อยกเว้นความรับผิดต่อบุคคลภายนอกตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ผู้ขับรถยนต์คันที่จำเลยที่ 3 รับประกันภัยเป็นผู้ไม่ได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์ใด ๆ กรณีจึงเข้าข้อยกเว้นที่จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกในเหตุคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4265/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ, การผิดนัดชำระ, ค่าเสียหาย, อายุความ, การประมูลทรัพย์
การที่โจทก์รับเงินค่าภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อรถยนต์แล้วนำไปจ่ายให้แก่รัฐเป็นการปฏิบัติตามที่กฎหมายบัญญัติให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเท่านั้นดังนั้นภาษีมูลค่าเพิ่มจึงไม่เป็นส่วนหนึ่งของราคารถยนต์ที่ประมูลขายได้ ในสัญญาเช่าซื้อมีข้อสัญญาว่าจำเลยที่1ต้องจ่ายเงินเพิ่มเติมอีกจำนวนหนึ่งซึ่งเมื่อรวมกับจำนวนที่จ่ายเป็นค่าเช่าซื้อแล้วจะเท่ากับครึ่งหนึ่งของจำนวนเงินทั้งหมดที่จะต้องจ่ายถ้าหากว่าการเช่าซื้อดำเนินต่อไปตลอดระยะเวลาแห่งสัญญานั้นข้อตกลงเช่นนี้เป็นข้อกำหนดค่าตอบแทนการใช้ทรัพย์ไว้ล่วงหน้ากรณีเลิกสัญญาเป็นการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับและในกรณีฟ้องเรียกราคารถยนต์เช่าซื้อที่ยังขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา190/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4265/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ, ภาษีมูลค่าเพิ่ม, อายุความ, ดอกเบี้ย: ประเด็นการคำนวณราคารถยนต์, การคิดดอกเบี้ย และอายุความที่เกี่ยวข้อง
จำเลยเช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์แต่ผิดสัญญา โจทก์ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อออกประมูลขายไปตามใบเสร็จรับเงินซึ่งระบุว่า ค่าประมูลรถยนต์ 365,000 บาทภาษีมูลค่าเพิ่ม 25,550 บาท ยอดรวม 390,550 บาท เมื่อปรากฏว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ตามฟ้องกันเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2533 ก่อนที่ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 ซึ่งเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มจะใช้บังคับ การที่โจทก์ได้รับเงินค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม 25,550 บาท จากผู้ซื้อนำไปจ่ายให้แก่รัฐ เป็นการปฏิบัติตามที่กฎหมายบัญญัติให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเท่านั้น ภาษีมูลค่าเพิ่ม 25,550 บาท จึงถือไม่ได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของราคารถยนต์ที่ประมูลขายได้
ข้อสัญญาที่ว่า ผู้เช่าซื้อต้องจ่ายเงินเพิ่มเติมอีกจำนวนหนึ่งซึ่งเมื่อรวมกับจำนวนที่จ่ายเป็นค่าเช่าซื้อแล้วจะเท่ากับครึ่งหนึ่งของจำนวนเงินทั้งหมดที่จะต้องจ่ายถ้าหากว่าการเช่าซื้อดำเนินต่อไปตลอดระยะเวลาแห่งสัญญานั้น ข้อตกลงเช่นนี้เป็นข้อกำหนดค่าตอบแทนการใช้ทรัพย์ไว้ล่วงหน้ากรณีเลิกสัญญา เป็นการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ และในกรณีฟ้องเรียกราคารถยนต์เช่าซื้อที่ยังขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อเช่นนี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความสิบปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 190/30 มิใช่อายุความหกเดือนตามมาตรา 563
ราคารถยนต์เช่าซื้อที่ยังขาดอยู่ ค่าติดตามยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนและค่าใช้ทรัพย์หรือค่าขาดประโยชน์ มิใช่เงินอื่นใดที่ค้างชำระตามสัญญาเช่าซื้อโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าซื้อ โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องให้ใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 224 เท่านั้น
ข้อสัญญาที่ว่า ผู้เช่าซื้อต้องจ่ายเงินเพิ่มเติมอีกจำนวนหนึ่งซึ่งเมื่อรวมกับจำนวนที่จ่ายเป็นค่าเช่าซื้อแล้วจะเท่ากับครึ่งหนึ่งของจำนวนเงินทั้งหมดที่จะต้องจ่ายถ้าหากว่าการเช่าซื้อดำเนินต่อไปตลอดระยะเวลาแห่งสัญญานั้น ข้อตกลงเช่นนี้เป็นข้อกำหนดค่าตอบแทนการใช้ทรัพย์ไว้ล่วงหน้ากรณีเลิกสัญญา เป็นการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ และในกรณีฟ้องเรียกราคารถยนต์เช่าซื้อที่ยังขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อเช่นนี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความสิบปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 190/30 มิใช่อายุความหกเดือนตามมาตรา 563
ราคารถยนต์เช่าซื้อที่ยังขาดอยู่ ค่าติดตามยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนและค่าใช้ทรัพย์หรือค่าขาดประโยชน์ มิใช่เงินอื่นใดที่ค้างชำระตามสัญญาเช่าซื้อโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าซื้อ โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องให้ใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 224 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4265/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ, ค่าเสียหาย, เบี้ยปรับ, อายุความ, ดอกเบี้ย - การกำหนดค่าเสียหายที่เหมาะสมและอายุความ
จำเลยเช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์แต่ผิดสัญญาโจทก์ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อออกประมูลขายไปตามใบเสร็จรับเงินซึ่งระบุว่าค่าประมูลรถยนต์365,000บาทภาษีมูลค่าเพิ่ม25,550บาทยอมรวม390,550บาทเมื่อปรากฏว่าโจทก์กับจำเลยที่1ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ตามฟ้องกันเมื่อวันที่14กันยายน2533ก่อนที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่30)พ.ศ.2534ซึ่งเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มจะใช้บังคับการที่โจทก์ได้รับเงินค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม25,550บาทจากผู้ซื้อนำไปจ่ายให้แก่รัฐเป็นการปฏิบัติตามที่กฎหมายบัญญัติให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเท่านั้นภาษีมูลค่าเพิ่ม25,550บาทจึงถือไม่ได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของราคารถยนต์ที่ประมูลขายได้ ข้อสัญญาที่ว่าผู้เช่าซื้อต้องจ่ายเงินเพิ่มเติมอีกจำนวนหนึ่งซึ่งเมื่อรวมกับจำนวนที่จ่ายเป็นค่าเช่าซื้อแล้วจะเท่ากับครึ่งหนึ่งของจำนวนเงินทั้งหมดที่จะต้องจ่ายถ้าหากว่าการเช่าซื้อดำเนินต่อไปตลอดระยะเวลาแห่งสัญญานั้นข้อตกลงเช่นนี้เป็นข้อกำหนดค่าตอบแทนการใช้แทนการใช้ทรัพย์ไว้ล่วงหน้ากรณีเลิกสัญญาเป็นการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับและในกรณีฟ้องเรียกราคารถยนต์เช่าซื้อที่ยังขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา190/30มิใช่อายุความหกเดือนตามมาตรา563 ราคารถยนต์ที่เช่าซื้อที่ยังขาดอยู่ค่าติดตามยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนและค่าใช้ทรัพย์หรือค่าขาดประโยชน์มิใช่เงินอื่นใดที่ค้างชำระตามสัญญาเช่าซื้อโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ15ต่อปีตามที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าซื้อโจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องให้ใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4151/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกสำนวนแม้มีข้อมูลในสำนวน, ทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท
ฎีกาผู้ร้องที่ว่าในทางพิจารณาไม่มีการสืบพยานหลักฐานข้อเท็จจริงที่ว่าจ. ได้จดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมรดกของต. และจ. ก็ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ยกให้แก่ผู้คัดค้านในวันเดียวกันแต่ศาลอุทธรณ์กลับหยิบยกเอาข้อเท็จจริงนอกสำนวนนี้ขึ้นมาวินิจฉัยพิพากษาคดีจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นเมื่อข้อเท็จจริงดังกล่าวมีอยู่ในสำนวนมิใช่ข้อเท็จจริงนอกสำนวนการที่ผู้ร้องกลับฎีกาว่าไม่มีข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000บาทต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง