คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมภพ โชติกวณิชย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 461 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2554/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการสินสมรส: ที่ดินรับมรดกเป็นสินสมรส สามีมีอำนาจจำหน่ายได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยา
โจทก์เป็นภริยา ผ. จดทะเบียนสมรสกันเมื่อปี 2510ผ.จดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินพิพาทเมื่อปี 2513 ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับ ผ. และเป็นส่วนหนึ่งของสินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1466,1462 วรรคสอง เดิมที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่ามีสัญญาก่อนสมรสระหว่างโจทก์กับ ผ.ตกลงกันเป็นอย่างอื่นผ.จึงเป็นผู้มีอำนาจจัดการที่ดินพิพาทซึ่งรวมถึงการจำหน่ายที่ดินพิพาทด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1468,1473 วรรคหนึ่ง เดิมแม้ภายหลังจะได้มีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้วบรรพ 5 ที่แก้ไขใหม่ในปี 2519 พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 มาตรา 7 ก็บัญญัติรับรองอำนาจจัดการสินสมรสของ ผ.ดังนั้นผ. เพียงผู้เดียวย่อมมีอำนาจจำหน่ายที่ดินพิพาทได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นภริยา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2535/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ: ข้อกำหนดเบี้ยปรับและอายุความในการฟ้องเรียกหนี้ค่าเช่าซื้อ
ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องขอให้ชำระราคาทรัพย์สินที่เช่าซื้อจนครบตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 12 ซึ่งกำหนดว่า "ถ้าหากผู้เช่าซื้อบอกเลิกการเช่าซื้อตามข้อ 8 ของสัญญา หรือถ้าหากเจ้าของบอกเลิกการเช่าซื้อหรือกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินใหม่ดังเดิมตามสัญญา ผู้เช่าซื้อจะต้องจ่ายค่าซ่อมทรัพย์สินให้กลับคืนสู่สภาพดีตามที่ประมาณราคาขึ้นเพื่อชดใช้ค่าเสื่อมราคา และค่าเสียหายนอกเหนือจากค่าเช่าซื้อทุกงวดที่ค้างชำระอยู่แล้ว ตลอดทั้งจำนวนเงินอื่นใดที่จะต้องจ่ายตามสัญญานี้ และต้องจ่ายเพิ่มเติมอีกจำนวนหนึ่งซึ่งเมื่อรวมกับจำนวนที่จ่ายเป็นค่าเช่าซื้อแล้วจะเท่ากับครึ่งหนึ่งของจำนวนเงินทั้งหมดที่ต้องจ่าย ถ้าหากว่าการเช่าซื้อดำเนินต่อไปตลอดระยะเวลาแห่งสัญญา" ข้อสัญญาดังกล่าวนี้ใช้บังคับได้โดยมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ และในกรณีฟ้องเรียกราคารถยนต์เช่าซื้อที่ยังขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความสิบปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 190/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2535/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเช่าซื้อ, เบี้ยปรับสัญญา, การคิดค่าเสื่อมราคา และการบังคับชำระหนี้ตามสัญญา
ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องขอให้ชำระราคาทรัพย์สินที่เช่าซื้อจนครบตามสัญญาเช่าซื้อข้อ12ซึ่งกำหนดว่า"ถ้าหากผู้เช่าซื้อบอกเลิกการเช่าซื้อตามข้อ8ของสัญญาหรือถ้าหากเจ้าของบอกเลิกการเช่าซื้อหรือกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินใหม่ดังเดิมตามสัญญาผู้เช่าซื้อจะต้องจ่ายค่าซ่อมทรัพย์สินให้กลับคืนสู่สภาพดีตามที่ประมาณราคาขึ้นเพื่อชดใช้ค่าเสื่อมราคาและค่าเสียหายนอกเหนือจากค่าเช่าซื้อทุกงวดที่ค้างชำระอยู่แล้วตลอดทั้งจำนวนเงินอื่นใดที่จะต้องจ่ายตามสัญญานี้และต้องจ่ายเพิ่มเติมอีกจำนวนหนึ่งซึ่งเมื่อรวมกับจำนวนที่จ่ายเป็นค่าเช่าซื้อแล้วจะเท่ากับครึ่งหนึ่งของจำนวนเงินทั้งหมดที่ต้องจ่ายถ้าหากว่าการเช่าซื้อดำเนินต่อไปตลอดระยะเวลาแห่งสัญญา"ข้อสัญญาดังกล่าวนี้ใช้บังคับได้โดยมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับและในกรณีฟ้องเรียกราคารถยนต์เช่าซื้อที่ยังขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงต้องใช้อายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา190/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2474/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างตอกเสาเข็มที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบ้านเรือนข้างเคียง
จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับจ้างตอกเสาเข็มจากจำเลยที่ 1แม้จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตจากทางราชการให้ก่อสร้างอาคารได้แต่การตอกเสาเข็มก่อให้เกิดความเสียหายแก้บ้านโจทก์จะแก้ตัวให้พ้นผิดไม่ได้ การที่จำเลยที่ 1 ว่าจ้างจำเลยที่ 2ตอกเสาเข็มเพื่อสร้างอาคารสูง 30 ชั้น โดยจำเลยที่ 1เลือกจำเลยที่ 2 ให้ลงเสาเข็มโดยวิธีใช้ปั้นจั่นยกแท่งเหล็กตอกทั้ง ๆ ที่ตระหนักดีว่าจะทำให้ที่ดินข้างเคียงถูกกระทบกระเทือน อย่างแรงอันเป็นเหตุให้บ้านโจทก์เสียหาย จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 428 ส่วนจำเลยที่ 2เป็นผู้ประมาทเลินเล่อ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ตามมาตรา 420

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2261/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์และฎีกาในคดีขับไล่ที่มีค่าเช่าต่ำกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ประเด็นการต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 224
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนย้ายสิ่งปลูกสร้างพร้อมบริวารออกไปจากที่พิพาทของโจทก์ซึ่งมีค่าเช่าปีละ1,000บาทจำเลยให้การเพียงว่า ช. สามีโจทก์เอาเงินจากจำเลยไปซื้อที่ดินพิพาทมิได้กล่าวอ้างโดยชัดแจ้งว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยหรือจำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของและในการอุทธรณ์และฎีกาจำเลยก็อุทธรณ์และฎีกาแต่เพียงว่าจำเลยไม่ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทมิได้อุทธรณ์และฎีกาในเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแต่อย่างใดจึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาทต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224ที่จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยไม่ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทและไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ฟังว่าจำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทและต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้จึงไม่เป็นการชอบด้วยกระบวนพิจารณาจำเลยไม่มีสิทธิที่จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงนั้นต่อมา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1974/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนคดีอาญา: การกำหนดผู้รับผิดชอบตามสถานที่จับกุมและสถานที่เกิดเหตุ
ความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวงเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่างๆเกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไปและความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารตามที่โจทก์นำสืบกับความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นและข่มขืนกระทำชำเราเป็นความผิดซึ่งมีหลายกรรมกระทำลงในท้องที่ต่างๆกันรวมทั้งในท้องที่สถานีตำรวจนครบางบางยี่ขัน กรุงเทพมหานครและสถานีตำรวจภูธรอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรีซึ่งพนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา19วรรคหนึ่ง(3)(4)และวรรคสองฉะนั้นพันตำรวจโทว. พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางยี่ขันในขณะเกิดเหตุซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องจึงมีอำนาจสอบสวนคดีนี้แต่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองถูกจับที่อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรีพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในการสอบสวนกรณีจับผู้ต้องหาได้แล้วเช่นนี้จึงเป็นที่แน่ชัดว่าคือพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอท่ามะกาซึ่งเป็นท้องที่ที่จับได้อยู่ในเขตอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา19วรรคสาม(ก)การที่พันตำรวจโทว. ได้ทำการสอบสวนคดีนี้หลังจากจับจำเลยทั้งสองได้แล้วพันตำรวจโทว. คงเป็นพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจสอบสวนเท่านั้นแต่พันตำรวจโทว. มิได้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบทั้งมิใช่กรณีที่จับผู้ต้องหายังไม่ได้อันจะถือว่าพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่พบการกระทำผิดก่อนอยู่ในเขตอำนาจเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา19วรรคสาม(ข)ได้เมื่อพันตำรวจโทว. มิใช่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบซึ่งมีอำนาจสรุปสำนวนและทำความเห็นว่าควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องส่งไปพร้อมกับสำนวนเพื่อให้พนักงานอัยการพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา140และ141แม้จะดำเนินการสอบสวนต่อไปจนเสร็จก็ถือไม่ได้ว่าได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อนโดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา120โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1974/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนคดีอาญาต่อเนื่องและต่างท้องที่: ผู้รับผิดชอบในการสอบสวน
ความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวงเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง ๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไปและความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารตามที่โจทก์นำสืบ กับความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นและข่มขืนกระทำชำเราเป็นความผิดซึ่งมีหลายกรรม กระทำลงในท้องที่ต่าง ๆ กัน รวมทั้งในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบางยี่ขัน กรุงเทพมหานครและสถานีตำรวจภูธรอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งพนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคหนึ่ง(3) (4) และวรรคสอง ฉะนั้น พันตำรวจโท ว. พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางยี่ขันในขณะเกิดเหตุ ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องจึงมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ แต่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองถูกจับที่อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในการสอบสวนกรณีจับผู้ต้องหาได้แล้วเช่นนี้จึงเป็นที่แน่ชัดว่าคือพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอท่ามะกา ซึ่งเป็นท้องที่ที่จับได้อยู่ในเขตอำนาจตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคสาม (ก) การที่พันตำรวจโท ว.ได้ทำการสอบสวนคดีนี้หลังจากจับจำเลยทั้งสองได้แล้ว พันตำรวจโท ว.คงเป็นพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจสอบสวนเท่านั้น แต่พันตำรวจโท ว.มิได้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ทั้งมิใช่กรณีที่จับผู้ต้องหายังไม่ได้อันจะถือว่าพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่พบการกระทำผิดก่อนอยู่ในเขตอำนาจเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา19 วรรคสาม (ข) ได้ เมื่อพันตำรวจโท ว.มิใช่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบซึ่งมีอำนาจสรุปสำนวนและทำความเห็นว่าควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องส่งไปพร้อมกับสำนวนเพื่อให้พนักงานอัยการพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 140 และ 141แม้จะดำเนินการสอบสวนต่อไปจนเสร็จ ก็ถือไม่ได้ว่าได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อนโดยชอบ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1974/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนคดีอาญาต่อเนื่องและต่างท้องที่: การกำหนดพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวงเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่างๆเกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไปและความผิดดังกล่าวกับความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นและข่มขืนกระทำชำเราเป็นความผิดหลายกรรมกระทำลงในท้องที่ต่างๆกันรวมทั้งท้องที่สถานีตำรวจนครบาล บางยี่ขันและสถานีตำรวจภูธรอำเภอ ท่ามะกา พนักงานสอบสวนท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา19วรรคหนึ่ง(3),(4)และวรรคสองพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาล บางยี่ขันซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนท้องที่ที่เกี่ยวข้องจึงมีอำนาจสอบสวนแต่จำเลยทั้งสองถูกจับที่อำเภอ ท่ามะกา พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในกรณีจับผู้ต้องหาได้แล้วคือพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอท่ามะกา ซึ่งเป็นท้องที่ที่จับได้อยู่ในเขตอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา19วรรคสาม(ก)พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาล บางยี่ขันคงเป็นพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจเท่านั้นทั้งไม่เข้ากรณีที่จับผู้ต้องหายังไม่ได้อันจะถือว่าพนักงานสอบสวนท้องที่ที่พบการกระทำผิดก่อนอยู่ในเขตอำนาจเป็น พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา19วรรคสาม(ข)เมื่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาล บางยี่ขันซึ่งมิใช่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบซึ่งมีอำนาจสรุปสำนวนและทำความเห็นว่าควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องส่งไปพร้อมกับสำนวนเพื่อให้อัยการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา140,141แม้จะดำเนินการสอบสวนต่อไปจนเสร็จก็ถือไม่ได้ว่าได้มี การสอบสวนในความผิดนั้นก่อนโดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา120โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคำขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมของผู้เสียหายย่อมตกไปด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1700/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลความหมายสัญญาจำนอง: ดูเจตนาคู่สัญญาและวงเงินจำกัดความรับผิดของผู้จำนอง
การแปลความหมายแห่งสัญญาจะต้องดูข้อความตามสัญญาทั้งฉบับและเจตนาของคู่สัญญาที่ตกลงมุ่งทำสัญญาต่อกันประกอบด้วยไม่ใช่ดูแต่เจตนาของคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งแต่ฝ่ายเดียวตามสัญญาจำนองและสัญญาต่อท้ายหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันระบุจำนวนเงินต้นจำนองไว้แจ้งชัดว่า100,000บาทความผูกพันตามสัญญาที่จำเลยที่2มีต่อโจทก์จึงมีตามจำนวนเงินต้น100,000บาทดังที่ระบุไว้แม้ข้อสัญญาต่อท้ายหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันจะมีข้อความว่าผู้จำนองยินยอมรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ในอันที่จะชำระหนี้ทั้งหมดให้กับผู้รับจำนองโดยสิ้นเชิงก็หาใช่จะแปลความสัญญาว่าจำเลยที่2ยินยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่1ในอันที่จะต้องชำระหนี้ทั้งหมดโดยไม่จำกัดจำนวนให้โจทก์จนครบถ้วนโดยสิ้นเชิงเป็นอีกโสดหนึ่งต่างหากด้วยไม่การที่จำเลยที่2ระบุจำนวนเงินต้น100,000บาทในสัญญาดังกล่าวเป็นเจตนาของจำเลยที่2ที่เข้าทำสัญญากับโจทก์จำกัดความรับผิดตามวงเงินที่ระบุไว้ในสัญญาจำนองหาใช่เป็นการระบุเพื่อให้เป็นไปตามข้อบัญญัติของมาตรา708แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แต่อย่างเดียวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1298/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: การเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงในฟ้องที่ไม่เป็นสาระสำคัญ และสิทธิของผู้ทรงเช็ค
การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน
บ้านพร้อมที่ดินที่จะซื้อขายเป็นทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาที่ ส.ได้มาในระหว่างสมรสกับ บ. จึงเป็นสินสมรส จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อบ้านพร้อมที่ดินจาก ส. โดย บ. ลงชื่อเป็นพยานในสัญญา เมื่อจำเลยที่ 2ออกเช็คพิพาทให้แก่ บ. เพื่อชำระหนี้ค่ามัดจำตามข้อตกลง บ. จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาท การที่จำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายผิดสัญญา ส.มีสิทธิที่จะริบเงินมัดจำตามหนังสือสัญญาจะซื้อขาย เช็คพิพาทที่ออกเพื่อชำระหนี้ค่ามัดจำบ้านพร้อมที่ดินจึงเป็นเช็คที่ออกเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย บ.เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทในวันที่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน บ.จึงเป็นผู้เสียหาย
ฟ้องโจทก์ระบุว่าผู้เสียหายเป็นผู้นำเช็คพิพาทไปเข้าบัญชีแต่ทางพิจารณาได้ความว่า ภริยาจำเลยที่ 2 เป็นผู้นำเช็คพิพาทไปเข้าบัญชีผู้เสียหายก็เป็นเพียงการฝากเช็คให้นำเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงิน ถือว่าภริยาจำเลยที่ 2เป็นตัวแทนผู้เสียหาย ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังกล่าวในฟ้องไม่ใช่ในข้อสาระสำคัญ และมิได้ทำให้จำเลยที่ 2 หลงต่อสู้
of 47