คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมภพ โชติกวณิชย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 461 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8476/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรโดยสำแดงเท็จและใช้เอกสารราชการปลอม
ความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27ได้แยกการกระทำความผิดไว้หลายอย่าง แต่ละอย่างเป็นความผิด อยู่ในตัวเองไม่เกี่ยวข้องกัน ตามคำฟ้องและทางพิจารณา ปรากฏว่าเป็นความผิดฐานหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรคือของที่นำเข้ามาเป็นของที่ต้องเสียภาษีมิได้ลักลอบนำเข้าแต่เป็นการนำมาผ่านศุลกากรโดยสำแดงรายการสินค้าว่าเป็น ซี่ลวดรถจักรยาน ไม่มีเครื่องหมายการค้า อันเป็นความเท็จซึ่งความจริงสินค้าดังกล่าวเป็นซี่ลวดรถจักรยานยนต์เพื่อให้เสียค่าภาษีน้อยกว่าที่จะพึงต้องเสียโดยมีเจตนาจะหลักเลี่ยงค่าภาษี กรณีจึงมีความผิดตามมาตรา 27 การที่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อ ใน ฐานะผู้นำเข้าในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าโดยรู้เห็นให้พนักงานออกของหรือชิปปิ้งนำต้นฉบับใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าดังกล่าวซึ่งได้มีการลบคำว่า "NOBRAND"ออก และเติมเครื่องหมายการค้ารูปดาวห้าแฉกไปยื่นต่อ ก. นายตรวจศุลกากร ให้ตรวจปล่อยสินค้าซี่ลวดและ ก. ได้ตรวจปล่อยสินค้าดังกล่าวไป จึงเป็นการร่วมกันใช้ เอกสารราชการปลอมในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ ก. และกรมศุลกากร การใช้เอกสารราชการปลอมดังกล่าวเป็นการ กระทำความผิดต่างฐานกันกับความผิดฐานหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากร แม้มีความมุ่งหมายในการกระทำเป็นอย่างเดียวกัน แต่ก็เป็น การกระทำต่างวาระกัน และในแต่ละวาระก็เป็นความผิด สำเร็จแล้ว จึงเป็นการกระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8476/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีและใช้เอกสารราชการปลอม แม้มีเจตนาเดียวกัน แต่เป็นความผิดต่างกรรม
ความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27ได้แยกการกระทำความผิดไว้หลายอย่าง แต่ละอย่างเป็นความผิดอยู่ในตัวเองไม่เกี่ยวข้องกัน ตามคำฟ้องและทางพิจารณาปรากฏว่าเป็นความผิดฐานหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากร คือของที่นำเข้ามาเป็นของที่ต้องเสียภาษีมิได้ลักลอบนำเข้า แต่เป็นการนำมาผ่านศุลกากรโดยสำแดงรายการสินค้าว่าเป็นซี่ลวดรถจักรยาน ไม่มีเครื่องหมายการค้า อันเป็นความเท็จ ซึ่งความจริงสินค้าดังกล่าวเป็นซี่ลวดรถจักรยานยนต์เพื่อให้เสียค่าภาษีน้อยกว่าที่จะพึงต้องเสียโดยมีเจตนาจะหลีกเลี่ยงค่าภาษี กรณีจึงมีความผิดตามมาตรา 27
การที่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในฐานะผู้นำเข้าในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้า โดยรู้เห็นให้พนักงานออกของหรือชิปปิ้งนำต้นฉบับใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าดังกล่าวซึ่งได้มีการลบคำว่า "NO BRAND" ออก และเติมเครื่องหมายการค้ารูปดาวห้าแฉกไปยื่นต่อ ก.นายตรวจศุลกากร ให้ตรวจปล่อยสินค้าซี่ลวดและ ก.ได้ตรวจปล่อยสินค้าดังกล่าวไป จึงเป็นการร่วมกันใช้เอกสารราชการปลอมในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ ก.และกรมศุลกากร การใช้เอกสารราชการปลอมดังกล่าวเป็นการกระทำความผิดต่างฐานกันกับความผิดฐานหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากร แม้มีความมุ่งหมายในการกระทำเป็นอย่างเดียวกัน แต่ก็เป็นการกระทำต่างวาระกัน และในแต่ละวาระก็เป็นความผิดสำเร็จแล้ว จึงเป็นการกระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4310/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำฟ้องและการนำสืบข้อเท็จจริง การนำสืบต้องสอดคล้องกับคำฟ้อง
คำฟ้องของโจทก์จะถูกต้องสมบูรณ์หรือไม่ กับข้อเท็จจริงที่กล่าวมาในคำฟ้องได้กล่าวถึงเรื่องที่โจทก์จะต้องนำสืบให้สมดังคำฟ้องหรือไม่ เป็นคนละเรื่องกันฟ้องที่ถูกต้องสมบูรณ์แต่ไม่มีข้อเท็จจริงอันนำไปสู่ประเด็นข้อพิพาทประเด็นใดประเด็นหนึ่งในชั้นพิจารณาโจทก์จะนำสืบถึงข้อเท็จจริงนั้น ๆ หาได้ไม่ เพราะเป็นการนำสืบนอกฟ้อง
การติดตามยึดรถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อกลับคืนกับการบอกเลิกสัญญาก็เป็นคนละเรื่องกัน เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ก็มิได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงให้แจ้งชัดว่าโจทก์ยึดรถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อคืนมาโดยจำเลยยินยอมและโจทก์ถือว่าโจทก์จำเลยต่างสมัครใจที่จะเลิกสัญญากันโดยปริยายแล้ว ในตอนท้ายของคำฟ้องมีระบุว่าโจทก์ได้มีหนังสือ-บอกกล่าวทวงถามให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหาย ซึ่งในตอนท้ายของสำเนาหนังสือ--ทวงถามเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าวมีใจความว่าโจทก์อาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 7จึงขอบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแก่จำเลยทั้งสองทันที เอกสารท้ายฟ้องดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง จึงถือได้ว่าโจทก์ได้กล่าวมาในคำฟ้องแล้วว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแก่จำเลยทั้งสองแล้ว ดังนี้การนำสืบของโจทก์ในเรื่องบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ จึงหาใช่เป็นการนำสืบนอกฟ้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3941/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ: การไม่ถือกำหนดเวลาชำระเป็นสาระสำคัญ + เหตุสุดวิสัย ทำให้ลูกหนี้ไม่ผิดนัด
โจทก์และจำเลยมิได้มีเจตนาที่จะถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อเป็นสาระสำคัญ แม้จำเลยจะไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามเวลาที่กำหนด สัญญาเช่าซื้อก็ยังไม่ระงับสิ้นสุดลงทันที โจทก์จะต้องกำหนดระยะเวลาพอสมควรบอกกล่าวให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างอยู่ก่อน โจทก์จึงจะบอกเลิกสัญญาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387
จำเลยไม่ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์เพราะโจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินที่จำเลยเช่าซื้อจำเลยอาจไม่ได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นแม้ได้ชำระเงินโดยครบถ้วน ทั้งเจ้าของที่ดินก็ประกาศให้จำเลยทราบด้วยว่าที่ดินไม่ใช่ของโจทก์ ซึ่งจำเลยอาจถูกฟ้องขับไล่เมื่อใดก็ได้ เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินกลับคืนมาจำเลยเตรียมเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างไปชำระให้แก่โจทก์แล้ว แต่โจทก์ไม่ยอมรับโดยขอคิดดอกเบี้ยและค่าบริการเพิ่มอีก ถือได้ว่าการชำระหนี้ยังมิได้กระทำลงเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 205 จำเลยจึงมิได้ผิดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3941/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ: การกำหนดเวลาชำระหนี้และผลกระทบเมื่อเจ้าของที่ดินพิพาทไม่ใช่ผู้ให้เช่าซื้อ
สัญญาเช่าซื้อข้อ 6 ระบุว่า "หากผู้เช่าซื้อฝ่าฝืน หรือผิดสัญญานี้ข้อหนึ่งข้อใดถือว่าผู้เช่าซื้อผิดสัญญา ผู้เช่าซื้อยอมให้ผู้ให้เช่าซื้อริบเงินค่าเช่าซื้อที่ส่งมาแล้วทั้งหมดได้ทันทีโดยมิต้องบอกกล่าวให้ทราบแต่ประการใดทั้งสิ้น และถือว่าสัญญาเช่าซื้อฉบับนี้เป็นอันระงับสิ้นสุดลงทันที" แต่ตามที่ปฏิบัติต่อกันจำเลยทั้งสองมิได้ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์ในวันที่ 5 ของเดือน และหลายงวดชำระครั้งหนึ่งก็มี ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองมิได้มีเจตนาที่จะถือเอากำหนดเวลาเป็นสาระสำคัญ ดังนั้นในงวดต่อมาแม้จำเลยทั้งสองจะไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามที่กำหนดไว้ในสัญญา สัญญาเช่าซื้อก็ยังไม่ระงับสิ้นสุดลงทันที โจทก์จะต้องกำหนดระยะเวลาพอสมควรบอกกล่าวให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างอยู่ก่อน โจทก์จึงจะบอกเลิกสัญญาได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 387
การที่จำเลยทั้งสองไม่ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์เนื่องจากปรากฏว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาทที่จำเลยทั้งสองเช่าซื้อ จำเลยทั้งสองอาจไม่ได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทนั้นแม้ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขเกี่ยวกับการชำระเงินโดยครบถ้วน ทั้งเจ้าของที่ดินพิพาทก็ประกาศให้จำเลยทั้งสองทราบด้วยว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ ซึ่งจำเลยทั้งสองอาจถูกฟ้องขับไล่เมื่อใดก็ได้ เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทกลับคืนมา จำเลยทั้งสองเตรียมเงินค่าเช่าซื้อที่ค้าง 49,000 บาท ไปชำระให้แก่โจทก์แล้ว แต่โจทก์ไม่ยอมรับโดยจะขอคิดดอกเบี้ยและค่าบริการเพิ่มอีกรวมแล้วเป็นเงินประมาณ 130,000 บาท นั้น ถือได้ว่าเป็นกรณีการชำระหนี้ยังมิได้กระทำลงเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งจำเลยทั้งสองผู้เป็นลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ ตามป.พ.พ.มาตรา 205 จำเลยทั้งสองจึงมิได้ผิดนัดและผิดสัญญาเช่าซื้อ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3941/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อไม่ระงับทันที หากเจ้าของกรรมสิทธิ์เปลี่ยนมือและเรียกเก็บค่าบริการเพิ่มเติม
สัญญาเช่าซื้อข้อ 6 ระบุว่า "ผู้เช่าซื้อฝ่าฝืน หรือหรือผิดสัญญานี้ข้อหนึ่งข้อใดถือว่าผู้เช่าซื้อผิดสัญญาผู้เช่าซื้อยอมให้ผู้ให้เช่าซื้อริบเงินค่าเช่าซื้อที่ส่ง มาแล้วทั้งหมดได้ทันทีโดยมิต้องบอกกล่าวให้ทราบแต่ประการใดทั้งสิ้น และถือว่าสัญญาเช่าซื้อฉบับนี้เป็นอันระงับสิ้นสุดลงทันที" แต่ตามที่ปฎิบัติต่อกันจำเลยทั้งสองมิได้ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์ในวันที่ 5 ของเดือน และหลายงวดชำระครั้งหนึ่งก็มี ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองมิได้มี เจตนาที่จะถือเอากำหนดเวลาเป็นสาระสำคัญ ดังนั้นในงวดต่อมา แม้จำเลยทั้งสองจะไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามที่กำหนดไว้ในสัญญา สัญญาเช่าซื้อก็ยังไม่ระงับสิ้นสุดลงทันที โจทก์จะต้องกำหนด ระยะเวลาพอสมควรบอกกล่าวให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเช่าซื้อ ที่ค้างอยู่ก่อน โจทก์จึงจะบอกเลิกสัญญาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 การที่จำเลยทั้งสองไม่ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์เนื่องจากปรากฎว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาทที่จำเลยทั้งสองเช่าซื้อ จำเลยทั้งสองอาจไม่ได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทนั้นแม้ได้ปฎิบัติตามเงื่อนไขเกี่ยวกับการชำระเงินโดยครบถ้วน ทั้งเจ้าของที่ดินพิพาทก็ประกาศให้จำเลยทั้งสองทราบด้วยว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ ซึ่งจำเลยทั้งสองอาจถูกฟ้องขับไล่เมื่อใดก็ได้ เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทกลับคืนมา จำเลยทั้งสองเตรียมเงินค่าเช่าซื้อที่ค้าง 49,000บาท ไปชำระให้แก่โจทก์แล้ว แต่โจทก์ไม่ยอมรับโดยจะขอคิดดอกเบี้ยและค่าบริการเพิ่มอีกรวมแล้วเป็นเงินประมาณ130,000 บาท นั้น ถือได้ว่าเป็นกรณีการชำระหนี้ยังมิได้กระทำลงเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งจำเลยทั้งสองผู้เป็น ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 205 จำเลยทั้งสองจึงมิได้ผิดนัดและสัญญาเช่าซื้อ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3263/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องอุทธรณ์และการดำเนินการตามขั้นตอนกระบวนพิจารณา
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแต่เพียงว่าจำเลยทั้งสองทิ้งฟ้องอุทธรณ์และพิพากษาให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ จำเลยทั้งสองจึงฎีกาได้แต่เฉพาะว่าจำเลยทั้งสองไม่ได้ทิ้งฟ้องอุทธรณ์เท่านั้น การที่จำเลยทั้งสองฎีกาในเนื้อหาแห่งคดีขอให้พิพากษายกฟ้องโจทก์มาด้วยนั้น ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยฎีกาในเนื้อหาแห่งคดีไปทีเดียวได้ต้องไปดำเนินการตามขั้นตอนกระบวนพิจารณาเสียก่อน และที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่ามิได้ทิ้งฟ้องอุทธรณ์นั้นเป็นฎีกาเกี่ยวกับคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2(ก)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3230/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องสัญญาซื้อขาย, การชำระราคาด้วยเช็ค, การโอนที่ดินให้ผู้อื่นเป็นการผิดสัญญา
ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า โจทก์ลงลายมือชื่อในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทแทน ส. มารดาโจทก์ โจทก์มิใช่คู่สัญญาที่แท้จริงจึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้นเมื่อปัญหาดังกล่าวจำเลยที่ 1 มิได้ให้การไว้แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ฎีกาของจำเลยที่ 1จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 คดีที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แม้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้ก็ตามแต่ข้อเท็จจริงที่รับรองให้ฎีกาได้นั้นต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงจะวินิจฉัยได้ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาททำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โดยจำเลยที่ 2 สามีจำเลยที่ 1ลงลายมือชื่อให้ความยินยอมด้วย แต่จำเลยทั้งสองผิดสัญญาโดยร่วมกันทำสัญญาขายและจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่ผู้อื่นไป สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทน การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายและจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่บุคคลอื่นไป ไม่อาจจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาได้ จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกันโดยฝ่ายโจทก์ผู้ซื้อออกเช็คชำระราคาที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2ซึ่งเป็นสามีจำเลย 1 ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเจตนาของคู่สัญญาที่มีผลผูกพันกันได้ เช็คดังกล่าวลงวันที่ล่วงหน้าเป็นวันที่28 กรกฎาคม 2532 แต่จำเลยที่ 1 กลับไปทำสัญญาขายและจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่บุคคลอื่นไปตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2532ดังนี้ จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าโจทก์ยังไม่ได้ชำระราคาที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 หาได้ไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวว่า จำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องคืนเงินมัดจำ 200,000 บาท และจ่ายเงินค่าปรับ 10 เท่าของราคาซื้อขายที่ดินคิดเป็นเงิน 10,750,000 บาท รวมเป็นเงินที่จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดต่อโจทก์ 10,950,000 บาท และในคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ก็ขอให้จำเลยทั้งสองชำระเงิน 10,950,000 บาทให้แก่โจทก์ เมื่อเงินมัดจำ 50,000 บาท เป็นส่วนหนึ่งของค่ามัดจำ200,000 บาท ตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขาย ซึ่งโจทก์บรรยายไว้ในคำฟ้องว่ามอบให้จำเลยที่ 1 ไป และมีคำขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระคืนรวมอยู่ด้วยในคำขอท้ายฟ้องแล้ว ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 คืนมัดจำให้แก่โจทก์ด้วย จึงไม่เป็นพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3230/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องร้องสัญญาซื้อขายที่ดิน: อำนาจฟ้อง, การผิดสัญญา, และขอบเขตคำฟ้อง
ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า โจทก์ลงลายมือชื่อในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทแทน ส.มารดาโจทก์ โจทก์มิใช่คู่สัญญาที่แท้จริงจึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้นเมื่อปัญหาดังกล่าวจำเลยที่ 1 มิได้ให้การไว้ แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249
คดีที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แม้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้ก็ตามแต่ข้อเท็จจริงที่รับรองให้ฎีกาได้นั้น ต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงจะวินิจฉัยได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาททำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โดยจำเลยที่ 2 สามีจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อให้ความยินยอมด้วย แต่จำเลยทั้งสองผิดสัญญาโดยร่วมกันทำสัญญาขายและจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่ผู้อื่นไป สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทน การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายและจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่บุคคลอื่นไป ไม่อาจจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาได้ จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกันโดยฝ่ายโจทก์ผู้ซื้อออกเช็คชำระราคาที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสามีจำเลย 1 ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเจตนาของคู่สัญญาที่มีผลผูกพันกันได้ เช็คดังกล่าวลงวันที่ล่วงหน้าเป็นวันที่ 28 กรกฎาคม 2532 แต่จำเลยที่ 1 กลับไปทำสัญญาขายและจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่บุคคลอื่นไปตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม2532 ดังนี้ จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าโจทก์ยังไม่ได้ชำระราคาที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 หาได้ไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวว่า จำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องคืนเงินมัดจำ 200,000 บาท และจ่ายเงินค่าปรับ 10 เท่า ของราคาซื้อขายที่ดินคิดเป็นเงิน 10,750,000 บาท รวมเป็นเงินที่จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดต่อโจทก์ 10,950,000 บาท และในคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ก็ขอให้จำเลยทั้งสองชำระเงิน 10,950,000 บาท ให้แก่โจทก์ เมื่อเงินมัดจำ 50,000 บาท เป็นส่วนหนึ่งของค่ามัดจำ 200,000 บาท ตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขาย ซึ่งโจทก์บรรยายไว้ในคำฟ้องว่ามอบให้จำเลยที่ 1 ไป และมีคำขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระคืนรวมอยู่ด้วยในคำขอท้ายฟ้องแล้ว ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1คืนมัดจำให้แก่โจทก์ด้วย จึงไม่เป็นพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3230/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องสัญญาซื้อขาย, การชำระราคาด้วยเช็ค, และการโอนสิทธิในที่ดิน
ที่จำเลยที่1ฎีกาว่าโจทก์ลงลายมือชื่อในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทแทนส. มารดาโจทก์โจทก์มิใช่คู่สัญญาที่แท้จริงจึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้นเมื่อปัญหาดังกล่าวจำเลยที่1มิได้ให้การไว้แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบฎีกาของจำเลยที่1จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249 คดีที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แม้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้ก็ตามแต่ข้อเท็จจริงที่รับรองให้ฎีกาได้นั้นต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาจึงจะวินิจฉัยได้ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่1ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาททำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยจำเลยที่2สามีจำเลยที่1ลงลายมือชื่อให้ความยินยอมด้วยแต่จำเลยทั้งสองผิดสัญญาโดยร่วมกันทำสัญญาขายและจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่ผู้อื่นไปสัญญาซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทนการที่จำเลยที่1ทำสัญญาขายและจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่บุคคลอื่นไปไม่อาจจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาได้จำเลยที่1จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์กับจำเลยที่1ตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกันโดยฝ่ายโจทก์ผู้ซื้อออกเช็คชำระราคาที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่2ซึ่งเป็นสามีจำเลย1ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเจตนาของคู่สัญญาที่มีผลผูกพันกันได้เช็คดังกล่าวลงวันที่ล่วงหน้าเป็นวันที่28กรกฎาคม2532แต่จำเลยที่1กลับไปทำสัญญาขายและจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่บุคคลอื่นไปตั้งแต่วันที่27กรกฎาคม2532ดังนี้จำเลยที่1จะอ้างว่าโจทก์ยังไม่ได้ชำระราคาที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่1หาได้ไม่โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวว่าจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องคืนเงินมัดจำ200,000บาทและจ่ายเงินค่าปรับ10เท่าของราคาซื้อขายที่ดินคิดเป็นเงิน10,750,000บาทรวมเป็นเงินที่จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดต่อโจทก์10,950,000บาทและในคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ก็ขอให้จำเลยทั้งสองชำระเงิน10,950,000บาทให้แก่โจทก์เมื่อเงินมัดจำ50,000บาทเป็นส่วนหนึ่งของค่ามัดจำ200,000บาทตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายซึ่งโจทก์บรรยายไว้ในคำฟ้องว่ามอบให้จำเลยที่1ไปและมีคำขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระคืนรวมอยู่ด้วยในคำขอท้ายฟ้องแล้วที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยให้จำเลยที่1คืนมัดจำให้แก่โจทก์ด้วยจึงไม่เป็นพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
of 47